วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ปรัชญาประวัติศาสตร์กับปรัชญาการเมือง

ปรัชญาประวัติศาสตร์กับปรัชญาการเมือง
10.1  พื้นฐานแนวความคิดของเฮเกล
            10.1.1  ประเพณียูเดว-ตริสเตียน
          เฮเกลเกิดที่เมืองสตุตการ์ท  เยอรมนี ค.ศ. 1770 เข้าศึกษาปรัชญาและเทวศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย   ทือบิงเกน  ค.ศ. 1788  เพื่อเตรียมบวชเป็นอนุศาสนาจารย์ (ผู้สอนศาสนา) ในนิกายลูเธอรัน  มีความสนใจปรัชญากรีกมากกว่าเทวศาสตร์  พร้อมกับเบื่อหน่ายในศาสนาคริสต์เพราะทำให้อารยธรรมตะวันตกเสื่อมทรามลง
          หลังจากได้ลาออกจากสถาบันการศึกษาได้ไปเป็นครูสอนพิเศษที่เบอร์น สวิตเซอร์แลนด์ 3 ปี  ระหว่างนั้นได้เขียนหนังสือ  เรื่องชีวิตพระเยซู  จึงเกิดแรงบันดาลใจต้องการศึกษาปรัชญาของคานท์
          เฮเกลมีปัญหาอย่างมากในการตีความคัมภีร์ไบเบิล  ทำให้คัมภีร์ส่วนนี้เป็นเรื่องศีลธรรมมากกว่าศาสนา  เฮเกลพยายามเปรียบเทียบปรัชญาของกรีกและศาสนาคริสต์อยู่ตลอดเวลา เฮเกลวิพากษ์วิจารณ์ศาสนจักรอย่างรุนแรงว่า  ไม่ยอมรับว่ามนุษย์ประกอบด้วยสมรรถะมากมาย โดยเฉพาะเหตุผล  ศาสนจักรยึดเอาประเพณีเป็นเกณฑ์การปฏิบัติ  ไม่พยายามหาเหตุผลของประเพณี  และไม่ใช้เหตุผลอธิบายหลักธรรม  เฮเกลไม่เห็นด้วยกับการแยกเหตุผลกับศรัทธา

          ท่าทีของเฮเกลได้เปลี่ยนจากการวิพากษ์วิจารณ์ไปสู่ความชื่นชมคริสต์ศาสนาในฐานะที่เป็นหลักศีลธรรม และประกอบด้วยความงดงามอย่างสมบูรณ์
          การวิพากษ์วิจารณ์ศาสนายิวนำไปสู่การเชิดชูพระเยซู  ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นผู้ต่อต้านการปฏิบัติกฎหมายเพื่อกฎหมาย  การต่อต้านพระเยซูไม่ใช่เป็นการต่อต้านกฎหมาย  เพราะสิ่งที่พระองค์ทรงใช้เพื่อเหตุการณ์นี้คือ  ความรักและการปรองดอง  ในท้ายที่สุด  เมื่อหาทางประนีประนอมแล้วเขาเสนอว่า  ที่แท้จริง  ปรัชญาก็ทำหน้าที่ที่เสริมกันและกันกับศาสนานั่นเอง  เรื่องนี้สะท้อนออกมาจากผลงานเขียนของเขาชิ้นสำคัญคือ  ปรากฏการณ์วิทยาแห่งจิต (phenomenology  of  spirit)
            10.1.2  ปรัชญากรีก
          เฮเกลไม่ใช่นักปรัชญาที่มีความคิดใหม่ ๆ ทั้งหมด  เข้าได้นำเอาเอาพื้นฐานปรัชญากรีกจนถึงคานท์มาคิดต่อ
          ก่อนเพลโตจะร่างปรัชญาจิตนิยมออกมาเป็นระบบ  ปาร์เมนิเดส  และนักปรัชญาแห่งอีเลียติก ได้เริ่มกล่าว ถึงสัจธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลงชีวิต  ที่พวกเขาเรียกสิ่งนั้นว่า  สัต
          หลักการพื้นฐานของกรีกก่อนเพลโตเป็นหลักสำคัญ  เพราะเป็นพื้นฐานของจิตนิยมไม่ว่ายุคสมัยใด  ก่อนเพลโตจะมีความคิดเกี่ยวกับสิ่งสากลจะถูกนำเสนออย่างเป็นระบบ เข้าได้รับแรงผลักดันจากปรัชญากรีกอีกสำนักหนึ่งมีโปทากอรัส  เป็นผู้นำ  ปรัชญาสำนักนี้กล่าวว่า  สิ่งที่เราเรียกว่าจริง  ถูกต้อง  สวยงาม  ล้วนเป็นความรู้สึกส่วนตัวของแต่ละคน
          สำหรับเพลโต  สิ่งที่เป็นจริง  คือ  สิ่งสากล  หรือ  มโนภาพเท่านั้น  และสิ่งนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับใครคนใดคนหนึ่ง  แม้กระทั่งพระเจ้า  สิ่งสากลเป็นจริงในตัวของมันเอง  มโนภาพทำให้เกิดโลก  เป็นสาเหตุเบื้องต้นของสรรพสิ่งที่เราสัมผัสและรับรู้ได้  สรุปความคิดเพลโต  สิ่งสากลเป็นสิ่งสูงสุด  ซึ่งก่อให้เกิดสิ่งทั้งปวงในโลกนี้  รวมถึงสิ่งที่เป็นวัตถุสัมผัสได้และสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ   ความนึกคิดต่าง ๆ โลกนี้ล้วนจำลองมาจากแบบ  คือ  สิ่งสากลหรือมโนภาพที่เรียกว่า  คน
          ประเด็นที่สำคัญอยู่ที่ว่า  ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งสากลอันเป็นเหตุของการณ์เกิดสิ่งเฉพาะนั้นเป็นอย่างไร  สิ่งสากลไม่ได้ขึ้นกับสิ่งเฉพาะ  ส่วนสิ่งเฉพาะต้องขึ้นกับสิ่งสากล  สองสิ่งนี้แตกต่างก่อนก่อน หลัง  ตามลำดับของเหตุผลเท่านั้น
            สิ่งสากลและสิ่งเฉพาะ  อันเป็นหลักการสำคัญที่สุดที่เฮเกลได้รับอิทธิพลจากอริสโตเติล  และหลักฐานสำคัญอื่น ๆ เช่น  เรื่องศักยภาพ  กับสภาพที่เป็นจริง  เฮเกลได้นำไปใช้ต่อโดยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  implicit  หมายถึงในตัวมันเอง  และ  explicit   หมายถึงในตัวเองและเพื่อตัวเอง
          การที่เฮเกลเรียกสมรรถะว่า implicit  และขยายความว่า  สิ่งในตัวเองนั้น  เขาหมายถึง สิ่งที่เกิดหรือพัฒนาขึ้นภายหลังนั้นยังอยู่ภายใน  เป็นสิ่งที่แฝงเร้นอยู่ เมื่อนั้นก็โตขึ้นมา ช่วงนี้เฮเกลเรียกว่า เพื่อตัวมัน
          เฮเกลมีความเห็นในส่วนแตกต่างกับอริสโตเติลคือ  เข้าไม่ได้คิดว่าสสารนั้นเป็นจริง  เขาคิดว่าสสารบริสุทธิ์นั้นเป็นเพียงแต่ความคิดที่เป็นรูปธรรมที่เรา  ดึง  ออกมาจากรูปธรรมที่สัมผัสได้ในโลกเท่านั้น 
          อริสโตเติล  รูปแบบ  สูงสุดคือพระเจ้า  เป็นรูปแบบบริสุทธิ์ที่ไม่มีสสาร
          สิ่งที่สรุปได้คือ  สิ่งสากลนั้น  คือ  สิ่งที่เป็นจริง  เป็นสิ่งสูงสุด  เป็นความจริง  แต่เนื่องจากเป็นความคิดเป็นสารัตถะจิต  สิ่งสูงสุดคือ  จิต  นั่นเอง  โลกแห่งวัตถุไม่จีรังยั่งยืน
          สรุปว่าเฮเกลเป็นเพียงผู้สืบทอดประเพณีความคิดของตะวันตกที่มีรากเหง้าอยู่ที่ปรัชญากรีก  โดยนำเอาส่วนรากลึกที่สุดคือปรัชญาจิตนิยมมาใคร่ครวญไตร่ตรอง  วิภาษเข้าสู่แนวใหม่
            10.1.3  จิตนิยมเยอรมันและสถานการณ์ทางสังคมยุโรป
          คานท์ พยายามหาทางปรับแนวความคิดประเพณีจิตนิยมโดยแยกองค์ประกอบความรู้มนุษย์ออกเป็น 2 อย่าง
          1. ประสาทสัมผัส  ประสาทภายนอกภายนอกรับรู้สิ่งของที่อยู่ในเวลาและสถานที่
          2. ความคิด  หรือประสาทสัมผัสภายใน  รับรู้ที่ที่ไม่ต้องกินที่  มีแต่กาลเวลาเท่านั้น 
          กาลเวลาและสถานที่มี  2  ลักษณะ  คือ  1. ความเป็นสากล  2. ความจำเป็น  ทั้งสองอย่างนี้คานท์เรียกว่า  มีอยู่ก่อนแล้ว
          ความจริงของคานท์ไม่ใช่เรื่องใหม่มีมาตั้งแต่สมัยเพลโต เรื่องใหม่ของคานท์คือจัดระบบและหาความสัมพันธ์ที่แตกต่างไปจากแนวทางประเพณีเดิมเดิม
          ความคิดของคานท์เป็นการปฏิวัติทฤษฎีความรู้เลยทีเดียว  ก่อนหน้าคานท์คนเราเข้าใจว่าประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ จากภายนอกทั้งหมด  ค้านกลับเสนอว่า ตามเงื่อนไขทางตรรกและสิ่งที่เกิดขึ้นในตัวคนที่เติบโตและเริ่มรู้ว่าเวลาและสถานที่เป็นอะไรก็ไม่ใช้สิ่งโลกภายนอกบอกเรา  แต่เป็นพัฒนาการในตัวเอง  ในความคิดของเราเอง
          มิติกาลเวลาและสถานที่ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน  มิติกาลเวลาและสถานที่เป็นรูปแบบที่จำเป็นของทุกสิ่งทุกอย่าง  สากล  จำเป็น จึงเป็นลักษณะ ของสิ่งที่คานท์เรียกว่ารูปแบบ
          ที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปได้ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้คือ  1. ประสาทสัมผัส  2. ความคิด
          คานท์เรียกสิ่งเราคิดได้นี้เป็นแนวคิด  สิ่งที่กล่าวนี้เป็นเกิดจากความคิดเข้าเราเอง  ไม่ได้มาจากสิ่งภายนอก  เขาแยกเป็น  4  ประการ
          1. ปริมาณ  (สรรพภาพ - พหุภาพ - เอกภาพ)
          2. คุณภาพ  (ความเป็นจริง - การปฏิเสธ - ความจำกัด)
          3. ความสัมพันธ์  (สารและคุณ - เหตุและผล - ปฏิสัมพันธ์
          4. ความเป็นรูปแบบ  (ความเป็นไปได้และเป็นไม่ได้  ความมีอยู่และความไม่มีอยู่ - ความจำเป็น ความบังเอิญ)
          อิทธิพลของคานท์มีต่อเฮเกลอย่างมากในเรื่องทฤษฎีความรู้  เฮเกลได้พัฒนาต่อไปโดยไม่ได้จำกัดอยู่เพียงความรู้  เข้าได้จับประเด็นการสร้างของจิตและความคิดของคนอื่นนำไปสู่การอธิบายโลก  การเปลี่ยนแปลงของชีวิตและสังคมทั้งหมด  เหตุการณ์ทางสังคมในสมัยนั้นเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญมีผลกระทบทางความคิดของเฮเกล  ทั้งนี้ประวัติศาสตร์โลกที่เฮเกลได้นำเสนออยู่บนฐานความสำนึกทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในยุโรปในยุคของเขาเอง
          ค.ศ. 1789  การปฏิวัติในฝรั่งเศส  เป็นเหตุการณ์สำคัญที่สุดในยุโรปในยุคนั้น  แนวความคิดที่อาจอธิบายเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้  คือ  การยอมรับสิทธิของปัจเจกบุคคลและอธิปไตยของปวงชน
          ค.ศ. 1806  ชัยชนะของนโปเลียนที่เจนีวา  ทำให้เฮเกลมองเห็นหลักตรรกที่ได้รับจากคานท์  สามารถอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี  เฮเกลมองความเคลื่อนไหวต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและมีหลักเกณฑ์ในประวัติศาสตร์  พลังแห่งการต่อต้านจะมีอยู่ตลอดไป  จะมามีฝ่ายไหนชนะได้อย่างเด็ดขาด
          นอกจากเหตุการณ์ปฏิวัติในฝรั่งเศสแล้ว  เฮเกลยังเผชิญสถานการในเยอรมันไม่เอื้ออำนายต่อการแสดงออกอย่างเสรีของประชาชน
10.2  ปรัชญาของเฮเกล
            10.2.1  วิภาษวิธี
          ปรัชญาของเฮเกลเป็นปรัชญาที่มีระบบ  มีเนื้อหาครอบคลุมทั้งหมดของปรัชญา  ระบบปรัชญาเฮเกลแบ่งออกเป็น  3  ส่วน  คือ
          1. ตรรกวิทยา  กล่าวถึงมโนภาพในตัวของมันเอง
          2. ปรัชญาธรรมชาติ  กล่าวถึงมโนภาพที่สะท้อนออกมาในรูปธรรม                           
          3. ปรัชญาว่าด้วยจิต  จิตคือเอกภาพระหว่างมโนภาพกับธรรมชาติ  
          สามส่วนนี้เกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ได้  ไตรภาคีนี้คือกระบวนการแห่งวิธีภาษ  จิตคือการวิเคราะห์ระหว่าง ตรรกวิทยากับปรัชญาธรรมชาติ 
          ระบบปรัชญาของเฮเกลมักแบ่งออกเป็นสามหน่วยเสมอ  คือ  1.  มโนภาพ  2.  ธรรมชาติ  3. จิต  ยังแบ่งย่อยลงไปอีกคือ  1. สัต  2. สารัตถะ  3. ความหมาย
          ตรรกวิทยาคือส่วนที่บริสุทธิ์  ระบบของวิภาคต่างๆ  เรียกว่า  เหตุหรือผลอันแรกของโลก  ธรรมชาติและจิต  เกี่ยวกับโลกธรรมชาติจะพูดถึงเวลา  สถานที่  ธาตุ  พืช  สัตว์  จิตกล่าวถึงมนุษย์  เป็นส่วนหนึ่งของโลก
          ธรรมชาติคือมโนภาพในอีกรูปแบบหนึ่งหลักตรรกวิทยาของเฮเกลข้อนี้คือเอกลักษณ์  2  สิ่งที่ตรงข้ามกัน
          จิตคือมโนภาพที่กลับสู่ตัวเอง  พ้นจากความแปลกแยก  เป็นส่วนสังเคราะห์ระหว่างมโนภาพอันเป็นสัต  กับธรรมชาติเป็นอสัต  กระบวนการกลับสู่ตัวเอง  คือ  การแปรสภาพ  เป็นขั้นตอนเอาสัตกับอสัตเข้าเป็นหนึ่งเดียว  เป็นสัตที่มีเหตุผล  เพราะมโนภาพคือเหตุผล 
            จิตแบ่งได้  3  คือ 
            1. จิตอันเป็นอัตวิสัย 
            2. จิตอันเป็นภาววิสัย
            3. จิตสูงสุด  คือจิตที่สมบูรณ์  หมายถึงพระเจ้า
          แนวความคิดของเฮเกลที่ว่าด้วยวิภาษวิธีเป็นหลักสำคัญที่สุดที่ว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงของโลกและเป็นความจริง  ทุกสิ่งทุอย่างเคลื่อนไปสู่จุดหมายสุดท้าย  กระบวนการเปลี่ยนแปลง  เป็นตรรกพื้นฐานที่นำไปสู่การอธิบายเรื่องอื่น ๆ
          กระบวนการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นตอได้แก่สัต  เป็นเป็นสากลสูงสุด  เรียกว่าสากลประเภทกว้าง  ซึ่งทำให้เกิดสิ่งอื่น ๆ แคบลงไป  แต่กระบวนการเปลี่ยนจากประเภทกว้างไปสู่ประเภทแคบต้องมีส่วนแตกต่างและสลับสับเปลี่ยนกันไป
          ประเภทกว้างไม่มีประเภทแคบอยู่ในตัวมันเลย  ประเภทแคบไม่อาจสรุปออกมาจากประเภทกว้างได้  ประเภทกว้างไม่ได้ให้เกิดประเภทแคบ  เราเรียกสัตว่า  ประเภทกว้าง  เรียกเหตุ-ผล-สาร-ปริมาณ  ว่าเป็นประเภทแคบของสัต
           
            ข้อสรุป
          1. เริ่มจากสัต  (ประเภทกว้าง)
          2. สรุปอสัตจากสัต  (ประเภทแคบ)
          3. จากความสัมพันธ์ระหว่างสัตกับอสัตสรุปการแปรสภาพออกมา  (ประเภทแคบ)
          นี่เป็นรูปแบบความคิดของเฮเกลในรูปแบบตรรกวิทยา  ไม่ว่ากรณีใดหลัก  3  ประการนี้จะปรากฏเด่นชัด  เริ่มต้นด้วยข้อรับ  ตามด้วยข้อปฏิเสธหรือขัดแย้ง  คือตอบของเฮเกลคือ  เวลาที่มันแปรสภาพนั่นเอง
          ตามความคิดเฮเกลทางตรรก  การแปรสภาพ  แฝงอยู่ในตัวสัต  นั่นหมายความว่า  การแปรสภาพเป็นเงื่อนไขหนึ่งของสัต  เงื่อนไขย่อมอยู่ก่อน  เช่น  การแปรสภาพย่อมอยู่ก่อนสัต  อันดับแรกที่มีอยู่คือสัต  ซึ่งแปรสภาพไปในกระบวนการวิธีภาษจนถึงที่สุด  สิ่งสุดท้ายคือมโนภาพสูงสุด  ตามกระแสที่ทวนต้องสรุปว่า  ที่แท้จริงสิ่งแรกที่เป็นจริงไม่ใช่สัตแต่เป็นมโนภาพสมบูรณ์นั่นเอง  นี่คือรากฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง  สิ่งสุดท้ายคือสิ่งแรก  สิ่งสุดท้ายคือสิ่งมาก่อนหรือเริ่มต้น  ความคิดนี้ปรากฏในคำสอนของอริสโตเติลแล้ว  ทรรศนะของเฮเกล สิ่งเป็นเป็นรูปธรรมสูงสุดในบั้นปลาย คือ มโนภาพอสัมพันธิ์
            10.2.2  ตรรกวิทยา
          ปรัชญาคือวิชาที่ว่าด้วยการอธิบายโลก  จักรวาล  และความเป็นจริงทั้งหมด  มักจำแนกปรัชญาออกเป็น  2 ประเภท  คือ
          1. จิตนิยม  อธิบายว่า  ต้นกำเนิดของจักรวาลคือมโนภาพ
          2. วัตถุนิยม  อธิบายว่าต้นกำเนิดคือวัตถุหรือสสาร
          เฮเกลพยายามแยกให้เห็นว่า  ความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุ  และผล  แตกต่างจากความสัมพันธ์ระหว่างเหตุผล  กับผลตามมา
          เหตุผลของเฮเกล ประเด็นี่ 1  ได้อธิบายว่าสิ่งทั้งหลายล้วนเป็นสาเหตุของกันและกัน  สิ่งของสิ่งหนึ่งเป็นสาเหตุ  ให้เกิดสิ่งหนึ่งต่อไป เช่น โต๊ะเกิดจากไม้  ไม้เกิดจากเมล็ดความคิดเป็นนามธรรมและจะแยกออกจากรูปธรรมไม่ได้
          ประเด็นที่  2  ถ้าเหตุผลประเด็นที่  1  สามารถอธิบายโลกได้  เหตุผลแรกอธิบายตัวมันเองได้หรือไม่  ถ้าไม่ได้มันกลายเป็นเรื่องลึกลับ  ถ้าหากมีสิ่งอื่นมาอธิบายมันก็ไม่ใช่เหตุผลแรกอีกต่อไปกลายเป็นเหตุผลรอง  ความคิดเฮเกลแตกต่างจากอริสโตเติลในส่วนด้วยโลกของมโนภาพ 
          เพลโต  อธิบายว่า  ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนเกิดจากมโนภาพ 
          คานท์  พูดถึงวิภาคล้วนเป็นสิ่งสากล  แยกเป็น  2  ประเภท 
1) ไม่สามารถสัมผัสได้  พวกนี้เป็นมาก่อน 
            2) พวกที่สัมผัสได้  เป็นพวกมาทีหลัง
          เฮเกลรับเอาแนวความคิดทั้งเพลโตและคานท์  กฎเกณฑ์แรกประกอบด้วยสิ่งสากลที่เป็นภาววิสัย  สิ่งเป็นสากลที่เป็นพวกสัมผัสได้และสัมผัสไม่ได้  พวกหลังนี้เป็นแนวความคิดบริสุทธิ์
          สิ่งของกับความคิดเป็นสิ่งเดียวกันได้  ไม่มีการแยกโดยเด็ดขาดระหว่างอัตตากับภาวะ  ผู้รู้และสิ่งที่รู้  เพราะสิ่งที่รู้อยู่ในผู้รู้  ถ้าแตกต่างไปจากความคิด  หมายความว่า มันเกิดสิ่งตรงกันข้ามขึ้นและนี่คือส่วนหนึ่งในกระบวนการวิธีภาษ  ซึ่งสิ่งแตกต่างอยู่ในตัว ปรัชญาทุกแนวล้วนแต่เป็นจิตนิยมทั้งนั้น
          ประเด็นที่เหลือเพื่อความเข้าใจในปรัชญาเฮเกลคือ  การที่เขาเสนอว่า วิภาคต่างๆ อาจสรุปออกจากกันได้  นับว่าเป็นแนวใหม่ 
          จุดเริ่มตนการสรุปออกมา  ของวิภาคต่างๆ คือ เหตุผลแรก  เราไม่อาจเริ่มต้นจากจุดอื่นได้  เพราะหลักเหตุผลบอกไว้แล้วว่าอะไรก่อนหลังและกระบวนการไม่ใช่เราไปจัดการสรุปมันออกมา  มันเป็นไปตามกลไกหรือหลักเกณฑ์ของตัวมันเองอยู่แล้วเราเป็นผู้ค้นพบหลักเกณฑ์นี้เท่านั้น
            ตรรกวิทยาของเฮเกลที่ว่าด้วยเหตุผล  ทั้งภาววิสัยและอัตวิสัย  สามารถแยกได้  3  เรื่อง  คือวิภาค  3  ประเภท  ได้แก่
            1. สัต
            2. สารัตถะ
            3. ความหมาย
          วิภาคแรก สัต  เป็นตัวตั้ง  วิภาคที่  2  สารัตถะ เป็นตัวแย้ง วิภาคที่ 3  ความหมาย คือเอกภาพระหว่างความหมายแรกกับอันที่  2 
          วิภาคที่ 1  (สัต) คือความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ จึงสัมพันธ์กับเทอมในตรรกวิทยาตามแบบแผน  วิภาคที่  2  (สารัตถะ)  อันเป็นตัวแย้งหลักเกณฑ์การเข้าใจ  จึงสอดคล้องกับหลักการตัดสิน วิภาคที่  3  (ความหมาย)  เรื่องหลักเกณฑ์ของเหตุผล  จึงสอดคล้องกับตรรกบท
            การแบ่ง  3  วิภาคให้สอดคล้องกันได้ดังนี้
            1) วิภาคที่  1  เป็นเรื่องตรรก
            2) วิภาคที่  2  เป็นเรื่องโลกที่ปรากฏ
            3) วิภาคที่  3  เป็นเรื่องจิต
          ประวัติศาสตร์แห่งจักรวาลและโลกมนุษย์ไม่ใช่เรื่องที่เกิดโดยบังเอิญหรือขาดหลักเกณฑ์กระบวนการทั้งหมดควบคุมด้วยมโนภาพ  นั่นคือเหตุผล  ประวัติศาสตร์คือการปรากฏตัวออกมาตามลำดับของมโนภาพในกาลเวลา
            10.2.3  ปรัชญาธรรมชาติ
          เฮเกลเป็นที่รู้จักในฐานะนักปรัชญาที่มีแนวความคิดเกี่ยวกับตรรกวิทยาและอภิปรัชญา  แต่เฮเกลไม่ได้แยกความคิดออกจากเรื่องที่ปรากฏจริงในชีวิตประจำวัน
          ประเด็นของความเข้าใจที่ว่าความคิดทำให้เกิดสิ่งขึ้นมา เฮเกลต้องการบอกเป็นเรื่องสรุปในอัตวิสัยของคนเท่านั้น  แต่สิ่งที่เขาค้นพบคือ  ความเป็นจริงที่เป็นภาววิสัย  การแปรทางตรรกจากมโนภาพไปสู่ธรรมชาติหมายความว่า  ธรรมชาติมีอยู่เพราะมีมโนภาพ  มโนภาพเป็นภาววิสัยและเป็นจริง
          สรุปว่า  ปรัชญาธรรมชาติก็ว่ากด้วยเรื่องความคิดนั่นเอง ปรัชญาธรรมชาติคือการสืบต่อจากตรรกวิทยา  ซึ่งมาสุดอยู่ที่มโนภาพสูงสุด
          ความพยายามของเฮเกจะสรุปธรรมชาติจากมโนภาพเป็นความจำเป็นทางตรรก ความจำเป็นเป็นหลักการที่ว่า สิ่งสากลคือมาก่อน โลกเป็นสิ่งที่ตามมา เพลโต อริสโตเติล เฮเกล นักจิตนิยมมีความเห็นสอดคล้องกันว่า  ความจริงสูงสุดคือมโนภาพ
          เนื่องจากมโนภาพถือเอาว่าตนเองเป็นเอกภาพที่สูงสุดของกัปที่บริสุทธิ์และเป็นความจริง   ผลที่ตามมาคือรับเอาสัตสิ่ง  รูปแบบที่ครบถ้วนคือธรรมชาติ
          ธรรมชาติตามแนวความคิดของเฮเกล  ธรรมชาติเป็นส่วนที่  2  ของไตรภาคีๆ ได้แก่ คือ 1. มโนภาพ  2. ธรรมชาติ  3. จิต  มโนภาพเป็นตัวตั้ง  ธรรมชาติเป็นตัวแย้ง  เมื่อตรงกันข้ามธรรมชาติไร้เหตุผล
            ธรรมชาติของเฮเกลแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
          1) กลไก  เป็นขั้นตนของธรรมชาติ
          2) ฟิสิก  เป็นรูปแบบที่ปรากฏเด่นชัดเจนขึ้นของสสารที่รวมเอาลักษณะต่าง ๆ มากขึ้น
          3) องคายพ  เป็นขั้นตอนที่ธรรมชาติของสิ่งต่างๆ มีสัดส่วนที่เกี่ยวข้องกัน  มีคุณลักษณะที่ซับซ้อน  แต่มีเอกลักษณ์  แบ่งเป็น  3  ขั้นตอน  คือ 
                   3.1 องคายพทางธรณีวิทยา  ซึ่งเป็นแร่ธาตุต่าง ๆ
                   3.2 องคายพพืช  เป็นสิ่งมีชีวิตมีรูปร่างและเอกลักษณ์ที่ชัดเจน
                   3.3 องคายพสัตว์  เริ่มเห็นการกลับสู่มโนภาพเดิมของมโนภาพของสำนึก
            เฮเกลเป็นนักปรัชญาคนสุดท้ายของโลกที่พยายามเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นจริงทุกด้าน
10.3  ปรัชญาประวัติศาสตร์ของเฮเกล
            10.3.1  จิต
          เฮเกลได้กล่าวว่า  จิตคือการสังเคราะห์หรือเอกภาพของมโนภาพและธรรมชาติ  มนุษย์เป็นสัตว์ประเภทหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลก  มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีจิตใจ  มีเหตุผล  เป็นรูปกายที่มีเหตุผลเป็นสิ่งสากลจากหลักวิภาษวิธี  สิ่งตรงกันข้ามไม่มีเหตุผล  มโนภาพแปลกแยกจากตัวเองแต่กลับเข้าสู่ตัวเองในจิตอิสระในมนุษย์
            ปรัชญาว่าด้วยจิตของเฮเกลมี  3  ส่วน
          1. จิตที่เป็นอัตวิสัย  เกี่ยวกับจิตของคน  ได้แก่ ความรู้สึก  สำนึก  ความยาก  ความคิด  เหตุผล 
จินตนาการ  ความจำ
          2. จิตที่เป็นภาววิสัย  จิตที่ออกไปจากตัวเอง  สู่โลกภายนอกในลักษระที่สะท้อนจากภายในของตนเอง
          3. จิตสูงสุด  คือจิตที่สะท้อนออกมาในศิลป  ศาสนา  ปรัชญา
            ปรัชญาแยกออกเป็นลักษณะวิชา  มี  3  ส่วน
            1) วิชาที่ว่าด้วยมนุษย์  เช่น  มนุษยปรัชญา  จิตวิทยา
          2) จริยศาสตร์และปรัชญาการเมือง
          3) ปรัชญาศิลป  ศาสนาปรัชญา
          จิตวิสัยจึงมาจากเจตจำนงที่เป็นอิสระของมนุษย์หรือจิตอัตวิสัย  สถาบันต่าง ๆ ภายนอก  (กฎหมาย  ศีลธรรม  รัฐ)  ก็คือเจตจำนงเสรีที่ปรากฏออกมาสู่ภายนอก  รับเอารูปแบบรัฐและแสดงตนให้ปรากฏอัตวิสัยกับ ภาววิสัยเป็นหนึ่งเดียวกัน  เราเรียกสภาบันภายนอกว่า  จิตที่เป็นภาววิสัย  จิตคือคน  คนคือเหตุผล  สถาบันคือเหตุผลของมนุษย์ที่ออกมาเป็นรูปธรรม
          เมื่อสถาบันเป็นจิตภาววิสัย  สถาบันคือเจตจำนงที่ปรากฏ  กฎหมาย  ศีลธรรม  รัฐ เกิดจากเสรีภาพของมนุษย์  มนุษย์สร้างขึ้นมาเป็นเงื่อนไขเพื่อเสรีภาพของตนเอง  เจตจำนงเสรีของคนที่สร้างกฎหมายและสถาบันอื่นๆ ต้องสอดคล้องกันด้วย  ปรัชญาเฮเกลในส่วนของกฎหมาย  ศีลธรรม  รัฐ  ทั้ง  3  อย่างเป็นองค์ประกอบที่เกี่ยวโยงกันอย่างแยกไม่ออก  สถาบันเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้น  ตั้งขึ้น  หรือคนคิดค้นขึ้นมาเอง  มันเป็นอยู่แล้วตามความจำเป็น  เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติทั้งหลาย
          สิทธิขั้นพื้นฐานเฮเกลได้สรุปว่า  สิทธิที่เป็นนามธรรม  มี  ทรัพย์สิน  สัญญา  และการกระทำผิด  ทั้ง  3  เป็นพื้นฐานอยู่ในบุคคล
          - ทรัพย์สิน  บุคคลมีสิทธิเหนือทรัพย์สิน- สิ่งของ 
          - สัญญา  การรับตอบแทน  แรงงาน  การให้บริการ  การให้การรับเป็นความสัมพันระหว่างบุคคล  จึงเป็นเรื่องของสัญญา
            - ความผิดอาจเกิดขึ้นได้  3  ประการ
          1) เกิดโดยไม่เจตนาคือหลงผิดคิดว่าทำถูก
          2) เกิดจากการยอมรับหลักเกณฑ์ของความถูกต้องแต่ก็ทำผิด
          3) เกิดขึ้นโดยไม่ยอมรับสิ่งที่ถูกต้องเจตนาทำตรงกันข้าม  ข้อนี้ร้ายแรงที่สุด
            ศีลธรรมเป็นเรื่องภายใน  จริยศาสตร์สังคมเป็นการสังเคราะห์ระหว่าง  2  สิ่งคือ
          1) ศีลธรรมเป็นเรื่องเจตจำนงกลับเข้าหาตัวเอง 
          2) ศีลธรรมมีกระบวนการ 3  ขั้นตอน  คือ 1.จุดมุ่งหมาย  2.เจตนา  3. ความดีความชั่ว
            ความดีความชั่ว (ข้อ 2) คือการที่เจตจำนง (ข้อ 1) สอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับสิ่งสากล
            สรุปจิตอันเป็นภาววิสัยของเฮเกล  มี  3  ขั้น
          1) สิทธิอันเป็นนามธรรม  ศีลธรรม  และจริยศาสตร์สังคม
          2) สิทธิอันเป็นนามธรรมเกี่ยวกับเจตจำนงที่ออกสู่ภายนอก  ศีลธรรมจำนงคือสิ่งที่เข้าสู่ภายใน
          3) จริยศาสตร์สังคมเป็นการสังเคราะห์ระหว่าง  ข้อ 1 และข้อ  2
            10.3.2  สังคมและรัฐ
            เฮเกลพัฒนาจริยศาสตร์สังคมผ่าน 3 ระยะ คือ ครอบครัว สังคม รัฐ
          1. ครอบครัว เป็นหน่วยที่เห็นในสังคม  อยู่บนพื้นฐานความรู้สึก 
          2. สังคม คือหน่วยรวมของปัจเจกที่รวมกันเพราะเกิดจากความจำเป็นร่วมกัน  เป็นหน่วยที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างปัจเจกบุคคล  เฮเกลแบ่งสังคมออกเป็น  3  ประเภทหรือ  3  ชั้น 
                   2.1 สังคมเกษตรกรรม  สังคมที่ใกล้ชิดธรรมชาติ
                   2.2  พวกธุรกิจ
                   2.3. เป็นชั้นสากล  เป็นพวกราชการ  ผู้บริการ
          3. รัฐ  ไม่มีความหมายทางการเมือง  ความคิดเฮเกล  รัฐเป็นรูปแบบที่ปรากฏออกมามาจากสังคม  เป็นการสังเคราะห์ระหว่างครอบครัวกับสังคม
          รัฐที่สมบูรณ์คือรัฐที่ปัจเจกบุคคลซึ่งพัฒนาตนเองอย่างสมบูรณ์พบกับอุดมคติอันเป็นสิ่งสากล  รัฐต้องจัดระเบียบให้ผู้คนในสังคมที่สัมพันธ์กันเป็นเอกภาพในประชาคมเดียวกันคือรัฐ
          รัฐที่พัฒนาอย่างสมบูรณ์ในระบบตรรกของเฮเกลเป็นรัฐที่พร้อมด้วยหลักการและเหตุผลมีรัฐธรรมนูญ และกษัตริย์เป็นประมุข  พระเจ้าเป็นผู้นำสูงสุดของจักรวาล  กษัตริย์เป็นผู้นำสูงสุดของรัฐ  ถ้าสังคมและรัฐเป็นร่างกาย  กษัตริย์ก็คือศีรษะ
          เฮเกลไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติของปวงชน  เขาไม่เห็นว่าเป็นการแก้ปัญหาและสร้างรัฐที่สมบูรณ์กว่าเดิมได้อย่างไร  มันกลายเป็นโรคใหม่
            10.3.3  ประวัติศาสตร์
            ประชาคมแห่งเหตุผลคือเป้าหมายของประวัติศาสตร์  สิ่งที่เฮเกลต้องการบอกคือ  ความพยายามที่จะเข้าใจและรู้จักตัวเอง  จิตต้องการให้เกิดสิงหนึ่งคือ  ประชาคมทางจิตซึ่งสอดคล้องกับจิต  ด้วยเหตุนี้  การเข้าใจประวัติศาสตร์คือการเข้าใจเป้าหมายของประวัติศาสตร์เอง  นำทางไปสู่การเข้าใจตนเองของจิต  เฮเกลไม่ได้แยกศาสนาออกจากปรัชญาจึงสรุปว่า  ปรัชญาประวัติศาสตร์จริงๆ คือ เทวปรัชญา
          ประวัติศาสตร์บรรลุเปาหมายเมื่อประชาคมบรรลุเป้าหมาย  มีเสรีภาพที่สมบูรณ์  เสรีภาพทำให้คนมีเสรีภาพที่สมบูรณ์  ประชาคมนี้มีรูปแบบเป็นรัฐ  ในรัฐเท่านั้นคนมีชีวิตอย่างมีเหตุผล  กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์เกิดขึ้นด้วยความจำเป็น  ไม่ใช่บังเอิญ  จะผ่านขั้นตอนการขัดแย้ง  ทำให้รูปแบบเดิมสลายไป  เกิดรูปแบบใหม่ขึ้นมา  รูปแบบใหม่วิวัฒนาการและเกิดความขัดแย้งขึ้นมาอีก...ฯลฯ
          ประวัติศาสตร์โลกจะเห็นว่า  ประชาชนดิ้นรนเพื่อการเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่สภาพหนึ่ง  เมื่อถึงจุดแล้วก็ดูเหมือนว่าโลกหยุดไป  เฮเกลเรียกว่า ตายไป จากนั้นเกิดพลังเปลี่ยนแปลงขึ้นมาอีก  วิภาษวิธีที่เฮเกลตั้งประเด็นคือ  สิ่งที่ประชาชนกระทำในการเปลี่ยนแปลง ประชาชนไม่รู้ว่าทำอะไร  เพื่ออะไร  ในท้ายที่สุดเขาจะมีความคิดที่ชัดเจน  แต่ความชัดเจนนั้นไม่ใช่ความจริง
          สมัยกรีกโบราณ เฮเกลกล่าวว่า ชาวกรีกพระเจ้าเป็นอัตภาพแต่ไม่ใช่อัตภาพอยู่เหนือธรรมชาติ  ไม่ใช่ความคิดบริสุทธิ์ไม่มีเนื้อหาในธรรมชาติ เขาชื่นชมสังคมชาวกรีกมาก ชาวกรีกรู้สึกมีเอกภาพในชีวิตมากกว่าชนใดๆ พวกเขาใช้ชีวิตในนครรัฐไม่มีการแบ่งแยก
          แต่เสรีภาพของชาวกรีกเป็นเสรีที่จำกัด  แต่ละนครรัฐมีพระเจ้าเป็นของตนเอง บางชนชั้นเท่านั้นที่มีเสรีภาพ ทาสเป็นคนนอก ผู้หญิงไม่มีสิทธิทางการเมือง การเชื่อฟังกฎหมายเพราะกฎหมายเป็นของนครของพวกตนทรรศนะกรีกยังคับแคบไม่ได้ไปไกลถึงพื้นฐานของกฎหมาย มีขอบเขตที่วางไว้อย่างจำกัด
          โสเกรติส  ผู้เชื่อฟังกฎหมายบ้านเมือง แต่ต้องการวางรากฐานอยู่บนเหตุผล แต่ในสภาพความเป็นจริงเหตุผลสากลยังไม่มีในสังคมในสมัยนั้น  เพราะประชาชนส่วนใหญ่และสังคมยังไม่ได้แสดงออกถึงสภาพการณ์ดังกล่าว  โสเกรติสต้องตาย  แต่ความตายของเขาคือการเปิดประตูของปัจเจกชนไปสู่สากล  ไม่คับแคบอยู่เพียงนครรัฐและเอกภาพที่จำกัด
          สมัยโรมัน  ได้เกิดความคิดเกี่ยวกับบุคคลขึ้นมานี่คือพื้นฐานของการพัฒนาสิทธิ  บุคคลถือสิทธิในสังคมและการเมือง  และในช่วงนี้ศาสนาคริสต์ได้ตอบสนองความปรารถนาที่ปัจเจกชนจะเข้าสู่สิ่งสากล  เอกภาพตามคริสต์ศาสนาเอกภาพที่เกิดขึ้นในหลักการเท่านั้น  ในความเป็นจริงมีเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น
          ยุคกลางยุโรปและยุโรปใหม่  คือพัฒนาการของรัฐโดยผ่านระบบฟิวดันและระบบกษัตริย์  เฮเกลเปรียบเทียบความชอบธรรมของระบบกษัตริย์เปรียบเทียบได้กับสมัยกรีก  สมัยยุโรปยุคกลาง  ปัจเจกชนจำนวนหนึ่งที่รวมกันอยู่ไม่สามารถแสดงออกถึงเจตจำนงสากลได้  จำเป็นต้องมีบุคคลหนึ่งทำหน้าที่นั้น  คือ  กษัตริย์  นี่คือพัฒนาการมาจากยุคกลาง
          ยุคกลางและยุคใหม่มีลักษณะอิงตัวบุคคล สังคมพัฒนาไปสู่ระบบผู้คนพึ่งพากฎหมายมากขึ้น  อำนาจของกษัตริย์ค่อยๆ ถูกแบ่งกระจายออกไป กลายเป็นอำนาจรัฐบาล  ซึ่งหมายถึงสถาบันใหม่ที่เกิดขึ้น  ระบบราชการได้ถูกจัดการให้ควบคุมการดำเนินงานและบริหาร ในเวลาเดียวทาง โลก  พัฒนาไปเรื่องทาง  ธรรม  ก็พัฒนาไปด้วย
          การรู้สึกในตัวเองของจิตที่ปรากฏออกมาทางการปฏิรูปศาสนาดำเนินไปถึงยุคแห่งพุทธิปัญญา  คนเริ่มรู้สึกว่าตนเองเป็นหนึ่งกับสากลมากขึ้น
          คนในยุคพุทธิปัญญามีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง เข้าใจว่าตนเองเป็นนายเหนือโลก ปฏิเสธอำนาจใดๆ นอกเหนือไปจากนี้  พยายามสร้างรูปแบบกฏเกณฑ์เพื่อใช้กับโลก เฮเกลมองเหตุการณ์ความวุ่นวายเกิดจากปรัชญาในยุคพุทธิปัญญา คนไม่ยอมรับความแตกต่าง ความขัดแย้ง  ไม่เข้าใจพื้นฐานของพัฒนาการของเหตุผลและจิต  เกิดการสู้รบระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล ชนชั้นและรัฐ
          สังคมเสรีของเฮเกล ไม่ใช่รูปแบบของเศรษฐกิจที่มีการซื้อขายกันแบบสังคมใหม่อย่างเสรี สังคมเสรีที่สมบูรณ์จะต้องรับโครงการที่มีพื้นฐานบนเจตจำนง อันเป็นผลของการตัดสินใจ เสรีภาพที่สมบูรณ์จะต้องเกิดจากการตัดสินใจของตนเอง
          เฮเกลสรุปว่า สังคมมีความหลากหลายทางเศรษฐกิจ  การเมือง  สังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ทำให้เกิดความแตกต่างทางวัฒนธรรม  คุณค่าและวิธีชีวิตคนกลุ่มหรือชั้นต่างๆ จึงเรียกหาความเป็นอิสระในวิถีทางชนชั้น นี่คืออุปสรรคสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาการของจิตในสังคม ทุกคนน่าจะมีส่วนร่วมในการตัดสอนใจ  และนี่เป็นเหตุผลที่สำคัญยิ่งกว่า  ที่ว่าสังคมใหม่ใหญ่และซับซ้อนมาก 
          ความใฝ่ฝันหาเสรีภาพที่สมบูรณ์มีอยู่ในตัวมนุษย์และรัฐ ความพยายามที่ปรากฏในประวัติศาสตร์มีหลายลักษณะและมีอยู่หลายลักษณะ เราจะพบเสมอว่าเสรีภาพที่สมบูรณ์ในสังคมที่สมบูรณ์  ที่มีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทุกอย่างเป็นเรื่องที่ยาก เพราะจริงแล้วการเรียกร้องหาเสรีภาพที่สมบูรณ์ในตัวมันเองว่างเปล่า  ความว่างเปล่านำไปสู่การทำลาย
          ความคิดของเฮเกลมีขีดจำกัดเพราะเวลาและสภาพแวดล้อม แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ขัดแย้งกับระบบแนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการของจิตในประวัติศาสตร์
          การปฏิวัติในฝรั่งเศส  เฮเกลสรุปว่า  ผลสุดท้ายของยุคพุทธิปัญญาอันเป็นยุคที่คนมีความขัดแย้งสูง  เป็นขบวนการที่ทำให้คนมองเข้าไปในตัวเองและพบว่าตนมีเจตจำนงและมีเหตุผล  และไม่มีอะไรขวางได้  ปฏิเสธสถาบันหรือสิ่งทั้งหลายที่จะอ้างสิทธิอำนาจอันไร้เหตุผลเหมือนอย่างเป็นมาในอดีต
          เฮเกลยอมรับว่าการปฏิวัติเป็นขั้นตอนหนึ่งของเหตุผล  การปฏิวัติอยู่ในลักษณะ ค้าง ค้างในการปฏิเสธเพราะไม่สามารถสร้างระบบใหม่ขึ้นมาทนแทนระบบเก่าที่ถูกทำลายได้
          เฮเกลปฏิเสธการปฏิวัติในอนาคตเพราะเชื่อว่า  ประวัติศาสตร์ได้มาถึงจุดหนึ่งที่ต้องการก้าวต่อไปโดยไม่จำเป็นต้องปฏิวัติ
          สิ่งที่ขาดไปในพุทธิปัญญา  คือ  การไม่พิจารณาคนและเงื่อนไขของเอกลักษณ์คน  ว่าคนเข้าใจตนเองอย่างไร   ข้อความที่สำคัญที่สุดของเฮเกลที่มักกล่าวอ้างบ่อยๆ คือ อะไรมีเหตุผลย่อมเป็นจริง อะไรเป็นจริงย่อมมีเหตุผล
          หลักการนี้ของเฮเกลก็เหมือนหลักการอื่นๆ  ประวัติศาสตร์คือ  กระบวนการปรากฏตัวของเหตุผลโดยผ่านขั้นตอนต่างๆ จากขั้นที่สมบูรณ์น้อยกว่าไปสู่ที่สมบูรณ์มากขึ้น จนกระทั่งสมบูรณ์ที่สุด

          หน้าที่ของปรัชญาในทรรศนะของเฮเกลไม่ใช่การเสนอไปข้างหน้า  ไม่ใช่การวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง  แต่เป็นการวิเคราะห์สภาวการณ์ที่อยู่เบื้องหลังและเป็นพื้นฐานทางเหตุผลของสภาพที่เป็นจริงในแต่ละขณะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น