องค์กรนิติบัญญัติ
ตอนที่ 5.1 : แนวความคิดเกี่ยวกับองค์กรนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย
เรื่องที่ 5.1.1 : การแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ในการใช้อำนาจอธิปไตย
1. ในอดีตมีการถกเถียงเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย
ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 แนวความคิด คือ
(1) กลุ่มแนวความคิด “ลัทธิเทพาธิปไตย” ถือว่า อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจศักดิ์สิทธิ์จากสวรรค์
(2) กลุ่มแนวความคิด “ลัทธิประชาธิปไตย” ถือว่า ราษฎรเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดนี้
2. มองเตสกิเออ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ได้ศึกษาถึงการปกครองของประเทศอังกฤษและได้อธิบายไว้ว่า
ในรัฐๆ หนึ่งย่อมมีอำนาจอยู่ 3 ประเภท คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร
และอำนาจตุลาการ
3. หลักการแบ่งแยกอำนาจของมองเตสกิเออ
ถูกนำไปใช้เป็นหลักในการร่างรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกเมื่อได้ประกาศแยกเป็นเอกราชจากอังกฤษ ต่อมารัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสฉบับแรกก็ได้ใช้หลักการแบ่งแยกอำนาจของมองเตสกิเออด้วยเช่นกัน
4. เมื่อมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยแล้ว
ก็ต้องมีองค์กรผู้ใช้อำนาจแต่ละอำนาจ ดังนี้
(1) องค์กรผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา
(2) องค์กรผู้ใช้อำนาจบริหาร คือ คณะรัฐมนตรี หรือประธานาธิบดี หรือประมุขของฝ่ายบริหารที่เรียก
ชื่อเป็นอย่างอื่น
(3) องค์การผู้ใช้อำนาจตุลาการ คือ ศาล
เรื่องที่ 5.1.2 : วิวัฒนาการขององค์กรนิติบัญญัติในระบอบการปกครองแบบรัฐสภา
1. ระบบการปกครองแบบรัฐสภา เริ่มมีขึ้นในประเทศอังกฤษ
ก่อนที่จะแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ
และด้วยความต่อเนื่องและวิวัฒนาการเรื่อยมาของการปกครองแบบรัฐสภาของประเทศอังกฤษ
จึงได้รับการยกย่องและได้รับสมญานามว่า เป็นแม่บทของรัฐสภาของประเทศอื่นๆ
2. วิวัฒนาการทางการปกครองแบบรัฐสภาของประเทศอังกฤษ
โดยสรุปมีดังนี้
(1) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่
11 อังกฤษมีการปกครองตามลัทธิฟิวดัล (Feudalism) กล่าวคือ เจ้าครองนครต่างๆ เรียกว่า “วาสซัล”
(Vassal) ได้รับการแบ่งสันปันส่วนการปกครองดินแดนอังกฤษ โดยเป็นผู้รับใช้กษัตริย์ของอังกฤษ
เวลามีศึกสงครามกษัตริย์อังกฤษจะคอยคุ้มครองป้องกันเป็นการตอบแทน
(2) ต่อมาในศตวรรษที่ 12 ได้เกิดประเพณีการปกครองอังกฤษขึ้นใหม่ กล่าวคือ เมื่อกษัตริย์จะบัญญัติกฎหมายสำคัญต้องปรึกษาหารือกับ
“คอนซิลเลียม” (Concillium) ก่อน องค์กรนี้ประกอบด้วยพระราชาคณะ
พวกขุนนางคนสำคัญชั้นบารอน (ระดับเจ้าครองนคร) มีฐานะเป็นสภาที่ปรึกษาในการออกกฎหมาย
(3) ในศตวรรษที่ 13 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “แม็กนั่ม คอนซิเลียม”
(Magnum Concillium) และยังเพิ่มอีกบทบาทหน้าที่หนึ่งคือ เป็นศาลพิจารณาคดีในอำนาจของกษัตริย์อีกด้วย
(4) เมื่อปี ค.ศ.1215
บรรดาพระราชาคณะและพวกบารอน ได้บังคับพระเจ้าจอห์นลงนามในบทบัญญัติกำหนดอำนาจ
เรียกว่า “แม็กนา คาร์ตา” (Magna Carta) ซึ่งมีสาระสำคัญ 2 ประการ คือ
- การเก็บภาษี
จะต้องเป็นไปตามความเห็นของสภาแม็กนัม คอนซิลเลียม
- บุคคลทุกคนย่อมเป็นอิสระ
จะไม่ถูกจับกุม คุมขัง โดยมิได้มีคำพิพากษาและมิได้มีกฎหมาย
กำหนดโทษไว้
(5) ในปี ค.ศ.1295
มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า Great
and Model Parliament สภาผู้แทนราษฎรนี้จะปฏิบัติหน้าที่ควบคู่กับสภาแม็กนัม
คอนซิลเลียม
(6) ตั้งแต่ในศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา สภาทั้งสองได้แยกออกจากกัน โดย
- สภาแม็กนัม
คอนซิลเลียม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สภาขุนนาง”
(House of Lords)
- สภาผู้แทนราษฎร
ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สภาสามัญ” (House of
Commons)
(7) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 กษัตริย์อังกฤษพยายามที่จะกู้พระราชอำนาจที่ถูกจำกัดโดยสภาขุนนาง เกิดการสู้รบกันระหว่างกองทัพกษัตริย์และกองทัพของรัฐสภา
ในที่สุดรัฐสภาเป็นฝ่ายมีชัย ทำให้รัฐสภามีอิทธิพลเพิ่มขึ้นอีกมาก
(8) ปี ค.ศ.1688
ก่อนเจ้าชายวิลเลียมขึ้นครองราชย์ พวกขุนนางได้ขอให้พระองค์ยอมรับพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิ
ค.ศ.1688 ซึ่งมีข้อบัญญัติเกี่ยวกับ
- การค้ำประกันสิทธิเสรีภาพของปวงชน
- การห้ามมิให้กษัตริย์ยับยั้งหน่วงเหนี่ยวกฎหมายใดๆ
- การห้ามเรียกเก็บภาษี
โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
- การห้ามมีกองทัพไว้ในประเทศ
โดยมิได้รับอนุญาตจากรัฐสภา
- เงินประจำตำแหน่งที่กษัตริย์อังกฤษได้รับ
จะต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของรัฐสภา
(9) วิวัฒนาการทางการปกครองของอังกฤษมีความพยายามที่จะริดรอนอำนาจสิทธิ์ขาดของกษัตริย์
ในการปกครองประเทศลงทีละน้อย ขณะเดียวกันสภาสามัญของอังกฤษก็พยายามเพิ่มพูนอำนาจและอิทธิพลให้กับตนมากขึ้น
เพราะถือว่าเป็นสภาที่ได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน จนในที่สุด สิทธิในการออกกฎหมายก็ตกอยู่ในมือของสภาสามัญ
เช่น การประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยรัฐสภา ค.ศ.1911
เรื่องที่ 5.1.3 : ความเป็นมาขององค์กรนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตยของไทย
1. ความเป็นมาเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่
5
(1) ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
(Council of State) ทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินและดำเนินการปรับปรุงระบบการบริหารด้วย
และทรงตั้งสภาองคมนตรี (Privy Council) ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์และช่วยราชการอื่นตามที่จะทรงมอบหมาย
แต่การดำเนินงานทั้งสองสภาไม่เป็นไปตามพระราชประสงค์นัก เนื่องจากบรรดาสมาชิกสภาไม่มีความรู้ในการปฏิบัติงานร่วมกัน
ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นบ้าง เกรงกลัวเกรงใจเสนาบดีบ้าง
(2) ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่
รศ.116 เพื่อริเริ่มให้ประชาชน (ให้สิทธิแก่สตรีด้วย)
ได้เรียนรู้วิธีการเลือกตั้ง โดยให้ประชาชนเลือกตั้งคนในหมู่บ้านเดียวกันเป็นผู้ใหญ่บ้าน
และให้ผู้ใหญ่บ้านเลือกกันเองเป็นกำนัน
(3) ทรงเลิกทาส ซึ่งนอกจากจะเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์
ยังเป็นรากฐานในเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวไทย ในการก้าวเข้าสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย
(4) ทรงตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลท่าฉลอม
พ.ศ.2448 เพื่อริเริ่มให้มีการปกครองท้องถิ่น
2. ความเป็นมาเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่
6
(1) ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ต่อกับต้นรัชกาลที่ 6 มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในต่างประเทศเกิดขึ้นหลายประเทศ
เช่น ประเทศตุรกีเมื่อปี 2451 ประเทศจีนเมื่อปี 2454 และประเทศรัสเซียเมื่อปี 2460
(2) เมื่อปี พ.ศ.2454
มีคณะบุคคลวางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ เป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ถูกจับได้เสียก่อนและถูกศาลทหารพิจารณาตัดสินคดีลงโทษ
ต่อมาพระองค์ได้ทรงลดโทษให้ เนื่องจากทรงเห็นว่า คณะบุคคลเหล่านี้มีเจตนาดีต่อบ้านเมือง
และเป็นเจตนาเดียวกับพระองค์ที่ทรงเห็นชอบกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้ว
(3) ทรงตั้งดุสิตธานี ในปี พ.ศ.2461 ในบริเวณพระราชวังดุสิต ให้เป็นเมืองจำลองการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย
มีรัฐธรรมนูญ มีเลือกตั้งผู้แทนราษฎร มีการจัดตั้งรัฐบาล มีการประชุมสภา และมีหนังสือพิมพ์เผยแพร่
โดยเล็งเป้าหมายการทดลองไปที่หมู่บุคคลชั้นสูงในสมัยนั้น แต่การณ์มิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์
เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ยังไม่เข้าใจเจตนารมณ์ของหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย
3. ความเป็นมาเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่
7
(1) ความคิดเห็นในเรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตยในรัชสมัยนี้แพร่ไปทั่ว
และเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นทุกระยะ เนื่องจากนโยบายพัฒนาประเทศในรัชสมัยรัชกาลที่
5 ที่ส่งคนหนุ่มไปศึกษาต่างประเทศ เมื่อคนหนุ่มเหล่านี้สำเร็จการศึกษากลับมา
ก็นำเอาแนวความคิดดังกล่าวกลับมาด้วย
(2) ทรงให้นายเรมอนด์ บี สตีเวนส์ และพระยาศรีวิสารวาจา
ร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเตรียมจะพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย ในโอกาสวันฉลองพระนครครบรอบ
150 ปี ในวันที่ 6 เมษายน 2475 แต่มีผู้คัดค้านไว้
(3) เช้ามืดของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 “คณะราษฎร์” ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เป็นระบอบประชาธิปไตย ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน
2475 ทรงพระราชทาน “พระราบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว
พ.ศ.2475”
(4) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ทรงพระราชทาน “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475”
ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรแก่ปวงชนชาวไทย และนี่คือมีมาของ
“วันรัฐธรรมนูญ”
ตอนที่ 5.2 : ลักษณะของรัฐสภา
เรื่องที่ 5.2.1 : รูปแบบของรัฐสภา
1. รูปแบบรัฐสภา สามารถจำแนกได้เป็น
2 รูปแบบ คือ
(1) รัฐสภาในรูปแบบสภาเดี่ยว
(Unicameral) หรือระบบสภาเดียว
- ประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยวและมีขนาดเล็กมักใช้ระบบสภาเดียว
- เป็นระบบที่มีความสลับซับซ้อนน้อย
กำดำเนินการทางนิติบัญญัติทำได้รวดเร็ว
- กลุ่มประเทศนี้
ได้แก่ ประเทศแถบสแกนดิเนเวีย (ยกเว้นนอรเวย์) อัลบาเนีย บุลกาเรีย
เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี โปแลนด์
โรมาเนีย
(2) รัฐสภาในรูปแบบสองสภา หรือสภาคู่
(Bicareral) หรือระบบสองสภา
- เกิดขึ้นในอังกฤษครั้งแรก
ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13
- เกิดขึ้นได้ในประเทศที่เป็นสหพันธรัฐ
(Federal States) เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย
บราซิล สวิตเซอร์แลนด์
- เกิดขึ้นได้ในประเทศที่เป็นรัฐเดียว
ซึ่งต้องการสะท้อนให้เห็นถึงความรอบคอบในงานรัฐสภา
และต้องการลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
2. ประเทศไทยเคยมีทั้งระบบสภาเดียวและระบบสองสภา
แต่ไม่เคยมีระบบสภาเดียวที่สมาชิกสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
เรื่องที่ 5.2.2 : องค์ประกอบของรัฐสภา
1. รัฐสภา ประกอบด้วย จำนวนสภาซึ่งหมายถึงมีสภาเดียวหรือสองสภา
และมวลสมาชิกของสภา ซึ่งมีที่มาจาก
(1) มาจากการเลือกตั้งโดยตรง (4) มาจากการแต่งตั้ง
(2) มาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม (5) มาจากผู้แทนกลุ่มชน
(3) มาจากการสืบตระกูล (สภาขุนนางในอังกฤษ)
2. วิธีการเลือกตั้งโดยอ้อม ทำได้โดยให้ประชาชนเลือกบุคคลหรือคณะบุคคลให้ไปใช้สิทธิเลือกสมาชิกรัฐสภาแทนตน
ซึ่งประเทศไทยเคยใช้วิธีการนี้มาแล้ว คือ
- พระราชบัญญัติการเลือกตั้ง
พ.ศ.2475 กำหนดให้ราษฎรผู้มีสิทธิออกเสียงในตำบลเลือกผู้แทนตำบลๆ
ละ 1 คน และให้ผู้แทนตำบลในจังหวัดเลือกตั้งผู้แทนราษฎรจังหวัดละ1
คน
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ.2489 กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนเป็นผู้เลือกสมาชิกพฤฒสภา
เรื่องที่ 5.2.3 : องค์กรภายในของรัฐสภา
1. งานหลักของสภาชิกรัฐสภา นอกจากการปฏิบัติงานในสภาแล้ว
ยังต้องดูแลทุกข์สุขและรับฟังความต้องการและความคิดเห็นของประชาชนอีกด้วย ดังนั้น จึงต้องมีการแบ่งช่วงเวลาทำงานของสมาชิกรัฐสภาออกเป็น
2 ช่วง คือ (1)
สมัยประชุมสภา (2) นอกสมัยประชุมสภา
2. ในสมัยประชุมสภานั้น จะมีระยะเวลาเท่าใดหรือในรอบปีหนึ่งๆ
จะมีกี่สมัยประชุมนั้น สุดแล้วแต่จะกำหนดตามความเหมาะสมของรัฐสภาของแต่ละประเทศ
- ถ้าในรอบปีหนึ่งๆ
จะกำหนดสมัยประชุมไว้เป็นการถาวร ก็เรียกว่า “สมัยสามัญ”
- ถ้าหากมีความจำเป็นแล้ว
รัฐสภาอาจเรียกประชุมสภาเป็นพิเศษ เรียกว่า “สมัยวิสามัญ”
3. วัตถุประสงค์ในการกำหนดให้มีสมัยประชุมของรัฐสภา
มี 2 ประการ คือ
(1) เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกรัฐสภามีเวลากลับไปหาประชาชนซึ่งตนเป็นผู้แทน
(2) เป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายบริหารได้มีเวลาปฏิบัติหน้าที่ในทางบริหารได้อย่างเต็มที่
4. การแบ่งงานกันทำภายในรัฐสภา แบ่งเป็นดังนี้
(1) คณะกรรมาธิการ / คณะอนุกรรมาธิการ
- คณะกรรมาธิการสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งไว้ประจำเป็นการถาวรตลอดอายุของสภา
- คณะกรรมาธิการวิสามัญ ตั้งขึ้นด้วยเหตุผลและความจำเป็นเพื่อดำเนินการเฉพาะกิจ
- คณะกรรมาธิการร่วมกัน สำหรับระบบสองสภา หากสภาหนึ่งไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายของ
อีกสภาหนึ่ง ก็จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วมจากสองสภาขึ้นมาร่วมพิจารณา
- คณะกรรมาธิการเต็มสภา ในกรณีที่สภารับหลักการในวาระแรกแล้ว และเป็นเรื่องเร่งด่วน
และเป็นร่างกฎหมายที่ไม่สลับซับซ้อน
รัฐสภาอาจมีมติให้พิจารณารวดเดียว 3 วาระก็ได้
- คณะอนุกรรมาธิการ โดยคณะกรรมาธิการอาจแต่งตั้งขึ้นมาช่วยปฏิบัติงานในรายละเอียดก็ได้
(2) ตำแหน่งสำคัญๆ ในรัฐสภา ประกอบด้วย
- ประธานรัฐสภา - ผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภา
- รองประธานรัฐสภา - ผู้ควบคุมการลงคะแนนเสียงในสภา
(3) สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา เป็นหน่วยงานประจำทำหน้าที่ให้บริการในด้านต่างๆ
ทั้งข่าวสารข้อมูล วัสดุอุปกรณ์ และงานธุรการ โดยมีเลขาธิการรัฐสภาเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
5. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันสมาชิกรัฐสภานั้น
กฎหมายได้ให้ไว้ 2 ประการ ดังนี้
(1) สมาชิกรัฐสภาผู้ใดจะกล่าวคำใดๆ ในที่ประชุมในทางแสดงข้อความ
หรือแสดงความเห็น หรือออกเสียงลงคะแนนอย่างใดถือเป็นเอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภาผู้นั้น
ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องมิได้
(2) มีความคุ้มกันในทางอาญา โดยในระหว่างสมัยประชุม
ห้ามมิให้จับกุมหรือเรียกตัวสมาชิกรัฐสภาไปกักขังหรือดำเนินคดี
6. ความเป็นอิสระของหน่วยงานประจำรัฐสภา
เพื่อให้ปลอดจากการถูกครอบงำจากฝ่ายบริหาร ซึ่งมี 2 ประการ
(1) ความเป็นอิสระในด้านการบริหารงานบุคคล
(2) ความเป็นอิสระในด้านงบประมาณและการคลัง
7. สำหรับประเทศไทยในด้านเกี่ยวกับสำนักเลขาธิการรัฐสภา
ดังนี้
- ตำแหน่งเลขาธิการรัฐสภา
เป็นตำแหน่งที่ทรงโปรดเกล้าฯ โดยมีประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามสนอง
พระบรมราชโองการ
- ในด้านการบริหารงานบุคคลนั้น
ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.
2518 แยกจากข้าราชการพลเรือน โดยให้อยู่ภายใต้คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ก.ร.)
- ในด้านงบประมาณและการคลังนั้น
ยังคงอยู่ในความควบคุมของฝ่ายบริหาร โดยต้องดำเนินการตาม
พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ
ตอนที่ 5.3 : อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา
เรื่องที่ 5.3.1 : อำนาจหน้าที่ในการจัดทำกฎหมาย
1. อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา พอแบ่งออกได้เป็น
4 ด้าน คือ
(1) อำนาจหน้าที่ในการจัดทำกฎหมาย (3) อำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบ
(2) อำนาจหน้าที่ในการควบคุมฝ่ายบริหาร (4) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
2. กฎหมายที่เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาที่จะจัดทำขึ้นคือ
พระราชบัญญัติ ซึ่งกระบวนการตราพระราชบัญญัติมีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
(1) การเสนอร่าง พ.ร.บ. ซึ่งสามารถเสนอได้
2 ทาง คือ
- คณะรัฐมนตรี - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(ครม.มีสิทธิขอพิจารณาร่างก่อน 60 วัน)
(2) การพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎร
(3) การพิจารณาโดยวุฒิสภา
3. กรณีที่เป็น พ.ร.บ. เกี่ยวกับการเงิน มีหลักปฏิบัติดังนี้
- ส.ส. จะเสนอ พ.ร.บ. เกี่ยวกับการเงินได้ ต้องเป็นคำร้องขอของนายกรัฐมนตรี
- กรณีสงสัยว่าเป็น
พ.ร.บ. เกี่ยวกับการเงินหรือไม่
ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้วินิจฉัย
4. การพิจารณาร่าง พ.ร.บ. โดยสภาผู้แทนราษฎร มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
(1) การพิจารณาในวาระที่ 1 เพื่อรับหลักการ ถ้าสภาไม่รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.
นั้นก็เป็นอันตกไป แต่ถ้ารับหลักการก็ดำเนินการต่อไปในวาระที่
2
(2) การพิจารณาในวาระที่ 2 เพื่อพิจารณาแก้ไขรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ. โดยแต่งตั้งคณะกรรมาธิการดำเนินการ หรืออาจใช้คณะกรรมาธิการเต็มสภาก็ได้
(3) การพิจารณาในวาระที่ 3 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยไม่มีการอภิปราย ถ้าไม่เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.นั้นก็ตกไป แต่ถ้าเห็นชอบ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเสนอต่อวุฒิสภาต่อไป
5. การพิจารณาร่าง พ.ร.บ. โดยวุฒิสภา มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
(1) การพิจารณาในวาระที่ 1 เพื่อรับหลักการ ถ้าวุฒิสภาไม่รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ. นั้นก็เป็นอันตกไป แต่ถ้ารับหลักการก็ดำเนินการต่อไปในวาระที่
2
(2) การพิจารณาในวาระที่ 2 เพื่อพิจารณาแก้ไขรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ. โดยแต่งตั้งคณะกรรมาธิการดำเนินการ หรืออาจใช้คณะกรรมาธิการเต็มสภาก็ได้
(3) การพิจารณาในวาระที่ 3 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบนั้น มีประเด็นที่แตกต่าง ดังนี้
- กรณีที่วุฒิสภาเห็นชอบกับสภาผู้แทนราษฎร
โดยไม่มีการแก้ไข ให้ถือว่าร่าง พ.ร.บ.นั้นได้รับ
ความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ
/ประกาศราชกิจจา /ใช้บังคับ
- กรณีที่วุฒิสภาไม่เห็นชอบกับสภาผู้แทนราษฎร
ก็ให้ยับยั้งไว้ก่อนและให้ส่งร่าง พ.ร.บ.นั้นคืน
สภาผู้แทนราษฎรไป สภาผู้แทนราษฎรจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ต้องล่วงพ้น
180 วันไปแล้ว
และถ้ายังมีมติยืนร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภา
ผู้แทนราษฎรแล้ว ถือว่าร่าง พ.ร.บ.นั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว
ให้นายกรัฐมนตรี
นำขึ้นทูลเกล้าฯ / ประกาศราชกิจจา / ใช้บังคับ
- กรณีที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม
ให้ส่งร่าง พ.ร.บ.ที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ให้ทั้งสองสภาตั้ง
“คณะกรรมาธิการร่วมกัน” ประกอบด้วยสมาชิกจากแต่ละ
สภาในจำนวนเท่ากัน เพื่อพิจารณารายละเอียดร่วมกัน แล้วรายงานและเสนอร่าง พ.ร.บ.ที่
ผ่านการพิจารณาร่วมแล้วต่อสภาทั้งสอง
* ถ้าสภาทั้งสองเห็นชอบด้วย
ก็แสดงว่าร่าง พ.ร.บ.นี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว
ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ
/ ประกาศราชกิจจา / ใช้บังคับ
* ถ้าสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบ
ก็ให้ยับยั้งไว้ก่อน สภาผู้แทนราษฎรจะยกขึ้นพิจารณา
ใหม่ต้องล่วงพ้น
180 วันไปแล้ว และถ้ายังมีมติยืนร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่ง
หนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ถือว่าร่าง พ.ร.บ.ที่ผ่านการ
พิจารณาร่วมนั้น ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว
ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ /
ประกาศราชกิจจา /
ใช้บังคับ
6. กรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่าง
พ.ร.บ.และพระราชทานคืน
หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
- รัฐสภาจะต้องปรึกษาเรื่องร่าง พ.ร.บ. กันใหม่
- ถ้ารัฐสภายังมีมติยืนด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของทั้งสอง
สภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ
ถวายอีกครั้ง
- ถ้าพระมหากษัตริย์ยังไม่ได้พระราชทานลงมา ภายใน 30 วัน
ให้นายกรัฐมนตรีนำร่าง พ.ร.บ.ประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา / ใช้บังคับ
7. อำนาจหน้าที่ในการอนุมัติพระราชกำหนด
มีรายละเอียดดังนี้
(1) พระราชกำหนดเป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
มี 2 ประเภท
- พระราชกำหนดทั่วๆ
ไป - พระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา
(2) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใช้บังคับเป็นกฎหมาย
แต่ต้องขออนุมัติต่อรัฐสภาเพื่อตราเป็น พ.ร.บ.
(3) เหตุผลและความจำเป็นในการออกพระราชกำหนดทั่วๆ
ไป กรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งเกี่ยวกับความปลอดภัยของประเทศหรือสาธารณะ
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ และภัยพิบัติสาธารณะ โดยไม่สามารถเรียกประชุมรัฐสภาได้ทันท่วงที
หรือเกิดขึ้นในระหว่างยุบสภา ทั้งนี้ ให้นำเสนอรัฐสภาในการประชุมคราวต่อไป
(4) เหตุผลและความจำเป็นในการออกพระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา
เป็นเรื่องที่ต้องมีการพิจารณาลับและเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน แม้ว่าจะอยู่ในระหว่างสมัยประชุมก็ตาม
ทั้งนี้ ให้นำเสนอรัฐสภาภายใน 3 วัน นับจากวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เรื่องที่ 5.3.2 : อำนาจหน้าที่ในการควบคุมฝ่ายบริหาร
1. การควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล
ทำได้ 2 แบบ คือ
(1) การตั้งกระทู้ถาม (2) การเสนอญัตติเปิดอภิปรายทั่วไป
2. การตั้งกระทู้ถาม คือ ข้อความที่ตั้งคำถามในสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา
ที่สมาชิกคนใดคนหนึ่งตั้งถามรัฐมนตรี ในข้อเท็จจริงหรือนโยบายเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของรัฐมนตรี ซึ่งกระทู้ถามนั้น มี 2 ประเภท คือ
(1) กระทู้ถามที่ให้ตอบในที่ประชุมสภา (2) กระทู้ถามที่ให้ตอบในราชกิจจานุเบกษา
นอกจากนี้ กระทู้ถามยังมี
2 ลักษณะ คือ
(1) กระทู้ถามธรรมดา
(2) กระทู้ถามด่วน
3. ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขในการตั้งกระทู้ถาม
มี 3 ประการ คือ
(1) คำถาม ข้อเท็จจริงที่อ้าง ตลอดจนคำชี้แจงประกอบ
ต้องไม่ฟุ่มเฟือย วกวน ซ้ำซาก หรือมีลักษณะเป็นทำนองอภิปราย
(2) กรณีกระทู้ถามในเรื่องที่ได้ตอบหรือชี้แจงไปแล้ว
จะตั้งกระทู้ถามใหม่ได้ ถ้าสาระสำคัญต่างกัน
(3) ในการประชุมแต่ละครั้ง สมาชิกสภา
1 คน ตั้งกระทู้ถามได้เพียง 1 กระทู้เท่านั้น
4. หลักเกณฑ์การบรรจุระเบียบวาระเกี่ยวกับกระทู้ถาม
- ถ้าเป็นกระทู้ถามธรรมดา
ให้บรรจุระเบียบวาระประชุมภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ประธานสภาจัดส่ง
กระทู้ไปยังรัฐมนตรีแล้ว
- ถ้าเป็นกระทู้ถามด่วน ตอนส่งกระทู้ไปยังรัฐมนตรี ต้องระบุไปด้วยว่าได้บรรจุลงในระเบียบวาระการ
ประชุมคราวใด
- การบรรจุกระทู้ลงในระเบียบวาระการประชุม
ต้องเรียงลำดับก่อนหลัง เว้นแต่รัฐมนตรีจะขอเลื่อน
- การประชุมแต่ละครั้ง
จะบรรจุกระทู้ถามได้ไม่เกิน 5 กระทู้ เว้นแต่กรณีจำเป็นเร่งด่วน
5. วิธีการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป
ไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ
(1) ส.ส.
จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวน ส.ส.ทั้งหมด เข้าชื่อกันเสนอญัตติ
(2) ประธานรัฐสภาแจ้งไปยังนายกรัฐมนตรี
และบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน
(3) ประชุมเพื่ออภิปรายทั่วไป
/ รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายชี้แจงข้อเท็จจริง
(4) การลงมตินั้นจะกระทำในวันเดียวกับที่มีการอภิปรายไม่ได้
(5) คะแนนเสียงในการลงมติไม่ไว้วางใจ
ต้องมากกว่ากึ่งหนึ่งถึงจะมีผลให้รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี
พ้นจากตำแหน่ง
เรื่องที่ 5.3.3 : อำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบ และอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
1. อำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบ
และอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่
(1) การให้ความเห็นชอบที่เกี่ยวกับสถาบันประมุขของประเทศ
เช่น
- การให้ความเห็นชอบในการตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- การใช้ความเห็นชอบในการสืบสันตติวงศ์
(2) การให้ความเห็นชอบต่อสนธิสัญญาที่ทำกับประเทศอื่น
(3) การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม
(4) การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งคณะกรมการชุดต่างๆ
ตามที่กฎหมายกำหนด
ตอนที่ 5.4 : การเลือกตั้ง
เรื่องที่ 5.4.1 : แนวความคิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
1. การเลือกตั้ง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบการเมืองในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
เพราะ
(1) เป็นการตัดสินใจของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
(2) เป็นการแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ทั่วไปของประชาชนส่วนใหญ่ต้องการอะไร
2. ทฤษฎีเกี่ยวกับแนวความคิดในการเลือกตั้ง
แบ่งออกเป็น 2 แนวความคิด คือ
(1) การเลือกตั้งเป็นเรื่องของสิทธิ กล่าวคือ
ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยมีสิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิเฉพาะตัว
ไม่มีผู้ใดเพิกถอนสิทธินี้ได้ ดังนั้น การไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือไม่ จึงเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล
(2) การเลือกตั้งตั้งเป็นเรื่องของหน้าที่
กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนโดยส่วนรวม ซึ่งหมายถึงชาติ ฉะนั้น ผู้ที่มีส่วนร่วมในการใช้อำนาจอธิปไตยจึงต้องมีหน้าที่
3. ประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่กำหนดเกณฑ์อายุผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
18 ปีบริบูรณ์แล้ว ประเทศไทยเคยกำหนดไว้ที่ 20 ปีบริบูรณ์ ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น
18 ปีบริบูรณ์
4. ประเทศทั่วๆ ไปนิยมกำหนดเขตเลือกตั้งเป็นเขตพื้นที่ย่อยๆ
เพื่อความสะดวกในการเลือกตั้ง สำหรับข้อควรคำนึงถึงในการกำหนดเขตเลือกตั้งนั้นมี 3 ประการ ดังนี้
(1) คำนึงถึงผู้มีสิทธิออกเสียง โดยแบ่งให้เท่าๆ
กัน หรือใกล้เคียงกัน
(2) คำนึงถึงเขตพื้นที่ที่กำหนดโดยธรรมชาติ
หรือโดยทางภูมิศาสตร์
(3) ควรมีการทบทวนการแบ่งเขตเลือกตั้งอยู่เสมอ
5. การกำหนดเขตเลือกตั้ง อาจทำได้
2 วิธี คือ
(1) แบบแบ่งเขต หมายถึง การแบ่งเขตพื้นที่ทางการปกครองออกเป็นเขตๆ แต่ละเขตจะมีผู้แทนได้
1 คน โดยถือเกณฑ์ประชาชน 150,000 – 200,000 คน
ต่อผู้แทนราษฎร 1 คน ประชาชนในแต่ละเขตมีสิทธิเลือกผู้แทนได้เพียงคนเดียว
(One Man One Vote)
(2) แบบรวมเขต หมายถึง การถือเอาเขตพื้นที่ทางการปกครองเป็นเขตเลือกตั้งเขตหนึ่ง ประชาชนในเขตเลือกตั้งนั้นมีสิทธิเลือกผู้แทนของตนตามจำนวนผู้แทนที่จะมีได้ในเขตนั้น
(One Man Several Vote)
6. สถานภาพของผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรนั้น
ในปัจจุบันทุกประเทศถือว่า ผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนของปวงชนทั้งประเทศ
เรื่องที่ 5.4.2 : วิธีและระบบการเลือกตั้ง
1. วิธีการเลือกตั้ง แบ่งออกเป็น
2 วิธี คือ
(1) การเลือกตั้งโดยตรง
(Direct Election) เป็นวิธีการเลือกตั้งที่ให้ประชาชนได้ออกเสียงลงคะแนนผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยตรง
(2) การเลือกตั้งโดยอ้อม
(Indirect Election) เป็นการเลือกตั้งโดยประชาชนผู้ออกเสียงลงคะแนนเสียงเพื่อเลือกคณะบุคคลขึ้นคณะหนึ่ง แล้วบุคคลคณะนี้จะไปเลือกตั้งผู้แทนราษฎรอีกต่อหนึ่ง
2. ระบบการเลือกตั้ง แบ่งออกเป็น
2 ระบบ คือ
(1) การเลือกตั้งแบบคะแนนเสียงข้างมาก
(Majority Electoral System) โดยถือว่าผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง
ซึ่งระบบนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ระบบการเลือกตั้งแบบคะแนนเสียงข้างมากรอบเดียว
โดยถือว่าผู้ได้คะแนนเสียงสูงสุดเป็น
ผู้ชนะการเลือกตั้ง ระบบนี้ใช้อยู่ในประเทศอังกฤษ
และประเทศในเครือจักรภพ
- การเลือกตั้งแบบคะแนนเสียงข้างมากสองรอบ
โดยถือว่าผลการเลือกตั้งรอบแรก ถ้าผู้ใดได้
คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงทั้งหมด
ผู้นั้นจะได้รับเลือกตั้งเลย แต่หากคะแนน
เสียงรอบแรกไม่มีผู้ได้เกินกึ่งหนึ่ง
ก็ต้องมีการลงคะแนนเสียงรอบที่สอง ผู้ใดได้คะแนนเสียง
สูงสุด ผู้นั้นชนะการเลือกตั้ง ระบบนี้ใช้อยู่ในฝรั่งเศส
(2) ระบบการเลือกตั้งแบบมีตัวแทนตามสัดส่วนของคะแนนเสียง
ปัจจุบันประเทศต่างๆ ในแถบยุโรปตะวันตกใช้ระบบการเลือกตั้งนี้ ซึ่งการคิดสัดส่วนของคะแนนเสียงระบบนี้มีสูตรและวิธีคิดที่แตกต่างกัน
จึงยากที่จะรวบรวมมาเป็นหลักเกณฑ์ได้
3. ระบบการเลือกตั้งในประเทศญี่ปุ่นนั้น
แตกต่างไปจากระบบการเลือกตั้งทั้งสองระบบ กล่าวคือ
- ญี่ปุ่นกำหนดเขตเลือกตั้งให้ผู้แทนราษฎรได้หลายคนในแต่ละเขตเลือกตั้ง
- การออกเสียงเลือกตั้งนั้นผู้ออกเสียงเลือกตั้งจะเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เพียงคนเดียว
- ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดจะเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง
4. มีข้อสังเกตเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้ง
คือ
- ระบบการเลือกตั้งแบบคะแนนเสียงข้างมาก
เอื้ออำนวยให้เกิดระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค
- ระบบการเลือกตั้งแบบมีตัวแทนตามสัดส่วนของคะแนนเสียง
เอื้ออำนวยให้เกิดระบบพรรคการเมือง
แบบหลายพรรค
เรื่องที่ 5.4.3 : การเลือกตั้งในประเทศไทย
1. การเลือกตั้งในอดีตที่ผ่านมาของประเทศไทย
- มีทั้งการเลือกตั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม
-
การกำหนดเขตเลือกตั้งก็เคยใช้ทั้งวิธีแบบแบ่งเขต แบบรวมเขต และแบบผสม
- ระบบการเลือกตั้งเป็นแบบเสียงข้างมากรอบเดียว
2. ประเทศไทยมีการเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น
13 ครั้ง (นับถึงเดือนเมษายน 2522) ดังนี้
- การเลือกตั้งครั้งแรก
(ทั่วไป) 15
พฤศจิกายน 2476 ทางอ้อม / ถือเขตจังหวัด
- การเลือกตั้งครั้งที่
2 (ทั่วไป) 7
พฤศจิกายน 2480 ทางตรง / แบ่งเขต
- การเลือกตั้งครั้งที่
3 (ทั่วไป) 12
พฤศจิกายน 2481 ทางตรง / แบ่งเขต
- การเลือกตั้งครั้งที่
4 (ทั่วไป) 6
มกราคม 2489 ทางตรง / แบ่งเขต
- การเลือกตั้งครั้งที่
5 (การเลือกตั้งเพิ่ม) 5
สิงหาคม 2489 ทางตรง / แบ่งเขต
- การเลือกตั้งครั้งที่
6 (ทั่วไป) 29
มกราคม 2491 ทางตรง / รวมเขต
- การเลือกตั้งครั้งที่
7 (การเลือกตั้งเพิ่ม) 5
มิถุนายน 2492 ทางตรง / รวมเขต
- การเลือกตั้งครั้งที่
8 (ทั่วไป) 26
กุมภาพันธ์ 2495 ทางตรง / รวมเขต
- การเลือกตั้งครั้งที่
9 (ทั่วไป) 26
กุมภาพันธ์ 2500 ทางตรง / รวมเขต
- การเลือกตั้งครั้งที่
10 (ทั่วไป) 15
ธันวาคม 2500 ทางตรง / รวมเขต
- การเลือกตั้งครั้งที่
11 (ทั่วไป) 10
กุมภาพันธ์ 2512 ทางตรง / รวมเขต
- การเลือกตั้งครั้งที่
12 (ทั่วไป) 26
มกราคม 2418 ทางตรง / แบบผสม
- การเลือกตั้งครั้งที่
13 (ทั่วไป) 22
เมษายน 2522 ทางตรง / แบบผสม
3. ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งในประเทศไทยทั้ง
13 ครั้ง ดังนี้
(1) วิธีการเลือกตั้งเกือบทั้งหมดเป็นวิธีการเลือกตั้งโดยทางตรง
ยกเว้นครั้งแรกโดยทางอ้อม
(2) เป็นการเลือกตั้งทั่วไป
11 ครั้ง และการเลือกตั้งเพิ่ม 2 ครั้ง
(3) การกำหนดเขตเลือกตั้ง
- แบบแบ่งเขต ได้แก่ ครั้งที่ 2, 3, 4, 5
- แบบรวมเขต ได้แก่ ครั้งที่ 1, 6, 7, 8, 9,
10, 11
- แบบผสม ได้แก่ ครั้งที่ 12, 13
4. ปัญหาและอุปสรรคในการเลือกตั้งในประเทศไทย
สรุปได้ 3 ประการ คือ
(1) ความเข้าใจของประชาชนในสิทธิและหน้าที่ทางการเมือง
(2) ความเข้าใจของประชาชนที่มีอยู่ต่อความสำคัญขององค์กรนิติบัญญัติไม่เพียงพอ
(3) บทบาทและภาพพจน์ขององค์กรนิติบัญญัติต่อศรัทธาของประชาชน
ตอนที่ 5.5 : พรรคการเมือง
เรื่องที่ 5.5.1 : แนวความคิดเกี่ยวกับพรรคการเมือง
1. พรรคการเมือง คือ กลุ่มบุคคลซึ่งมีความคิดเห็นและผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกัน
และต้องการนำความคิดเห็นทางการเมืองและเศรษฐกิจนั้นไปเป็นหลักในการบริหารประเทศ ด้วยการส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
โดยมุ่งหวังที่จะจัดตั้งรัฐบาล จัดการบริหารประเทศตามแนวนโยบายที่ได้ประกาศไว้กับประชาชนและสมาชิกพรรค
2. บทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมือง
มีดังนี้
(1) การปลูกฝังความรู้และสำนึกทางการเมืองแก่ประชาชน
(2) การคัดเลือกตัวบุคคลที่เหมาะสมเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง
(3) การประสานประโยชน์ของกลุ่มผลประโยชน์
และกลุ่มอิทธิพลต่างๆ
(4) การนำนโยบายที่ได้แถลงไว้กับปวงชนเข้าไปใช้ในการบริหารประเทศ
3. ลักษณะของการกำเนิดพรรคการเมือง
แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
(1) การกำเนิดของพรรคการเมืองในรัฐสภา เกิดจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รวมตัวกันขึ้นเป็นกลุ่มภายในสภา
โดยมุ่งหมายที่จะผนึกกำลังในการต่อรองเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น และการดำเนินนโยบายหรือออกกฎหมายตามอุดมการณ์ของกลุ่ม
(2) การกำเนิดพรรคการเมืองนอกรัฐสภา เกิดจากกลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มอิทธิพลต่างๆ
เช่น สมาคมอาชีพ สหพันธ์กรรมกร องค์กรศาสนา เป็นต้น
4. Grass Root Support หมายถึง แรงสนับสนุนพรรคการเมืองจากประชาชน
ซึ่งจะทำให้พรรคการเมืองมีฐานะมั่นคงถาวร สามารถดำเนินการทางการเมืองให้สนองเจตนารมณ์ของประชาชนได้อย่างแท้จริง
5. พรรคการเมืองไทยที่ผ่านมาในอดีต
มักถูกมองว่าเป็น “พรรคของนักการเมือง” เนื่องจาก
(1) เป็นพรรคที่จัดตั้งโดยนักการเมือง
โดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนสนับสนุนอย่างจริงใจ
(2) การหาสมาชิกพรรคและการสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
เป็นเพียงการกระทำให้ครบตามเกณฑ์
ที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น
(3) พรรคการเมืองและสมาชิกพรรคการเมืองมิได้มีความสัมพันธ์อันต่อเนื่องยาวนาน
เรื่องที่ 5.5.2 : ระบบพรรคการเมือง
1. ระบบพรรคการเมือง แบ่งออกเป็น
3 ระบบ คือ
(1) ระบบพรรคเดียว (Single
Party System) (3) ระบบหลายพรรค (Multi
Party System)
(2) ระบบสองพรรค (Two Party
System)
2. ระบบพรรคการเมืองพรรคเดียว มี
2 ลักษณะ คือ
(1) ระบบพรรคการเมืองพรรคเดียว เป็นระบบที่ใช้อยู่ในประเทศที่มีการปกครองแบบสังคมนิยม
แบบคอมมิวนิสต์ หรือแบบเผด็จการ
(2) ระบบพรรคการเมืองเด่นพรรคเดียว เป็นระบบที่เกิดอยู่ในประเทศอินเดีย ญี่ปุ่น
3. ระบบพรรคการเมืองสองพรรค หมายถึง
ประเทศที่อาจมีพรรคการเมืองหลายพรรค แต่มีพรรคการเมืองที่สำคัญและมีอิทธิพลเพียงสองพรรคเท่านั้น
ที่ผลัดเปลี่ยนกันจัดตั้งรัฐบาล ตัวอย่างประเทศในกลุ่มนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ
4. การที่ระบบพรรคการเมืองสองพรรค สามารถเอื้ออำนวยให้รัฐบาลมีโอกาสบริหารประเทศจนครบตามวาระ
เป็นระบบที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เลือกพรรคการเมือง และเชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยมากกว่าระบบพรรคการเมืองพรรคเดียว
5. ระบบพรรคการเมืองหลายพรรค หมายถึง
ประเทศที่มีพรรคการเมืองจำนวนมากกว่า 3 พรรค โดยแต่ละพรรคการเมืองได้รับความนิยมจากประชาชนจำนวนใกล้เคียงกัน
กลุ่มประเทศนี้ ได้แก่ เบลเยี่ยม เยอรมัน ออสเตรเลีย กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย อิตาลี
ฝรั่งเศส และไทย รัฐบาลในกลุ่มประเทศเหล่านี้
- มักเป็นรัฐบาลผสม และส่วนใหญ่ขาดเสถียรภาพทางการเมือง
-
มักมีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีกันอยู่เสมอ
เรื่องที่ 5.5.3 : บทบาทของพรรคการเมืองในรัฐสภา
1. บทบาทของพรรคการเมืองในรัฐสภา จำแนกออกเป็น
2 ลักษณะ คือ
(1) บทบาทของพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล
- เลือกสรรบุคคลที่เหมาะสมเข้าไปเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ
- ควบคุมการปฏิบัติงานของรัฐมนตรี
และบุคคลที่ดำรงตำแหน่งอื่น
- คำจุนเสถียรภาพของรัฐบาล
(2) บทบาทของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน
-
ควบคุมรัฐบาลในการบริหารประเทศ
-
มาตรการและวิธีการค้านของฝ่ายค้านในรัฐสภามีหลายรูปแบบ
-
การค้านนั้นต้องดำเนินการไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนเท่านั้น
เรื่องที่ 5.5.4 : พรรคการเมืองในประเทศไทย
1. ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน
ประเทศไทยมีกฎหมายพรรคการเมืองหลายฉบับ เช่น
- พระราชบัญญัติพรรคการเมือง
พ.ศ.2498 (ฉบับแรก) ยกเลิกเมื่อปี 2501 โดยคณะปฏิวัติ
- พระราชบัญญัติพรรคการเมือง
พ.ศ.2511 ยกเลิกเมื่อปี
2514 โดยรัฐประหาร
- พระราชบัญญัติพรรคการเมือง
พ.ศ.2517 ยกเลิกเมื่อปี
2519 โดยคณะปฏิรูปฯ
- พระราชบัญญัติพรรคการเมือง
พ.ศ.2524 ยกเลิกเมื่อปี
2534 โดยคณะ ร.ส.ช.
2. กฎหมายพรรคการเมืองเหล่านี้ ได้ใช้อยู่ช่วงเวลาหนึ่งก็ต้องถูกยกเลิกไปโดยการปฏิวัติรัฐประหาร
สลับกับการร่างใช้ใหม่เมื่อมีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย
3. การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่
22 เมษายน 2522 ซึ่งยังมิได้มีการประกาศใช้กฎหมายพรรคการเมือง
นักการเมืองในสมัยนั้นต้องต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้งแทน
4. พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2524 มีเจตนารมณ์ที่จะให้มีพรรคการเมืองจำนวนน้อยพรรค
จึงมีข้อบัญญัติไว้ว่า หากพรรคการเมืองพรรคใด สมาชิกผู้สมัครรับเลือกตั้งได้รับการเลือกตั้งไม่ถึงจำนวนที่กำหนดจะต้องยุบรวมกับพรรคอื่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น