วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ปรัชญาการเมืองสมัยใหม่

ปรัชญาการเมืองสมัยใหม่
            5.1.1  ปรัชญาการเมืองคลาสสิก
          ปรัชญา คือความพยามยามที่จะทดแทนความเห็นด้วยความรู้หรือความจริงอันเกี่ยวกับธรรมชาตินั่นเอง  เนื่องจากธรรมชาติ  หมายถึง  สรรพสิ่งต่าง ๆ ในสากลโลก  ปรัชญาเมธีสมัยแรก ๆ เริ่มจากสิ่งที่อยู่นอกตัวตนของมนุษย์เอง  งานของธาลิส  อแน็กซิแมนเดอร์  อแน็กซิเมเนส  เฮราคลิตัส  พาร์เมนิเดส  ความพยามที่จะเสนอทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของโลก  ไพธากอรัส  ศึกษาคณิตศาสตร์  ดนตรีและเอกภพ  เดม็อกคริตัส  ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องวัตถุที่มีอะตอมเป็นรากฐานอย่างเบ็ดเสร็จและเป็นระบบ   5 ศตวรรษก่อนคริสต์กาล  พวกโสฟิสต์  เป็นพวกสอนวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะวาทศิลป์  โดยมักได้รับเงินจากลูกศิษย์ของตนได้เริ่มสนใจสิ่งที่อยู่นอกตัวมนุษย์มาสู่คำถามที่เกี่ยวกับตัวมนุษย์มากขึ้น  แต่คำถามหรือคำสอนสอดคล้องกับขนบธรรมเนียมสมัยนั้นมุ่งสอนแต่ทักษะที่เอื้อต่ออาชีพและทักษะที่เชื่อว่าสำคัญยิ่งคือการใช้วาทศิลป์
          พวกโสฟิสต์มุ่งเน้นเป็นเทคนิคมากกว่าการศึกษาศิลปะศาสตร์โดยทั่วไป 
          โสเกรติส  เริ่มตั้งคำถามที่โยงเอาปัญหาของมนุษย์เข้ามาเป็นหลักคำถามประเภท  อะไรคือความดี ฯ จึงเป็นผู้วางรากฐานทางศีลธรรมนำมาผูกโยงกับสังคมการเมือง 

          ซิเซโรกล่าวว่า  โสเกติสเป็นคนแรกที่นำเอาปรัชญาจากสวรรค์ลงมาสู่โลกและทำให้มนุษย์ต้องถามเกี่ยวกับชีวิต  ศีลธรรม  สิ่งที่ดีและสิ่งที่ชั่ว  การตั้งคำถามทำนองนี้ผู้ปกครองรู้สึกว่าโสเกรติสเป็นภัยต่อรัฐ  จึงถูกนำตัวขึ้นศาลเอเธนส์และถูกประหารชีวิตเมื่ออายุ  70  ปี
          เพลโต  อายุ  28  ปี  เป็นศิษย์คนสำคัญของโสเกรติส  เป็นผู้เขียนบทสนทนาทางปรัชญาไว้มาก  งานชิ้นสำคัญของเพลโตคือ อุตมรัฐ รูปแบบของรัฐในอุดมคติต้องเป็นรัฐที่มี ราชาปราชญ์  เป็นผู้ปกครองรัฐเพราะผู้ปกครองจะ  รู้  ว่าความยุติธรรมคืออะไร
          อริสโตเติล เป็นศิษย์คนสำคัญของเพลโต  เขียนหนังสือเล่มสำคัญทางปรัชญาการเมืองไว้  คือเรื่อง  Nicomachean  Ethics  และ  การเมือง  ได้เสนอความสำคัญไว้ว่า  ชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติคือชีวิตที่ดีหรือชีวิตที่มีคุณธรรม  และธรรมชาติที่สำคัญประการหนึ่งของมนุษย์คือการเป็นสัตว์การเมือง  ทั้งนี้มนุษย์ไม่สามารถมีชีวิต  หรือมีชีวิตที่ดีได้เลย  หากต้องอยู่โดยลำพัง  ทั้งนี้เพราะศักยภาพมนุษย์นั้นจะพัฒนาไปบรรลุความสมบูรณ์ได้ก็เมื่อมนุษย์อยู่ในรัฐเท่านั้น
            5.1.2  มรดกทางความคิดจากโรมัน
          นักวิชาการบางท่านเชื่อว่าโรมัน ไม่ได้ให้อะไรกับการศึกษาความคิดทางการเมืองมากนักแต่สภาบันทางการเมืองและระบบกฎหมายโรมันกลับมีอิทธิพลต่อวิวัฒนาการทางการเมืองเป็นอันมาก
          โพลิบิอุส  นักคิดทางการเมืองที่สำคัญของโรมัน ผู้เขียน History  of  Rome ก็เพียงรูปแบบการปกครองระบอบราชาธิปไตย  อภิชนาธิปไตย  ประชาธิปไตย  รูปแบบการปกครองทั้งหลายล้วนมีเชื้อทำลายตัวเองอยู่ทั้งสิ้น
          ซิเซโร  ผู้เขียน  De  Republica  ก็ไม่ได้มีความคิดเอกเทศทางการเมืองมากนัก งานหลักคือการส่งผ่านความคิดทางการเมืองแบบกรีกเข้าสู่ระบบโรมัน ปรัชญาการเมืองซิเซโร สร้างขึ้นจากองค์ประกอบ 3 ประการ
          1. ธรรมชาติ  อันเป็นสรรพสิ่งที่แท้จริงและมีเหตุผล เป็นสิ่งอยู่เบื้องหลังกฏหมายขนบประเพณีของมนุษย์
          2. ความเสมอภาคตามธรรมชาติ  คือมนุษย์มีความเสมอภาคกัน  ทาสควรมีสิทธิได้รับความยุติธรรม
          3. รัฐ  ก็เป็นธรรมชาติของมนุษย์  การรวมกิจกรรมของรัฐเป็นหน้าที่ที่สำคัญของมนุษย์
          แมคเคียเวลลี  เป็นแนวความคิดที่มีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองอย่างจริงจังคือแนวความคิดของนักประวัติศาสตร์และนักศีลธรรม  นักประวัติศาสตร์เหล่านั้นชี้ให้เห็นว่า  ผู้ปกครองดำรงอำนาจของตนอยู่ได้ด้วยการแทรกแซงโชคชะตา
          เซเนก้า  เน้นถึงโชคดีหรือคุณประโยชน์เหล่านี้  ได้แก่  เกียรติยศ  ความร่ำรวย  อิทธิพล
          แซลลุสท์  เน้นถึง  ความรุ่งเรื่อง  เกียรติ  และอำนาจ
          ซิเซโร  ความดีสูงสุดของมนุษย์  คือ  การได้รับความรุ่งเรือง
          นักคิดชาวโรมันเชื่อว่า  เทวีแห่งโชคลาภเป็นสตรี  สิ่งที่ครองใจสตรีคือ vir  หรือความเป็นชายชาตรีที่แท้จริง  โรมันประสบชัยชนะและยิ่งใหญ่เนื่องจากชาวโรมันมี  คุณธรรมความกล้าหาญเยี่ยงชายชาตรี
            5.1.3  แนวความคิดคริสต์ศาสนาที่มีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองสมัยใหม่
          โชคชะตา  ตามทรรศนะของคริสต์ศาสนา  ถือว่าไม่แน่นอนตายตัว  จำเป็นที่มนุษย์ต้องเข้าถึงพระเจ้า  โชคชะตาของมนุษย์ขึ้นอยู่กับพระเจ้า
5.2  แนวความคิดนี้มีอิทธิพบต่อแนวความคิดทางการเมืองของแมคเคียเวลลี
            5.2.1  ชีวิตและงานของแมคเคียเวลลี
          นิคโคโล  ดี  แบร์นาโด  แมคเคียเวลลี เป็นชาวอิตาลี เกิดวันที่  3  พฤษภาคม  ค.ศ.1469  เมืองฟลอเรนซ์  ในยุโรปตอนใต้  บิดาเป็นนักกฎหมายและเป็นนักศึกษามนุษย์ศาสตร์ที่เอาจริงเอาจังมาก  เมื่ออายุได้  7  ปี  ได้ศึกษาภาษาละติน  อายุ 12  ปี  ได้ศึกษาอยู่กับ เปาโล  ดารอนซิกลีลีโอนี  ต่อมาได้ศึกษาในมหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์
          ค.ศ. 1498  ในภาคฤดูร้อน  แมคเคียวเวลลีเข้ารับราชการไม่กี่วัน  จิโรลาโม สาโวนาโรลา เชื่อกันว่าเขาคือ  ศาสดาไร้อาวุธ  ของแมคเคียวเวลลี  ถูกประหารชีวิต 
          19  มิถุนายน  ค.ศ. 1498  แมคเคียเวลลี  ได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีมีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการภายในและนอกของนครฟลอเรนซ์  รวมถึงการสงครามด้วย
          ในระยะ  14  ปี  เข้าเป็นนักสังเกตการณ์ทางการเมืองที่หลักแหลมยิ่ง  แต่เขาไม่มีโอกาสดำรงตำแหน่งทางราชการที่มีอำนาจในการตัดสินใจอย่างจริงจัง
          ค.ศ. 1502  ซอเดอรินี  ขึ้นมามีอำนาจ  แมคเคียเวลลีเสนอให้ใช้กองกำลังทหารแห่งชาติแทนทหารรับจ้าง  ค.ศ. 1509  ชื่อเสียงของแมคเคียเวลลียิ่งขจรไกลเมื่อกองกำลังทหารแห่งชาติประสบชัยชนะในสงคราม 
          15  พฤศจิกายน  ค.ศ. 1512  แมคเคียเวลลีถูกปลดออกจากทุกตำแหน่ง  เมื่อตระกูลเมดีซีกลับมาครองอำนาจในฟลอเรนซ์ 
          กุมภาพันธ์  ค.ศ. 1512  กลุ่มคนพยามโค่นล้มพวก  เมดีซี  และมีรายชื่อของแมคเคียเวลลีรวมอยู่ด้วย  เขาถูกจับและถูกทรมาน  ภายหลังได้ถูกปล่อยตัว  เขาได้หันกลับไปเขียนหนังสืออีกด้วยหวังว่างานของเขาจะเป็นที่ยอมรับ  และได้กลับไปรับราชการอีก 
          ชีวิตของเขาในชนบทนอกเมืองฟลอเรนซ์เป็นชีวิตที่ขมขื่น  ในท่ามกลางอารมณ์เช่นนี้เขาได้เขียนผลงานชิ้นสำคัญ ๆ ได้แก่  The  Prince (เจ้า) และมีชื่อเสียงถึงปัจจุบันคือ  เรื่อง  Mandragola  เขาเขียนใน  ค.ศ.  1504  และถึงแก่กรรมเมื่อ  ค.ศ. 1527  เป็นปีเดียวที่พวกเมดิซีถูกขับไล่ออกจากฟลอเรนซ์
            5.2.2  โลกทางการเมืองในฐานะปริบททางความคิดของแมคเคียเวลลี
          งานเขียนของแมคเคียเวลลีในแง่หนึ่งเป็นผลสะท้อนปัญหาสังคมทางการเมืองอิตาลีในยุคนั้น การไม่มีเอกภาพของอิตาลี  นำมาซึ่งปัญหาทุกข์ทรมานในรูปของการรุกรานจากฝรั่งเศส  สเปน  เยอรมัน
          เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์อิตาลีแล้วแมคเคียเวลลีจึงเสนอการรวมอำนาจของชาติเพื่ออิตาลีได้มีเอกภาพและเลือกชะตากรรมของตนเองได้จึงเสนอแนะว่า  เจ้าที่ชาญฉลาดจึงปฏิเสธความช่วยเหลือและพยายามใช้กำลังของตน  และได้ยกตัวอย่างเทียบเคียงว่า  เสื้อเกราะที่เป็นของคนอื่นนั้น  หากไม่หลวมหลุดไป  ก็หนักเกินไป  หรือคับเกินไป  ด้วยเหตุนี้เขาจึงเสนอกองกำลังทหารแห่งชาติ
            5.2.3  วิธีเขียนปรัชญาการเมืองของแมคเคียเวลลี
          หากมองอย่างรวม ๆ แล้วหนังสือที่สำคัญที่สุดของแมคเคียเวลลี  คือ  The  Prince  และ The  Discourses  นั้นเต็มไปด้วยการอ้างเหตุผลเชิงตรรกวิทยาหรือเป็น  ตรรกบท  เต็มไปด้วยคำว่า  ถ้า  แต่  เดี๋ยวนี้  เพราะฉะนั้น  การอ้างเหตุผลของเขากระทำอย่างเฉียบคม  วิเคราะห์ปัญหาอย่างหลักแหลม  เฉลียวฉลาด  ตรรกบท  ประกอบด้วย  1. ข้อเสนอหลัก  2. ข้อเสนอรอง  3. ข้อสรุป
          ประเด็นที่สำคัญคือ  จำต้องต้องแยกการวิเคราะห์อาจเรียกได้ว่า เป็นการวิเคราะห์เชิง ตรรกบท  กับพฤติกรรมที่ถูกวิเคราะห์   แมคเคียเวลลี   ใช้ข้อเท็จจริงที่ไร้คุณธรรมอย่างรุนแรงเป็นข้อมูล   ผลสรุปจึง
ปรากฏอยู่ในรูปแบบความชั่วร้ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  
5.3  คำสอนของแมคเคียเวลลี 
          คำสอนของแมคเคียเวลลี ที่ปรากฏในหนังสือ The  Discourses  กล่าวถึงสาธารณรัฐ  เมื่อรัฐอาณาจักรเกิดวิกฤติการณ์  จำเป็นในเวลาที่รัฐขาดเสถียรภาพ  เพราะอาณาจักรสร้างเสถียรภาพได้ง่ายกว่า  อำนาจผู้ปกครองซึ่งสร้างเสถียรภาพได้อย่างรวดเร็วในสถานการณ์ต่างๆ คือ
          1. เมื่อคนนั้นตั้งใจเด็ดเดี่ยวที่จะปกครองอย่างเจ้าผู้ปกครอง และไม่ยอมหยุดใช้อำนาจนั้นเมื่อสมควรแก่เวลา
          2. เมื่อรัฐหมดสิ้นแล้วคุณธรรมความสามารถหรือชีวิตจิตใจของพลเมืองจนสาธารณรัฐไม่สามารถทำงานได้
          3. เมื่อสาธารณรัฐเกิดจากการรุกรานไม่เหมาะสม
          4. เมื่อบุคคลจะต้องถูกกู้ให้พ้นฉ้อฉลในเวลาจำเป็น อำนาจสูงส่งแบบเจ้าผู้ปกครองก็นำมาใช้งานได้แสดงให้เห็นว่าสาธารณรัฐน่าพึงประสงค์มากกว่าหากเป็นไปได้ เพราะเป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุด
          ไม่ว่าหนังสือสองเล่มจะแตกต่างกันอย่างไร  แต่แก่นแท้แห่งคำสอนก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง แก่นแท้ความสัมพันธ์แนวความคิดมี  3  ประการ  คือ  1.โชคชะตา  2.คุณธรรมความสามารถ  3.ความจำเป็น
            5.3.1  การต่อสู้ระหว่างโชคชะตากับคุณธรรมความสามารถของมนุษย์
          อิทธิพลที่แมคเคียเวลลีรับมาจากพวกมานุษยนิยม  และนักคิดโรมัน  ในอดีต  เขาเียนว่า  พระนางแห่งโชคชะตาจัดเวลาตามที่เหมาะสมกับพระองค์  พระนางจะเชิดเราขึ้น  กดเราลงอย่างไร้เมตตาปราศจากกฏเกณฑ์หรือเหตุผลใด ๆ
          เขายังเขียนอีกว่า  อาจจะจริงที่โชคชะตาเป็นผู้ตัดสินครึ่งหนึ่งของสิ่งที่เรากระทำเหลืออีกครึ่งหนึ่งนั้นให้เราควบคุมเอง    สิ่งที่แมคเคียเวลลีเสนอคือ  การต่อสู้กับโชคชะตา  โดยชี้ให้เห็นว่า  มนุษย์อาจเอาชนะโชคชะตาได้  ถ้ามนุษย์มีพลังหรือความกล้าหาญเหนือกว่า  ฯลฯ...  มนุษย์จะประสบความสำเร็จ  หากกระทำการสอดคล้องกับโชคชะตา  แต่จะล้มเหลวหากกระทำขัดต่อโชคชะตา  แต่มนุษย์ไม่ควรลืมว่า  โชคชะตาเปรียบเหมือนผู้หญิงและ  หากจะทำให้เธอยอมศิโรราบ  จำเป็นต้องทุบตีและบังคับหล่อน
          การเอาชนะโชคชะตาต้องรู้จักโชคชะตา  กล่าวอีกนัยหนึ่ง  เจ้า  ผู้นั้นต้องมีคุณธรรมและความสามารถ
          Virtu  ภาษาโรมัน  vir  (คน)  virtus  (สิ่งที่คู่ควรกับคน) แมคเคียเวลลีใช้คำนี้มีหลายความหมาย คำนี้หมายรวมถึง  ความกล้า  พลังใจที่เข้มแข็ง  ไม่ขลาดเขลา  ทักษะและจิตใจแห่งพลเมือง
          คำนี้ในแง่ของรัฐ หมายถึง  เทคนิคในการปกครองที่มีประสิทธิภาพ  กฎหมายที่ดี  การศึกษาที่ดี  ธรรมเนียมที่ดี 
          กล่าวสั้น ๆ  Virtu    ก็คือ  ความสามารถของมนุษย์ที่เข้าใจธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม  และปรับตนให้สอดคล้องกับสิ่งเหล่านั้น  หากกระทำได้สำเร็จโชคชะตาก็จะแพ้พ่ายแก่มนุษย์  ผู้ปกครองจำต้องปรับตนให้เข้ากับสภาพแวดล้อม  การปรับตัวเองเกิดขึ้นเพราะ  ความจำเป็น
            5.3.2  ความสำคัญของความจำเป็น  (Necessita)
          ความเข้าใจใจสิ่งจำเป็น  ทำให้แมคเคียเวลลีมองผู้ปกครองแบบใหม่นั่นคือ เจ้า ผู้ปกครองที่สามารถเข้าใจโลกความเป็นจริง ความจำเป็น เป็นเงื่อนไขกำหนดการกระทำ ดังนั้น เจ้าผู้ปกครองจึงต้องเป็นสุนัขจิ้งจอกเพื่อเลี่ยงกับดัก ต้องเป็นสิงโตเพื่อไล่สุนัขจิ้งจอก (ขู่ให้ผู้อื่นกลัว)
          ความจำเป็นทางการเมือง ในเงื่อนไขทางสังคมที่แมคเคียเวลลีกำหนด บางคนต้องกระทำในสิ่งสกปรก รับภาระหรือคำสาปของอำนาจทางการเมืองในการปกครองรัฐเป็นสิ่งจำเป็นอันเลี่ยงไม่ได้
          ความจำเป็นชักนำให้ผู้ปกครองทำบางอย่าง  มนุษย์ควบคุมการกระทำของตนได้ครึ่งหนึ่ง  ที่เหลืออยู่ภายใต้โชคชะตา  แต่ผู้ปกครองที่เชื่อแมคเคียเวลลีจะไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา
          แมคเคียเวลลีสอนว่า  ผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องรักษาคำพูดของตน  เขาเขียนว่า  ถ้าทุกคนเป็นคนดีคำพูดนี้ก็ใช้ไม่ได้  แต่มนุษย์เป็นสัตว์สกปรกที่ไม่รักษาคำพูดของตน  ผู้ปกครองก็ไม่ต้องรักษาคำพูดของตนต่อพวกเขา
            5.3.3  ปัญหาความรุนแรงและระเบียบทางสังคมในทรรศนะของแมคเคียเวลลี
            ความจำเป็น  ปรับตัวให้สอดคล้องกับภาวะวิสัย  ระเบียบทางสังคมในทรรศนะของแมคเคียเวลลีจึงเป็นแบบเผด็จการที่ใช้ความรุนแรงเป็นปัจจัยหลักสำคัญ
          แมคเคียเวลลีไม่ได้เสนอว่าความรุนแรงนั้นดี  แต่เขาเสนอว่า  ความรุนแรงเป็นสิ่งจำเป็น  ซึ่งได้กล่าวถึงทหารว่า  นี่คืออาชีพนี้เป็นอาชีพที่คนไม่อาจประกอบได้ด้วยความซื่อสัตย์ตลอดเวลา....ฯลฯ
          แมคเคียเวลลีเข้าใจดีว่าความรุนแรงเป็นความชั่วร้าย  แต่หากมนุษย์บรรลุเป้าหมายของตนให้ได้  มนุษย์ต้องรู้จักเป็นคนชั่ว  เช่น  วิธีการใช้ความรุนแรง  ไม่ใช่ใช้มันอย่างขาดสติ.....ฯลฯ  แมคเคียเวลลีไม่ได้เห็นความรุนแรงเป็นประเด็นที่สำคัญแต่อย่างใด
5.4  อิทธิพลของปรัชญาการเมืองสมัยใหม่
            แนวคิด
1. หนังสือเรื่อง  เจ้า  มีอิทธิพลต่อปรัชญาการเมืองอย่างมาก  ทำให้มีการตีความที่หลากหลาย
            5.4.1  เจ้า  หนังสือที่เปลี่ยนโลก
          กว่า  4  ศตวรรษที่ผ่านมา  แมคเคียเวลลีกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความเจ้าเล่ห์เจ้ากลไร้ศีลธรรมไม่มีหลักการ  โดยเสนอปรัชญาว่าใช้วิธีการใดให้บรรลุเป้าหมายก็ได้ทั้งนั้น
          โครเช่  นักทฤษฎีการเมืองอิตาลี  กล่าว่า  คำสอนของแมคเคียเวลลี  บางทีเป็นปริศนาจะไม่มีวันแก้ตก   รุสโซ  และฟอสโคโล  กล่าวว่า  หนังสือเรื่อง  เจ้า  เป็นเรื่องที่ควรให้ความใส่ใจและแมคเคียเวลลีเองก็เป็นคน    รักชาติ  นักประชาธิปไตย  ผู้ศรัทธาในเสรีภาพ
          ฟรานซิส  เบคอน  บิดาแห่งวิทยาการวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์เห็นว่า แมคเคียเวลลีเป็นนักประจักษ์นิยมผู้หลีกเลี่ยงจินตนาการภาพแบยูโทเปีย  (ปรัชญายุคคลาสสิก)  แมคเคียเวลลีเป็นยักใหญ่แห่งยุครู้แจ้ง
            5.4.2  การเมืองแบบใหม่หลังปรัชญาการเมืองสมัยใหม่
          หนังสือเรื่อง เจ้า  ของแมคเคียเวลลีมีผู้อ่านมากเป็นประวัติศาสตร์ของโลกโดยเฉพาะผู้นำของโลกทั้งหลาย แม้จอมเผด็จการอดอล์ฟ  ฮิตเลอร์  แห่งเยอรมัน  มุสโสลินี   แห่งอิตาลี  เชื่อกันว่าทั้งสองท่านประสบความหายนะในบั้นปลายเพราะตีความคำสอนพื้นฐานบางประการของแมคเคียเวลลีผิดพลาดนั่นเอง
          เจ้า  ทรงอิทธิพลเพราะ  ทรรศนะเชิงประจักษ์  หรือ  การพูดความจริง  หรือการชี้ให้เห็นถึง  ความจริงอันน่ากลัวทางการเมือง
          เจ้า  อาจจะยิ่งใหญ่ต่อนักวิชาการทั้งหลาย  เพราะแมคเคียเวลลีพยายามบอกกับผู้อ่านคือ  บางที่ค่านิยมมนุษย์อาจจะมีแบบอื่นนอกจากที่ยึดถือกันอยู่ และค่านิยมชุดใหม่นี้อาจสำคัญทัดเทียมกับค่านิยาคลาสสิกและค่านิยมทางศาสนาที่ยึดถืออยู่  ซึ่งเท่ากับ  การสั่นสะเทือนรากฐานของอารยธรรมตะวันตกทีเดียว  และค่านิยมชุดใหม่นี้ก็มีแก่นแห่งความเชื่อมั่นศรัทธาในพลังความสามารถที่เอาชนะโชคชะตาของมนุษย์เป็นหลักสำคัญ
            5.4.3  ปรัชญาการเมืองสมัยใหม่กับความเป็นวิทยาศาสตร์กรณีของแมคเคียเวลลี
          เจมส์  เบอร์นแฮม เสนอว่า  วิธีการของแมคเคียวเวลลีก็คือนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับการเมือง  คือ
          1. แมคเคียเวลลี ใช้ภาษาลักษณะให้เกิดความรู้อย่างวิทยาศาสตร์  ไม่ได้ให้เกิดอารมณ์หรือทัศนะคติใด ๆ เข้าใจได้แห่งโลกความเป็นจริง
          2. แมคเคียเวลลี อธิบายการเมืองชัดเจนเพียงพอและมองการเมืองเป็นการศึกษาการต่อสู้แย่งชิงอำนาจระหว่างมนุษย์
          3. แมคเคียเวลลี ได้รวบรวมข้อเท็จจริงจำนวนหนึ่งอย่างเป็นระเบียบ  ข้อเท็จจริงเขาดึงมาจากตำราทางประวัติศาสตร์และประสบการณ์ส่วนตัว
          4. แมคเคียเวลลี มักพยายามจัดรูปแบบความสัมพันธ์รวมข้อเท็จจริงให้กลายเป็นหลักการกว้างๆ หรือกฎเกณฑ์  เป็นหลักการทั่วไป
          5. เบอร์นแฮม เขียนด้วยอารมณ์ว่า  ในงานของแมคเคียเวลลีทุกหนทุกแห่ง ฯ  แมคเคียเวลลีใฝ่หาสัจจะ
          เบอร์นแฮม  สรุปว่า  แมคเคียเวลลี  ไม่มีความแตกต่างระหว่างความหมายที่แท้จริงกับความหมายเป็นทางการ  ไม่มีอะไรซ่อนอยู่ไม่มีเป้าหมายแอบแฝง
          แมคเคียเวลลีไม่ได้สนใจกับความเป็นวิทยาศาสตร์ยิ่งไปกว่า  ความเป็นการเมือง  และ  ความเป็นมนุษย์
            การดำรงอยู่ของปรัชญาการเมือง
            ปรัชญาการเมืองของแมคเคียเวลลีได้สร้างความปลอบประโลมให้กับมนุษย์  2  สถาน
          1. ได้ตอกย้ำให้มนุษย์เข้าใจสาเหตุแห่งปัญหาทางสังคมการเมืองเป็นสาเหตุที่เกิดจากมนุษย์  ซึ่งหมายความว่าปัญหาต่างๆ มีทางแก้ไข 

          2. ได้ให้มนุษย์เห็นว่า  วิธีการแก้ปัญหาสังคมการเมืองเพื่อสร้างระเบียบทางสังคมที่สมควรนั้นก็อยู่ที่มนุษย์ด้วย  มนุษย์จึงต้องพยายามเรียนรู้วิธีการต่างๆ เพื่อจะใช้พลังคุณธรรมความสามารถของมนุษย์  เอาชนะโชคชะตา  ให้จงได้  มนุษย์จำเป็นต้องรู้จักตนเองและสภาพแวดล้อม  เพราะสองสิ่งนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญในการพัฒนาพลังคุณธรรมความสามารถของมนุษย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น