วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ปรัชญาผู้ปกครองในคัมภีร์อรรถศาสตร์ของเกาฏิลยะ

ปรัชญาผู้ปกครองในคัมภีร์อรรถศาสตร์ของเกาฏิลยะ
13.1 ปรัชญาผู้ปกครองในคัมภีร์อรรถศาสตร์ของ *เกาฏิลยะ
            1. บทวิพากษ์เบื้องต้นเกี่ยวกับอรรถศาสตร์ของเกาฏิลยะ
         ในการศึกษาเกี่ยวกับอรรถศาสตร์ผู้ศึกษาต้องประสบปัญหาที่สำคัญอันนำมาสู่ข้อจำกัดสองประการ
            ประการแรก ความรู้เกี่ยวกับตัวผู้เขียน คือ เกาฏิลยะ ว่ามีตัวตนจริงหรือไม่
          ประการที่สอง ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับอรรถศาสตร์ว่าเป็นผลงานที่เกิดขึ้นจริงในสมัยกันแน่ แต่ความสำคัญที่เป็นที่น่าสนใจของอรรถศาสตร์ที่ควรค่าแก่การศึกษามีหลายประการตั้งแต่วิธีการนำเสนอที่ผู้เขียนมิได้มีการนำเสนอความคิดของตนออกมาในทันทีทันใด แต่กล่าวถึงคำสอนอื่นก่อน และมีการยกการกระทำของกษัตริย์ในการเป็นมาตรฐานในการประเมินคำสอนผู้อื่นอยู่เสมอ เป็นต้น ในด้านเนื้อหา อรรถศาสตร์มีความยาวถึง 15 เล่มแบ่งออกเป็น 180 ตอนละ150 บท เช่น เล่มหนึ่งว่าด้วยเรื่องของกษัตริย์ เล่มที่สองว่าด้วยเรื่องของการบริหารบ้านเมืองเล่มที่สามถึงเล่มที่สี่ว่าด้วยเรื่องของกฎหมายเป็นต้น

            2.  อรรถศาสตร์ ในฐานะปรัชญาของผู้ปกครอง
          สาระสำคัญของอรรถศาสตร์ตามทรรศนะของเกาฏิลยะเห็นว่าศาสตร์ทั้งปวงมีสี่ประการ ประกอบด้วย
          (1) ปรัชญาหรือตรรกวิทยา ถือเสมือนหนึ่งเป็นดวงประทีปและกุญแจที่จะนำไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องของศาสตร์ทั้งปวง
           (2) พระเวท เป็นสิ่งที่กำหนดหน้าที่ต่าง ๆ ของบุคคลในแต่ละวรรณะ ถือเป็นกรอบของระเบียบของสังคมที่ชีวิตมนุษย์จะต้องเป็นไปตามนั้น
          (3) เศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ทำให้เกิดธัญญาหารแลความอุดมสมบูรณ์พูนสุขแก่สังคม
         (4) ศาสตร์แห่งการปกครอง เป็นรากฐานของศาสตร์ทั้งปวง ซึ่งอาจเรียกอีกนัยหนึ่งว่าเป็นศาสตร์ของการลงโทษทัณฑ์ ของผู้กระทำผิดของผู้ปกครองนั่นเอง
          ในบรรดาองค์ประกอบของรัฐทั้งเจ็ดประการ กษัตริย์ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของรัฐ รองลงไป คือ มุขมนตรีประชาชนหรือประเทศ ป้อมปราการ การคลัง กองทัพ และพันธมิตร ตามลำดับ ซึ่งองค์ประกอบของรัฐเหล่านี้อาจลดลงมาเหลือเพียงส่วนเดียวได้ คือ กษัตริย์ ที่เหลือทั้งหมดล้วนแล้วแต่ขึ้นตรงต่อกษัตริย์ทั้งสิ้น ความสำคัญของกษัตริย์มาจากการถือเป็นต้นตอของความยุติธรรม เมื่อกษัตริย์ได้ปฏิบัติตามหน้าที่และตามกฎของธรรมะอย่างเหมาะสมในแง่กิจการภายนอกมาจากกษัตริย์เป็นผู้อยู่ในฐานะผู้ปกป้องรัฐและผู้ใช้นโยบายต่างประเทศ และในแง่กิจการภายในประเทศกษัตริย์จะอยู่ในฐานะผู้ควบคุมดูแลให้ราษฎรปฏิบัติตามหน้าที่ของตน
13.2 ปรัชญาผู้ปกครองตะวันออก : กรณีของฮั่นเฟจื้อ
          ในทรรศนะของเกาฏิลยะ ผู้ปกครองจะต้องมีวิธีการเพื่อการสร้างชีวิตี่ดีของชุมชนหรือรัฐ ซึ่งเป็นเป้าหมายประการสำคัญของรัฐ ทั้งนี้โดยคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ปกครองจะต้องเป็นผู้มีขันติธรรมและตระหนักถึงเป้าหมายประการสำคัญของรัฐทั้งนี้โดยคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ปกครองจะต้องเป็นผู้มีขันติธรรมและตระหนักถึงผลของความชั่วร้ายส่วนฮั่นเฟจื๊อก็มีทรรศนะที่คล้ายคลึงกับเกาฏิลยะในแง่ของการมุ่งเน้นวิธีการ ได้แก่ กฎหมาย และการสวัสดิการเพื่อสร้างความสุขแก่สังคม ความคิดของฮั่นเฟจื๊อจัดอยู่ในสำนักความคิดที่เรียกว่าสำนักนิตินิยม legalism) ที่มีสมมติฐานสำคัญ คือ มนุษย์มีความชั่วร้าย ทางออกสำคัญของเรื่องนี้  คือ การให้ความสำคัญกับอำนาจของกฎหมายและรัฐในการสร้างสวัสดิการแก่มนุษย์เพราะกฎหมายแลทัณฑอำนาจจึงทรงความสำคัญ  ในฐานะวิธีการยังให้เกิดความสุขในชุมชนซึ่งเป็นเป้าหมายสุดท้ายของสำนักนิตินิยม
          2. *ฮั่นเฟจื๊อ : ชีวิตและปริบททางสังคม
                      ฮั่นเฟจื๊อ (280-233 ปีก่อนคริสต์กาล) เป็นนักปรัชญาการเมืองคนสำคัญของจีนที่มาจากครอบครัวชั้นสูง และผ่านการศึกษาจากซุนจื๊อ นักปรัชญาสำนักขงจื๊อ และเสนอแนวคิดทางด้านการปกครองโดยผ่านหนังสือไปให้กับกษัตริย์แคว้นฮั่นแต่ไม่ได้รับความสนใจ จวบจนกระทั่งยุวกษัตริย์แห่งราชวงศ์จิ๋นซึ่งชื่นชมฮั่นเฟจื๊อภายหลังจากที่หนังสือตกอยู่ในมือได้เป็นกษัตริย์กษัตริย์แห่งแคว้นฮั้น จึงส่งฮั่นเฟจื๊อเป็นทูตทำให้แคว้นรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นแต่ภายหลังได้จบชีวิตลงหลังจากที่เพื่อร่วมสำนักให้ร้ายฮั่นเฟจื๊อต่อกษัตริย์ของราชวงศ์จิ๋น ความคิดทางการเมืองของฮั่นเฟจื๊อจึงมาจากการมีชาติกำเนิดในตระกูลชนชั้นสูง การเป็นศิษย์ของซุนจื๊อ และความไม่พอใจต่อสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ของรัฐฮั่นเป็นสำคัญ
          ลักษณะสำคัญของปรัชญาจีน คือ การสานต่อและผูกพันกับกระแสความคิดในอดีตอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ ปรัชญาของจีนเริ่มต้นจากปรัชญาเมธีผู้ยิ่งใหญ่สองท่าน คือ ขงจื๊อและเหลาจื๊อ ปรัชญาสมัยต่อมาได้เจริญเติบโตภายใต้การร้อยประสานในกระแสธารทางความคิดของท่านทั้งสองนี้ด้วยการอธิบายและการขยายความมรดกทางความคิดที่มีมาจึงอาจกล่าวได้ว่านักคิดในกระแสธาร ของนักปรัชญาจีนนั้นมิได้มีการขัดแย้งกับมรดกทางความคิดที่มีมาแล้วแต่อดีต
13.3 ปรัชญาของผู้ปกครองของฮั่นเฟจื๊อ
          นักปรัชญาชาวจีนได้ให้ทรรศนะเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ไว้แตกต่างกัน ฮั่นเฟจื๊อได้รับอิทธิพลทางความคิดจากซุนจื๊อ ที่กล่าวว่า มนุษย์แต่เกิดมาชั่วช้า แต่ฮั่นเฟจื๊อเองมิได้สนใจว่าธรรมชาติของมนุษย์ว่าดีหรือชั่วหากเชื่อว่าสภาพแวดล้อมของมนุษย์ต่างหากที่มีอิทธิพลในการกำหนดธรรมชาติของมนุษย์
         ฮั่นเฟจื๊อมีทรรศนะเกี่ยวกับการปกครองไว้ว่าเป็นเรื่องของผู้ปกครองที่จะต้องใช้ศิลปะการปกครองซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพของผู้ปกครองมาตรฐานที่ผู้ปกครองใช้ในการปกครองและแหล่งอำนาจที่แท้จริง
          3. *ภยันตรายที่ผู้ปกครองพึงระวัง
          ฮั่นเฟจื๊อเห็นว่าผู้ปกครองมีชีวิตอยู่ท่ามกลางผู้คนทั้งปวง ความหลากหลายของผู้คนนี้อาจมุ่งร้ายต่อ
ผู้ปกครองได้ภัยที่ผู้ปกครองพึงระวังแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ภัยจากขุนนาง ข้าราชการ ภัยจากตัวผู้ปกครองเอง และภัยจากผู้คนในรัฐ
            (1) ภัยจากขุนนางข้าราชการ ฮั่นเฟจื๊อเรียกภัยจากขุนนางข้าราชการว่า ความชั่วร้ายทั้งแปด อันเป็นยุทธวิธีที่ขุนนางข้าราชการใช้ดำเนินแผนการชั่วร้ายของตน คือ การใช้คู่นอนของผู้ปกครอง การใช้คนใกล้ชิดของผู้ปกครอง การใช้ประโยชน์จากผู้หลักผู้ใหญ่และญาติพี่น้อง การเกื้อหนุนเอาใจใส่กับสิ่งไร้สาระ การใช้ประชาชนให้เป็นประโยชน์ การอาศัยนักพูดที่เก่งกาจ การใช้อำนาจหน้าที่และกำลัง การใช้รัฐรอบข้างให้เป็นประโยชน์
          (2) ภัยจากตัวผู้ปกครองเอง ฮั่นเฟจื๊อเรียกภัยจากตัวผู้ปกครองเองว่า ความผิดทั้งสิบ อันได้แก่ การเอาใจใส่แต่ความภักดีเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ละเลย
          ความภักดีที่ยิ่งใหญ่แท้จริง การสนใจแต่ผลได้เล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วจึงสูญเสียผลดีที่เหนือกว่าไป การมีพฤติกรรมต่ำช้าไม่อารีอารอบกับเจ้าฟิวดัลอื่น ๆ และทำให้ตนเองประสบหายนะ การไม่ใส่ใจกับข้อราชการบ้านเมือง สนใจแต่ดนตรีกาลอันทำให้ตนเดือดร้อนในที่สุด การละโมบ ฉ้อฉลและชื่นชมกับผลกำไรมากเสียจนกระทั่งทำให้รัฐและตนเองล่มสลาย   การหลงหญิง
          นักดนตรีและละเลยกิจการบ้านเมือง การละจากพระราชวังของตนไปไกล ๆ แม้พวกขุนนางจะร่วมกันคัดค้าน ซึ่งในที่สุดทำให้ตนประสบภัย การไม่ฟังคำของขุนนางผู้ซื่อสัตย์เมื่อตนเป็นฝ่ายผิด และยังดื้อดึงในทางของตนซึ่งจะมีผลให้ชื่อเสียง  ย่อยยับและกลายไปเป็นตัวตลกไป การไม่สนใจกับพลังอำนาจภายในรัฐ แต่มัวพึ่งพาพันธมิตรภายนอกประเทศและการไม่ใส่ใจ ข้อเรียกร้องให้รู้จักอารีอารอบทั้งที่รัฐตนก็เล็กและไม่รู้จักรับฟังเรียกรู้จากข้อค้านของขุนนางของตน
          (3) ภัยจากผู้คนในรัฐ  ฮั่นเฟจื๊อเรียกภัยประเภทนี้ว่า หนอนแมลงพิษทั้งห้า อันเป็นตัวการที่ทำให้ระเบียบของรัฐถูกทำลายอันได้แก่พวกนักวิชาการ พวกนักพูด พวกนักดาบ พวกคนที่กลัวจะถูกเกณฑ์ทหารและใช้วิธีติดสินบน พวกพ่อค้าและช่างฝีมือ
          4. อิทธิพลทางความคิดของฮั่นเฟจื๊อต่อสังคมการเมือง
         อิทธิพลทางความคิดของฮั่นเฟจื๊อต่อสังคมการเมืองแบ่งออกเป็นสองลักษณะ คือ
          (1) อิทธิพลทางความคิดที่ทำให้ผู้ปกครองหรือจักรพรรดิจีนนำไปปฏิบัติ ซึ่งจะเห็นได้จากการปกครองประเทศโดยยึดถือกฎหมายแลจารีตเป็นหลัก การสนับสนุนการเกษตรกรรมและสงคราม การใช้กฎหมายที่เคร่งครัดเข้มงวดต่อราษฎร การกำหนดนโยบายต่างประเทศด้วยการเสียดสีทางการทูตอย่างเลือดเย็น จนทำให้กษัตริย์แห่งจีนสามารถรวบรวมแว่นแคว้นต่าง ๆ ได้ไว้ในอำนาจและรวมจีนได้สำเร็จในแผ่นดินของพระองค์
          (2) อิทธิพลที่มีต่อปรัชญาจีน ได้แก่ การใช้ตัวบทกฎหมายเป็นระบบต่อราษฎร (ฟา) การที่ราษฎรต้องเชื่อฟัง กฎหมายโดยเคร่งครัด แต่ผู้ปกครองอยู่เหนือกฎหมายเหล่านั้น (ชู) และการที่ขุนนางข้าราชการต้องปฏิบัติหน้าที่ สอดคล้องกับตำแหน่งและหน้าที่ตนพึงกระทำ (ซิง-มิง)
            *เกาฏิลยะ เป็นบุคคลที่แต่งอรรถศาสตร์ แต่มีความคลุมเคลือว่าเป็นบุคคลใด บ้างเชื่อว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจาณักยะหรือวิษณุคุปต์ทีมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกษัตริย์จันทรคุปต์ แต่มีข้อโต้แย้งต่าง ๆ อย่างมากมาย
            *อรรถศาสตร์ (Arthasastra) เป็นตำราโบราณถูกค้นพบโดย ร. ศมศาสตรี (R. Shamsastry) ใน ค.ศ. 1905 เป็นงานที่ควรค่าการศึกษาทั้งในด้านวิธีการเขียน ที่ผู้เขียนมิได้มีการแสดงความคิดเห็นของตนออกมาในทันทีทันใด แต่กล่าวถึงคำสอนอื่นก่อน และเป็นการฟื้นฟูศาสตร์เรื่องนี้ขึ้นมาใหม่อย่างสิ้นเชิงโดยอาศัยการวิเคราะห์ความคิดและแนวทางของเดิมอย่างละเอียดในด้านเนื้อหา เป็นงานที่มีความยาวถึง 15 เล่ม และแบ่งออกเป็น 180 ตอน และ 150 บท
            *ปรัชญาหรือตรรกวิทยา ในอรรถศาสตร์เป็นเสมือนดวงประทีปและกุญแจสำคัญที่นำมาสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องของศาสตร์ทั้งปวง
            *พระเวท ในอรรถศาสตร์ หมายถึง สิ่งที่กำหนดหน้าที่ทั้งหลายของบุคคลในแต่ละวรรณะ ถือเป็นกรอบระเบียบของสังคมที่ชีวิตมนุษย์จะต้องเป็นไปตามนั้น
            *เศรษฐศาสตร์์ ในอรรถศาสตร์ หมายถึง ศาสตร์ที่ทำให้เกิดธัญญาหารและความอุดมสมบูรณ์พูนสุขแก่สังคม
            *ศาสตร์แห่งการปกครอง เป็นรากฐานของศาสตร์ทั้งปวง ซึ่งอาจเรียกอีนัยหนึ่งว่าเป็นศาสตร์ของการลงโทษฑัณฑ์ผู้กระทำผิดของผู้ปกครองนั่นเอง
            *สากลสภาวะแห่งปรัชญาผู้ปกครอง ในทรรศนะของเกาฏิลยะ ผู้ปกครองจะต้องมีวิธีการเพื่อการสร้างชีวิตที่ดีของชุมชนหรือรัฐ ซึ่งเป็นเป้าหมายประการสำคัญของรัฐ ทั้งนี้โดยคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ปกครองจะต้องเป็นผู้มีขันติธรรม และตระหนักถึงเป้าหมายประการสำคัญของรัฐ ทั้งนี้โดยคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ปกครองจะต้องเป็นผู้มีขันติธรรมและตระหนักถึงผลของความชั่วร้าย ส่วนฮั่นเฟจื๊อก็มีทรรศนะที่คล้ายคลึงกับเกาฏิลยะในแง่ของการมุ่งเน้นวิธีการ ได้แก่ กฎหมาย และการสวัสดิการเพื่อสร้างความสุขแก่สังคม
            *ฮั่นเฟจื้อ (280-233 ปีก่อนคริสต์กาล) เป็นนักปรัชญาการเมืองคนสำคัญของจีนที่มาจากครอบครัวชั้นสูง และผ่านการศึกษาจากซุนจื๊อ นักปรัชญาสำนักขงจื๊อ และเสนอแนวคิดทางด้านการปกครองโดยผ่านหนังสือไปให้กับกษัตริย์แคว้นฮั่น แต่ไม่ได้รับความสนใจ จวบจนกระทั่งยุวกษัตริย์แห่งราชวงศ์จิ๋นซึ่งชื่นชมฮั่นเฟจื๊อภายหลังจากที่หนังสือตกอยู่ในมือได้เป็นกษัตริย์ กษัตริย์แห่งแคว้นฮั้นจึงส่งฮั่นเฟจื๊อเป็นทูตทำให้แคว้นรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้น แต่ภายหลังได้จบชีวิตลงหลังจากที่เพื่อร่วมสำนักให้ร้ายฮั่นเฟจื๊อต่อกษัตริย์ของราชวงศ์จิ๋น ความคิดทางการเมืองของฮั่นเฟจื๊อจึงมาจากการมีชาติกำเนิดในตระกูลชนชั้นสูง การเป็นศิษย์ของซุนจื๊อ และความไม่พอใจต่อสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ของรัฐฮั่น เป็นสำคัญ
            *เส้นทางความคิดจากอดีต ลักษณะสำคัญของปรัชญาจีน คือ การสานต่อและผูกพันกับกระแส
ความคิดในอดีตอย่างต่อเนื่องกล่าวคือ ปรัชญาของจีนเริ่มต้นจากปรัชญาเมธีผู้ยิ่งใหญ่สองท่าน คือ ขงจื๊อและเหลาจื๊อ ปรัชญาสมัยต่อมาได้เจริญเติบโตภายใต้การร้อยประสานในกรแสธารทางความคิดของท่านทั้งสองนี้ด้วยการอธิบายและการขยายความมรดกทางความคิดที่มีมาจึงอาจกล่าวได้ว่า นักคิดในกระแสธารของนักปรัชญาจีนนั้นมิได้มีการขัดแย้งกับมรดกทางความคิดที่มีมาแล้วแต่อดีต
            *ธรรมชาติของมนุษย์ในทรรศนะของผู้ปกครอง นักปรัชญาชาวจีนได้ให้ทรรศนะเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ไว้แตกต่างกัน ฮั่นเฟจื๊อได้รับอิทธิพลทางความคิดจากซุนจื๊อที่กล่าวว่า มนุษย์แต่เกิดมาชั่วช้าแต่ฮั่นเฟจื๊อเองมิได้สนใจว่าธรรมชาติของมนุษย์ว่าดีหรือชั่ว หากเชื่อว่าสภาพแวดล้อมของมนุษย์ต่างหากที่มีอิทธิพลในการกำหนดธรรมชาติของมนุษย์
            *ศิลปะการปกครอง ฮั่นเฟจื๊อมีทรรศนะเกี่ยวกับการปกครองไว้ว่าเป็นเรื่องของผู้ปกครองที่จะต้องใช้ศิลปะการปกครองซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพของผู้ปกครอง มาตรฐานที่ผู้ปกครองใช้ในการปกครอง และแหล่งอำนาจที่แท้จริง

            *ภยันตรายที่ผู้ปกครอง ฮั่นเฟจื๊อเห็นว่าผู้ปกครองมีชีวิตอยู่ท่ามกลางผู้คนทั้งปวง ความหลากหลายของผู้คนนี้อาจมุ่งร้ายต่อผู้ปกครองได้ ภัยที่ผู้ปกครองพึ่งระวังแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ภัยจากขุนนาง ข้าราชการ ภัยจากตัวผู้ปกครองเอง และภัยจากผู้คนในรัฐ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น