วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ปรัชญาคริสต์กับสังคมการเมืองยุคกลาง

ปรัชญาคริสต์กับสังคมการเมืองยุคกลาง
4.1  คำสอนของพระเยซูและเซนต์ปอลกับมหาอาณาจักรโรมัน
­            4.1.1  สภาพของอาณาจักรโรมันสมัยพระเยซู
          ทางด้านภูมิศาสตร์ จักรพรรดิเคซาร์  เอากุสกุส  ขึ้นเถลิงอำนาจครองมหาอาณาจักรโรมันก่อน  ค.ศ. 27  มหาอาณาจักรโรมันมีพื้นที่ปกครองทะเลดิเตอร์เรเนียน  รวมประเทศปาเลสไตน์อันเป็นบ้านเกิดพระเยซูด้วย
          ด้านการเมือง โรมันปกครองมหาอาณาจักรโดยแบ่งเป็นแว่นแคว้น  หลายแคว้นรวมกันเป็นภาค  มีข้าหลวงคุมกำลังทหารดูแลทางด้านความมั่นคง  การปกครองท้องถิ่นแต่ละแคว้นรับผิดชอบโดยตรงต่อสภา ยกเว้นแคว้นที่ถือว่าเป็นทรัพย์สินส่วนจักรพรรดิ  เช่น  อียิปต์ ส่วนเรื่องภายในจัดการกันเองตามประเพณีนิยมประจำถิ่น
            ทางด้านสังคม  พลเมืองโรมันแบ่งออกเป็น  3  ประเภท 
          1. พลเมืองโรมัน ถือว่าเป็นเจ้าของอาณาจักรร่วมกับมหาจักรพรรดิ  มีสิทธิพิเศษหลายอย่าง
          2. เสรีชน  มีสิทธิเสรีภาพในการทำมาหากิน  มีหน้าที่เสียภาษี
          3. ทาส ไม่ถือว่าเป็นพลเมืองไม่มีสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายโรมัน 
ทาสเป็นสมบัตินายเหมือนปศุสัตว์และวัตถุทั้งหลาย 
          ทางด้านวัฒนธรรม  โรมันปล่อยให้ชาวกรีกเผยแพร่วัฒนธรรมได้อย่างอิสระ ปรัชญากรีกได้เข้ามาครอบงำโรมันปรัชญากรีกที่นับถือกันแพร่หลายได้แก่  ลัทธิเอปีคิวเรียน  ลัทธิสโตอิก  ลัทธิเพลโตลัทธิเอปิเคียวเรียน  มีต้นกำเนิดจากกรุงเอเธนส์ พัฒนามาเป็นทฤษฎีปรมาณู  คือ  สอนว่าทุกสิ่งประกอบขึ้นจากปรมาณูอันมีอนุภาคเล็กที่สุดจนไม่อาจแบ่งแยกได้อีก......ฯลฯ......
          ลัทธิสโตอิก  มีต้นกำเนิดมาจากกรุงเอเธนส์  เป็นลัทธิที่พัฒนามาใช้เหตุผลเชื่อกฎที่ครอบงำเอกภพเป็นกฎที่มีเหตุผล  เรียกว่า  วจนะ  วจนะเป็นกฎสสารและกฎความประพฤติของมนุษย์
          มหาอาณาจักรโรมันสมัยพระเยซู  ครอบครองดินแดน  กรีซ  อียิปต์  เมโสโปเตเมีย  ปาเลสไตน์ฯ  อันเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญๆ  ส่วนที่ได้รับความสนใจจากคนยากจนในมหาอาณาจักรโรมันมาก คือ  รหัสยลัทธิ  ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่รองรับผู้มีศรัทธามีวิญาณอมตะในสรวงสวรรค์  รหัสยลัทธิที่สำคัญ  ได้แก่  ลัทธิโอนีซุส  ออร์เฟอุส  โอซิริสกับอิซิส  มีทรา ฯ
          ประเทศปาเลสไตน์ เป็นแหล่งกำเนิดศาสนาคริสต์ นับถือพระยะโฮวาห์เป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งทั้งหลาย  ชาวยิวเชื่อว่ามนุษย์โลกสืบเชื้อสายมาจากบิดามารดาคู่แรกเดียวกันคือ  อาดัมกับเอวา  ต่อมามนุษย์หลงลืมไม่นับถือพระองค์  ทรงเลือกชาติยิวที่นับถือพระองค์และทรงสัญญาซึ่งมีบันทึกลงไว้ในคัมภีร์ไบเบิลภาคแรกว่า  สักวันหนึ่งพระองค์ทรงประทานพระเม็สซีอาห์  หรือผู้มากอบกู้ปราบศัตรูคือชาวโรมัน  และชาวยิวเป็นตัวแทนโลก
            4.1.2  ชีวิตและคำสอนของพระเยซูและเซนต์ปอนที่ปฏิรูปสังคม
          พระเยซู  ประสูติจากครอบครัวที่สืบสายเชื้อพระวงศ์ที่ตกอับ  พระเยซูเจริญวัยในตำบลนาซาเรท  อยู่ทิศเหนือนครยูซาเล็ม  อายุ  30  พรรษาเริ่มสั่งสอนประชาชน  แก่นของคำสอนคือ  ให้รักพระเจ้าเหมือนพ่อ  และรักเพื่อนมนุษย์เหมือนพี่น้องและตนเอง ให้อภัยโดยไม่มีข้อแม้  เหตุผลนี้ชาวยิวกลุ่มหนึ่งหวังให้พระองค์กอบกู้เอกราชของชาติ  แต่พระองค์ไม่ยินยอมจึงถูกปรักปรำว่าเป็นกบฎ  ถูกประหารชีวิตโดยตรึงไม้กางเขนเมื่ออายุ  33  พรรษา  สาวกได้นำชีวประวัติและคำสอนประกาศทั่วอาณาจักรโรมันโดยยืนยันว่าพระองค์  คือพระเม็สซีอาห์องค์จริง  เป็นผู้กอบกู้  เป็นบุตรพระเจ้า
          คำสอนการปฏิรูปสังคม  พระเยซูมีคำสอนว่า  ท่านจงรักพระเจ้าจนหมดสิ้นจิตใจอย่างพ่อ  เป็นบัญญัติที่สำคัญที่สุด  ส่วนที่สำคัญรองลงมา ท่านต้องรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง ทั้ง  2  ตอนรวมกันสรุปได้ว่าพระเยซู  วางนโยบายให้มนุษย์ทุกคนให้ถือว่าเป็นพี่น้องเสมอหน้ากันทั้งสิ้น
          การเมืองการปกครอง  พระเยซูไม่ได้ว่าควรใช้ระบอบใด  แต่ทรงกำชับว่าให้ยอมรับอำนาจการปกครองว่า  สิ่งใดเป็นของจักรพรรดิจงคืนให้จักรพรรดิ  สิ่งใดเป็นของพระเจ้าจงคืนให้พระเจ้า  ซึ่งหมายถึง  ศิษย์พระเจ้าต้องเคารพในกฎหมายบ้านเมืองพร้อมถือบทบัญญัติของพระเจ้า
          พระเยซูสิ้นชีวิตแล้ว  สาวก  เซนต์ปอล เผยแพร่คำสอนเข้มแข็งที่สุดในอาณาจักรโรมันจนถึงแก่วายชนม์
          หลักฐานคำสอนเซนต์ปอลมี 14  ฉบับ  กลายเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิลขยายเรื่องพี่น้องมนุษย์ชาติว่า
          มนุษย์เป็นอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเดียวกัน  มีหน้าที่ต้องรัก  ช่วยเหลือกัน ฯลฯ การที่มนุษย์ต้องรักกันและช่วยเหลือกันฉันพี่น้อง  ไม่ใช่ฐานะที่เราเมตตาช่วยเหลือผู้อื่น  เป็นผู้อื่นต้องพึ่งความช่วยเหลือเรา  โดยเราเป็นผู้ให้  เขาเป็นผู้รับเราเป็นผู้มีพระคุณ  เขาเป็นผู้ติดหนี้บุญคุณ
          คำสอนของเซนต์ปอล  ได้ปฏิรูปสังคมโรมัน  คือ  ทาสรู้สึกว่าเป็นการปลดปล่อย  คนยากจนมีที่พึ่ง  คนตกทุกข์ได้ยากมีเพื่อนปลอบใจ ฯ
            4.1.3  การเปลี่ยนสังคมการเมืองโรมันหลังสมัยพระเยซูถึงสมัยเซนต์ออกัสติน
          กฎหมายโรมันถึงจะให้สิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่  แต่ต้องรับรู้อำนาจสูงสุดของจักรพรรดิและไม่ก่อกวนความสงบสุขของมหาอาณาจักร  พระเยซูถูกประหารด้วยข้อกล่าวหาว่า  ตั้งตนเป็นพระมหากษัตริย์แข่งอำนาจจักรพรรดิ  ข้อกล่าวหานี้มาจากชาวยิวที่ต้องการกำจัดพระองค์
          สาวกได้เผยแพร่คำสอนของพระเยซูอย่างเงียบๆ มีอุปสรรคมากมายเป็นที่รังเกียจของชาวยิว  ชนชาติอื่นยอมรับเป็นอย่างดีพวกทาสรู้สึกว่าเป็นการปลดปล่อยเลยที่เดียว
          ก่อน  ค.ศ. 60  ได้เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่  หาต้นเพลิงไม่ได้  จึงโยนความผิดให้ชาวคริสต์เป็นแพะรับบาป  ศาสนาคริสต์จึงเป็นศาสนาต้องห้ามในมหาอาณาจักรโรมันตั้งแต่บัดนั้นมา  ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษถึงประหารชีวิต 
          ครั้นแม่ทัพค็อนสตันติน  ได้เป็นจักรพรรดิ  ประกาศยกเลิกการห้ามนับถือศาสนาคริสต์ในปี  ค.ศ. 313  ต่อมา  จักรพรรดิเธโอโดซีอุส  ประกาศศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติ
4.2  มหาอาณาจักรโรมันกับเซนต์ออกัสติน
            4.2.1  ชีวประวัติเซนต์ออกัสติน
            เซนต์ออกัสติน  เกิดในครอบครัวราชการโรมัน  เมืองตรากัสเต  ภาคตะวันออกของแคว้นนูเมเดีย  บิดานับถือศาสนาพหุนิยม  มารดานับถือศาสนาคริสต์  ออกัสตินเลือกเรียนวรรณคดีละตินเน้นหนักทางวาทศิลป์  อ่านงานนิพนธ์ของซิเซโรนักวาทศิลป์โรมัน  ตอนหนึ่งซิเซโรได้กล่าวถึงอนิจจังของโลกียวิสัย  ออกัสตินคล้อยตามจึงตัดสินใจแสวงหาปรีชาญาณ  ระหว่างที่ออกัสตินเป็นอาจารย์สอนวาทศิลป์ที่นครคาร์เทชได้ศึกษาศาสนามานีอยู่ 9 ปี  จึงหันมานับถือลัทธิวิมัตินิยม  ซึ่งสอนให้ตั้งข้อสงสัยไว้มาก ๆ ภายหลังได้หันมาสนใจปรัชญาเพลโต โดยคำแนะนำของอัมโบรซีอุส
            4.2.2  ปรัชญาการเมืองออกัสติน
          เซนต์ปอล อธิบายสังคมมนุษย์ลักษณะลึกลับและพอใจกับบรรยากาศลึกลับ  ออกัสติน เห็นว่าสังคมเป็นสนามประลองยุทธ  เพื่อให้คนดีได้พิสูจน์ความดีของตน  คนเลวได้รับรู้ความเลวของตนเช่นเดียวกัน
          ออกัสติน  ชี้ให้เห็นว่าสังคมมนุษย์มี  2  ประเภท  คือ  1. นครของพระเจ้า  ได้แก่คนดีทั้งโลก  2. นครของโลกนี้  ได้แก่  คนเลวทั้งโลก  สองนครไม่มีเส้นกั้นแบ่งเขตอยู่ปะปนในสังคมเดียวกัน  จึงยากจะเห็นว่าใครสังกัดนครใด
          ตามทรรศนะของออกัสติน  ผู้มีอำนาจสูงสุดคือสถาบันกษัตริย์  ส่วนผู้มีอำนาจสูงสุดในศาสนาได้แก่  สถาบันสันตะปาปา  ในประเทศที่พลเมืองส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์อำนาจกษัตริย์ได้รับช่วงมาจากสถาบันสันตะปาปา
            4.2.3  การเปลี่ยนแปลงในสังคมการเมืองยุโรปหลังออกัสติน
          ค.ศ. 430  ออกัสติน  ได้วายชนม์  อนารยชนสามารถยึดนครคาร์เทชได้  ต่อจากนั้นได้รุกรานหนักทั่วมหาอาณาจักรโรมัน  ถึง  ค.ศ. 476  จักรพรรดิ์โรมูลุส  ถูกอนารยชนบังคับให้ลาออกจากตำแหน่ง  อันเป็นการสิ้นสุดอำนาจทางการเมืองที่ออกัสตินถือว่าจักรพรรดิได้รับอำนาจจากพระเจ้า
          จากข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นเหตุให้สันตะปาปาเก-ลาซีอุส  ทรงประกาศเป็นหลักการซึ่งให้กำลังใจแก่ผู้สามารถคุมกำลังป้องกันท้องถิ่นได้ว่าอำนาจทางการเมืองกับศาสนาต่างได้รับมาจากรพะเจ้าอย่างอิสระต่างกัน  ต้องอะลุ่มอล่วยต่อกัน
          จอห์นแห่งซอลส์เบอรี่แก้ปัญหาโดยเสนอให้อำนาจการเมืองอยู่ใต้อำนาจศาสนาเสีย  จากสำนวนสันตะปาปามีดาบ  2  เล่มในมือ  ซึ่งหมายถึงมีอำนาจสูงสุด  2  ด้าน
4.3  สังคมยุโรปยุคกลางกับอาควีนัส
            4.3.1  ชีวประวัติของอาควีนัส
          โธมัส  อาควีนัส  เป็นนามภาษาละตินของโตมาโซ  ดาควีโน  เป็นชาวอิตาลี  เกิดในปราสาทแห่งร็อคคาเซ็คคา  ใกล้เนเปิลส์หรือนาโปลี  บิดานามว่าลันด็อลโฟ  ดาควีโน เป็นเจ้านครตำแหน่งเคาน์แห่งคาควีโน  สืบเชื้อสายมาจากหัวหน้าเผ่าเยอรมันที่บุกยึดอิตาลี  มารดาสืบเชื้อสายมาจากโรแบรต์  กิสการ์ด  อาควีนัสมีนิสัยชอบผจญภัย  กล้าเสี่ยง  มีมานะ  และเอาจริงเอาจังกับอุดมคติที่ตั้งไว้
          อาควีนัสอายุ  5  ขวบ  บิดานำไปฝากเป็นลูกวัด  ณ  อารามฤาษีคณะเยเนดิกติน  บนภูเขาม็อนเตคัสซีโน  เป็นอารามมีทรัพย์สินมาก ค.ศ. 1239  กษัตริย์เฟรเดรีโก  ที่  2  แห่งซีซีเรียสั่งปิดอารามแห่งนี้  เนื่องจากไม่พอพระทัยที่ถูกสันตะปาปาคว่ำบาตรการรวมอิตาลีกับเยอรมัน  อาควีนัสอายุได้  14  ปี  จึงเดินทางกลับบ้านเข้าเรียนคณะศิลปะศาสตร์ในมหาวิทยาลัยนาโปลี  เรียนตรรกวิทยาจากมาร์ตีโนแห่งดาเคียธรรมชาติวิทยาจากปีเอโตรแห่งไอร์แลนด์ 
          ค.ศ. 1243  อายุได้  18  ปี  บิดาถึงแก่กรรม  มารดาพี่ชายรับทอดเจนาของบิดา  จึงเกลี้ยกล่อมให้เลือกระหว่างเป็นทหารกับเข้าถือพรตในอารามม็อนเตคัสซีโนที่เปิดใหม่
          ค.ศ. 1250 ได้เป็นบาทหลวง  ในปีเดียวกันทางบ้านประสบเหตุร้ายเพราะเข้าข้างสันตะปาปาต่อต้านกษัตริย์เฟรดีรีโก  ถูกโจมตีปราสาทพังพินาศ  พี่ชายคนรองถูกประหารชีวิต
          อาควีนัสได้รับปริญญาตรีจากโคโลญ  เตรียมเขียนวิทยานิพนธ์  เพื่อเสนอสอบปริญญาโท  ค.ศ. 1253  แต่มีปัญหาการกีดกันนักพรตในมหาวิทยาลัยปารีส  วิธีหนึ่งคือไม่ให้ปริญญาโทแก่นักศึกษานักพรต  จนถึง  ค.ศ.1256  สันตะปาปาไกล่เกลี่ยปัญหาให้ปรองดองกันได้สำเร็จ  ค.ศ.1257  อาควีนัส  ได้รับปริญญาโท  เมื่ออายุ  27  ปี
          อาควีนัสเล็งเห็นว่าปรัชญาของอริสโตเติลน่าใช้อธิบายคริสต์ศาสนาได้ดีที่สุด  แต่จะต้องใช้ตัวบทของอริสโตเติลโดยตรง  แล้วประยุกต์ใช้ตีความไบเบิลและอธิบายคำสอนต่าง ๆ ของคริสต์ศาสนา  จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นนักบุญปี  ค.ศ. 1323  ได้สมญานามว่า  ปราชญ์เทวดา
            4.3.2  ปรัชญาการเมืองของอาควีนัส
          ปัญหาที่สำคัญของอาควีนัสคือปัญหาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักร
อาควีนัสปูพื้นฐานด้วยหลักฐานของอริสโตเติลว่าสถาบันสังคมจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยให้มนุษย์แต่ละคนบรรลุเป้าหมายชีวิต  เป้าหมายแห่งชีวิตของอาควีนัสมี  2  ระดับคือ
            1. ระดับตามธรรมชาติ  
            2. ระดับเหนือธรรมชาติ
          อาควีนัสมีความเห็นคล้ายอริสโตเติลว่า  มนุษย์เป็นสัตว์สังคม คือ ต้องอยู่ในสังคมโดยจำเป็น  และมีความเห็นขัดแย้งกับลัทธิอำนาจเบ็ดเสร็จ ถ้ารัฐออกกฎหมายขัดแย้งกับธรรมชาติ กฎหมายดังกล่าวไม่มีผลบังคับและพลเมืองมีหน้าที่ขัดขืนและร่วมมือกันต่อต้านโดยสันติวิธี  ถ้ากฎหายบังคับตามทำนองคลองธรรม  ผู้ปฏิบัติตามกฎหมายถือว่าปฏิบัติตามน้ำพระทัยพระเจ้า  และผู้ที่เชื่อฟังผู้มีอำนาจรัฐเท่ากับเชื่อฟังพระเจ้า 
          อาควีนัสไม่เห็นด้วยกับการล้มล้างทรราชด้วยการกบฎ  เพราะเกิดความเกิดความเดือดร้อนมากไม่คุ้มค่า สำหรับอาควีนัส เป้าหมายการปกครองสำคัญกว่าระบอบการปกครอง
          เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหนือธรรมชาติ  มนุษย์ต้องอาศัยสถาบันที่พระองค์ตั้งไว้คือคริสต์จักร  สถาบันศาสนามีเป้าหมายสูงกว่าการเมือง  สถาบันการเมืองต้องเกื้อหนุนให้ความสะดวกในเรื่องที่จำเป็นไม่ก้าวก่ายในสิทธิอำนาจของสภาบันศาสนา การใช้สถาบันศาสนาเป็นเครื่องมือแสวงหาอำนาจทางการเมืองเป็นนโยบายที่อาควีนัสประณามอย่างยิ่ง
          อาควีนัส มนุษย์จะเป็นอยู่ในสังคมตามกฎธรรมชาติ ในลักษณะที่สังคมมีอยู่เพื่อมนุษย์  มิใช่มนุษย์เพื่อสังคม  แต่มนุษย์ต้องเสียสละเพื่อสังคม สังคมจึงสามารถนำความสงบสุขมาสู่มนุษย์
            4.3.3  การเปลี่ยนแปลงสังคมยุโรปในสังคมการเมืองยุโรปหลังอาควีนัส          
            หลังจากอาควีนัสวายชนม์  ความคิดของเขายังไม่เป็นที่ยอมรับ   หลังจากนั้นประมาณ 3 ปี  อัครสังฆราชแห่งปารีสประณามอาควีนัสด้วยข้อหาว่าสอนแหวกแนว 11 วันต่อมา  อัครสังฆราชแห่งแคนเตอร์ก็ร่วมประณาม  แต่นักพรตคณะโดมีนีคัน  คัดค้านและช่วยแก้ข้อกล่าวหา  พ.ศ. 1296  สันตะปาปาโบนีเฟสที่  8  ได้ออกกฤษฎีกาประกาศห้ามไม่ให้กษัตริย์เก็บภาษีศาสนจักร แต่ไม่มีใครฟัง สามปีต่อมาทหารฝรั่งเศสบุกถึงวังและจับพระองค์ควบคุมไว้  แม้ผู้สวามิภักดิ์ช่วยเหลืออกมาได้แต่ได้ถึงแก่กรรมในเวลาต่อมา  ต่อมาสันตะปาปาเป็นชาวฝรั่งเศส  7 พระองค์  ตั้งสำนักอยู่ที่อาวีญ็อง ภาคใต้ฝรั่งเศส  ปกครองอยู่ภายใต้อำนาจกษัตริย์เกือบ  70  ปี
          31 ตุลาคม  ค.ศ. 1517  มาร์ติน  ลูเธอร์  ประกาศนโยบายปฏิรูปศาสนาโดยการแยกตัว  ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลหลายฝ่ายรวมทั้งกษัตริย์ด้วย  การปฏิรูปศาสนาจึงเป็นผลสำเร็จ
          สถาบันสันตะปาปาค่อย ๆ เสียอำนาจ  ในที่สุดคริสต์ชนทั่วไปก็ยอมรับทฤษฎีอาควีนัส  2  อำนาจ  แม้หลังปฏิรูปศาสนาแล้ว  คริสต์จักรคาทรอริกยังคงถือทฤษฎี  2  อำนาจของอาควีนัส
4.4  สาเหตุการปฏิรูปศาสนาในยุโรป
          การปฏิรูปศาสนาในยุโรป  หมายถึงการแยกตัวของคริสตจักรกลุ่มหนึ่งออกจากนิกายคาทอลิก  ทำให้เกิดนิกายโปรเตสแตนต์ขึ้นมาตั้งแต่บัดนั้น
            4.4.1  สาเหตุสำคัญการปฏิรูปศาสนา 
          1. นักการเมืองที่มีรสนิยมแบบฟื้นฟูศิลปะวิทยาการกรีกได้รับเลือกเป็นสันตะปาปาหลายสมัย สันตะปาปาเหล่านั้นไม่มีความเสียสละและประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง เช่น
          (1) นิโคลัสที่  5  (2)  ซิกซ์ตุสที่  1  (3) อเล็กซันเดอร์ที่  6  (4) ยูลีอุสที่  2  (5) เลโอที่  10
            2. การอุปถัมภ์ศิลปินและโดยเฉพาะการสร้างโบสถ์เซนต์ปีเตอร์  ต้องใช้เงินมาก  เป็นเหตุให้เก็บภาษี  เรี่ยไรอย่างหนัก  จนเป็นที่เอือมระอาทั่วไป
            3. ความรู้สึกชาตินิยมเริ่มก่อตัวทั่วยุโรป เป็นเหตุให้ชาวยุโรปหลุดพ้นอำนาจสันตะปาปาซึ่งเป็นคนต่างชาติ
            4.  คริสต์ศาสนาใช้วิธีรุนแรงเกินไป  สำหรับการจัดการผู้นอกรีต  เช่น  เผาทั้งเป็น  คว่ำบาตร
            4.4.2  ปรัชญาการเมืองของนักปฏิรูปศาสนา
            ชีวิตและปรัชญาการเมืองของมาร์ติน  ลูเธอร์
          มาร์ติน  ลูเธอร์  เกิดตำบลไอส์เลเบ็น แคว้นซักเซ็น  บิดาทำงานเหมืองแร่มันเฟ็ลด์  อายุ  18  ปี  เข้ามหาวิทยาลัยเอร์ฟูร์ต เพื่อเรียนกฎหมาย วันที่ 2 กรกฎาคม  ค.ศ.1505 ขณะเดินทางกลับมหาวิทยาลัยกับเพื่อนคนหนึ่ง  เกิดพายุฝนและฟ้าฝ่าเพื่อนตาย  จึงเข้าบวชในคณะเอากุสตีเนียน ศึกษาปรัชญาเทววิทยา สอนวิชาตรรกวิทยา  ค.ศ. 1510  ถูกส่งไปอยู่กรุงโรมค่อนข้างนานได้เห็นความล้มเหลวในสำนักสันตะปาปา  ทำให้คิดเริ่มหาทางแก้ไข  ครั้นมีการขายใบยกโทษบาปเพื่อหาทุนสร้างโบสถ์เซนปีเตอร์  จึงได้ตัดสินใจปฏิรูปขั้นเด็ดขาดโดยปิดแถลงการณ์คัดค้านไว้หน้าโบสถ์วิตเต็นเบิร์ก  มีผู้สนับสนุนมากมาย  ลูเธอร์ถูกสันตะปาปาเลโอที่ 10  คว่ำบาตร ลูเธอร์ได้รับการคุ้มครองจากเฟรเดริคแห่งซักเซ็น
            ปรัชญาการเมืองของมาร์ติน  ลูเธอร์
          มาร์ติน  ลูเธอร์  มีความผูกพันกับพระเจ้าเฟรเดริคแห่งซักเซ็นอย่างมาก  ปรัชญาของเขาจึงสะท้อนให้เห็นความผูกพัน  คือ  ราษฎรต้องสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์ของตน  ไม่ว่ากษัตริย์จะเลวหรือดีก็ต้องสวามิภักดิ์  เพราะเป็นน้ำพระทัยของพระเจ้าที่ประทานกษัตริย์มาให้ปกครอง  ปรากฏว่าเกิดกบฏชาวนาขึ้นลูเธอร์แนะนำให้ใช้ความรุนแรงปราบปรามเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง
            ชีวิตและปรัชญาการเมืองของแคลวิน
          กัลป์แวงหรือแคลวิล  เกิดเมืองนัวยอง  แคว้นปีคาร์ดี  ประเทศฝรั่งเศส  บิดาเป็นเลขาของสังฆราช  แคลวินเรียนในคณะเทววิทยายมหาวิทยาลัยปารีสเพื่อเตรียมตัวเป็นนักบวช  ค.ศ. 1528  บิดาเขาเข้าใจผิดกับสังฆราชถูกไล่ออกจากงาน  แคลวินจึงไปเรียนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยออร์เลอ็องและบูร์ชสนใจในการปฏิรูปศาสนา  โดยมั่นใจว่าเป็นความประสงค์ของพระเจ้า  จึงไปตั้งหลักแหล่งที่บาเซ็ล  ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  2  ปีต่อมาได้พิมพ์หนังสือ  คู่มือคริสต์ศาสนา  หลังจากนั้นได้รับการขอร้องจากชาวเจนีวาให้ช่วยปฏิรูปศาสนาและสังคม    มีกลุ่มคนที่ไม่พอใจก่อกบฏขึ้น  แคลวินหนีภัยไปอยู่สตรัสบูร์ก  ภายหลังได้เชิญให้กลับไปอยู่ที่เดิมจัดการปกครองแบบเทวาธิปไตยมีสภาเป็นที่ปรึกษา  และได้เสียชีวิตเนื่องจากทำงานหนักสุขภาพทรุดโทรม
          คำสอนที่สำคัญของแคลวินคือ  ถือว่าผู้ถือลัทธิเท่านั้นจึงจะได้ไปเป็นผู้ถูกคัดเลือกให้ไปสวรรค์  จากลัทธิแคลวินพัฒนามาเป็นลัทธิเพียวรีตันและลัทธิเพลสไปทีเรียน  หลายสาขา
          ปรัชญาการเมืองแคลวิน  พระเจ้าประทานสองอำนาจให้กับผู้ปกครองคือ  อำนาจทางศาสนากับอำนาจทางการเมือง  การเมืองมีหน้าที่รับใช้ศาสนาและอยู่ภายใต้อำนาจศาสนาที่ถูกต้อง ฯลฯ ราษฎรมีหน้าที่รับฟังผู้ปกครองไม่ว่าจะฝ่ายศาสนาหรือการเมือง  ทั้งนี้อำนาจการปกครองมาจากพระเจ้า  และพระองค์ทรงประทานผู้ปกครองมาให้ตามพระทัยของพระองค์
            4.4.3  การเปลี่ยนแปลงในสังคมการเมืองยุโรปหลังการปฏิรูปศาสนา
            ค.ศ. 1517 เมื่อลูเธอร์สามารถปฏิรูปศาสนาในเยอรมันได้สำเร็จ  แยกตัวเป็นอิสระจากอำนาจสันตะปาปา
          ค.ศ. 1541 เคลวินทำได้สำเร็จในสวิตเซอร์แลนด์  ชาวฮูเกโนต์ในฝรั่งเศสเป็นสาขาของเคลวิน  ทำการในฝรั่งเศสไม่สำเร็จถูกผู้สวามิภักดิ์สันตะปาปาฆ่าตายเป็นจำนวนมาก  ส่วนหนึ่งไปลี้ภัยในประเทศที่แยกตัวเป็นโปรเตสแตนต์ได้สำเร็จ  และขอให้ชาวโปรเตสแตนต์ช่วยแก้แค้น
          ค.ศ. 1562 เริ่มศึกสงครามระหว่าง  2  นิกายของศาสนาเดียวกันเกิดขึ้นอย่างดุเดือดเป็นเวลา 30  ปี
          ค.ศ. 1598  กษัตริย์เฮนรี่ที่  4  ของฝรั่งเศสประกาศกฤษฎีกาน็องต์  ให้เสรีภาพในการเลือกนับถือนิกายได้ตามสมัครใจ  ซึ่งเป็นนโยบายที่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปนำไปประกาศใช้
          2527  ประเทศอิตาลี  ประกาศยกเลิกศาสนาประจำชาติ
4.5  คริสต์ศาสนากับสังคมการเมืองยุคกลาง
            4.5.1  ลักษณะเฉพาะของคริตส์ศาสนา 
          1. ศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาคริสต์  โดยปกติถือว่าพระเยซูเป็นศาสดาก่อตั้งศาสนาคริสต์  แต่พระเยซูไม่ได้ประกาศคำสอนสำเร็จไว้ให้ศิษย์ยึดเป็นบรรทัดฐาน  แต่ให้คิดแก้ไขปัญหาเป็นกรณี ๆ เฉพาะหน้า
          2. ชาวคริสต์นับถือพระเยซูไม่ใช่ในฐานะศาสดา  แต่นับถือในฐานะพระเจ้าอวตาร  พระเยซูจึงไม่ใช่ผู้พบหรือกำหนดคำสอนมากนัก แต่เป็นตัวคำสอนเสียเอง
          3. เอกภาพของคริสต์จักร  พระเยซูทรงกำชับก่อนสิ้นพระชนม์ว่า  พวกท่านจงเป็นหนึ่งเดียวกัน  เหมือนกับที่เรากับพระบิดาเป็นหนึ่งเดียว
            4.5.2  คริสต์ศาสนากับสังคม
          คริสต์ศาสนาที่ต้องอยู่ในสังคมโดยจำเป็น  เพราะนโยบายของพระเยซูว่า
          ท่านทั้งหลายจงเป็นเกลือดองโลก
          ท่านทั้งหลายจงเป็นความสว่างส่องโลกฯลฯ
          คัมภีร์ไบเบิลจารึกไว้ว่าเป็นวจนะของพระเยซู  ทำให้ชาวคริสต์ไม่อาจแยกตัวออกจากสังคม  เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคล
          ตามทฤษฎี  ชาวคริสต์ที่มีศรัทธาต่อหลักการจริง  ย่อมเป็นผู้เสียสละในสังคม  เป็นคนน่าเลื่อมใส  น่าไว้วางใจ
            คริสต์ศาสนากับการเมือง

          คริสต์ศาสนานิกายคาทอลิกมีสถาบันสันตะปาปา  ซึ่งต้องมีลักษณะเป็นสากล  ไม่สังกัดชาติหรือประเทศใด  แต่ต้องมีสถานที่ตั้งเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งเอกภาพ คือนครรัฐวาติกัน  เป็นรัฐอิสระ  ภายใต้การรับรองของนานาชาติ  ไม่ต้องมีกำลังรักษาความปลอดภัย  ไม่ต้องมีพลเมืองของตนเอง  แต่มีผู้ติดต่อประสานงานกับชาติต่าง ๆ ได้ทั่วโลก  เพื่อเป็นตัวแทนของชาวคริสต์ทั่วโลก  คริสต์ศาสนาจึงต้องมีความสัมพันธ์กับการเมืองที่ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในระบบการเมืองโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น