องค์อธิปัตย์กับสังคมการเมือง
6.1
ภูมิหลังและสิ่งแวดล้อมของ*โธมัส ฮอบส์
สาเหตุสงครามกลางเมืองซึ่งเริ่มในฤดูร้อนปี ค.ศ. 1642 มีสาเหตุหลายประการ ประเด็นโดยตรงที่จุดชนวนสงครามได้แก่ จุดยืนที่แตกต่างกันในขั้นพื้นฐานระหว่างกษัตริย์และกลุ่มนิยมกษัตริย์
(cavaliers) กับกลุ่มรัฐสภาซึ่งไม่อาจจะปรองดองกันได้
รัฐสภาได้ยื่นคำขาด 19 ประการต่อกษัตริย์
แต่ได้รับคำปฏิเสธจึงทำให้เกิดสงครามขึ้น การปฏิวัติของอังกฤษในปี ค.ศ.1642–1644
นั้นเป็นการต่อสู่เพื่ออำนาจอธิปไตยในหมู่เกาะอังกฤษซึ่งดึงสกอตแลนด์
และไอร์แลนด์เข้ามาร่วมด้วยผลลัพธ์ของสงครามครั้งแรก ปรากฏว่าฝ่ายรัฐสภาเป็นฝ่ายชนะสงครามกลางเมืองครั้งที่
2 ของอังกฤษเริ่มโดยมีพวกสก๊อตแลนด์และพวกนิยมกษัตริย์ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างไม่ชอบการปกครองโดยทหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกทหารประกอบไปด้วยพวกหัวอิสระในทางศาสนาทั้ง
2 ฝ่ายมีจุดยืนไม่เหมือนกันในทางศาสนา
พวกนิยมกษัตริย์จึงยอมรับการช่วยเหลือจากพวกสก๊อตเพราะมองเห็นว่าจำเป็นเท่านั้นเองสงครามกลางเมืองครั้งที่สองจบลง
โดยชัยชนะของโอลิเวอร์ คลอมเวลล์
ชัยชนะครั้งใหม่นี้ฝ่ายทหารไม่ยอมโอนอ่อนต่อกษัตริย์อีกต่อไป
ส่วนฝ่ายรัฐสภากลัวอำนาจของทหารต้องการจะเจรจากับกษัตริย์ท้ายที่สุด
ทหารจึงได้ใช้อำนาจยุบสภา
และตั้งคณะกรรมการพิพากษาตัดสินสำเร็จโทษพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 โอลิเวอร์ครอมเวลล์ได้รับยกย่องให้ดำรงตำแหน่งเจ้าผู้พิทักษ์ครองอำนาจเยี่ยงกษัตริย์
2.
สิ่งแวดล้อมทางปรัชญาของโธมัสฮอบส์
สิ่งแวดล้อมทางปรัชญาของโธมัส ฮอบส์ ได้แก่ ความคิดของกาลิเลโอ ฟรานซิส
เบคอน และยูคลิค อิทธิพลของกาลิเลโอที่มีต่อแนวคิดของฮอบส์
ได้แก่สิ่งที่เรียกว่า “ วิธีการทางวิทยาศาสตร์”
สำหรับกาลิเลโอแล้วเขาเน้นการค้นพบทางทฤษฎีว่าสำคัญมากกว่าการทดลอง
การทดลองเป็นแต่เพียงเครื่องมือสำหรับชักจูงคนอื่นๆ
ให้เห็นจริงตามผู้เสนอเท่านั้นไม่ใช่วิธีการที่จะก้าวไปสู่สาเหตุที่แท้จริง
อิทธิพลอีกประการที่กาลิเลโอมีต่อฮอบส์
ได้แก่หลักการของการเคลื่อนไหวและหลักการของความเฉื่อยที่เชื่อว่าวัตถุที่เคลื่อนไหว
ถ้าไม่มีสิ่งกีดขวางก็จะเคลื่อนไหวไปเรื่อย ๆ ส่วนเบคอนเน้นว่าวิทยาศาสตร์ในแนวใหม่ควรจะเลิกอ้างอิงบุคคลที่เป็นหลักเสีย
ควรจะเริ่มด้วยข้อเท็จจริงจากสิ่งที่สังเกตเห็นได้มากกว่ายึดทฤษฎีที่ยึดถือ
แต่ฮอบส์เอามาใช้ในบางส่วนเท่านั้น
ส่วนยูคลิคอาจกล่าวได้ว่าเป็นต้นแบบทฤษฎีของฮอบส์เลยทีเดียว เพราะแนวคิดของยูคลิด
ทำให้ฮอบส์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการให้นิยามคำต่างๆ
ที่ใช้ในทางรัฐศาสตร์ให้แน่ชัด จากนั้นพยายามที่จะสร้างจุดยืนร่วมกัน
จากข้อสังเกตที่ทุกคนยอมรับแล้วอนุมานไปสู่ข้อสรุปที่ต้องการ
3. การประยุกต์วิชากลศาสตร์เข้ากับรัฐศาสตร์
ปัญหาที่ฮอบส์สนใจคือปัญหาของธรรมชาติและการก่อตัวขององค์การทางการเมืองของรัฐซึ่งฮอบส์เรียกว่า Leviathan ฮอบส์ได้ชำแหละ Leviathan
นี้ออกเป็นองค์ประกอบขั้นพื้นฐานคือ มนุษย์
ซึ่งถูกควบคุมโดยการเคลื่อนไหวจิตใจ ฮอบส์สรุปว่าหลักการของการเมือง
ก็คือการเข้าใจถึงวิถีทางการเคลื่อนไหวของจิตใจมนุษย์
ซึ่งบุคคลภายนอกอาจจะไม่รู้สึกได้แต่ผู้ที่อาศัยอยู่ ในรัฐหรือ Leviathan นั้นๆ
สามารถรู้ได้ โดยการศึกษาการเคลื่อนไหวของจิตใจของตัวเอง ดังนั้นฮอบส์
จึงมองไปว่าหลักการทางฟิสิกส์ที่กาลิเลโอ
ค้นพบอันได้แก่ความเฉื่อยที่ว่าวัตถุใดเคลื่อนไหวอยู่ก็จะเคลื่อนไหวต่อไปเรื่อย ๆ
จนกว่าจะมีอุปสรรคมาขัดขวาง
สามารถประยุกต์กับจิตใจของมนุษย์ซึ่งเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ ได้เช่นกั้น
ภายใต้หลักการของการชอบกับเกลียด อย่างแรกดึงดูดจิตใจ ให้เคลื่อนไหวเข้ามาอย่างหวังผลักดันจิตใจให้หันเหออกห่าง
4. รัฐศาสตร์ของโธมัส ฮอบส์ กับรัฐศาสตร์ยุคก่อนและยุคหลัง
ฮอบส์ เชื่อว่าศาสตร์ใหญ่ ๆ
ในสมัยของเขามีอยู่ 3 ศาสตร์เท่านั้นคือ
ดาราศาสตร์ กลศาสตร์ ศาสตร์ของการเคลื่อนไหวของวัตถุพิเศษที่เคลื่อนไหวได้เอง
ซึ่งฮอบส์เรียกศาสตร์ของการเคลื่อนไหวของมนุษย์นี้ว่า รัฐศาสตร์ ฮอบส์มองว่า
รัฐศาสตร์ที่เพลโต และอริสโตเติลเขียนไว้นั้นเป็นแต่ความเห็นเท่านั้น
เพราะข้อสรุปของนักปราชญ์เหล่านั้นเป็นข้อสรุปในเชิงน่าจะเป็นและสามารถโต้แย้งได้
แต่ปรัชญาของฮอบส์เป็นปรัชญาที่พิสูจน์ได้
และความเป็นตรรกะซึ่งถ้าใครก็ตามที่ยอมรับสมมุติฐานที่ฮอบส์เสนอย่อมต้องยอมรับข้อสรุปของฮอบส์ด้วย
ซึ่งฮอบส์คิดว่านี่คือลักษณะที่แท้จริงของวิทยาศาสตร์
กล่าวคือมีความเป็นปรนัยหรือวัตถุวิสัย ซึ่งทุกคนที่ใช้เหตุผลควรจะยอมรับ
ฮอบส์เชื่อว่ารัฐศาสตร์ที่แท้จริงเริ่มที่ตัวเขาและสิ้นสุดที่ตัวเขาด้วย
ฮอบส์มองว่า มนุษย์นั้นเป็นวัตถุพิเศษที่เคลื่อนไหวได้เอง
กฎการเคลื่อนไหวของมนุษย์จึงไม่แตกต่างไปจากวัตถุอื่น ๆ และการเคลื่อนไหวต่าง ๆ
เหล่านี้อาจจะแบ่งแยกออกได้เป็น 2 กลุ่ม
ตามทิศทางของการเคลื่อนไหว คือ การเคลื่อนไหวเข้าหากันเรียกว่า ชอบ และการเคลื่อนไหวออกห่างเรียกว่า เกลียด
มนุษย์นั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของพลังงาน 2 อย่างนี้คือ
ชอบและเกลียด
มนุษย์จึงแสวงหาสิ่งที่ตัวเองชอบอยู่ตลอดเวลาดังนั้นโดยธรรมชาติมนุษย์จึงแสวงหาอำนาจอยู่ตลอดเวลา
เพราะอำนาจคือสิ่งที่จะทำให้มนุษย์ได้มาในสิ่งที่ตัวเองชอบ
อำนาจเป็นเครื่องมือที่จะทำให้มนุษย์บรรลุถึงสิ่งที่เขาปรารถนาและคุ้มกันสิ่งที่เขามีอยู่ไม่ให้คนอื่นแย่งไป
สภาวะธรรมชาติของมนุษย์จึงเป็นสภาวะสงคราม
มีการแย่งชิงกันตลอดเวลาและไม่มีกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล
ปัจเจกบุคคลถูกผลักดันให้แก่งแย่งช่วงชิง ด้วยสภาวะทางจิตใจ 3 ประการ คือ แข่งขัน หวาดระแวงกัน และการแสวงหาชื่อเสียงเกียรติยศ
2. *กฎธรรมชาติ และ *สัญญาประชาคม
กฎธรรมชาติ
นั้นฮอบส์เห็นว่ามีบ่อเกิดจากเหตุผลภายในตัวมนุษย์ซึ่งติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิด
เหตุผลภายในตัวของมนุษย์จะออกคำสั่งหรือค้นพบโดยประสบการณ์
กฎธรรมชาติมีลักษณะยับยั้งหรือห้ามปรามให้ปัจเจกบุคคลหลีกเลี่ยงการกระทำบางอย่าง ที่อยากจะกระทำ ในสภาวธรรมชาติมนุษย์ทุกคนมีสิทธิทุกอย่างที่เขาอยากจะได้
รวมทั้งร่างกาย ทรัพย์สินของบุคคลอื่น ๆ ด้วย
ดังนั้นในสภาวธรรมชาติจึงไม่มีความมั่นคงสำหรับมนุษย์เลย
สัญญาประชาคมนั้นเป็นสัญญาที่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจของบุคคลต่าง
ๆที่มีมูลเหตุจูงใจในการแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองโดยตกลงโอนสิทธิตามธรรมชาติไปให้บุคคลอื่นแต่สัญญาประชาคมที่เกิดขึ้นจะไม่โอนสิทธิตามธรรมชาติไปเสียหมดจะยังคงเหลือสิทธิของการป้องกันตัวเองต่อการถูกทำร้าย
3. กำเนิดของ*องค์อธิปัตย์ ที่มีอำนาจเด็ดขาด
วิธีการที่จะสร้างอำนาจร่วมขึ้นมาสำหรับคุ้มกันปัจเจกบุคคลจากศัตรูภายนอก
ฮอบส์เสนอว่าสมาชิกทุกคนต้องตกลงร่วมกันที่จะโอนสิทธิตามธรรมชาติของตนไปให้บุคคลอื่น
ปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจนี้เรียกว่า “องค์อธิปัตย์” ฮอบส์มองว่า มนุษย์โดยธรรมชาติถ้าไร้เสียซึ่งองค์อธิปัตย์
ก็มีแนวโน้มที่จะลำเอียงหยิ่งยะโสและต้องการจะล้างแค้นองค์อธิปัตย์จำต้องมีอำนาจ
เด็ดขาดในการบังคับบัญชาสัญญาประชาคมต่อผู้ที่ต้องการจะแหวกขีดจำกัดนี้ออกไปเพื่อกลับสู่สภาวธรรมชาติทั้งองค์อธิปัตย์
และสัญญาประชาคมล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นทั้งสิ้น
4. สิทธิและขอบเขตขององค์อธิปัตย์
ในทรรศนะของฮอบส์ องค์อธิปัตย์ถือกำเนิดจากสัญญาประชาคม
จึงมีสิทธิและอภิสิทธิ์เหนือกว่าประชาชน
ประชาชนไม่อาจเพิกถอนสิทธิเหล่านี้ไปจากองค์อธิปัตย์ได้ดังนั้นจึงเห็นว่า*ระบอบการปกครองแบบอกาธิปไตย เป็นระบอบที่เหมาะสมที่สุด
ในระบอบเอกาธิปไตยนั้น
พลเมืองทุกคนโอนอำนาจของเขาให้แก่บุคคลผู้เดียว ฮอบส์มองว่าระบอบเอกาธิปไตยมีความคล่องตัวสูง
ในภาคปฏิบัติ ส่วนการที่จะกลัวเป็นทรราชย์นั้น สำหรับฮอบส์คิดว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่
เพราะใครเป็นก็เหมือนกันถ้าสามารถบังคับสัญญาประชาคมได้
5. ขีดจำกัดที่ประชาชนจะเชื่อฟังองค์อธิปัตย์
ฮอบส์ มีความเห็นว่าเสรีภาพที่แท้จริงของราษฎร
หรือขีดจำกัดที่ราษฎรจะเชื่อฟังองค์อธิปัตย์นั้นแฝงอยู่แล้วในสัญญาประชาคม
เสรีภาพเหล่านี้ได้แก่ สิทธิในการป้องกันตัวเองต่อการถูก ประทุษร้าย
สิทธิในการงดเว้นจากการเสียสละชีวิตตัวเอง หรือสังหารบุคคลอื่น
และอาจจะมีเพิ่มขึ้นอีกในสิทธิบางอย่าง เช่น สิทธิในการฟ้องร้ององค์อธิปัตย์ในทางแพ่งในเรื่องบางเรื่อง เช่น
หนี้สิน ภาษี
1.
ข้อบกพร่องของทฤษฎีของฮอบส์
ทฤษฎีการเมืองของฮอบส์ ในประเด็นที่เกี่ยวกับข้อสมมุติของมนุษย์ที่ว่ากลัวตาย
และจะยอมละทิ้งการแสวงหาอำนาจหากมีอันตรายของความตายแฝงอยู่
ประเด็นนี้ได้รับการพิสูจน์หักล้างจากนักมานุษยวิทยาว่าไม่จริงเสมอไป
ฉะนั้นเครื่องมือที่ฮอบส์เห็นว่าเหมาะสมในการแก้ปัญหาของภัยอันตรายจากสงครามกลางเมือง
โดยสร้างอธิปัตย์ที่มีอำนาจสมบูรณ์ขึ้นมาพิทักษ์สันติจึงไม่อาจจะสัมฤทธิ์ผลในทางปฏิบัติได้เสมอไป
2. ข้อเสนอแนะของแมคเคียเวลลีเกี่ยวกับองค์อธิปัตย์
แมคเคียเวลลีแนะว่าองค์อธิปัตย์มีอำนาจอยู่ได้ด้วยความสามารถทางการเมือง
(political virtue) ของตนเองมากกว่าการยินยอมโอนอำนาจมาให้จากประชาชน
องค์อธิปัตย์จึงไม่อาจจะทึกทักว่าประชาชนยอมเชื่อฟังเขาโดยอัตโนมัติต้องขยันหมั่นเพียรในการหาเสียงและปลูกฝังศรัทธาตัวเขาเองในหมู่ประชาชน
ในหนังสือ The Discourse แมคเคียเวลลียังได้พิจารณาถึงรูปแบบทางการเมืองที่มีศูนย์อำนาจ
2 ศูนย์ คือ สาธารณรัฐโรมัน
ที่มีสภาซีเนตของคหบดีและมุขมนตรีของสามัญชนศูนย์อำนาจ 2 ศูนย์แม้จะไม่ค่อยลงลอยกันแต่สามารถทำงานร่วมกันได้
เงื่อนไขที่ทำให้อำนาจ 2
ศูนย์อยู่ร่วมกันได้นี้คือคุณธรรมหรือความสามารถ
3. บทบัญญัติเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญไทยกับทฤษฎีของฮอบส์
จากประเด็นต่างๆ
ในรัฐธรรมนูญจะเห็นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย ไม่ได้มีพระราชอำนาจเต็มที่ 12
ประการดังที่ฮอบส์ต้องการ
เพราะพระมหากษัตริย์ต้องพึ่งคำแนะนำจากคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรและศาลในการใช้อำนาจอธิปไตยแต่อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับสถาบันพระมหากษัตริย์ประเทศอื่นๆ
4. อิทธิพลของทฤษฎีของฮอบส์ในยุคปัจจุบัน
ปัจจุบันได้มีนักรัฐศาสตร์หลายท่านที่ทำการวิจัยเชิงประจักษ์เกี่ยวกับชีวิตการเมืองในสหรัฐ
ได้พบข้อเท็จจริงที่ตรงกันข้ามกับภาพพจน์ที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมในสหรัฐที่เชื่อว่ารัฐของเขาเป็นอย่างที่ล็อคกล่าว
นักรัฐศาสตร์ในเชิงประจักษ์เหล่านี้สรุปว่าปรัชญาของฮอบส์ จะบรรยายวิถีชีวิต
และพฤติกรรมทางการเมืองในสหรัฐได้ดีกว่าปรัชญาการเมืองของล็อค
สรุปแล้ว
ปรัชญาทางการเมืองของฮอบส์จึงคู่ควรแก่การศึกษาในยุคปัจจุบันอยู่ต่อไป
แม้ว่าจะมีคนคัดค้านและถกเถียงในประเด็นต่าง ๆ ที่เขาเสนออีกต่อไป
แต่นั่นเองก็อาจจะถือได้ว่าเป็นความสำเร็จของฮอบส์ประการหนึ่ง
*โธมัส ฮอบส์ เป็นนักปรัชญาและนักอักษรศาสตร์ชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากหนังสือที่ชื่อ Leviathan ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับปรัชญาทางการเมืองและการปกครอง ฮอบส์
เข้ามหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดตั้งแต่อายุ 14
และจบการศึกษาชั้นปริญยาตรีเมื่ออายุ 19 ปี
สิ่งแวดล้อมทางปรัชญาของโธมัส ฮอบส์ ได้แก่ ความคิดของกาลิเลโอ ฟรานซิส เบคอน
และยูคลิค รวมทั้งสงครามกลางเมือง จนเป็นที่มาของแนวคิดสัญญาประชาคม
ฮอบส์สิ้นชีพลงในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ.1679 และมีอักษร
จารึกบนแผ่นดินที่หลุมฝังศพว่าเป็นผู้มีคุณธรรมและเป็นปราชญ์ที่มีชื่อเสียงทั้งในและนอกประเทศ
*สงครามกลางเมือง
สาเหตุสงครามกลางเมืองซึ่งเริ่มในฤดูร้อนปี ค.ศ.1642 มีสาเหตุหลายประการ ประเด็นโดยตรงที่จุดชนวนสงครามได้แก่
จุดยืนที่แตกต่างกันในขั้นพื้นฐานระหว่างกษัตริย์และกลุ่มนิยมกษัตริย์ (cavaliers)
กับกลุ่มรัฐสภา
ซึ่งไม่อาจจะปรองดองกันได้ การปฏิวัติของอังกฤษในปี ค.ศ.1642–1644 นั้นเป็นการต่อสู่เพื่ออำนาจอธิปไตยในหมู่เกาะอังกฤษ ซึ่งดึงสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์เข้ามาร่วมด้วย
ผลลัพธ์ของสงครามครั้งแรกปรากฏว่าฝ่ายรัฐสภาเป็นฝ่ายชนะสงครามกลางเมือง ครั้งที่ 2 ของอังกฤษ
เริ่มโดยมีพวกสก๊อตแลนด์และพวกนิยมกษัตริย์
ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างไม่ชอบการปกครองโดยทหารโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เมื่อพวกทหารประกอบไปด้วยพวกหัวอิสระในทางศาสนา
สงครามกลางเมืองครั้งที่สองจบลง โดยชัยชนะของโอลิเวอร์ คลอมเวลล์
ชัยชนะครั้งใหม่นี้ฝ่ายทหารไม่ยอมโอนอ่อนต่อกษัตริย์อีกต่อไป
ส่วนฝ่ายรัฐสภากลัวอำนาจของทหารต้องการจะเจรจา
กับกษัตริย์ ท้ายที่สุด ทหารจึงได้ใช้อำนาจยุบสภาและตั้งคณะกรรมการพิพากษาตัดสินสำเร็จโทษพระเจ้าชาร์ลส์ที่
1 โอลิเวอร์ครอมเวลล์
ได้รับยกย่องให้ดำรงตำแหน่งเจ้าผู้พิทักษ์ ครองอำนาจเยี่ยงกษัตริย์
*สภาวะธรรมชาติของมนุษย์ ฮอบส์มองว่า
มนุษย์แสวงหาอำนาจอยู่ตลอดเวลา เพราะอำนาจคือสิ่งที่จะทำให้มนุษย์ได้มาในสิ่งที่ตัวเองชอบ
อำนาจเป็นเครื่องมือที่จะทำให้มนุษย์บรรลุถึงสิ่งที่เขาปรารถนาและคุ้มกันสิ่งที่เขามีอยู่ไม่ให้คนอื่นแย่งไป
สภาวะธรรมชาติของมนุษย์จึงเป็นสภาวะสงคราม
มีการแย่งชิงกันตลอดเวลาและไม่มีกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล
ปัจเจกบุคคลถูกผลักดันให้แก่งแย่งช่วงชิง ด้วยสภาวะทางจิตใจ 3
ประการ คือ แข่งขัน หวาดระแวงกัน และการแสวงหาชื่อเสียงเกียรติยศ
*กฎธรรมชาติ ฮอบส์เห็นว่ามีบ่อเกิดจากเหตุผลภายในตัวมนุษย์ซึ่งติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิด
เหตุผลภายในตัวของมนุษย์จะออกคำสั่งหรือค้นพบโดยประสบการณ์
กฎธรรมชาติมีลักษณะยับยั้งหรือห้ามปรามให้ปัจเจกบุคคลหลีกเลี่ยงการกระทำบางอย่างที่อยากจะกระทำ
ในสภาวธรรมชาติมนุษย์ทุกคนมีสิทธิทุกอย่างที่เขาอยากจะได้
รวมทั้งร่างกายทรัพย์สินของบุคคลอื่น ๆ ด้วย
ดังนั้นในสภาวธรรมชาติจึงไม่มีความมั่นคงสำหรับมนุษย์เลย
*สัญญาประชาคม สัญญาประชาคม
นั้นเป็นสัญญาที่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจของบุคคลต่าง ๆ
ที่มีมูลเหตุจูงใจในการแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเอง
โดยตกลงโอนสิทธิตามธรรมชาติไปให้บุคคลอื่น
แต่สัญญาประชาคมที่เกิดขึ้นจะไม่โอนสิทธิตามธรรมชาติไปเสียหมด
จะยังคงเหลือสิทธิของการป้องกันตัวเองต่อการถูกทำร้าย
*องค์อธิปัตย์ วิธีการที่จะสร้างอำนาจร่วมขึ้นมาสำหรับคุ้มกันปัจเจกบุคคลจากศัตรูภายนอก
ฮอบส์เสนอว่าสมาชิกทุกคนต้องตกลงร่วมกันที่จะโอนสิทธิตามธรรมชาติของตนไปให้บุคคลอื่น
ปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจนี้เรียกว่า “องค์อธิปัตย์” ในทรรศนะของฮอบส์ องค์อธิปัตย์ถือกำเนิดจากสัญญาประชาคม
จึงมีสิทธิและอภิสิทธิ์เหนือกว่าประชาชน
ประชาชนไม่อาจเพิกถอนสิทธิเหล่านี้ไปจากองค์อธิปัตย์ได้
ดังนั้นจึงเห็นว่าระบอบการปกครองแบบเอกาธิปไตย เป็นระบอบที่เหมาะสมที่สุด
*ระบบเอกาธิปไตย
ระบอบเอกาธิปไตยนั้น พลเมืองทุกคนโอนอำนาจของเขาให้แก่บุคคลผู้เดียว ฮอบส์มองว่าระบอบเอกาธิปไตย
มีความคล่องตัวสูงในภาคปฏิบัติ ส่วนการที่จะกลัวเป็นทรราชย์นั้น
สำหรับฮอบส์คิดว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะใครเป็นก็เหมือนกัน
ถ้าสามารถบังคับสัญญาประชาคมได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น