1.1 แนวความคิดทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาปรัชญาการเมือง
1.1.1 ความหมายของปรัชญาการเมือง
ปรัชญาตามความหมายดั้งเดิม
หมายถึง “ความรักในปัญญา” (love of
wisdom) “การแสวงหาปัญญา” (political philosophy)
ผู้แสวงหาปัญญาหรือปรัชญาเมธีคนแรกๆ
ได้แก่ “ผู้ที่พูดถึงธรรมชาติ” ธรรมชาติ
จึงเป็นสาระสำคัญของปรัชญา “ธรรมชาติ”
หมายถึง คุณลักษณะที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง “มี” หรือ “เป็น” หรือ กระทำ นี่คือความหมายเดิมของ”ธรรมชาติ” ในสมัยที่วิทยาศาสตร์ยังไม่ได้แยกออกจากปรัชญา
ธรรมชาติเป็นสิ่งที่ต้องถูกค้นพบ
การค้นพบธรรมชาติหมายถึงการแยกแยะปรากฏการณ์ทั้งหลายออกเป็นปรากฏการณ์ที่เป็นธรรมชาติและปรากฏการณ์ที่ไม่ใช่ธรรมชาติ
ปรัชญาเมธีคือผู้แสวงหาและแยกปรากฏการณ์ดังกล่าวออกจากกัน
ปรัชญา คือ ความพยายามที่จะทดแทนความเห็นด้วยความรู้หรือความจริงอันเกี่ยวกับธรรมชาติ
ชีวิตของมนุษย์ก่อนที่จะเกิดปรัชญา คือชีวิตที่มีรากฐานอยู่บนขนบธรรมเนียม ประเพณี
โสเกรติส (469 – 399 B.C.) เป็นผู้เริ่มต้นเกี่ยวโยงเอาปัญหาของมนุษย์เข้าไว้ด้วย เพราะเป็นผู้ที่เริ่มตั้งคำถามที่ว่า อะไรคือความดี อะไรคือความกล้าหาญ อะไรคือความยุติธรรม แม้แต่ความเห็นที่ทรงอานุภาพที่สุดของสังคม
ได้แก่ ความเห็นของรัฐที่ออกมาโดยรูปแบบของกฎหมายก็ต้องถูกกระทบกระเทือนด้วย
กฎหมายเท่านั้นที่จะกำหนดการกระทำอย่างไรจึงเรียกว่ายุติธรรม อย่างไรไม่ยุติธรรมฯ สำหรับโสเกรติส เห็นว่ากฎหมายของผู้มีอำนาจในชุมชนก็เป็นเพียงแค่ความเห็นหรือขนบประเพณีเหมือนกัน
การตั้งคำถามเกี่ยวกับชีวิต ศีลธรรม สิ่งที่ดีและสิ่งที่ชั่วของโสเกรติส
จึงเป็นกลายเป็นการตั้งข้อสงสัยเอากับรากฐานที่สำคัญที่สุดของชุมชนการเมือง
จุดเริ่มต้นปรัชญาการเมือง
ความพยายามที่จะทดแทนความเห็นในเรื่องธรรมชาติของการเมืองด้วยความรู้ในเรื่องธรรมชาติของสิ่งที่เป็นการเมือง
ทั้งพยายามที่จะรู้ทั้งธรรมชาติของสิ่งที่เป็นการเมือง คือการแสวงหาธรรมชาติ ของความยุติธรรมหรือความดี และการตั้งคำถามอื่นๆ
ที่เกี่ยวโยงกับมนุษย์และชุมชนการเมืองและระเบียบการเมืองที่ถูกที่ดีพร้อมๆ กัน
การศึกษาประวัติชีวิตของโสเกรติสผ่านผลงานการเขียนของเพลโต จะพบลักษณะเด่นของคำถามของ โสเกรติสที่ขึ้นต้นด้วย อะไรคือ......? เช่น อะไรคือความยุติธรรมฯ
เรายกย่องให้โสเกรติสเป็นบิดาของปรัชญาการเมือง
เพราะในทางปฏิบัติแล้วคำถามของโสเกรติสพยายามที่จะก้าวออกไปให้พ้นขอบเขตความเห็นทั้งปวงพร้อมๆ
กับชี้แนะไปยังการคงอยู่ของระเบียบทางการเมืองที่ดีที่สุดที่เป็นสากลทั้งปวง
ปรัชญาของโสเกรติสกลายเป็นปรัชญาการเมือง เพราะการกระทำที่มีลักษณะเป็น การเมืองไม่ว่าในชุมชนใดย่อมเป็นการกระทำที่มุ่งเปลี่ยนแปลงหรือคงรักษาไว้
เมื่อมุ่งเปลี่ยนแปลงก็ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เมื่อมุ่งรักษาก็ต้องรักษาสิ่งที่ดีไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลงในสู่สิ่งที่เลว
การกระทำทางการเมืองย่อมต้องมีความรู้ในสิ่งที่ดีหรือเลวเป็นเครื่องชี้ทางเสมอ
โสเกรติส เป็นบิดาของปรัชญาการเมืองที่ว่าด้วยเรื่องที่ใกล้ตัวมนุษย์มากที่สุด
1.1.2 ลักษณะของปรัชญาการเมืองยุคคลาสสิก
ลักษณะสำคัญประการแรกของปรัชญาการเมืองโสเกรติส คือสืบทอดผ่านเพลโตและอริสโตเติล ที่ว่า
การแสวงหาคำตอบว่าระเบียบทางการเมืองที่ดีที่สุดเป็นสากลนั้นเป็นอย่างไร
ปรัชญาการเมืองยุคคลาสสิก ประเด็นการเมืองและประเด็นทางศีลธรรมจากแง่ความสมบูรณ์ของมนุษย์เป็นหลัก กล่าวคือ
ปรัชญาคลาสสิกทั้งหลายเห็นพ้องกันว่า เป้าหมายสูงสุดของชีวิตการเมืองคือ
คุณธรรม
ปรัชญาการเมืองยุคคลาสสิกไม่ได้ยกย่องสรรเสริญความเสมอภาคหรือการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ว่าเป็นสิ่งสูงสุด ปรัชญายุคคลาสสิกไม่ใช่ผู้นิยมความเสมอภาค
ปรัชญายุคคลาสสิกรัฐที่ดีที่สุดคือ การปกครองแบบอภิชนาธิปไตย หรือรัฐผสม
ความสำคัญการเน้นรัฐที่ดีที่สุด
คือความรู้เรื่องรัฐที่ดีที่สุดจำเป็นสำหรับการชี้แนะทางการเมืองที่ถูกต้อง
ทรรศนะของโสเกติส รัฐที่ดีที่สุด ขึ้นอยู่กับโอกาส ขึ้นอยู่กับโชคชะตา
ราชากลายเป็นปราชญ์เมธีเท่านั้นที่รัฐที่ดีที่สุดจะเกิดขึ้นได้
รัฐในอุดมคติของยุคคลาสสิกกลายเป็นบทวิพากษ์วิจารณ์อันสำคัญสำหรับความใฝ่ฝันทางการเมืองที่เรียกว่า ยูโทเปีย
ปรัชญายุคคลาสสิกเน้นถึงอันตรายของการยึดอุดมคติทางการเมืองเป็นสรณะสูงสุดด้วย
ลักษณะสองแง่สองมุมของปรัชญาการเมืองยุคคลาสสิกพิจารณาได้ว่า มีรากฐานบนลักษณะเฉพาะที่สำคัญ
คือความเข้าใจความจำเป็นที่จะต้องแยกแยะระหว่างความรักในสิ่งที่เป็นของตนเองและความรักในสิ่งที่ดีออกจากกัน
1.1.3 ลักษณะของปรัชญาการเมืองสมัยใหม่
การเมืองสมัยใหม่กำเนิดขึ้นในศตวรรษที่
16 – 17 พิจารณาได้ว่าเป็นปฏิกิริยาที่มีต่อผลของคริสต์ศาสนาที่แตกแยกออกเป็นนิกายต่างๆ
ผลงานของแมคเคียเวลลีและฮอบส์
ปรากฏเด่นชัดว่าเป็นการเขียนต่อต้านผลลัพธ์ทางการเมืองตามอุดมคติของคริสต์ศาสนา อันมีรากฐานอยู่ในปรัชญาการเมืองคลาสสิกอีกที สิ่งหนึ่งที่พวกเขามีความเห็นร่วมกันคือ การปฏิเสธของโครงร่างของปรัชญาการเมืองคลาสสิกว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
แมคเคียเวลลี เป็นบิดาปรัชญาการเมืองสมัยใหม่
มีทรรศนะว่าข้อผิดพลาดของปรัชญาการเมืองคลาสสิกคือ เริ่มต้นจากความคิดที่ว่ามนุษย์ควรมีชีวิตอย่างไร
เป็นการเริ่มต้นพรรณนาถึงรัฐที่ดีที่สุดที่ไม่มีโอกาสที่เป็นไปได้ในชีวิตจริง
ปรัชญาการเมืองคลาสสิกเสนอว่า ศีลธรรมเป็นสิ่งที่มีตัวตนเป็นสิ่งที่มีพลังจิตของมนุษย์ แมคเคียวเวลลีเสนอใหม่หมดคือให้พิจารณาจากความเป็นจริง
มนุษย์ไม่ใช่สัตว์การเมือง
ในทางตรงกันข้าม มนุษย์เป็นสัตว์ที่เลวและต้องถูกบังคับให้เป็นคนดี
คุณธรรมไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม
คุณธรรม
เกิดขึ้นได้จากการศึกษาอบรม
ตามความเข้าใจของแมคเคียเวลลี ข้อสำคัญคือเราต้องเข้าใจว่าสิ่งซึ่งกำหนดความเป็นมนุษย์นั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งอยู่เหนือธรรมชาติหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ
หากแต่มนุษย์กระทำการทุกอย่างก็เพราะความจำเป็น
โดยเหตุที่มนุษย์ชั่วร้าย
จุดกำเนิดของความชอบธรรมทุกประการ
แมคเคียเวลลี
มีเจตนาละทิ้งความหมายดั้งเดิมของสังคมที่ดีและชีวิตที่ดีของปรัชญาการเมืองคลาสสิกอย่างโจ่งแจ้งที่สุด ตัดขาดจากปรัชญาการเมืองคลาสสิกหันมาเน้นสิ่งที่เป็นจริง
เป้าหมายการโจมตี
ของแมลเคียเวลลี ได้แก่ ปรัชญาและคริสต์ศาสนาแต่ปรัชญาศาสนาก็ยังมีความสำคัญ
โธมัส ฮอบส์ มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อจากแมคเคียเวลลี
ปรัชญาของฮอบส์ ได้แก่
การสะท้อนความคิดเกี่ยวกับธรรมชาติ และคริสต์ศาสนา ล้วนมีแต่ผลร้ายต่อสันติสุขในสังคมทั้งคู่ ภาระของปรัชญาฮอบส์ คือการสร้างสิทธิอำนาจทางการเมือง
ให้เป็นอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจว่าอะไรคือสิ่งที่ดีและสิ่งที่ชั่ว และเป็นอำนาจที่ทุกคนยอมรับ
ปัญหาของฮอบส์อยู่ที่ว่า
ความสมเหตุสมผลอันที่จะปฏิเสธอำนาจของเหตุผลเอง ปัญหาด้านศีลธรรมและการเมือง ฮอบส์แสดงไว้ว่า
กฎหมายมีศักดิ์ศรีเหนือกว่าธรรมชาติ เป็นการกำหนดความหมายธรรมชาติขึ้นมาใหม่
ความความคิดเห็นของฮอบส์ ข้อบกพร่องประการสำคัญของปรัชญาการเมืองคลาสสิก คือ ปรัชญาการเมืองคลาสสิกไม่สามารถทำให้ข้อสงสัยข้อท้วงติงหมดไปได้ ฮอบส์เสนอให้ตั้งข้อสงสัยอย่างเต็มที่กับ ปัญญา
หรือ วิทยาศาสตร์ ศาสตร์อย่างเดียวที่ฮอบส์เห็นว่ามีคุณสมบัติดังกล่าคือ คณิตศาสตร์ ปรัชญาของฮอบส์ต้องมีรากฐานอยู่บนคณิตศาสตร์
ฮอบส์ เห็นว่าจักรวาลไม่มีอะไรนอกจากวัตถุและการเคลื่อนไหวของวัตถุ มนุษย์ก็เช่นเดียวกัน สาระสำคัญของจิตมนุษย์ก็คือการเคลื่อนไหว
การกระทำของมนุษย์เป็นการเคลื่อนไหวไปสู่หรือหนีออกจากสิ่งที่ทำให้มนุษย์นิยมชมชอบหรือรังเกียจ คือระหว่างความปรารถนาและความกลัว
สาระสำคัญในตัวมนุษย์คือความต้องการ ไม่ใช่เหตุผล ความต้องการรุนแรงของมนุษย์คือ ความปรารถนาที่จะมีชีวิตอยู่ แรงกระตุ้นที่มีพลังที่สุดของมนุษย์คือ ความกลัวตาย โดยเฉพาะความ
ตายที่รุนแรงอันเกิดจากน้ำมือของมนุษย์เอง
ฮอบส์ กล่าวว่า
ความบกพร่องของปรัชญาการเมืองคลาสสิกที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ข้อสมมติฐานที่ว่ามนุษย์เป็นสัตว์การเมืองโดยธรรมชาติ
มนุษย์ไม่สามารถบรรลุถึงความสมบูรณ์แห่งธรรมชาติของตนได้นอกจากอาศัยสังคมการเมือง
ฮอบส์เห็นว่าความปรารถนาที่จะมีชีวิตอยู่ของมนุษย์เป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดของความยุติธรรมและศีลธรรม
ก่อนมีสังคมการเมืองต้องมีสภาพธรรมชาติ ลักษณะเด่นคือ
ภาวะแห่งการมีสิทธิตามธรรมชาติอันสมบูรณ์
คือความเป็นจริงทางศีลธรรมและการเมืองมูลฐานที่สำคัญที่สุด สิทธิโดยธรรมชาติ
ไม่ใช่หน้าที่โดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นหลัก สัจจะทางศีลธรรมที่แท้จริงที่สุดคือ
สิทธิโดยธรรมชาติของมนุษย์ในอันพิทักษ์รักษาชีวิตของตนเอง
แทนที่จะพูดถึงรัฐที่ดีที่สุด ฮอบส์หันมาพูดถึง รัฐบาลที่ชอบธรรม
รัฐมีหน้าที่หลักในการพิทักษ์รักษาสิทธิโดยธรรมชาติของมนุษย์เท่านั้น ไม่ใช่ส่งเสริมชีวิตแห่งคุณธรรม
จอห์น ล็อค
รับเอาเค้าโครงทางความคิดจากฮอบส์เกือบทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงจุดสำคัญจุดเดียวคือ ส่วนที่ว่าด้วยทรัพย์สิน
ล็อค มนุษย์ต้องการพิทักษ์รักษาชีวิตของตนเองนั้น น่าจะเป็นอาหารหรือทรัพย์สินมากกว่าอาวุธ สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของล็อคคือ ความคิดเรื่องเสรีภาพทางการเมือง
ปรัชญาการเมืองสมัยใหม่เบี่ยงเบนเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์มาเป็นจุดเริ่มต้นของมนุษย์แทน ด้วยแนวความคิดของ รุสโซ
เสนอว่า
สิทธิโดยธรรมชาติของมนุษย์ยังคงสถานะเดิมอยู่แม้ได้เกิดสังคมการเมืองขึ้น นั่นคือกฏแห่งธรรมชาติ รุสโซ
จึงได้เสนอโครงร่างของสังคมการเมือง
ที่ทำให้มีการอ้างถึงกฎแห่งธรรมชาติเหนือกฎหมายที่เป็นตัวตนเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้โดยเด็ดขาด สังคมการเมืองถูกสร้างขึ้นมาอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ ก็จะให้กำเนินกฎหมายที่ยุติธรรมในตัวเอง รุสโซเห็นว่าเจตนาร่วมจะไม่มีวันผิด หรือกล่าวให้สอดคล้องกับยุคสมัยว่า เสียงของประชาชนซึ่งเป็นเสียงขององค์อธิปัตย์ ย่อมเป็นเสียงที่ถูกต้องเสมอ
1.1.4 ปรัชญาการเมืองสมัยใหม่และโลกในปัจจุบัน
ปรัชญายุคคลาสสิกซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เป็นสิ่งเลวร้ายล้าสมัย ข้อท้วงติงของปรัชญาการเมืองคลาสสิกที่ว่า ประชาธิปไตยหรือการปกครองโดยคนข้างมาก
ไม่ใช่วิธีการอันเหมาะสมที่จะบรรลุถึงคุณธรรม ก็เป็นข้ออ้างที่ไม่จริงอีกต่อไป เพราะความเจริญทางวิทยาศาสตร์เจริญไปอย่างมาก
เมื่อให้การศึกษาอย่างสากล หรือ การรู้แจ้งปรัชญาเมธีสมัยใหม่ สังคมดีขึ้นหรือเจริญขึ้นได้ย่อมขึ้นอยู่กับสถาบันในสังคม
เช่นสถาบันการปกครอง สถาบันทางเศรษฐกิจ
ไม่ใช่การอบรมบ่มนิสัยสร้างบุคคลอย่างที่ปรัชญาคลาสสิกยึดถือ
1.2
ฐานะและเนื้อหาสาระของปรัชญาการเมือง
1.2.1 ฐานะของปรัชญาทางการเมือง
ปรัชญาวิทยาศาสตร์ช่วยให้เข้าใจของมนุษย์ที่มีโดยธรรมชาติต่อโลกภายนอกอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
แต่เนื้อแท้แล้วปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ไม่ละทิ้งลักษณะการแนะนำในสิ่งที่ควรเป็น
หรือควรทำ ทั้งๆ ที่ปรัชญาการเมืองสมัยใหม่สอนมีลักษณะของความควรไม่ควร ที่ขัดกับปรัชญาการเมืองคลาสสิกก็ตาม
การปฏิวัติ ของแมคเคียเวลลี ต่อปรัชญาการเมืองคลาสสิกอย่างรุนแรง เริ่มขึ้น ศตวรรษที่ 17 – 18 เมื่อความเจริญก้าวหน้าทางธรรมชาติวิทยา
ฐานะของปรัชญา
ในปัจจุบัน ฐานะของปรัชญาและปรัชญาการเมืองตกต่ำเพราะ
สังคมศาสตร์ได้ยอมรับเอาข้ออ้างของวิทยาศาสตร์และบรรทัดฐานของตน
สังคมศาสตร์ในปัจจุบันถือว่าความเห็นของโสเกรติสในเรื่องความดี ความกล้าหาญ
ความยุติธรรม ล้วนเป็นเรื่องไม่มีหลักเกณฑ์ไม่อาจพิสูจน์ได้ หลักปรัชญาของโสเกรติส เพลโต
อริสโตเติล ก็เป็นเพียงแค่ระบบค่านิยม
นักสังคมศาสตร์ต้องแยกค่านิยมออกจากข้อเท็จจริง เพราะค่านิยมเป็นเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ ในทางตรงกันข้าม สังคมศาสตร์ต้องศึกษาค่านิยม
นักสังคมศาสตร์ แมกซ์
เวเบอร์
เชื่อว่าค่านิยมเกี่ยวกับ ควรไม่ควร หรือ
ระบบค่านิยมที่ถูกต้อง
เป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่อาจรู้ได้เลย
สังคมศาสตร์จำเป็นต้องมีลักษณะ ปลอดจากการประเมินค่านิยม
ปรัชญาการเมืองและรัฐศาสตร์แผนใหม่
ต้นศตวรรษที่ 10
รัฐศาสตร์ที่รวมอยู่ในสังคมศาสตร์ที่แมคเคียวเวลลีได้ริเริ่มไว้
มาเป็นรัฐศาสตร์อย่างถูกต้องอยู่ทุกวันนี้อย่างสมบูรณ์
นักรัฐศาสตร์ในปัจจุบันเริ่มศึกษาวิจัยเรื่องที่ เกิดขึ้นหรือเป็นอยู่จริงๆ มากขึ้น แต่ที่สำคัญที่สุดคือในปัจจุบันนักรัฐศาสตร์จำนวนไม่น้อยเลิกเชื่อว่าจะมีศาสตร์ในทางปฏิบัติ
เพราะฉะนั้นรัฐศาสตร์ในปัจจุบัน แทนที่จะมีรากฐานบนประสบการณ์ทางการเมือง ต้องมีรากฐานบนจิตวิทยาศาสตร์
เพราะรัฐศาสตร์ในปัจจุบันมุ่งมั่นที่จะค้นพบกฎแห่งพฤติกรรมทางการเมือง ซึ่งเป็นกฎสากลที่นักรัฐศาสตร์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางทำนายได้
นักรัฐศาสตร์จำเป็นต้องมองการเมืองจากแง่ผู้สังเกตการณ์ที่เป็นกลาง จะต้องเข้าใจว่าระบบค่านิยมต่างๆ
เป็นเรื่องภายในจิตใจของบุคคล
การนำเอาวิธีทาง ”วิทยาศาสตร์” มาใช้ในรัฐศาสตร์ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเนื้อหาของวิชารัฐศาสตร์อย่างใหญ่หลวง
การนำเอาวิธีแบบวิทยาศาสตร์ในการศึกษารัฐศาสตร์หรือวิธีการสังเกต ช่วยให้นักรัฐศาสตร์ได้ความแน่นอนมากขึ้น
แต่วิธีการศึกษาทางรัฐศาสตร์โดยตัวมันเองไม่สามารถบอกได้ว่าอะไรเป็นเรื่องของการเมืองหรือไม่ เช่น
การปฏิวัติรัฐประหาร พฤติกรรมทางการเมืองฯ
ปัญหาที่ควรแก่การศึกษามากที่สุด
อันเกิดจากการนำเอาวิธีแบบวิทยาศาสตร์มาใช้ในรัฐศาสตร์อย่างเคร่งครัด ได้แก่
การก่อให้เกิดหลักการค่านิยมผันแปร
ตามหลักวิทยาศาสตร์ที่ต้องแยกค่านิยมออกจากข้อเท็จจริง เพราะข้อเท็จจริงไม่สามารถบอกอะไรได้มากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเลย
รัฐศาสตร์ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าระบบค่านิยมที่สูงสุดไม่มี
แต่ในขณะเดียวกันไม่มีทางพิสูจน์ได้ว่ามันมีจริงหรือไม่
อัลเบิร์ต ไอสไตน์
ได้กล่าไว้ตอนหนึ่งในบทความเรื่อง อิสภาพและวิทยาศาสตร์ ว่า
ถ้าใครสักคนหนึ่งเห็นพ้องกับหลักการว่าควรล้างผลาญเผ่าพันธุ์มนุษย์ให้หมดสิ้นไปจากโลกนี้
เราก็ไม่อาจหักล้างความคิดเช่นนั้นได้
1.2.2 เนื้อหาสาระของปรัชญาการเมือง
ปรัชญาการเมือง
แตกต่างจากความคิดทางการเมือง เพราะความคิดทางการเมืองเป็นเพียงการสะท้อนความคิด แม้แต่จินตนาการว่าด้วยหลักเบื้องต้นทางการเมือง
เกิดขึ้นโดยเจตนาสนับสนุนหรือเพื่อป้องกันความเชื่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้ ความคิดทางการเมืองมีความหมายใกล้เคียงกับอุดมการณ์ทางการเมือง
เป็นความคิดทางการเมืองที่มุ่งผลในทางปฏิบัติ ในขณะที่ปรัชญาการเมืองเป็นความพยายามที่จะรู้ทางธรรมชาติของสิ่งที่เป็นการเมืองและระเบียบทางการเมืองที่ดี สนใจใฝ่หาความจริงหรือสัจจะ
ทฤษฎีทางการเมือง หมายถึงกฎแห่งพฤติกรรมทางการเมืองซึ่งเป็นสากล
ที่นักรัฐศาสตร์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำนายเหตุการณ์ในอนาคตได้
โดยทั่วๆ ไป มีความหมายแรกใกล้เคียงกับปรัชญาการเมือง ความหมายที่สองเกิดขึ้นในต้นศตวรรษที่ 20
ลักษณะหนึ่งของปรัชญาการเมืองแตกต่างจากความคิดทางการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง หรือทฤษฎีทางการเมือง ปรัชญาตะวันตกหนักดีว่าคนส่วนใหญ่มักไม่สามารถแยกสิ่งที่เป็นของตนเองออกจากสิ่งที่ดี การพยายามแสวงหาความจริงโดยมุ่งเป็นประโยชน์ส่วนรวมอย่างแท้จริง ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
1.3
แนวทางการศึกษาปรัชญาทางการเมือง
1.3.1 แนวทางการศึกษาปรัชญาการเมืองในโลกตะวันตก
เนื้อหาของปรัชญาการเมืองนั้นยากยิ่งที่จะนำมาศึกษาในห้องเรียน
เพราะการศึกษาปรัชญาการเมืองที่แท้จริงหมายถึง ต้องมีการอ่านตัวบท เริ่มศตวรรษที่ 20
ปัญหาเรื่องภาษา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแปรสภาพของปรัชญาการเมืองมาเป็นวิชาที่ศึกษากันในมหาวิทยาลัย
ทำให้การศึกษาปรัชญาการเมืองเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับงานเขียนของปรัชญาเมธี ความหมายต่างๆ
การศึกษาปรัชญาการเมืองกลายเป็นการศึกษา ประวัติความคิดทางการเมือง แบบผู้สอนให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่สภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์
ภาวะความเสื่อมโทรมของปรัชญาการเมือง
เนื่องจากไม่มีผลงานเขียนทางปรัชญาการเมืองที่สำคัญๆ
เกิดขึ้นเลยในศตวรรษที่ 20 นี้
วงการวิชารัฐศาสตร์โลกตะวันตกมีทรรศนะต่อเนื้อหาสาระของวิชาปรัชญาการเมืองแตกต่างกันเป็น 2
กลุ่มใหญ่ คือ
กลุ่มที่ 1 มองว่าปรัชญาการเมืองอย่างที่เป็นในอดีต
มีส่วนรับผิดชอบหรือมีส่วนก่อให้เกิดภาพหลอนอันน่าสมเพชของสถานการณ์โลก ที่ปรากฏชัดเจนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เป็นต้นมา ความเป็นจริงในทางปฏิบัติ
คือสิ่งเข้ามาแทนที่ความคิดของปรัชญาการเมืองแบบเดิม และมีความเห็นว่า ปรัชญาการเมืองไม่ได้เป็นอะไรมากกว่าประวัติภูมิปัญญา
กลุ่มที่ 2 อีกพวกหนึ่ง
เห็นว่าปรัชญาการเมืองจำเป็นมากในสภาพการณ์ในปัจจุบัน เพื่อโต้กับ
ได้แก่
1. แนวโน้มที่ให้ปรัชญาการเมืองเป็นแค่วิชาความคิด ที่เน้นเป็นประวัติศาสตร์ของเนื้อหาสาระ
2.
ความพยายามทำให้วิชารัฐศาสตร์โดยส่วนรวมเป็นพฤติกรรมศาสตร์แขนงหนึ่ง หรือ
3.
แนวโน้มที่จะจำกัดภาระและวิธีการของปรัชญา
สำหรับที่เห็นว่า วิชาปรัชญาการเมืองมีคุณค่าแก่การศึกษาอย่างจริงจัง จึงได้เกิดตำราด้านปรัชญาการเมือง ที่เป็นการ
“ตีความ”
แนวทางการตีความงานเขียนทางปรัชญาการเมืองที่สำคัญๆ
มี 6
วิธี ได้แก่
1.
การวิเคราะห์ตัวบทอย่างละเอียด
1.1
เพื่อหาความหมายที่ปรัชญาเมธีที่จะสื่อ
โดยพิจารณาจากคำจำกัดความและอธิบายของคำที่ปรัชญาเมธีเลือกใช้ในงานเขียนของตน
1.2
เพื่อพิจารณาส่วนของงานเขียนชิ้นใดชิ้นหนึ่งของแง่ผลงานเขียนชิ้นนั้น ๆ ทั้งหมด
1.3
เพื่อพิจารณาว่าผลงานเขียนชิ้นใดชิ้นหนึ่ง
จากแง่ผลงานทั้งหมดในชั่วชีวิตของปรัชญาเมธีนั้น ๆ
ว่ามีความต่อเนื่องหรือไม่
1.4 เพื่อวิเคราะห์ผลงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง
จากแง่การประพันธ์การเขียนว่ามีความสำคัญอย่างไรหรือไม่กับการเสนอแนวความคิดและวิธีตีความอย่างถูกต้อง
1.5
เพื่อวิเคราะห์งานเขียนชิ้นใดชิ้นหนึ่งอย่างละเอียด
เพื่อหาความหมายที่แท้จริงที่ปรัชญาเมธีประสงค์จะสื่อถึงผู้อ่าน
2. การแยกแยะระหว่างเจตนาของปรัชญาเมธีและผลอันเกิดจากการยอมรับความเห็นนั้นๆ
แนวทางที่ 1 เน้นการหาความหมายจากความตั้งใจหรือเจตนาของตัวปรัชญาเมธีเป็นสำคัญ
แนวทางที่ 2
กลับให้ความสำคัญแก่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในทางการเมืองจากการตีความคิดนั้นๆ
แล้วนำไปปฏิบัติจริง ๆ ความหมายหรือผลกระทบที่ตามมาทีหลังอาจไม่ใช่สิ่งที่ปรัชญาเมธีนั้นๆ
คาดคะเนไว้ล่วงหน้า
3.
การศึกษาประวัติของปรัชญาเมธี
งานเขียนของปรัชญาเมธีมีความต่อเนื่องกันอย่างไร เช่น
มาร์กซ์ทนทุกข์ทรมานด้วยโรคฝีขณะเขียนทำให้เขาก้าวร้าวเป็นพิเศษกับนายทุนในผลงานเขียนชิ้นนั้น โรคไตของรุสโซ
ทำให้งานเขียนไม่ปะติดปะต่อกัน
4.
แนวทางจิตวิทยา
คือนำเอาจิตวิทยาและจิตวิเคราะห์มาใช้ศึกษาปรัชญาเมธี
ความคิดปรัชญาเมธีที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเพียงจุดเริ่มต้นข้อมูล
ผู้ศึกษาจะพิจารณาชีวิตและกระบวนการผลิตผลงานทั้งหมดของตัวปรัชญาเมธี
เพื่อนำมาสร้างให้เห็นขั้นตอนการเกิดความคิดของปรัชญาเมธีนั้นๆ
คำอธิบายมักจะปรากฏออกมาในรูปแบบของพลังกระตุ้นต่างๆ
5.
แนวทางอุดมการณ์
แนวทางนี้นำเอาสูตรสำเร็จทางอุดมการณ์ที่มีอยู่แล้วมาเป็นเครื่องมือในการอธิบายความคิดของปรัชญาเมธี แต่อันตรายที่เห็นได้ชัดที่สุดแนวทางนี้อยู่ที่ว่าการประเมินค่าผลงานของปรัชญาเมธีโดยวิธีนี้
จะกำเนิดจากแนวคิดและบทสรุปที่ถูกกำหนดอยู่ในความคิดของผู้ศึกษาก่อนแล้ว
6.
แนวทางประวัติศาสตร์
เป็นแนวทางที่พยายามให้ความสำคัญแก่กาลเวลาและสถานที่ในยุคมัยที่แตกต่างกันออกไป ในการศึกษาตัวปรัชญาเมธีละผลงาน
สิ่งที่แนวทางนี้พยายามกระทำได้แก่ชี้ให้เห็นบริบทแห่งความสลับซับซ้อนของเหตุการณ์หรือความคิดหนึ่งที่จะต้องถูกเข้าใจ
แนวทางการศึกษาปรัชญาการเมืองในประเทศไทยในอดีตและปัจจุบัน
ประเทศไทยวิชานี้ปัจจุบันเรียกว่าปรัชญาการเมือง ความคิดทางการเมือง ประวัติความคิดทางการเมือง ทฤษฎีทางการเมือง
สันนิษฐานได้ว่าเริ่มมีการสอนในมหาวิทยาลัยในประเทศไทยประมาณกลางทศวรรษของปี ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา เพราะเป็นช่วงนักสังคมศาสตร์ไทยรุ่นแรกๆ
ที่จบการศึกษามาจากประเทศสหรัฐอเมริกา
เริ่มกลับมาเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย
และเป็นช่วงของหลักสูตรของคณะรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เริ่มมีการสอดแทรกวิชารัฐศาสตร์แท้ๆ
เข้าไว้ในหลักสูตรเดิม
ที่เตรียมตัวให้นิสิตนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์เข้าไปรับราชการกระทรวงมหาดไทย หรือกระทรวงต่างประเทศเพียงอย่างเดียว
สมัยนั้นความเอาจริงเอาจังในวิชานี้มีน้อยเนื่องจาก
ความจำกัดบุคลากรผู้สอน ภาระการสอนหนักเกินไป การขาดแคลนอุปกรณ์การสอน
ในโลกตะวันตกวิชานี้ถือว่าเป็น หัวใจ ของรัฐศาสตร์มาก่อน
แล้วค่อยลดความสำคัญลงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ในประเทศไทยวิชานี้ถือว่าเป็นวิชา ประกอบ ในหลักสูตรของรัฐศาสตร์เท่านั้น
ข้อจำกัดของเนื้อหาที่เป็นตะวันตกล้วนๆ
บวกกับอาศัยการบรรยายเป็นหลัก นอกจากวิชาประวัติ ความคิดทางการเมืองที่แคบและตายตัว
นักศึกษาคงเข้าใจเพียงว่านักคิดคนสำคัญมีใครบ้าง แต่ละคนเกิดขึ้นมาในช่วงใดสมัยใด แต่ละคนมีผลงานสำคัญๆ อะไรบ้าง มีความสำคัญในยุคนั้นอย่างไร
เมื่อเริ่มมีการแปลตำราที่นักวิชาการชาวต่างประเทศเขียนที่เป็นตำราชั้นสอง นักศึกษาถือเอาตำราเพียงเล่มเดียวหรือไม่กี่เล่มเป็นเสมือนความจริงทั้งหมด
ในขณะที่นักศึกษาสหรัฐอเมริกามีปริมาณหนังสือที่มีการเขียนตีความ และให้ความสำคัญแก่ทฤษฎีและนักทฤษฎีต่างๆ
ซึ่งนักศึกษากำลังศึกษาอยู่อย่างแตกต่างกันออกไปมากมาย การสอนวิชานี้ในประเทศไทย กลับเป็นปรนัยแบบเดียวกับวิชาทั้งหลาย
เช่น วิชาเคมี ชีววิทยา
ในประเทศไทย
ผู้สอนส่วนใหญ่จะถ่ายทอดสิ่งที่ตนเรียนรู้มาจากตำราภาษาต่างประเทศไปสู่นิสิตนักศึกษาในรูปของ “ประวัติ” ความคิดเป็นส่วนใหญ่
ผู้เรียนวิชานี้ในประเทศไทยส่วนใหญ่แทบไม่มีโอกาสรับรู้เลยคือ
การวิเคราะห์ตัวบทอย่างละเอียด
การแปลวิชานี้ให้กลายเป็นวิชา “ประวัติ” ความคิดทางการเมือง
ในโลกตะวันตกมีพื้นฐานแนวความคิดที่ว่า ผู้มาทีหลังเป็นผู้สอนและผู้เรียนสามารถรู้จักและเข้าใจปรัชญาเมธีเหล่านั้นรู้จักตัวเองเสียอีก
เพราะผู้มาทีหลังมีโอกาสที่จะมีความรู้สำคัญๆ ที่ปรัชญายุคนั้นไม่อาจมีได้
ดังนั้น วิชานี้มีจุดเน้นอยู่ที่ความแม่นยำของการจดจำมากกว่าการวิเคราะห์
การศึกษาตัวบท เหตุผลและความจำเป็น
โดยทั่วๆ
ไปมักไม่คุ้นเคยกับปรัชญาการเมือง
มักเข้าใจว่าปรัชญาการเมืองคือผู้ที่อ่านงานหลักของนักคิดสำคัญ ๆ
โดยความสำคัญนักคิดเหล่านี้อาจวัดได้จากอิทธิพลหรือความสำคัญของพลังในการวิเคราะห์การเมือง สำหรับจำนวนนักคิดเหล่านี้ก็เน้นค่าสำคัญ ปรัชญาเมธีที่สำคัญๆ
มักถูกมองว่าเป็นการจำกัดขอบเขตและภาระปรัชญาการเมืองมากเกินไป
แนวโน้มของโลกปัจจุบันที่ยอมรับลักษณะความเป็นประวัติแนวความคิด
การยอมรับลักษณะความสัมพันธ์ของค่าวัฒนธรรมตลอดทฤษฎีที่เน้นว่า เฉพาะสิ่งที่ใช้อายตนะทั้งห้าเท่านั้นที่มนุษย์อาจล่วงรู้ได้
ล้วนแต่เป็นส่วนที่ผลักดันให้เพิกเฉยต่องานหลักทางปรัชญาการเมืองที่เคยมีความสำคัญในอดีต
จุดที่สำคัญเราต้องพยายามรับฟังที่ปรัชญาเมธีประสงค์จะสื่อแก่เรา เราต้องพยายามแสวงหาว่าอะไรคือคำถามที่ปรัชญาเมธีพยายามที่จะตอบ
ท่าที ทัศนคติ ที่ถูกต้องเหมาะสมแก่การศึกษาแล้ว ทำอย่างไรที่จะเข้าใจปรัชญาเมธีอย่างที่เขาเข้าใจตนเอง ในทางปฏิบัติ
การศึกษาผลงานปรัชญาเมธีอย่างละเอียดและอย่างระมัดระวังที่สุด ปรัชญาเมธีเข้าใจในปัญหานี้คือ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างปรัชญาการเมือง
จึงต้องเขียนแสดงความเห็นออกมาในรูปแบบเปิดโอกาสให้คนเพียงไม่กี่คนเข้าใจ
ถึงกระนั้น คำถามผู้ที่สนใจปรัชญาการเมืองมักถูกถามอยู่เนื่องๆ
ว่า ท่านกล่าวมาทั้งหมดนี้ก็น่าสนใจดีอยู่หรอก
แต่จะมีประโยชน์อะไรที่มาศึกษางานเขียนของปรัชญาเมธีที่ล่วงลับไปนานแล้ว
แนวทางการศึกษาปรัชญาในประเทศไทยในอนาคต
หากวัดด้วยกาลเวลาปรัชญาการเมืองของไทยเกิดขึ้นมายาวนานตั้งแต่นำเอาวิชารัฐศาสตร์ตะวันตกมาศึกษาในประเทศไทย หากนับปริมาณหนังสือปัจจุบันมีมากพอสมควร การผลิตตำรา
เพื่อใช้ประกอบการบรรยาย เป็นแนวทางการศึกษาค้นคว้าความรู้ต่อไป
ไม่สามารถหาสิ่งที่เป็นตัวบทหรือแก่นของเรื่องที่ผู้ผลิตตำราส่วนใหญ่ผลิตเพื่อประกอบเท่านั้น
ประเทศที่พัฒนาแล้วมีปัญหาในเรื่องจำนวนตำตาที่มีจำนวนมาก ส่วนประเทศไทยกลับมีอุดมการณ์ไปด้วย ตัวประกอบ
ไม่สามารถทำให้ตัวประกอบทั้งหลายมีความหมายขึ้นมา
การศึกษาปรัชญาการเมืองได้รับความสนใจมากในปัจจุบัน เพราะสังคมไทยมีการตื่นตัวทางการเมืองเพิ่มขึ้นมาก
มีความจำเป็นที่ต้องเน้นการศึกษาและเปิดโอกาสให้แก่นักศึกษาได้สัมผัสกับปรัชญาการเมืองโดยตรงมากขึ้น
แต่โอกาสและความเป็นไปได้ของการศึกษาปรัชญาการเมืองส่วนหนึ่งต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของผู้สอน
จะเลือกเอาวิธีผลิตผลงานประเภทแปลและเรียบเรียงงานตีความสำเร็จรูปออกมาแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น