วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กำเนิดลัทธิเสรีนิยมประชาธิปไตยสมัยใหม่

กำเนิดลัทธิเสรีนิยมประชาธิปไตยสมัยใหม่
7.1  ภูมิหลังความคิดของล็อค
            7.1.1  สภาพสังคมในอังกฤษในศตวรรษที่  17
            ถ้าจะวัดทฤษฎีการเมืองโดยพิจารณาจากอิทธิพลที่ทฤษฎีนั้นมีต่อความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์  ต้องนับว่าทฤษฎีการเมืองของจอห์นล็อค  มีความสำคัญอย่างมาก  เพราะนอกจากมีอิทธิพลต่อทฤษฎีการเมืองของอังกฤษแล้ว  ยังมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการปฏิวัติในอเมริกาและการปฏิวัติในฝรั่งเศส  เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริง  ทฤษฎีการเมืองที่สำคัญมี  2  ทฤษฎี
            1. ทฤษฎีเสรีนิยมประชาธิปไตย
            2. ทฤษฎีสังคมนิยมมาร์กซิสม์
          สภาพสังคมในอังกฤษในศตวรรษที่  17 นับว่าสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ เพราะมีการปฏิวัติเกิดขึ้นถึง 2 ครั้ง คือ
            1. ค.ศ. 1648  การปฏิวัติของพวกพิวริตัน
            2. ค.ศ. 1688  การปฏิวัติอันเรืองเกียรติ
          เหตุการณ์ปฏิวัติเกิดจากกรณีพิพาททางศาสนา  หลังจากคริสตจักรของอังกฤษแยกตัวออกจากการปกครองของพระสันตะปาปาที่กรุงโรม  คริสต์จักรของอังกฤษพยายามที่จะ
วางกฎเกณฑ์การนับถือศาสนาและการประกอบพิธีกรรมแบบประนีประนอมทั้งสองฝ่าย  มีชาวโปรเตสแตนต์กลุ่มหนึ่งพยายามปฏิรูปศาสนาให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นพวกนี้จึงถูกเรียกว่า  พวกพิวริตัน
            การปฏิวัติของพวกพิวริตัน
          สมัยพระเจ้าชาลส์ที่  1  พระองค์พยายามเด็ดขาดกับพวกพิวริตันเพื่อให้คริสต์จักรเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันพระเจ้าชาลส์แต่งตั้งให้  วิลเลียม  เลาด์  เป็นอาร์คบิชอปแห่งแคนเทอบอรี่  เลาด์บังคับให้วัดนำพิธีกรรมต่าง ๆ ที่พวกพิวริตันรังเกียจมาใช้ ห้ามนักเทศน์นิกายพิวริตันเข้ามาเทศน์ในวัด  จับนักเผยแพร่ความคิดพิวริตันมาลงโทษ  ประกอบกับพระราชากับพระราชินีเองเป็นคาทอลิก  พวกพิวริตันเชื่อว่าสำนักพระราชวังสำนักนิยมศาสนาพยายามกดขี่พวกตน  ในที่สุดเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น  โดยพวกพิวริตันในสภาเป็นผู้นำทำสงครามกับพระเจ้าชาลส์ที่ 1 พระเจ้าชาลส์แพ้และถูกประหารชีวิต  11  ปีต่อ  ประเทศอังกฤษปกครองสภาเดียวเปลี่ยนการปกครองมาเป็นสาธารณรัฐ  การปกครองล้มเหลวเนื่องจากฝ่ายสภากับกองทัพขัดแย้งกันตลอดเวลา  อังกฤษจึงหันมาใช้ระบอบกษัตริย์ดังเดิม เชิญพระเจ้าชาลส์ที่  2  มาครองราชย์  ในสมัยนั้นมีปัญหาทางศาสนาเกิดขึ้นอีก บทบาททางการเมืองของพระเจ้าชาลส์ที่  2  เช่น  เซ็นสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยที่ 14  แห่งฝรั่งเศส  ซึ่งเป็นชาวคาทอลิก
          สาเหตุการปฏิวัติที่สำคัญอีกประการหนึ่ง  พระเจ้าชาลส์ ที่ 1 มีหนี้สินมากมายเนื่องจากการทำสงครามกับต่างประเทศ  พระองค์เรียกสภาประชุมเพื่อขออนุมัติเงินสภาไม่เห็นด้วย  พระเจ้าชาลส์จึงหาวิธีหาเงินโดยไม่ผ่านสภา  ในที่สภาสภาลงมติให้ลงโทษกษัตริย์ของตน
          เมื่อนโยบายทางศาสนาของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ไม่เป็นที่พอใจของชาวสก็อตแลนด์ที่เลาด์บังคับให้วัดสวดมนต์ตามแบบอังกฤษ  จึงเกิดสงคราม กองทัพสก็อตแลนด์ยึดครองทางเหนืออังกฤษไว้ได้  พระเจ้าชาลส์เรียกประชุมสภาเพื่อเรียกร้องเงิน สภาได้เรียกร้องให้กษัตริย์ยอมรับอำนาจสูงสุดในรัฐ และร่างรัฐธรรมนูญความคุมกองทัพ  พระเจ้าชาลส์ไม่ยอมรับจึงเกิดสงครามกลางเมือง
            การปฏิวัติอันเรืองเกียรติ
          เมื่อพระเจ้าชาลส์ที่  2  สิ้นพระชนม์  พระเจ้าเจมส์ที่  2  ขึ้นครองราชย์  ความหวาดกลัวของชาวโปรเตสแตนต์เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ  พระเจ้าเจมส์ดำเนินการอย่างโจ่งแจ้งในการสนับสนุนนิกายคาทอลิก  ฝ่ายโปรเตสแตนต์มองว่า  อังกฤษต้องถูกปกครองด้วยทายาทคาทอลิกไม่มีวันสิ้นสุด  ในที่สุดส่วนใหญ่ในสภาสุดทน  อัญเชิญวิลเลียมแห่งออเรนจ์  ซึ่งเป็นพระสวามีของแมรี่  ราชธิดาพระเจ้าเจมส์ที่  2  และเป็นโปรเตสแตนต์มาจากฮอลแลนด์ เพื่อครองราชย์แทน พระเจ้าเจมส์  ที่ 2 เห็นว่าคนส่วนมากสวามิภักดิ์พระเจ้าวิลเลียม  จึงหนีออกจากประเทศ  สภาอังกฤษประกาศให้พระเจ้าวิลเลียมและแมรี่เป็นพระราชาพระราชินีปกครองอังกฤษร่วมกัน  เหตุการณ์ในครั้งนั้นเรียกว่า  การปฏิวัติอันเรืองเกียรติ
            ทางด้านการเมือง ในศตวรรษที่ 17  เหตุการณ์ในอังกฤษเป็นผลมาจากการต่อสู้ความเป็นใหญ่ระหว่างกษัตริย์อังกฤษกับสภา
          ทางด้านเศรษฐกิจ  ความปั่นป่วนเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ  อำนาจทางการเมืองเปลี่ยนจากกษัตริย์และขุนนางสู่ชนชั้นกลาง กษัตริย์อังกฤษจนลงเพราะความฟุ่มเฟือยและการทำสงครามกับต่างชาติ ที่กล่าวมาเป็นเหตุการณ์ ปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมืองสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น
            7.1.2  ชีวิตและผลงานของล็อค
            จอห์น  ล็อค  เกิดวันที่  29  สิงหาคม  ค.ศ.1632  บิดาเป็นนักกฎหมายและเป็นพวกพิวริตัน  เคยเป็นทหารอยู่ในกองทัพของรัฐสภาต่อสู้กับพระเจ้าชาลส์ที่ 1 เมื่อล็อคอายุได้ 15 ปี เข้าเรียนที่โรงเรียนเวสท์มินส์เตอร์  ในสมัยหนุ่มล็อคสนับสนุนการที่องค์อธิปัตย์มีอำนาจสูงสุดและเด็ดขาด  โดยเห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความอยู่รอดของสังคม  ล็อคถือว่าอำนาจนั้นไม่ใช่อำนาจตามอำเภอใจ  อำนาจต้องเป็นไปตามกฎหมาย
          ค.ศ. 1665  ล็อคเข้ามามีบทบาททางการเมืองโดยเป็นเลขานุการของเซอร์  วอลเตอร์
          ค.ศ. 1666  ล็อคได้พบบุคคลสำคัญที่บทบาทสำคัญในชีวิตเขา คือ แอนโธรี่  คูเปอร์ ภายหลังได้เป็นเอิร์ล  แห่ง  แชฟต์เบอรี่ เป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียง  เป็นคนร่ำรวยมีอำนาจทางการเมืองสูง แต่ไม่อยู่กับร่องกับรอย  แชฟต์เบอรี่ป่วยเป็นโรคตับอักเสบ  ล็อคเป็นผู้บงการให้เขาผ่าตัดรักษาโรคตับการผ่าตัดสำเร็จไปด้วยดีสัมพันธภาพคนทั้งสองเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และได้มอบตำแหน่งสำคัญทางการเมืองให้ล็อค การได้สนทนากับแชฟต์เบอรี่มีอิทธิพลทางความคิดเป็นอย่างมาก เข้าเริ่มเขียนเกี่ยวกับเมืองขันติธรรม สังคมการเมืองและรัฐบาล ภายหลังได้ตีพิมพ์เป็นทฤษฎีการเมืองที่สำคัญของล็อค เน้นสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งจำกัดอำนาจอธิปัตย์ ความคิดนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปจากความคิดเดิมเมื่อวัยหนุ่ม
          ล็อคมีชื่อเสียงโด่งดังเหมือนกับนักทฤษฎีการเมืองหลายคน ผลงานคลาสสิกที่นักปรัชญาต้องศึกษาคือ  ความเรียงเกี่ยวกับความเข้าใจมนุษย์
          ล็อคมีกิจกรรมทางการเมืองอย่างลับๆ  โดยแชฟต์เบอรี่เป็นผู้ดึงเขาเข้ามา  ในสมัยพระเจ้าชาลส์ที่  2  ผู้คนเกิดความกลัวว่ากษัตริย์จะกดขี่พวกโปรเตสแตนต์ ผู้แทนสภากลุ่มแชฟต์เบอรี่  ได้ร่างกฎหมายให้สภาตัดสิทธิ์กษัตริย์  เมื่อพระเจ้าชาลส์ไม่เห็นชอบในร่างกฎหมาย แชฟต์เบอรี่จึงวางแผนปฏิวัติและดึงล็อคเข้ามาร่วมด้วย  ในที่สุดความแตกล็อคจึงเนรเทศตัวเองไปอยู่ฮอลแลนด์ พระเจ้าชาลส์ที่ 2  ออกคำสั่งไล่ล็อคออกจากอาจารย์ที่ออกซ์ฟอร์ด
          ค.ศ. 1688  เมื่อวิลเลียมเป็นกษัตริย์ของอังกฤษ ล็อคได้เดินทางกลับประเทศ  ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์เมื่อหนังสือ Treatises  และ Essay  ได้รับการตีพิมพ์ทำให้ล็อคมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งประเทศและในยุโรป  หลังจากนั้นเขาได้ใช้ชีวิตอย่างเงียบ ๆ ไม่ยุ่งกับการเมือง  เขียนหนังสือเพียงอย่างเดียวแต่ไม่มีชื่อเสียงมากนัก  ล็อคสิ้นชีวิตเมื่อ  ค.ศ. 1704
          ทฤษฎีการเมืองสำคัญของล็อคในหนังสือ Treatises  เขียนขึ้นมาเพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องของแชฟต์เบอรี่ในการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญใหม่กีดกันไม่ให้ดยุคแห่งยอร์คขึ้นมาครองราชย์ต่อจากพระเจ้าชาลส์ที่ 2 หลักการของล็อคคือ  อำนาจที่ชอบธรรมต้องมาจากความยินยอมของประชาชน หนังสือ Treatises  แบ่งออกเป็น  2  ตอน คือ
          1. ล็อคอ้างเหตุผลปฏิเสธทฤษฎีเทวสิทธิ์ของฟิลเมอร์  ซึ่งเป็นทฤษฎีการเมืองฝ่ายนิยมกษัตริย์  และเป็นทฤษฎีเดียวที่เป็นปฏิปักษ์กับทฤษฎีของล็อค
          2. เป็นการแถลงทฤษฎีของตนเอง  มีเนื้อหาเกี่ยวกับที่มา  ขอบเขต  และจุดหมายอำนาจรัฐ
            7.1.3  การปฏิเสธลัทธิเทวสิทธิ์
            ลัทธิเทวสิทธิ์เป็นความคิดทางการเมืองมีมาแต่โบราณ  ความคิดที่อิงกับศาสนา  แก่นแท้ของลัทธินี้คือ  กษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดและสูงสุด อยู่เหนือกฎหมายบ้านเมือง เป็นอำนาจที่ชอบธรรมเพราะพระเจ้าเป็นผู้มอบอำนาจให้
          ศตวรรษที่  16 17 อำนาจกษัตริย์ถูกท้าทายลัทธิเทวสิทธิ์ถูกนำมาใช้สนับสนุนให้กษัตริย์ใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด  เซอร์โรเบิร์ต  ฟิลเมอร์  เขียนหนังสือชื่อ  ปิตาธิปไตยอย่างซับซ้อน  โดยอ้างประวัติศาสตร์โลกตามบรรยายในคัมภีร์ไบเบิลสืบสาวถึงอาดัมมนุษย์คนแรก  ว่า 
          ความคิดของฟิลเมอร์  หลังจากพระเจ้าสร้างโลกแล้วได้สร้างมนุษย์คนแรกคืออาดัม  และได้รับสิทธิ์จากพระเจ้าให้มีอำนาจเหนือคนทั้งโลก  อาดัมในฐานะเป็นบิดาของคนทั้งปวง ผู้ที่มีสิทธิ์เป็นกษัตริย์และมีอำนาจเด็ดขาดในการปกครองคือผู้ที่สืบทอดมาจากเชื้อสายอาดัมโดยตรง
            อำนาจการปกครองนี้เป็นอำนาจสูงสุด  เด็ดขาดที่ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง  รวมทั้งความเป็นความตายของทุกคน  อำนาจเมื่อพระเจ้าประทานให้จึงไม่มีกฎหมายใดมาจำกัดได้  อำนาจกษัตริย์อยู่เหนือกฎหมายบ้านเมือง  ระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบการปกครองที่ชอบธรรมประชาชนจะเรียกร้องเสรีภาพโดยอ้างถึงเสรีภาพตามธรรมชาติไม่ได้  เพราะมนุษย์เกิดมาอยู่ภายใต้อำนาจเด็ดขาดของกษัตริย์
          ล็อคได้โจมตีความคิดของฟิลเมอร์ลัทธิเทวสิทธิ์ว่า  อาดัมไม่มีสิทธิ์ตามธรรมชาติอันได้มาจากพระเจ้าในการที่จะปกครองคนทั้งโลก  ทายาทของอาดัมก็ไม่มีสิทธิ์เช่นนั้น
          ล็อคเห็นว่ากฎธรรมชาติที่พระเข้าวางไว้ต้องมีเหตุผล  สามารถนำไปปฏิบัติได้  ความเชื่อนี้เป็นหลักการที่ล็อคโจมตีลัทธิเทวสิทธิ์  คือ
            ทฤษฎีเทวสิทธิ์
          1. กฏกำหนดสิทธิการปกครองบ้านเมืองตกอยู่กับทายาทของอาดัม เป็นกฏธรรมชาติที่พระเจ้ากำหนดไว้
          2. กษัตริย์อังกฤษครองราชย์ตามสิทธิ์ข้อ  1  เป็นไปตามกฎธรรมชาติที่พระเจ้ากำหนด
            ล็อคแย้งว่า
          3. กฏธรรมชาติเป็นกฎที่มีเหตุผลเพราะพระเจ้าเป็นผู้กำหนด  กฏที่ไร้เหตุผลไม่ใช่ธรรมชาติ
          4. กฏที่มีเหตุผลต้องนำไปปฏิบัติได้  กฏใดนำไปปฏิบัติไม่ได้ถือว่าไร้เหตุผล
          5. กฏข้อที่  1  ของลัทธิเทวสิทธิ์นำไปปฏิบัติไม่ได้
          6. จากข้อที่  ข้อที่ 4 5 สรุปว่า  กฏข้อ  1  ไร้เหตุผล
          7. จากข้อ  3  และ  6  สรุปว่า  กฎข้อ  1  ไม่ใช่ธรรมชาติ
          8. จากข้อ  7  สรุปว่า  ข้อ  1  ไม่เป็นจริง  เนื่องจากข้อ  1  อาศัยข้อ  2  เป็นเหตุผล  จึงเป็นเหตุผลที่ผิดพลาด
          ข้อที่  3  เป็นเหตุผลที่ล็อคปฏิเสธทฤษฎีลัทธิเทวสิทธิ์

7.2  ธรรมชาติมนุษย์
            7.2.1  มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติและกฏธรรมชาติ
            ทฤษฎีการเมืองของล็อคโดยเริ่มจากประเด็นเรื่องมนุษย์ในสภาวธรรมชาติ  เหตุผลนี้คือ  สังคมการเมืองเป็นการจัดระบบให้มนุษย์จำนวนมากอยู่ร่วมกัน  ดังนั้นปัญหาหลักของทฤษฎีการเมืองคือ  จะจัดระบบการเมืองอย่างไรให้เป็นธรรม  สามารถให้มนุษย์อยู่รวมกันอย่างเป็นสุข
          วิธีการของล็อคคือ  คิดดูด้วยเหตุผลเชิงสมมติ  คือสมมติดูใจมนุษย์ว่า  ถ้า  มนุษย์ไม่อยู่ในกรอบของสังคมการเมืองแล้วมนุษย์จะมีลักษณะอย่างไร
          ผลการวิเคราะห์ด้วยเหตุผลเชิงสมมติคือ  ล็อคเชื่อว่ามนุษย์ในสภาวธรรมชาติย่อมมีเสรีภาพอย่างสมบูรณ์  มีความเสมอภาคกัน  ที่ว่าเสรีภาพอย่างสมบูรณ์หมายถึง  มนุษย์มีเสรีภาพจะทำอะไรก็ได้  ภายในขอบเขตของธรรมชาติ  โดยไม่ขึ้นอยู่กับทาสหรือเจตจำนงของผู้อื่น
            สรุปความคิดของล็อค  มนุษย์ในสภาวธรรมชาติมีลักษณะ  2  ประการ
          1. มีเสรีภาพโดยสมบูรณ์
          2. มีความเสมอภาคกัน
            คำอธิบายของล็อคในเรื่องต่าง ๆ นำไปสู่การวางพื้นฐานข้อสรุปเกี่ยวกับสังคมการเมือง  ได้แก่
          1. ลักษณะของเสรีภาพ  ล็อคอธิบายว่า  เสรีภาพของมนุษย์ในสภาวธรรมชาติเป็นสิ่งที่มีค่าควรแก่รักษาไว้  ในสังคมการเมืองเสรีภาพเหล่านี้ควรได้รับการปกป้อง
          2. กฏธรรมชาติ  ล็อคเชื่อว่ากฏในจักรวาลมีกฎทางศีลธรรมที่วางแนวอันถูกต้องสำหรับความประพฤติของมนุษย์อยู่แล้ว  เป็นกฏที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการกำหนดของผู้ออกกฎหมายบ้านเมือง  ไม่ขึ้นกับการกำหนดของมนุษย์ผู้ใด  แต่เป็นกฏที่สูงกว่านั้น  เป็นกฏสากล  พระเจ้าทรงกำหนดขึ้นสำหรับมนุษย์ทั้งมวล
            3. เนื้อหาของกฎธรรมชาติ  ล็อคได้อธิบายเนื้อหากฏธรรมชาติดังนี้
              3.1 มนุษย์ต้องไม่ทำลายชีวิตของตนเองและผู้อื่น ล็อคอ้างเหตุผลว่า ในเมื่อมนุษย์ทุกคนพระเจ้าสร้างขึ้นมา  เป็นสมบัติหรือผลิตผลของพระเจ้า  ไม่ใช่ของเล่นเราเป็นเจ้าของเราจะใช้ทำอะไรก็ได้ตามชอบใจ  เราย่อมไม่มีสิทธิ์ทำลายชีวิต  พระเจ้าสร้างมนุษย์มาเท่าเทียมกัน  ไม่มีใครมีอำนาจเหนือชีวิตผู้อื่น
             3.2 สืบเนื่องมาจากข้อแรก มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะลงโทษผู้ละเมิดกฏธรรมชาติข้อแรกซึ่งห้าทำลายชีวิต  เห็นได้ชัดว่ากฏข้อนี้เหมือนกับกฎหมายบ้านเมือง
          ล็อคเชื่อว่ามนุษย์มีสิทธิตามธรรมชาติอย่างอื่นก็ตามมาด้วย  ได้แก่ สิทธิในการรักษาชีวิตของตน  สิทธิในการรักษามนุษยชาติทั้งมวล สิทธิที่จะลงโทษผู้กระทำผิดกฏธรรมชาติ สิทธิที่จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากผู้กระทำผิด ความเห็นที่แตกต่างกันระหว่าง  ฮอบส์ กับ ล็อค ในเรื่องเสรีภาพตามธรรมชาติ  คือ  ฮอบส์  มีความเห็นว่าเสรีภาพคือการกระทำสิ่งใดโดยไม่มีใครบังคับ  ล็อค มีความเห็นว่าเสรีภาพคือการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ถูกบังคับแต่ต้องไม่ละเมิดกฏธรรมชาติ
            7.2.2  สิทธิในทรัพย์สิน
            ล็อคต้องการชี้ให้เห็นว่าในสังคมการเมืองที่ให้เป็นธรรม รัฐบาลต้องปกป้องทรัพย์สินของประชาชน  และต้องเคารพสิทธิในทรัพย์สินของประชาชน รัฐบาลจะใช้อำนาจยึดทรัพย์สินของประชาชนตามชอบใจไม่ได้  สิทธินี้เป็นสิทธิที่มีอยู่ตามธรรมชาติ  เป็นไปตามกฏที่พระเจ้าวางไว้
          ล็อคให้ความสนใจสิทธิในทรัพย์สินเป็นพิเศษ เพราะปัญหาทางเศรษฐกิจและการเมืองในศตวรรษที่  17  ช่วงเวลานั้นทวีปยุโรปเพิ่งพ้นยุคกลางมาได้ไม่นานนัก  ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมยังไม่เติบโตอย่างเต็มที่  ความคิด  ประเพณีวัฒนธรรมแบบสมัยกลางยังไม่สูญสิ้นไปเสียทีเดียว  แนวความคิดเรื่องทรัพย์สินส่วนตัวยังไม่เกิด  ถึงแม้จะมีสิทธิในทรัพย์สินอยู่บ้าง แต่ไม่มีสิทธิในการจัดการทรัพย์สินของตนได้อย่างเต็มที่มากนัก 
          ปัญหาหลัก ที่ล็อคจะตอบ คือ มนุษย์ในสภาวธรรมชาติมีสิทธิในทรัพย์ได้อย่างไร ?  สิ่งที่ล็อคต้องการพิสูจน์ในเรื่องนี้คือ
          ในสภาวะธรรมชาติมนุษย์มีสิทธิในทรัพย์สินอยู่แล้ว  สิทธิไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะระเบียบกฏเกณฑ์ในสังคมการเมืองเป็นตัวกำหนดขึ้น  ในเมื่อมนุษย์มีสิทธิในชีวิต  คือการรักษาชีวิต  ก็ต้องมีสิทธิในปัจจัยจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของตนด้วย  ก่อนที่ทุกคนจะใช้ธรรมชาติให้เป็นประโยชน์ต้องครอบครองสิ่งที่ตนต้องใช้เสียก่อน  จะครอบครองอย่างเดียวไม่ได้  ความครอบครองจึงกลายเป็นสิทธิในการเป็นเจ้าของสิ่งนั้น  สิ่งนั้นคือ แรงงาน ผลผลิตของแรงงานเป็นของผู้ใช้แรงงาน
          ปัญหาต่อมา  คือ  เมื่อพระเจ้าทรงประทานโลกให้มนุษย์ทุกคนใช้ยังชีพ แต่ถ้ามนุษย์สามารถจับจองที่ดินเป็นจำนวนมากและอ้างกรรมสิทธิ์ในสิ่งเหล่านั้น  ก็เป็นว่าประโยชน์ตกอยู่เฉพาะบางคน
            ล็อคตอบว่า  ตามกฎธรรมชาติหรือเหตุผล  บุคคลมีสิทธิในทรัพย์สินเฉพาะจำนวนที่สามารถถือเอาไปใช้ยังชีพได้โดยไม่เหลือให้เสื่อมโทรม หรือผุผังเน่าไป.......ฯ  ผู้ใดขัดขืนฯ  ถือว่าขัดกับเจตจำนงของพระเจ้า
          สรุป  สภาวะธรรมชาติมนุษย์มีสิทธิต่าง ๆ  โดยล็อคเน้นว่า  ความสำคัญของสิทธิในทรัพย์สินมากที่สุด  และสิทธิเหล่านี้เป็นผลมาจากธรรมชาติซึ่งวางแนวความประพฤติที่ถูกต้องสำหรับมนุษย์ในสภาวธรรมชาติ
            7.2.3  จริยปรัชญาของล็อค
          ความเชื่อของล็อคในสภาวะธรรมชาติ  อันเป็นสภาวะที่มนุษย์ไม่ได้อยู่ร่วมกันในระบบการเมืองของสังคม  มีกฏทางจริยธรรมควบคุมความประพฤติของมนุษย์อยู่แล้ว  มนุษย์ทุกคนมีเหตุผล กฎจริยธรรมไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์เป็นผู้บัญญัติเพื่อวางกฏเกณฑ์ในสังคม  ความคิดนี้แตกต่างกับความเชื่อว่า  ความดี  ความชั่วไม่มีอยู่ในสภาวะธรรมชาติ  แต่อยู่ในสังคมการเมือง
          ล็อคมีความเห็นว่า  ในสภาวะธรรมชาติ  กฎเกณฑ์ความประพฤติ  ความดี  ความชั่ว  มีอยู่แล้ว  ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์กำหนดเอง  เป็นระเบียบที่มีอยู่แล้วในจักรวาล  กฎเหล่านี้จึงเป็นกฏตายตัวและเป็นสากลใช้เป็นระเบียบความประพฤติของมนุษย์ไม่ว่าในสถานใดหรือกาลสมัยใด  กฎระเบียบต่าง  มนุษย์สร้างขึ้นในสังคมเป็นกฏที่ดี  และถูกต้องเมื่อเดินตามกฏธรรมชาติเหล่านี้  ล็อคอ้างว่ากฏธรรมชาติคือเจตจำนงของพระเจ้า
          ในคำสอนของคริสต์ศาสนา  รัฐเป็นนาวาพามนุษย์ไปสู่ความดีอันสูงสุด หรือความสมบูรณ์แบบ  แต่ล็อคอ้างพระเจ้ามีเนื้อหากว้างๆ ไม่มีลักษณะเฉพาะอย่างคริสต์ศาสนา พื้นฐานความเชื่อของล็อคอยู่ที่ความมีเหตุผลของกฏระเบียบในจักรวาลตลอดถึงสมรรถภาพของมนุษย์ของเหตุผลมนุษย์
7.3  ที่มาและรากฐานของสังคมการเมือง
            7.3.1  กำเนิดของสังคมการเมือง
          ตามทรรศนะของฮอบส์  สภาวะของธรรมชาติเป็นสภาวะของสงครามกล่าวคือ  มนุษย์แต่ละคนแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตัว และเมื่อผลประโยชน์ขัดแย้งกับผู้อื่นก็ต้องต่อสู้แย่งชิงผลประโยชน์กัน  กลายเป็นสงครามที่มนุษย์แต่ละคนทำกับคนอื่นๆ ทั้งหมด ผลคือ แต่ละคนไม่ได้ผลประโยชน์ตามที่ต้องการ  แต่มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผล ละจากการใช้เหตุผลก็พบว่าวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาผลประโยชน์ของแต่ละคนก็คือยอมสละเสรีภาพตามธรรมชาติของตนและมอบออำนาจให้องค์อธิปัตย์เป็นผู้รักษาระเบียบความสงบในสังคม
          ปัญหาที่เกิดจากความคิดของฮอบส์เกี่ยวกับสภาวะธรรมชาติคือ ถ้าสภาวะนี้เป็นสภาวะที่มีความสงบอยู่แล้ว  และมนุษย์อยู่รวมกันอย่างมีเหตุผล  ถึงแม้สภาวธรรมชาติเป็นสภาวะที่สงบ  แต่มีความไม่สะดวกประการหนึ่ง  คือสภาวะนี้ไม่มีอำนาจส่วนกลางจะตัดสินความเป็นธรรมและยุติธรรมความขัดแย้งในหมู่มนุษย์  มนุษย์มีสิทธิตามธรรมชาติที่จะป้องกันตัวเองและตัดสินความยุติธรรม  แต่มนุษย์มักมีอคติ  รักตัวเอง  การใช้ตัวเองตัดสินความยุติธรรมมักนำไปสู่ความขัดแย้ง
          การที่มนุษย์ละทิ้งสภาวธรรมชาติมาอยู่ร่วมกันในระบบสังคมการเมืองก็เพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะสงครามอันเป็นสภาวะที่มนุษย์ทำลายล้างกันและกัน  อันเป็นผลมาจากการขัดแย้งกัน
          จากเหตุผลของล็อคสรุปได้ว่า  เหตุผลที่มนุษย์สร้างระบบสังคมการเมืองขึ้นมาเพราะธรรมชาติถึงแม้ไม่ใช่สภาวะสงครามแต่มีความไม่สะดวกอย่างมาก  และอาจนำไปสู่สภาวะสงครามได้  เป็นสภาพที่ชีวิตและเสรีภาพตลอดทรัพย์สินของแต่ละคนขาดความมั่นคงและปลอดภัย  ถูกคุกคามจากผู้อื่นเสมอ  เป็นสภาพที่แต่ละคนหวาดกลัวภยันตรายรอบข้างซึ่งมีอยู่ตลอดเวลา  มนุษย์แต่ละคนไม่อาจสามารถปกป้องทรัพย์สินและชีวิตตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จึงละทิ้งสภาวธรรมชาติมาอยู่รวมกันในสังคมการเมืองซึ่งสามารถปกป้องชีวิต  เสรีภาพและทรัพย์สินของแต่ละคนได้ดีกว่า
            ฮอบส์กับล็อคมีความเห็นเกี่ยวกับสภาวธรรมแตกต่างกันคือ
          ฮอบส์  มีทรรศนะว่า  ถ้ามนุษย์ไม่อยู่ร่วมกันในสังคมการเมืองต้องตกอยู่ในสภาพอันสพึงกลัวเป็นสภาวะที่ทุกคนทำสงครามประหัตประหารกัน
          ล็อค  มีทรรศนะว่า  ถ้าไม่มนุษย์ไม่อยู่ร่วมกันในสังคม  ก็ไม่จำเป็นว่าต้องตกอยู่ในสภาวะสงคราม  แต่จะไร้ความปลอดภัยและความมั่นคง  มีแนวโน้มที่จะเกิดสภาวะสงคราม
            ล็อคบรรยายลักษณะของสภาวธรรมชาติไว้เช่นนั้นก็เพื่อบรรลุถึงจุดประสงค์  2  ประการ
          1.ต้องการชี้ให้เห็นว่า การอยู่ร่วมกันในสังคมการเมืองเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการอยู่ในสภาวะธรรมชาติ  ดังที่ล็อคกล่าวว่าสภาวะธรรมชาติไร้ความปลอดภัย ฯ
          2. ต้องการให้เห็นความสลายตัวของรัฐไม่ได้นำไปสู่สภาวะสงคราม  แม้มนุษย์กลับไปสู่สภาวะธรรมชาติ  แต่ชุมชนมนุษย์ก็สามารถรวมตัวกันจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาใหม่ได้  ดังที่ล็อคกล่าวว่า  สภาวะที่มนุษย์อยู่รวมกันด้วยเหตุผลมีสันติสุขช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
          จากความคิดของล็อค  รัฐถือกำหนดจากการที่มนุษย์พิจารณาดูเหตุผลแล้วเห็นว่า การอยู่ร่วมกันในสังคมการเมืองเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ปกป้องชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์ของตน จึงละทิ้งสภาวธรรมชาติและสร้างระบบการเมืองขึ้นมา สังคมการเมืองคือสังคมที่มีอำนาจในการออกกฎหมายตัดสินความเป็นธรรมและลงโทษผู้กระทำผิดเป็นอำนาจส่วนกลาง  อำนาจส่วนกลางเป็นผลมาจากที่แต่ละบุคคลสละอำนาจที่ตนมีในสภาวธรรมชาติ  และมอบอำนาจแก่ชุมชนหรือสาธารณชนเป็นผู้ใช้อำนาจแทนในฐานะรัฐบาล
          สังคมการเมืองจึงเกิดจากมนุษย์ทุกคนร่วมตกลงร่วมมือรวมเป็นชุมชน และมอบอำนาจให้ส่วนกลาง  ข้อตกลงนี้ล็อคเรียกว่า ปฐมสัญญา แก่นแท้ของทฤษฎีการเมืองของล็อคคือ สัญญาประชาคม นี้
            7.3.2  ความหมายของสัญญาประชาคม
          ลักษณะสัญญาประชาคมของล็อคคือ  สัญญาประชาคมเชิงประวัติศาสตร์ คือ สัญญาที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์  เป็นขั้นหนึ่งของวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์
          ลักษณะของประชาคมอีกลักษณะหนึ่งคือ  สัญญาประชาคมเชิงสมมติ ตามสภาวธรรมชาติ  และสัญญาประชาคมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเป็นแต่เพียงสิ่งสมมติ การกล่าวถึงสิ่งเหล่านี้เป็นวิธรีการหรือรูปแบบที่ทำให้เข้าใจว่าการอยู่รวมกันในสังคมการเมือง  เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของมนุษย์  เป็นสภาวะธรรมชาติที่สมมติขึ้นมาฯ
          ปัญหาที่ล็อคต้องการตอบปัญหาเกี่ยวกับเกณฑ์ตัดสินว่า มนุษย์อยู่รวมกันในภาพใด  รัฐบาลแบบใดที่ดีสำหรับมนุษย์  ส่วนคำตอบของล็อคคือ  มนุษย์สมควรอยู่ร่วมกันในสังคมการเมือง รัฐบาลที่ชอบธรรมต้องมาจากการยินยอมของปวงชน
          ประเด็นที่ล็อคสนใจ คือ  เกณฑ์การตัดสิน  คุณค่า  ข้อเท็จจริง
          ดังนั้น  การอ้างเหตุผลของล็อครัฐบาลที่ชอบธรรมต้องมีรากฐานอยู่บนความยินยอมของประชาชน  การอ้างเหตุผลของล็อคมีเนื้อหาดังนี้
          1.มนุษย์ในฐานะที่มีสิทธิตามธรรมชาติในชีวิต  ทรัพย์สิน  และเสรีภาพ  ของตน
          2.จากข้อ 1 มนุษย์มีจริยธรรมที่เคารพในสิทธิตามธรรมชาติของผู้อื่น
          3. แม้มนุษย์จะมีเหตุผลเข้าใจกฏจริยธรรม แต่ก็มีกิเลสตัณหา มีความต้องการคุกคามชีวิต  ทรัพย์สิน เสรีภาพ ผู้อื่น
          4. เมื่อมีการคุกคามฯ  การป้องกันตนเองฯ  ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด  เพราะนำไปสู่การประหัตประหารกัน  มนุษย์แต่ละคนไม่สามารถปกป้องชีวิต  ทรัพย์สิน  เสรีภาพ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          5. วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันฯ  คืออยู่ร่วมกันในสังคมมีอำนาจกลางตัดสินความเป็น ธรรมและลงโทษผู้กระทำผิด
            7.3.3  รูปแบบของรัฐ
          ตามทรรศนะของล็อค  การสละอำนาจและความยินยอมนี้มีส่วนในการกำหนดรูปแบบของรัฐด้วย  เพราะในการสละอำนาจของแต่ละคนจะต้องสละให้กับผู้ใด  หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  เปรียบเช่นกับแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไป  การสละอำนาจของล็อคคือ  การสละอำนาจให้กับผู้ใดผู้หนึ่งมาจากความยินยอมแต่ละคนฯ
          ล็อคถือว่า อำนาจนิติบัญญัติเป็นอำนาจสูงสุดของประเทศ การใช้เสียงส่วนใหญ่กำหนดตัวผู้รับมอบหมายอำนาจ หมายถึง การกำหนดตัวผู้รับอำนาจสูงสุด  และการกำหนดรูปแบของรัฐ ถ้าเสียงส่วนใหญ่เป็นผู้ออกกฎหมายและแต่งตั้งผู้มาใช้กฎหมาย  รูปแบบรัฐก็จะเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์
            7.3.4  ขอบเขตแห่งอำนาจรัฐ
          1. อำนาจนิติบัญญัติต้องไม่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ 
          2. กฏหมายผู้ที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติร่างขึ้นมาต้องประกาศใช้อย่างชัดแจ้งให้เป็นที่รู้ทั่วกัน
          3. ผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติไม่อาจพรากทรัพย์สินไปจากเจ้าของได้  นอกจากว่าจะได้รับยินยอมจากเจ้าของเสียก่อน
          4. ผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติไม่สามารถโอนอำนาจนี้ให้แก่ผู้อื่นได้
          ขอบเขตอำนาจนิติบัญญัติดังกล่าวของล็อคเป็นหลักการที่จำกัดอำนาจสูงสุดเอาไว้ไม่ให้ถูกนำไปใช้ตามอำเภอใจ
          อำนาจนิติบัญญัติ  และอำนาจการบริหาร  ล็อคเห็นว่า  ไม่ควรอยู่ในมือของคน ๆ เดียว  หรือกลุ่มคนกลุ่มเดียว  เพราะมิฉะนั้นกลุ่มหรือบุคคลเหล่านั้นจะออกฎหมายเอื้อต่อผลประโยชน์ตนเอง  หรืออาจจะยกเว้นตัวเองจากการอยู่ภายใต้กฎหมาย
7.4  สังคมการเมืองและปัจเจกบุคคล
            7.4.1  สิทธิและเสรีภาพของปัจเจกชนในรัฐ
          ตามทรรศนะของล็อค  มนุษย์ในสังคมการเมืองต้องสละ  3  สิ่ง  คือ
          1. ความเสมอภาค  เมื่อมนุษย์ตกลงให้บุคคลหรือกลุ่มหนึ่งมีอำนาจสูงสุด  ออกกฎหมายควบคุมคนทั้งประเทศ  นั่นหมายความว่า  มนุษย์สละความเสมอภาคโดยยอมให้คนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง  ได้แก่  สิทธิในอำนาจสูงสุด
          2. เสรีภาพเมื่อมนุษย์ตกลงให้บุคคลหรือกลุ่มหนึ่งมีอำนาจสูงสุด  ออกกฎหมายควบคุมคนทั้งประเทศ  นั่นหมายความว่า  มนุษย์ยอมให้คนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งบงการกระทำของตน  ถือว่าเป็นการสละเสรีภาพ
          3. อำนาจบริหาร เมื่อมนุษย์มาอยู่ร่วมกันในสังคมเมือง  ก็ตกลงกันสละอำนาจที่แต่ละคนมีให้กับส่วนกลางเป็นผู้ใช้แทนตน
          รัฐบาลที่ชอบธรรม  ต้องไม่ทำลายสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ  คือ  สิทธิในชีวิต  เสรีภาพ  ทรัพย์สิน  ถึงแม้มนุษย์ต้องสละบางอย่างเมื่ออยู่ในสังคมการเมือง  แต่มนุษย์ยังคงมีสิทธิในชีวิต  เสรีภาพ  และทรัพย์สินอยู่  เป็นสิทธิที่ใครจะพรากไปไม่ได้
            ทฤษฎีการเมืองของฮอบส์แตกต่างจากล็อคโดยสิ้นชิ้ง  คือ
          ฮอบส์  มนุษย์ในสังคมการเมืองได้สละเสรีภาพของตนโดยสิ้นเชิงเพื่อแลกกับสันติภาพและความมั่นคง
          เสรีภาพตามทรรศนะของฮอบส์  เสรีภาพตามธรรมชาติเป็นเสรีภาพปราศจากขอบเขต  เป็นต้นเหตุสำคัญของสงครามระหว่างมนุษย์ในสังคมการเมือง  มนุษย์ไม่ควรมีเสรีภาพเท่าเดิมมนุษย์ภายใต้กฎหมายสังคมเมืองห้ามกระทำอย่างหลายอย่างมนุษย์ในสภาวธรรมชาติกระทำได้  เสรีภาพของมนุษย์ในสังคมการเมืองย่อมถูกบั่นทอนลง
          ล็อค  โดยแท้จริงมนุษย์ไม่ได้สูญเสียเสรีภาพในการเข้ามาอยู่ในสังคมการเมือง  ไม่เอาเสรีภาพไปแลกกับคนอื่น  มนุษย์ยอมสละอำนาจหรือสิทธิบางอย่างเพื่อแลกกับความมั่นคง  ปลอดภัย  แต่เสรีภาพนั้นมนุษย์ยังมีขอบเขตเท่าเดิม
          สรุป  ล็อคมีทรรศนะว่า  สังคมการเมืองที่ชอบธรรมควรให้สิทธิส่วนบุคคลแก่ประชาชน  ประชาชนควรมีสิทธิส่วนบุคคลในการดำรงชีวิตและทรัพย์สิน
            7.4.2  การขัดขืนอำนาจรัฐ
          สิทธิในการปฏิวัติ  เมื่อรัฐมีอำนาจ ถ้ารัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจ มนุษย์ทุกคนมีสิทธิประวัติโดยร่วมมือกับคนส่วนใหญ่ ดังนั้นสิทธิการปฏิวัติจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อ มีชุมชนร่วมมือกันมีการกระทำร่วมกัน  สามารถขัดขืนอำนาจรัฐได้
          ล็อค มีทรรศนะว่า การขัดขืนอำนาจรัฐรัฐหรือการปฏิวัติจะชอบธรรมก็ต่อเมื่อผู้ใช้อำนาจรัฐใช้อำนาจเกินขอบเขต
          เหตุผลหลักของล็อค คือ รัฐเป็นเสมือนผู้ดูแลผลประโยชน์ของประชาชน ประชาชนมอบอำนาจให้แก่รัฐในการป้องชีวิต ทรัพย์สิน เสรีภาพ เมื่อใดรัฐทำหน้าที่นี้บกพร่องหรือเกินขอบเขตหน้าที่ตน  โดยเฉพาะการหาผลประโยชน์ใส่ตน และประชาชนเสียผลประโยชน์ เมื่อนั้น ถือว่ารัฐหมดสิทธิโดยปริยาย อำนาจจะกลับคืนมาสู่ปวงชน สังคมการเมืองสลายตัวไปเอง มนุษย์กลับสู่สภาวธรรมชาติและสิทธิจะเลือกผู้ดูแลผลประโยชน์คนใหม่
          สรุป ทรรศนะของล็อค  ประชาชนเป็นผู้ตัดสินว่ารัฐบาลใช้อำนาจเกินขอบเขตหรือไม่  และผู้มีสิทธิประวัติมีความสำคัญยิ่ง เพราะในที่สุดแล้วอำนาจอธิปไตยอยู่ที่ปวงชน ทรรศนะนี้เป็นแก่นความคิดแบบประชาธิปไตยและเป็นความคิดที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อวัฒนาการของประชาธิปไตยในโลกตะวันตก
            7.4.3  ล็อคกับลัทธิเสรีนิยมประชาธิปไตย
            ธรรมชาติมนุษย์
          1.มนุษย์มีสิทธิบางอย่างอยู่แล้วโดยธรรมชาติ  ที่สำคัญๆ คือ  สิทธิปกป้องชีวิตของตน สิทธิในทรัพย์สิน  สิทธิจะลงโทษผู้กระทำผิด  สิทธิผลผลิตเกิดจากแรงงานของตน
          2. เมื่อมนุษย์มรสิทธิตามข้อ 1  มนุษย์แต่ละคนมีหน้าที่ทางจริยธรรม ที่จะเคารพสิทธิของผู้อื่น  มนุษย์สามารถเข้าใจด้วยเหตุผล
          3. ถึงมนุษย์มีเหตุผลเข้าใจกฎเกณฑ์ธรรมชาติ  แต่มนุษย์มีกิเลสตัณหา บางครั้งอาจคุกคามชีวิต  ทรัพย์สิน  เสรีภาพ  ผู้อื่น
            ปัญหา
          มนุษย์ต้องการปกป้องรักษาชีวิต  ทรัพย์สิน  เสรีภาพของตน  แต่ผลประโยชน์มักขัดกัน เป็นผลให้ชีวิต  ทรัพย์สิน  เสรีภาพไร้ความปลอดภัย
            ทางเลือก
          1.ต่างคนต่างป้องกันชีวิต  ทรัพย์สิน  เสรีภาพ  ตามความสามารถ
          2. มอบสิทธิอำนาจทั้งหมดให้คน ๆ เดียว  คือกษัตริย์  เป็นผู้ใช้อำนาจปกป้อง ฯ ของทุก ๆ คน
          3. อาศัยมติเสียงส่วนใหญ่มอบอำนาจให้คน ๆ หนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่ง  ในการตัดสินใจความเป็นธรรม  การใช้อำนาจอยู่ในขอบเขต ฯ  ที่กำหนด
            ข้อสรุป  ข้อที่  3  เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด
            สรุปของล็อคเกี่ยวกับสังคมการเมือง  ลัทธินิยมประชาธิปไตยประกอบด้วย  2  ทฤษฎี
          1. ทฤษฎีประชาธิปไตย  มีลักษณะกว้างๆ คือ เป็นทฤษฎีที่อำนาจอธิปัตย์อยู่ที่ประชาชน  หมายความว่าประชาชนมีอำนาจนี้  แต่มอบให้ผู้อื่นใช้แทน
          2. ทฤษฎีเสรีนิยม ทฤษฎีนี้ยึดหลักการว่า รัฐบาลมีหน้าที่หลักคือการปกป้องชีวิต ทรัพย์สิน  เสรีภาพของประชาชน
          ทฤษฎีเสรีนิยมประชาธิปไตยของล็อค  ไม่ใช่ทฤษฎีที่สมบูรณ์  เพราะล็อคไม่ได้ระบุว่ารัฐบาลที่มีรูปแบบต้องประกอบด้วยผู้แทนที่เลือกโดยปวงชน รัฐบาลต้องให้สิทธิส่วนบุคคลในการดำรงชีวิต  นับถือศาสนา  และการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี ทฤษฎีของล้อคจึงเป็นเพียงโครงสร้างลัทธิเสรีนิยมประชานิยม
7.5  อิทธิพลและคุณค่าความคิดของล็อค
          ทฤษฎีการเมืองของล็อค  เพื่อแสดงกิริยาของเขาที่มีต่อวิกฤตการณ์ทางการเมืองสมัยนั้น  ความคิดของล็อคต้องการโจมตีความคิดของฟิลเมอร์ที่มีอิทธิพลมากในสมัยนั้น  (ลัทธิเทวสิทธิ์)
            อิทธิพลของล็อคต่อการปฏิวัติอเมริกาและฝรั่งเศส
          ความคิดของล็อคต้องการเสนอคำตอบแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมืองในสมัยนั้น  ทฤษฎีของล็อคจึงมีลักษณะที่ถูกกำหนดโดยสภาพทางการเมืองสมัยนั้น 
          เมื่อทฤษฎีของล็อคไปยังทวีปอเมริกาและฝรั่งเศส ทฤษฎีของล็อคถูกนำไปใช้ในลักษณะเป็นทฤษฎีปฏิวัติโดยสมบูรณ์มีอิทธิพลโดยตรงต่อการปฏิวัติอเมริกัน  และโดยทางอ้อมต่อการปฏิวัติของฝรั่งเศส
          ศตวรรษที่  18  การปฏิวัติเกิดขึ้นในอเมริกัน เกือบ 1  ศตวรรษหลังจากการปฏิวัติในอังกฤษ  และเกือบ  15 ปี ก่อนการปฏิวัติในฝรั่งเศส  ความคิดของล็อคได้กลายเป็นสามัญสำนึกของนักคิดโดยทั่วไป  บรรดาผู้นำและปัญญาชนชาวอาณานิคมล้วนได้รับการศึกษาอบรมมาทางทฤษฎีการเมืองของล็อค  ความคิดทางการเมืองของล็อคจึงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในหมู่ชาวอาณานิคม 
          ความคิดของล็อคที่ชาวอเมริกันนำมาใช้ได้แก่ สิทธิตามธรรมชาติ ชาวอาณานิคมถือว่ารัฐสภาอังกฤษออกกฎหมายเก็บภาษีพวกตนทั้ง ๆ ที่พวกตนไม่มีผู้แทนในสภา เป็นการละเมิดสิทธิตามธรรมชาติของตน  ดังนั้นชาวอาณานิคมมีสิทธิที่จะขัดขืน
          กรณีการปฏิวัติในฝรั่งเศส  ทฤษฎีของล็อคถูกนำเอาไปใช้ในฐานะปฏิวัติอย่างเต็มตัว ในประเทศฝรั่งเศสเผด็จการกษัตริย์ฝังรากลึก  ทางเลือกเดียวคือการปฏิวัติ ทฤษฎีของล็อคเรื่องสิทธิเสรีภาพของมนุษย์และสิทธิในการปฏิวัติของปวงชนจึงเหมาะสมอย่างยิ่งกับสถานการณ์ในประเทศฝรั่งเศส  อิทธิพลความคิดของล็อคที่มีต่อนักปฏิวัติฝรั่งเศสส่งผ่านมาทางวอลแตร์ และมองกิเออ  ซึ่งเคยอยู่ในอังกฤษ  แม้ทั้งสองไม่ได้เสนอการปฏิวัติ  แต่ทรรศนะของล็อคถูกถ่ายทอดสู่นักปฏิวัติโดยทั้งสอง
            คุณค่าของทฤษฎี จอห์น ล็อค
          ทฤษฎีของล็อคนำไปสู่ลัทธิเสรีนิยมประชาธิปไตย  โครงสร้างของลัทธินี้ตามปรากฏในทฤษฎีของล็อคเหมาะสมแก่การนำไปพัฒนาให้เป็นทฤษฎีเสรีนิยมประชาธิปไตยอย่างเต็มตัว

            ปรัชญาการเมืองของล็อคเป็นผลผลิตของศตวรรษที่  17  ความคิดของล็อคยังไม่หมดคุณค่าเสียทีเดียว  ตราบใดที่ระบบเผด็จการในรูปแบบต่างๆ  ยังไม่สิ้นสูญไปจากโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น