วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายมหาชน

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายมหาชน
ตอนที่ 1.1  :  กำเนิดแนวความคิดและพัฒนาการของกฎหมายมหาชน
เรื่องที่ 1.1.1  :  กำเนิดแนวความคิดกฎหมายมหาชน
1.    นักปรัชญากฎหมายเชื่อว่า กฎหมายนั้นไม่ได้ทำหน้าที่หรือมีบทบาทในสังคมเหมือนกันเสมอไป กฎหมายบางประเภทกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือระหว่างรัฐกับบุคคล หรือระหว่างรัฐกับรัฐ ดังนั้นสาระของกฎหมายและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้กฎหมายก็พลอยแตกต่างกันออกไปด้วย
2.    ฟริทซ์ ชูลซ์ (Fritz Schulz) ศาสตรจารย์ทางกฎหมายโรมันชาวเยอรมัน ได้อธิบายไว้ว่า ความคิดในการแบ่งสาขาของกฎหมายนั้น เริ่มขึ้นในสมัยโรมันซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ
                (1)  ยุคอารยธรรมโรมันโบราณ                                       (3)  ยุคคลาสสิค
                (2)  ยุคอารยธรรมกรีกในโรม                                          (4)  ยุคขุนนางนักปกครอง
3.    ยุคอารยธรรมโรมันโบราณ (500 ปีก่อน ค.. – 300 ปีก่อน ค..)  ยุคนี้มีความเข้าใจกันว่า
                (1)  กฎหมายโรมันแบ่งออกเป็น 3 สาขา คือ
                                - กฎหมายเอกชน (Jus Privatum) คือกฎหมายทั้งหลาย
ที่เกี่ยวพันกับราษฎรในชีวิตประจำวัน
                                - กฎหมายมหาชน (Jus Publicum) คือกฎหมายที่เกี่ยวข้องเฉพาะบุคคลบางประเภท เช่น ศาล
                                   สมาชิกสภา
                                - กฎหมายศาสนา (Jus Sacrum)  เป็นกฎหมายที่อยู่ในฐานะสูงสุด และมีความสัมพันธ์ต่อการ
                                   พัฒนากฎหมายมหาชน เนื่องจากนักกฎหมายยุคนั้นส่วนใหญ่เป็นพระ
                (2)  ตัวบทกฎหมายมหาชนในยุคสมัยนี้ส่วนใหญ่เป็นระเบียบปฏิบัติทางการเมืองและค่อนข้างปกปิด
                (3)  แนวแบ่งแยกสาขาของกฎหมายในยุคสมัยนี้แบ่งตามกิจการ
4.    ยุคอารยธรรมกรีกในโรม (300 ปีก่อน ค.. – 30 ปีก่อน ค..)
                (1)  เป็นยุคที่อารยธรรมกรีกโบราณได้แผ่ขยายเข้าไปสู่กรุงโรม จนเรียกว่าเป็นการเริ่มยุคอารยธรรมกรีกโบราณ (Hellenistic Period)
                (2)  กฎหมายมหาชนในยุคนี้ยังคงสภาพเดิมคือ เป็นกฎหมายสำหรับนักการเมือง
                (3)  นักกฎหมายมหาชนในยุคนี้ล้วนเป็นนักการเมือง เช่น เซ็มโปรนิอุส ทูดิทานุส  และปอมปีย์
5.    ยุคคลาสสิค (30 ปีก่อน ค.. – ..300)
                (1)  ยุคนี้เริ่มเมื่อจักรพรรดิ ออกุสตุส (Augustus) หรือออคตาเวียนุส (Octavianus) มีอำนาจขึ้นในกรุงโรมและได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิองค์แรก จนถึงก่อนรัชสมัยของจักรรรดิดิโอเคลเชี่ยน (Diocletian)
                (2)  ปลายยุคนี้กฎหมายมหาชนเริ่มพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยขยายเนื้อหาสาระจากกิจการทางการเมืองแผ่ลงมาครอบคลุมกิจการที่เกี่ยวกับประชาชนทั่วไป
                (3)  กฎหมายปกครองเกิดขึ้นในยุคนี้
                (4)  อัลเปียน (Ulpian) นักกฎหมายคนสำคัญในยุคนี้กล่าวว่ากฎหมายมหาชนคือกฎหมายที่เกี่ยวกับรัฐโรมัน ในขณะที่กฎหมายเอกชนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของเอกชนแต่ละราย
                (5)  ชิเซโร (Cicero) นักกฎหมายคนสำคัญอีกคนในยุคนี้ให้ความเห็นว่าคนที่จะตอบปัญหาใดๆ เกี่ยวกับกฎหมายมหาชนมิใช่นักกฎหมาย แต่เป็นนักปกครอง
                (6)  แนวแบ่งแยกสาขาของกฎหมายดังกล่าว มีอิทธิพลต่อมาจนถึงทุกวันนี้
6.    ยุคขุนนางนักปกครอง (..300 – ..534)
                (1)  เป็นยุคที่เริ่มจากรัชสมัยของจักรพรรดิดิโอเคลเชียน และสิ้นสุดในสมัยพระเจ้าจัสติเนียน ถือเป็นยุคสุดท้ายของประวัติศาสตร์กฎหมายโรมัน
                (2)  เป็นยุคที่อิทธิพลของคริสต์ศาสนาแผ่ขยายถึงกรุงโรม ซึ่งจักรพรรดิคอนสแตนตินได้รับเอาไว้เป็นศาสนาประจำชาติโรมัน
                (3)  มีการจัดทำประมวลกฎหมายโรมัน (Corpus Juris Civilis) เป็นครั้งแรกในรัชกาลพระเจ้าจัสติเนียน เป็นประมวลกฎหมายแพ่ง ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายเอกชน
                (4)  พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในยุคนี้ เป็นผลมาจากกฎหมายศาสนาโรมันเสื่อมลง เพราะอิทธิพลของคริสต์ศาสนาที่เข้ามาแทนที่      
                (5)  ยุคนี้กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชนจึงแยกจากกันชัดเจน
7.    ประมวลกฎหมายแพ่งที่พระเจ้าจัสติเนียนจัดทำขึ้น มีมูลบทนิติศาสตร์ (Institutions) ซึ่งเป็นรากฐานกฎหมายสำคัญของ แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ภาค คือ
                (1)  Persona ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล                         (3)  Actio  ว่าด้วยการฟ้องร้องทางแพ่ง
                (2)  Res  ว่าด้วยทรัพย์สิ่งของ และมรดก
เรื่องที่ 1.1.2  :  พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศภาคพื้นยุโรป
1.    ประมวลกฎหมายแพ่งของพระเจ้าจัสติเนียนมีอิทธิพลอย่างมากต่อประเทศในภาคพื้นยุโรป เช่น อิตาลี
        ปรัสเซีย ฝรั่งเศส และเยอรมัน
2.    สิ่งสำคัญที่ฝังรากในยุโรปควบคู่กับการยอมรับอิทธิพลของประมวลกฎหมายแพ่งโรมัน คือ ความคิดที่ว่า กฎหมายเอกชนแตกต่างจากกฎหมายมหาชน โดยวาทะของอัลเปียนที่กล่าวถึงความแตกต่างดังกล่าวเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในยุโรป
3.    ราวศตวรรษที่ 13 – 14 การศึกษากฎหมายในทางทฤษฎีหรือปรัชญาซึ่งนิยมแพร่หลายในยุโรป สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของสำนักกฎหมายธรรมชาติ ซึ่งนักศึกษากฎหมายในยุคสมัยนี้ได้เสนอความคิดที่ถือกันว่าเป็นความคิดในการปรับปรุงกฎหมายมหาชน ดังนี้
                (1)  ควรมีการออกกฎหมายจำกัดอำนาจอันไม่มีขอบเขตของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจในการออกกฎหมายหรืออำนาจในการปฏิบัติต่อราษฎร
                (2)  ราษฎรคนใดไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐ ก็ควรร้องทุกข์หรือกล่าวโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐได้
                (3)  การลงโทษในทางอาญาควรเป็นธรรมมากขึ้น
                (4) วิธีพิจารณาและกฎหมายพยานหลักฐานควรแก้ไขปรับปรุงให้อยู่บนพื้นฐานของศีลธรรมและศาสนา
4.    สมัยของพระนางมาเรีย เทเรซ่า แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของชนชาติเยอรมัน ซึ่งปัจจุบันคือประเทศ ออสเตรีย ได้ขอให้แคว้นต่างๆ จัดทำกฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองขึ้น เพื่อว่าพระนางจะได้ทรงทราบระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินในแต่ละแคว้น
5.    ประเทศเยอรมัน เริ่มพัฒนากฎหมายมหาชน หลังศตวรรษที่ 13 –14  และถือหลักว่ากฎหมายมหาชนมีฐานะสูงกว่ากฎหมายเอกชนโดยแบ่งออกเป็น
(1)       กฎหมายมหาชนภายใน เรียกว่า Staatsrecht       
(2)  กฎหมายระหว่างประเทศ เรียกว่า Volkerrecht
6.    ประเทศฝรั่งเศส มีการพัฒนากฎหมายมหาชนอย่างน่าสนใจที่สุดในภาคพื้นยุโรป สาเหตุเนื่องจาก
                (1)  อิทธิพลของกฎหมายโรมัน                                                      (3)  การปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อปี ค..1789
                (2)  อิทธิพลของปรัชญากฎหมายธรรมชาติ                
7.    ก่อนการปฏิวัติในฝรั่งเศส กฎหมายมหาชนครอบคลุมถึงแต่กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายศาสนา และระเบียบปฏิบัติทางการเมืองเท่านั้น ยังไม่ได้ครอบคลุมถึงกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง
8.    ปี ค..1800 นโปเลียนได้ตั้งสภาด้านกฎหมายขึ้น 2 สภา คือ
                (1)  กองเซยเดตาร์ (Conseil d’ Etat) เป็นสภาแห่งรัฐเพื่อให้คำปรึกษาแก่หัวหน้ารัฐบาลเกี่ยวกับคดีปกครองและให้เป็นฝ่ายกฤษฎีกาทำหน้าที่ยกร่างกฎหมายของรัฐบาล
                (2)  กองเซยเดอเพรเฟกตูร์ (Conseil de Prefecture) เป็นสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการท้องที่ปกครอง และให้ทำหน้าที่ตัดสินคำร้องเรียนของราษฎรในคดีซึ่งพิพาทกับฝ่ายปกครอง
9.    ปี ค..1872  ถือว่าเป็นศักราชใหม่แห่งการพัฒนากฎหมายปกครองในฝรั่งเศส  เนื่องจาก
                (1)  มีการออกรัฐบัญญัติให้อำนาจสภาแห่งรัฐตัดสินคดีปกครองได้โดยอิสระ
                (2)  มีการจัดตั้ง ทริบูนาล เด กองฟลีท์ (Tribunal des Conflits) ซึ่งเป็นศาลระงับการขัดกันในทางคดีเพื่อ แก้ไขปัญหาขัดแย้งระหว่างสภาแห่งรัฐกับศาลยุติธรรมในเรื่องอำนาจศาลว่าคดีนี้จะขึ้นศาลใด
10.  ปี ค..1889 สภาแห่งรัฐได้วินิจฉัยคดีปกครองสำคัญ คือ คดีกาโดท์ (Cadot Decision) ซึ่งผลการวินิจฉัยคือ
                (1)  สภาแห่งรัฐมีอำนาจเด็ดขาดในการคดีปกครอง
                (2)  สามารถวินิจฉัยความถูกต้องเหมาะสมของการกระทำและอำนาจการใช้ดุลพินิจของฝ่ายบริหาร
                (3)  สามารถสร้างหลักกฎหมายปกครองในส่วนสารบัญญัติใหม่ๆ ได้
11.  ปี ค..1953 ได้มีการปฏิรูประบบศาลปกครองในฝรั่งเศสใหม่อีกครั้ง ซึ่งมีผลทำให้
                (1)  สภาแห่งรัฐ หรือกองเซยเดตาร์ (Conseil d’ Etat) มีฐานะเป็นศาลปกครองสูงสุด หรือศาลสูงสุดในทางกฎหมายมหาชน
                (2)  ศาลยุติธรรม หรือกูร์ เดอ กาสซาซิยอง (Cour de Cassation) เป็นศาลสูงสุดในทางกฎหมายเอกชน
เรื่องที่ 1.1.3  :  พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศคอมมอนลอว์
1.    ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) เป็นระบบกฎหมายสำคัญที่เกิดขึ้นสมัยหลัง แต่พัฒนาเคียงคู่มากับระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) หรือระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมานิค
2.             นักกฎหมายคอมมอนลอว์ แบ่งสาขาของกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน เพียงแค่บอกให้รู้ว่า เนื้อหาสาระของกฎหมายสองสาขานี้แตกต่างกัน บุคคลที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันเท่านั้น และถือว่า การแบ่งสาขาของกฎหมายดังกล่าวเป็นเรื่องธรรมดาหรือเป็นเรื่องของหลักวิชา เพื่อสะดวกแก่การศึกษาเล่าเรียนมากกว่าจะเป็นเพราะกฎหมายทั้งสองมรปรัชญารากฐานต่างกัน
3.    เมื่อถามถึงความแตกต่างระหว่างกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน นักกฎหมายอังกฤษมักจะโยงไปถึงกฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา โดยให้คำอธิบายถึงความแตกต่างไว้ว่า
                - กฎหมายแพ่ง ก็คือกฎหมายเอกชน                              - กฎหมายอาญา ก็คือกฎหมายมหาชน                         
4.    คำว่ากฎหมายมหาชนไม่แท้ตำรากฎหมายของอังกฤษได้ให้คำอธิบายไว้ว่า
                (1)  กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครองไม่มีโทษทางอาญา น่าจะถือว่าเป็นกฎหมายแพ่ง
                (2)  แต่เป็นกฎหมายแพ่งลักษณะพิเศษ คือเกี่ยวกับคนหมู่มาก จึงอนุโลมเข้าไว้กับกฎหมายมหาชนได้
                (3)  แนวคิดดังกล่าวนี้ ทำให้มีการแยกศาลแพ่งออกจากศาลอาญา และให้คดีตามกฎหมายปกครองและกฎหมายรัฐธรรมนูญ ต้องขึ้นสู่ศาลแพ่ง
5.    การที่ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ของอังกฤษ ไม่ยอมรับปรัชญากฎหมายโรมันในเรื่องกฎหมายมหาชนเป็นเพราะประวัติศาสตร์กฎหมายอังกฤษ และลักษณะของระบบคอมมอนลอว์ ดังนี้
                (1)  ระบบคอมมอนลอว์ พัฒนามาจากความคิดที่ว่า ให้ศาลเป็นผู้สร้างกฎหมาย
                (2)  ระบบเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองแบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) ในอดีตมีส่วนทำให้ความสัมพันธ์หลายลักษณะซึ่งควรเป็นเรื่องกฎหมายมหาชน กลายเป็นเรื่องกฎหมายเอกชน
                (3)  ศาลอังกฤษสามารถให้ความเป็นธรรมแก่ราษฎรได้ดีอยู่แล้ว โดยอาศัยหลักนิติธรรม
                (4)  การจัดระบบการปกครองส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นในอังกฤษค่อนข้างเป็นระเบียบดีอยู่แล้ว และโอกาสที่รัฐจะแทรกแซงกิจการของเอกชนหรือกดขี่ข่มเหงเอกชนก็ทำได้ยาก
                (5)  เกิดจากอิทธิพลทางความคิดของนักกฎหมายอังกฤษคนสำคัญคือ ไดซีย์ (A.V. Dicey)
6.    ไดซีย์ คือนักกฎหมายรัฐธรรมนูญชาวอังกฤษ ที่โจมตีการแบ่งสาขาของกฎหมายในฝรั่งเศส และคัดค้านการจัดตั้งศาลปกครองในอังกฤษอย่างรุนแรง จึงเป็นผู้ที่ทำให้วิชากฎหมายปกครองของอังกฤษมีวิวัฒนาการล่าช้ากว่าที่ควร
7.    พอลลอค (Pollock) นักกฎหมายอังกฤษอีกคนที่อธิบายว่า ในสมัยก่อนถือว่า เขตอำนาจศาลเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายทรัพย์สิน
เรื่องที่ 1.1.4  :  พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศไทย
1.    นักกฎหมายไทยเพิ่งรู้จักการแบ่งสาขาของกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชน และกฎหมายมหาชน ในสมัยรัชกาลที่ 6 นี้เอง โดยก่อนหน้านั้น นักกฎหมายไทยเข้าใจกันว่า กฎหมายแบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ กฎหมายแพ่ง และกฎหมายอาญา
2.    ในสมัยนั้น นักกฎหมายไทยที่สำเร็จการศึกษาจากอังกฤษ ซึ่งได้รับอิทธิพลระบบกฎหมายอังกฤษได้อธิบายไว้ว่า กฎหมายแพ่งคือกฎหมายเอกชน และกฎหมายอาญาคือกฎหมายมหาชน ส่วนกฎหมายปกครองและกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น ยังไม่รู้จัก
3.    พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ อาจารย์สอนกฎหมายไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 ควรได้รับการยกย่องอย่างยิ่งในฐานะที่กล่าวถึงแนวคิดในการแบ่งสาขาของกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
4.    การแบ่งสาขาของกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน เพิ่งจะปรากฏจริงจังในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 6 หรือต้นรัชกาลที่ 7 เนื่องจากมีนักกฎหมายชาวต่างประเทศไทยเข้ามาสอนกฎหมาย และนัก
กฎหมายไทยที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ บุคคลสำคัญซึ่งควรได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำในด้านนี้คือ
                (1)  ดร. แอล ดูปลาตร์ นักกฎหมายชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้อำนวยการแผนกวิชาแห่งสภานิติศึกษาของไทย
                (2)  ดร. เอกูต์ นักกฎหมายชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นอาจารย์สอนกฎหมายในโรงเรียนกฎหมายไทย
5.    โดยสรุป พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศไทย ยังเทียบไม่ได้กับประเทศอื่น เนื่องจาก
                (1)  ประเทศไทยเพิ่งรู้จักกฎหมายมหาชนเมื่อประมาณ 50 – 60 ปี มานี้เอง
                (2)  อิทธิพลของกฎหมายอังกฤษที่ประเทศไทยรับเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้ไม่เห็นความจำเป็นในการแบ่งแยกสาขากฎหมายอย่างประเทศในภาคพื้นยุโรป
                (3)  ประเทศไทยเพิ่งมีกฎหมายที่พอจะจัดเป็นกฎหมายมหาชนได้ เมื่อหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
                (4)  กฎหมายมหาชนเกี่ยวพันกับอำนาจรัฐเป็นสำคัญ จึงพัฒนาไปตามพัฒนาการทางการเมือง
                (5)  นักกฎหมายไทยยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักวิชาการบางเรื่องไม่ตรงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการแบ่งแยกอำนาจ เนื่องจากการสำเร็จการศึกษากฎหมายจากต่างสำนัก
                (6)  การจัดการศึกษาวิชากฎหมายในประเทศไทย ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาการของกฎหมายมหาชน
ตอนที่ 1.2  :  ความหมาย ประเภทและบ่อเกิดของกฎหมายมหาชน
เรื่องที่ 1.2.1  :  ความหมายของกฎหมายมหาชน
1.    กฎหมายมหาชน (Public Law) หมายถึงกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎร ในฐานะที่รัฐเป็นฝ่ายปกครองราษฎรหรือมีฐานะเหนือราษฎร
2.    คำว่าความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎรหมายถึง ความสัมพันธ์ในทางกฎหมายระหว่างคู่กรณีทั้งสองฝ่าย
3.    คำว่าในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองราษฎรหมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีซึ่งฝ่ายหนึ่งมีฐานะสูงกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจึงบังคับเอาได้ หรือใช้อำนาจได้มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง
4.    หลักเกณฑ์การพิจารณาว่า กฎหมายใดเป็นกฎหมายมหาชน มีดังนี้คือ
                (1)  พิจารณาว่ากฎหมายนั้นกล่าวถึงกิจการของใคร (ถ้าเป็นกิจการของรัฐ คือเป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนรวม ก็เป็นกฎหมายมหาชน)
                (2)  พิจารณาว่ากฎหมายนั้นให้ใครเป็นประธานแห่งสิทธิ หรือเป็นผู้ทรงอำนาจเหนืออีกฝ่ายหนึ่ง (ถ้าองค์การของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ทรงอำนาจ ก็เป็นกฎหมายมหาชน)
                (3)  พิจารณาว่ากฎหมายนั้นเคร่งครัดหรือไม่ (ถ้าเคร่งครัดทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ ก็เป็นกฎหมายมหาชน)
5.    ข้อแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน มีดังนี้
                (1)  แตกต่างในด้านวัตถุประสงค์ กล่าวคือ กฎหมายมหาชนต้องการวางระเบียบบังคับเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับเอกชน ส่วนกฎหมายเอกชนจะเกี่ยวพันระหว่างเอกชนกับเอกชน
                (2)  แตกต่างในด้านฐานะ กล่าวคือ กฎหมายมหาชนยอมรับว่ารัฐมีฐานะเหนือกว่าเอกชน ส่วนกฎหมายเอกชน ยอมรับว่าเอกชนทั้งหลายมีฐานะทางกฎหมายเท่าเทียมกัน
                (3)  แตกต่างในด้านรูปแบบ กล่าวคือ กฎหมายมหาชนมีรูปแบบที่เคร่งครัด ส่วนกฎหมายเอกชนมีรูปแบบที่ยืดหยุ่น
6.    กฎหมายสังคม (Social Legislation) เป็นชื่อเรียกกลุ่มกฎหมายอีกชื่อหนึ่ง ได้แก่ กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองสังคม คือพัฒนาจากนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจนกลายเป็นสาธารณประโยชน์ ซึ่งรัฐจำเป็นต้องแทรกเข้าไปจัดระเบียบความสัมพันธ์และอำนาจต่อรอง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม ตัวอย่างเช่น
                - กฎหมายแรงงาน  ซึ่งพัฒนามาจากกฎหมายจ้างแรงงาน
                - กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค  ซึ่งพัฒนามาจากกฎหมาซื้อขาย กฎหมายละเมิด
                - กฎหมายปฏิรูปที่ดิน กฎหมายจัดรูปที่ดิน และกฎหมายค่าเช่านา ซึ่งพัฒนามาจากกฎหมายทรัพย์สิน
                   และกฎหมายที่ดิน
                - กฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา  ซึ่งพัฒนามาจากกฎหมายกู้ยืม
เรื่องที่ 1.2.2  :  ประเภทของกฎหมายมหาชน
1.    กฎหมายที่สำคัญที่สุดในบรรดากฎหมายมหาชน คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง
2.    การแบ่งประเภทของกฎหมายมหาชนของแต่ละประเทศหรือแต่ละนักกฎหมายนั้น มีวิธีการแบ่งแตกต่างกันออกไป แต่ยังคงมีกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง เป็นตัวร่วมอยู่เสมอ
3.    โดยสรุป ประเภทของกฎหมายมหาชน จัดแบ่งได้ดังนี้
                (1)  กฎหมายมหาชนโดยแท้หรือแบบที่ถือกันมาแต่เดิม ได้แก่
                                - รัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นในลักษณะเดียวกัน
                                - กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ  เช่น กฎหมายเลือกตั้ง กฎหมายพรรคการเมือง ฯลฯ
                                - กฎหมายปกครอง  เช่น ปว.216 และ ปว.218 กฎหมายภาษีอากร ฯลฯ
                                - กฎหมายการคลัง  เช่น กฎหมายงบประมาณ กฎหมายเงินตรา ฯลฯ
                (2)  กฎหมายมหาชนที่จัดเพิ่มใหม่ ได้แก่
                                - กฎหมายอาญา                                                  - กฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลยุติธรรม
                                - กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา                    - กฎหมายเศรษฐกิจ
                                - กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เรื่องที่ 1.2.3  :  บ่อเกิดของกฎหมายมหาชน
1.    บ่อเกิดของกฎหมาย (Source of Law) หมายถึง แหล่งอันเป็นที่เกิดของกฎหมาย
2.    บ่อเกิดของกฎหมายมหาชน มีดังนี้
                (1)  กฎหมายลายลักอักษร  เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายการคลัง กฎหมายอาญา ฯลฯ ดังเห็นได้จากกฎหมายมหาชนของประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น และไทย
                (2)  กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  เช่น กฎหมายจารีตประเพณี คำพิพากษาศาลที่ถือว่าเป็นบรรทัดฐาน และหลักกฎหมายทั่วไป ดังเห็นได้จากกฎหมายมหาชนของประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย
3.             นักกฎหมายมหาชนที่ดี จะต้องมีความรู้ในวิชารัฐศาสตร์และวิชาเศรษฐศาสตร์ด้วย จึงจะใช้กฎหมายมหาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น