วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สังคมการเมืองกับปัญหาความเปลี่ยนแปลง

สังคมการเมืองกับปัญหาความเปลี่ยนแปลง
9.1 ภูมิหลังและความคิดของ*เบอร์ก
             1. การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส
           การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศสใน ค.ศ.1789 มาจากความล้มเหลวของการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจอย่างเต็มที่และใช้อำนาจอย่างกว้างขวาง และสถาบันรัฐสภาที่ประกอบด้วยชนชั้นสูงรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มตน ทำให้ชนชั้นกลางและชาวนาต่างแสวงหาทางออกด้วยการลุกฮือจลาจลนำมาสู่การโค่นล้มการปกครองเพื่อสร้างระบบการเมืองใหม่ที่ให้เสรีภาพกับประชาชน และพระมหากษัตริย์กลายเป็นนักโทษมวลชนเหตุการณ์ครั้งนี้นับเป็นส่วนสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความคิดของเบอร์กในเวลาต่อมา
          2. แนวความคิดทางการเมืองของนักปฏิวัติในฝรั่งเศส
          ทฤษฎีที่เป็นแรงผลักดันการปฏิวัติในฝรั่งเศสก็คือทฤษฎีสิทธิตามธรรมชาติ ซึงแถลงว่ามนุษย์อยู่ในฐานะเป็นมนุษย์ มีสิทธิบางอย่างอยู่แล้ว สิทธินี้มีอะไรบ้าง สามารถเข้าใจได้ด้วยเหตุผล รัฐบาลที่ชอบธรรมต้องเคารพสิทธิเหล่านี้
          3. ชีวิตและผลงานของเบอร์ก
          เบอร์กเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของอังกฤษมีทัศนะ
คติในทางลบต่อการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส โดยได้เขียนหนังสือโจมตีการปฏิวัติฝรั่งเศสเพื่อชี้ให้เห็นว่าการปฏิวัติครั้งนี้เดินตามแนวความคิดที่ผิดและย่อมนำไปสู่หายนะในที่สุดจุดมุ่งหมายของเบอร์กก็เพื่อจูงใจผู้อ่านมิให้เห็นด้วยกับทฤษฎีของนักปฏิวัติ เพราะเบอร์กกลัวว่าถ้ามีผู้เชื่อถือในทฤษฎีเช่นนี้อาจจะมีการนำทฤษฎีเช่นนี้ไปอ้างเพื่อกระตุ้นให้มีการปฏิวัติในอังกฤษ
9.2  ทรรศนะของเบอร์กเกี่ยวกับสังคมการเมือง
          1. ลักษณะสังคมการเมืองที่ให้ความเป็นธรรม
          แก่นกลางของทฤษฎีการเมืองของเบอร์ก คือ ทรรศนะเกี่ยวกับสังคมการเมือง และมีการโต้แย้งแนวคิดของนักปรัชญากลุ่มที่ประชาชนมีสิทธิล้มล้างอำนาจของรัฐบาลในกรณีที่ขาดความชอบธรรมในการปกครองและเห็นว่าอำนาจที่ชอบธรรม  ต้องมาจากประชาชน เบอร์กโต้แย้งแนวคิดของนักปฏิวัติโดยให้เหตุผลเป็นสองแนวทาง
          แนวทางแรก คือการชี้ให้เห็นถึงระบบการเมืองในอังกฤษและฝรั่งเศสชอบธรรมอยู่แล้ว การที่นักปฏิวัติอ้างถึงระบบอีกอย่างหนึ่งที่เป็นรูปแบบที่ชอบธรรมแล้วเป็นการอ้างที่เลื่อนลอย
          แนวทางที่สอง จริงอยู่ระบบการเมืองอังกฤษและฝรั่งเศสมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง แต่การเปลี่ยนแปลงโดยเป็นการโค่นล้มระบบเก่าและสร้างระบบใหม่ขึ้นแทนนั้นไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง จะนำไปสู่
ระบบที่เลวร้ายกว่าเดิม
          2.  สิทธิและเสรีภาพ
          ในทรรศนะของเบอร์ก สิทธิเสรีภาพทางการเมืองมีรากฐานมาจากประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองมิได้มาจากสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติ สิทธิเสรีภาพเหล่านี้รวบรวมไว้ในกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นสิ่งทีได้รับจากระบบการเมืองในฐานะพลเมืองไม่ได้เป็นสิ่งทีมีอยู่แล้วก่อนมีสังคมการเมือง
          3. เหตุผลและอคติ
         เบอร์กให้ความสำคัญกับอคติในการฐานะของการเป็นเหตุผลส่วนรวมอันเป็นสมบัติของชาติที่สืบเนื่องต่อกันมาหลายยุคสมัย และเหตุผลส่วนรวมเป็นผลรวมของการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาของการเมืองที่พิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ผล ยึดถือสืบทอดกันมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผลรวมนี้ปรากฏอยู่ในกฎหมายทั้งหลายในตัวรัฐธรรมนูญ เบอร์กไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขปัญหาทางการเมืองโดยไม่คำนึงถึงธรรมเนียมการก้ปัญหาที่มีมาแต่เดิม การสนับสนุนอคติของเบอร์กจึงไม่ได้เป็นการละทิ้งเหตุผล แต่เป็นการสนับสนุนให้ยึดถือธรรมเนียมเดิมในการแก้ปัญหาทางการเมืองซึ่งเป็นการใช้หุผลของคนจำนวนหนึ่ง
9.3 ทรรศนะของเบอร์กเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสังคมการเมือง
          1. ผลของความหายนะของการปฏิวัติ
          ผลของความหายนะของการปฏิวัติ เป็นการทำลายระบบเก่าที่ประกอบด้วยธรรมเนียมเดิม ซึ่งพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพสูงในการปัญหาทางการเมือง ทำให้ขาดแนวทางที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาการเมืองที่นำไปสู่ความจลาจลวุ่นวาย
          2. การใช้หลักการแบบนามธรรม
          หลักการของนักปฏิวัติไม่อาจใช้เป็นแนวทางแทนระบบเก่าที่ถูกทำลายไปได้ เพราะหลักการนามธรรมซึ่งห่างไกลจากความเป็นจริงไม่อาจนำมาใช้ในสภาพการณ์ที่เป็นจริงที่มีความสลับซับซ้อนได้ หลักการนามธรรมที่ว่านี้ เป็นผลมาจากการใช้ เหตุผลที่ไม่ถูกต้อง ไม่คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงหรือธรรมเนียมเดิม ดังนั้นหลักการเช่นนี้ย่อมเป็นหลักการที่ห่างไกลจากความเป็นจริง ไม่อาจนำมาใช้กับสภาพที่เป็นจริงได้ การปฏิวัติล้มล้างระบบเก่าเช่นการปฏิวัติในฝรั่งเศสใช้หลักการเช่นนี้เป็นแนวทาง ย่อมนำมาสู่การปฏิวัติที่ไม่เป็นไปตามอุดมคติ ในเมื่อแนวทางเก่าถูกทำลายและแนวทางใหม่ไม่อาจนำมาสู่ใช้ปฏิบัติให้ได้ผล  ตามที่ต้องการ ความจลาจลวุ่นวายย่อมเกิดขึ้น  โดยมีความหายนะเป็นผลสุดท้าย
          3. แนวทางที่ถูกต้องในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
         แนวทางที่ถูกต้องในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในทรรศนะของเบอร์ก คือ การปฏิรูปหรือการปรับปรุงให้ดีขึ้นย่อมเกิดขึ้นในสังคมที่มีมานานแล้ว ตราบใดที่การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงนั้นยึดโครงสร้างหลักของระบบเก่าเป็นพื้นฐานเบอร์กไม่ได้เชื่อว่าสังคมการเมืองที่มีมานานแล้วมีความสมบูรณ์แบบ เขาเพียงแต่เชื่อว่าระบบเก่ามีโครงสร้างหลักที่ดีอยู่แล้ว แต่กลไกปลีกย่อยในระบบ
9.4 ประเมินคุณค่าของทฤษฎีอนุรักษ์นิยมของเบอร์ก
            1. อิทธิพลของเบอร์กที่มีต่อนักปรัชญาอนุรักษนิยมรุ่นหลัง
            อิทธิพลและทรรศนะของเบอร์กต่ออนุรักษนิยมสมัยหลัง คือ                                             (1) ทรรศนะของเขาที่มีความเชื่อว่าสถาบันที่ก่อตั้งมานาน ย่อมมีคุณค่าควรแก่การรักษาเอาไว้ ไม่ควรมีการล้มล้างระบบเก่าแต่ควรมีการปรับปรุงกลไกในระบบเก่าให้มีความเหมาะสม
          (2) ทรรศนะหรือความคิดที่ว่าการเมืองการปกครองเป็นศาสตร์แห่งการปฏิบัติ ไม่ใช้ศาสตร์ที่อาศัยหลักการนามธรรมจึงต้องอาศัยประสบการณ์ที่สะสมมายาวนานเท่ากับเป็นการเน้นความสำคัญของสถาบันที่มีมานาน ปรับปรุงแก้ไขตัวเองโดยอาศัยประสบการณ์และการทดลอง
          2. ข้อดีและข้อบกพร่องของทรรศนะของเบอร์ก
            ข้อดี  ของทรรศนะของเบอร์กก็คือการท้าทายทฤษฎีสิทธิตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่ยอมรับมานานโดยปราศจากการอ้างเหตุผลสนับสนุนที่เพียงพอ
            ข้อบกพร่องที่สำคัญ คือ ความเข้าใจผิดที่คิดว่าการใช้หลักการนามธรรมกับการใช้หลักการเชิงปฏิบัติเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม
          3. ความคงเส้นคงวาของทรรศนะของเบอร์ก
             ทรรศนะของเบอร์กต่อการจัดการกับความเปลี่ยนแปลง คือ การประนีประนอม เพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมซึ่งล้วนแล้วเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น กรณีการเรียกร้องของชาวอเมริกันในขณะเป็นอาณานิคมต่ออังกฤษ แต่รัฐสภาอังกฤษไม่มีการประนีประนอมทำให้ชาวอเมริกันต่อสู้เพื่อแยกตัวเป็นเอกราช
          4. อนุรักษนิยมกับประชาธิปไตย
             ทรรศนะของเบอร์กมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาทางทฤษฎีการเมืองในปัจจุบัน ถึงแม้เบอร์กจะตั้งใจที่จะวิเคราะห์วิจารณ์เหตุการณ์ในสมัยของเขา แต่ตราบเท่าที่เบอร์กวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับว่า สังคมการเองควรยึดถือธรรมเนียมเดิมหรือยึดถืออุดมคติทางการเมือง สิทธิเสรีภาพของมนุษย์ควรมีรากฐานอยู่บนหลักการใด การเปลี่ยนแปลงสังคมกากรเมืองควรดำเนินการอย่างไร ปันเป็นปัญหาสากลที่ในปัจจุบันยังคงถกเถียงกันอยู่ ตราบนั้นทรรศนะของเบอร์กยังคงควรค่ากับการศึกษา
            *เอ็ดมัน เบอร์ก (ค.ศ. 1729-1797) นักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษ เคยศึกษาวิชากฎหมาย ภายหลังเป็นสมาชิกรัฐสภาในระหว่าง ค.ศ. 1766-1794 มีแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม ทำให้ต่อต้านนโยบายของอังกฤษต่ออาณานิคมที่ใช้ความรุนแรง เพื่อรักษาความเป็นจักรวรรดินิยมของอังกฤษ ต่อต้านการปฏิวัติในฝรั่งเศส เพื่อล้มล้างระบอบเก่า เป็นต้น
            *ข้อคิดเกี่ยวกับการปฏิวัติในฝรั่งเศส (Reflections on the Revolution in France) หรือ Reflections เป็นชื่อหนังสือที่เอ็ดมัน เบอร์ก เป็นผู้แต่งและตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1790 มีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ การต่อต้านการปฏิวัติในฝรั่งเศส และป้องกันมิให้เกิดการฏิวัติในอังกฤษเหมือนฝรั่งเศส เป็นหนังสือที่แสดงถึงแนวคิดแบบอนุรักษนิยมของผู้แต่งเป็นอย่างดี
            *การปฏิวัติในฝรั่งเศส เกิดขึ้น ใน ค.ศ. 1789 มีสาเหตุมาจากสภาพการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่ตกต่ำย่ำแย่ทำให้กษัตริย์กับขุนนางต่างกดขี่ราษฎรในยามฝืดเคือง นำมาสู่การลุกฮือของราษฎร และเป็นที่มาของการใช้ความรุนแรงกลายเป็นการปฏิวัติเพื่อล้มล้าง และทำลายระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันเป็นระบอบเก่าที่ประกอบด้วยกษัตริย์กับขุนนางเป็นส่วนสำคัญ
            *ทฤษฎีสิทธิตามธรรมชาติ เป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์ในฐานะที่เป็นตัวมนุษย์ มีสิทธิบางประการ การพิจารณาสิทธิเหล่านี้สมารถเข้าใจได้ด้วยเหตุผล รัฐบาลที่มีความชอบธรรมต้องเคารพในสิทธิเหล่านี้ และทฤษฎีสิทธิตามธรรมชาตินับแรงผลักดันที่สำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 1789
            *ลักษณะสังคมการเมืองที่ให้ความเป็นธรรม หรือลักษณะสังคมการเมืองที่ชอบธรรม ประกอบด้วยกฎหมายที่ใช้สืบทอดมาและพิสูจน์ว่าสร้างความยุติธรรมในสังคม ย่อมเป็นกฎหมายที่ดี เช่น กฎมายรัฐธรรมนูญ และมีผลต่อสถาบันทาการปกครองและผู้ปกครอง เช่น กษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์จึงเป็นกษัตริย์ที่มีความชอบธรรม เป็นต้น
            *สิทธิและเสรีภาพ ในทรรศนะของเบอร์กเห็นว่า สิทธิเสรีภาพทางการเมืองจึงเป็นผลผลิตของของธรรมเนียม หากต้องการรู้สิทธิเสรีภาพทางการเมืองเป็นอย่างไรต้องพิจารณาจากตัวบทกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ ไม่ใช้ไปอ้างสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติ เพราะสิทธิทางการเมืองไม่ได้มีรากฐานบนสิทธิตามธรรมชาติ และไม่อาจมีรากฐานบนสิทธิเช่นนั้นได้
            *เหตุผลและอคติ เบอร์กให้ความสำคัญกับอคติในการจัดระบบสังคมการเมือง เพราะอคติที่สำคัญ เช่น การเคารพนับถือ ความยำเกรงที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ รัฐสภา ขุนนาง เกิดขึ้นตามธรรมชาติมิใช่มาจากการเสแสร้งโดยผ่านการศึกษาอบรมกล่อมเกลา อคติในที่นี้จึงหมายถึงเหตุผล่วนรวมอันเป็นสมบัติของชาติที่สืบทอดมาหลายยุคหลายสมัยเหตุผลส่วนรวมจึงเป็นผลรวมของ  การใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาของการเมืองที่พิสูจน์มาแล้วว่าใช้ได้ผล และยึดถือสืบทอมาจนถึงปัจจุบันและไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขปัญหาทางการเมืองโดยไม่คำนึงถึงธรรมเนียมการแก้ปัญหาที่มีมาแต่เดิมการสนับสนุนอคติของเบอร์กจึงมิได้เป็นการสนับสนุน  ที่ให้ทิ้งเหตุผล แต่เป็นการสนับสนุนให้ยึดถือธรรมเนียมในการแก้ปัญหาทางการเมืองซึ่งเป็นผลรวมของการใช้เหตุผลของคนจำนวนหนึ่ง
            ผลของความหายนะของการปฏิวัติ คือ การจลาจลวุ่นวายเพราะเป็นการทำลายระบบเก่า ทำให้ขาดแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองอย่างถูกต้อง
            *การใช้หลักการแบบนามธรรม เป็นผลมาจากการใช้เหตุผลที่ไม่ถูกต้อง ไม่คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงหรือธรรมเนียมเดิม  ดังนั้น หลักการเช่นนี้ย่อมเป็นหลักการที่ห่างไกลความเป็นจริง ไม่อาจนำมาใช้กับสภาพความเป็นจริงได้ การปฏิวัติล้มล้างระบบเก่า เช่น การปฏิวัติในฝรั่งเศสใช้หลักการเช่นนี้เป็นแนวทาง ย่อมนำไปสู่ผลปฏิวัติที่ไม่เป็นไปตามอุดมคติ ในเมื่อแนวทางเก่าถูกทำลาย  และแนวทางใหม่ไม่อาจนำมาใช้ให้ได้ผลที่ต้องการ ความวุ่นวายย่อมเกิดขึ้น โดยมีความหายนะเป็นผลสุดท้าย
            *แนวทางที่ถูกต้องในการเปลี่ยนแปลงสังคม ในทรรศนะของเบอร์ก การปฏิวัติจะเป็นสิ่งที่ชอบธรรมก็ต่อเมื่อกระทำลงไปเพื่อรักษาธรรมเนียมทางการเมืองที่มีมาแต่เดิม หรือบูรณะสังคมให้คืนสภาพเดิม ดังนั้นวิธีการเปลี่ยนแปลงสังคมที่ถูกต้องไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติหรือการปฏิรูป ก็คือ การบูรณะให้ดีอย่างเดิม หรือการปกป้องรักษาธรรมเนียมเก่าเอาไว้

            *ความคงเส้นคงวาของทรรศนะของเบอร์ก ทรรศนะของเบอร์กต่อการจัดการกับความเปลี่ยนแปลง คือ การประนีประนอม เพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมซึ่งล้วนแล้วเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น กรณีการเรียกร้องของชาวอเมริกันในขณะเป็นอาณานิคมต่ออังกฤษ แต่รัฐสภาอังกฤษไม่มีการประนีประนอม ทำให้ชาวอเมริกันต่อสู้เพื่อแยกตัวเป็นเอกราช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น