ปรัชญารากฐานในกฎหมายมหาชน
ตอนที่ 2.1 : นักปรัชญาสำคัญบางคนที่มีอิทธิพลต่อกฎหมายมหาชน
เรื่องที่ 2.1.1 : บทบาทของนักปรัชญาในการพัฒนากฎหมายมหาชน
1. กฎหมายมหาชนพัฒนาไปตามความคิดของนักปรัชญากฎหมาย
หรือการเมืองในแต่ละสมัยมากกว่าอย่างอื่น ปรัชญาของใครมีผู้เห็นด้วยเป็นอันมากก็มีอิทธิพลมาก
มีผู้รับเอาไปใช้เป็นรากฐานในการยกร่างรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายการคลัง และกฎหมายมหาชนอื่นๆ
2. ปรัชญากฎหมายและการเมืองแบ่งออกเป็น
2 ฝ่ายใหญ่ๆ คือ
(1) ฝ่ายนิยมกฎหมายธรรมชาติ เชื่อว่า
- ต้องจำกัดอำนาจรัฐอันไม่เป็นธรรม
ต่อต้านการกดขี่ข่มเหงจากฝ่ายปกครอง
- คำสั่งคำบัญชาของผู้ปกครองอยู่ภายใต้กฎหมายธรรมชาติอันเป็นสากล
- ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม
มีสิทธิร้องทุกข์หรือฟ้องร้องได้
- รัฐเกิดจากสัญญาประชาคม
อำนาจอธิปไตยถ้าไม่มาจากพระเจ้าก็มาจากประชาชน
- รัฐต้องเป็นนิติรัฐ
การปกครองต้องใช้หลักนิติธรรม
(2) ฝ่ายยึดถือกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง เชื่อว่า
- รัฐมีอำนาจสูงสุดในการจัดการปกครองบ้านเมือง
- อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์หรือรัฐบาล
ซึ่งเรียกว่า “รัฏฐาธิปัตย์”
- รัฐมิได้เกิดจากสัญญาประชาคม
แต่เกิดจากการตั้งขึ้นโดยรัฏฐาธิปัตย์
- คำสั่งคำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์เป็นกฎหมาย
- กฎหมายทุกอย่างเป็นกฎหมายมหาชน
3. ปรัชญากฎหมายธรรมชาติมีส่วนทำให้กฎหมายมหาชนพัฒนาไปมาก กล่าวคือ
(1) การปฏิวัติในสมัยศตวรรษที่
18 – 19 เช่นในสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ตลอดจนการจัดทำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในศตวรรษที่
20 ก็มีการอ้างถึงสิทธิธรรมชาติ
(2) กฎหมายมหาชน ประเภทกฎหมายสังคม และกฎหมายเศรษฐกิจหลายเรื่องก็เกิดขึ้นบนรากฐานของกฎหมายธรรมชาติ
(3) กฎหมายธรรมชาติเป็นกฎหมายแห่งศีลธรรม
มโนธรรม ความเป็นธรรม และความมีเหตุมีผล
(4) ปรัชญากฎหมายธรรมชาติมีส่วนแทรกซึมเข้าไปกลมกลืนกับปรัชญากฎหมายฝ่ายบ้านเมือง
และทำให้กฎหมายมหาชนเป็นธรรมขึ้น
เรื่องที่ 2.1.2 : นักปรัชญาสมัยกรีก
1. นักปรัชญาเมธีของกรีกที่มีอิทธิพลในทางกฎหมายมหาชนในยุคสมัยนี้มี
3 ท่าน คือ โสกราติส เปลโต และอริสโตเติล จนมีคำกล่าวติดปากว่า
“โสกราติส เป็นศาสดาของผู้สอน เปลโต เป็นศาสดาของผู้คิด
อริสโตเติล เป็นศาสดาของผู้เรียน”
2. โสกราติส (Socratis) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่เป็นปรัชญาเมธีชาวเอเธนส์ผู้ยิ่งใหญ่
- ความเป็นโสกราติส
ปรากฏอยู่ในผลงานเขียนของเปลโตหลายเรื่อง เช่น ยูไทโฟร อโปโลเกีย ฯลฯ
- ในฐานะผู้สั่งสอน
จึงได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับรัฐ กฎหมาย ความยุติธรรม และคุณค่าทางจริยธรรม
- เป็นผู้ริเริ่มวิธีการแสวงหาความรู้ในทางปรัชญาแบบซักถาม
เรียกว่า “วิธีแสร้างแบบโสกราติส” เป็น
วิธีตั้งคำถามเพื่อพยายามคาดคั้นหาคำตอบจากคู่สนทนา
- ศจ.คริสโตเฟอร์ แลงเดล เป็นผู้นำวิธีการนี้มาใช้กับการศึกษาวิชากฎหมายในสหรัฐอเมริกา
เรียกว่า
“กรณีศึกษา” (Case
Study) ซึ่งต่างจากประเทศอื่นที่ใช้วิธีบรรยาย (Lecture) เช่น ในไทยและยุโรป
3. เปลโต
(Plato) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวเอเธนส์ และเป็นลูกศิษย์ของโสกราติส
อายุน้อยกว่าประมาณ 42 ปี
- เป็นผู้ตั้ง
“สำนักอาคาเดมี”
(Academy) ซึ่งถือว่าเป็นสำนักปรัชญาถาวรแห่งแรกของโลก และเป็นบ่อ
เกิดของมหาวิทยาลัยในเวลาต่อมา
- เจ้าของวรรณกรรมที่สำคัญและมีอิทธิพลมาก
3 เรื่อง คือ อุตมรัฐ รัฐบุรุษ และกฎหมาย
- อุตมรัฐ
(Replublic) เป็นวรรณกรรมที่สะท้อนถึงความคิดเรื่อง รัฐในอุดมคติซึ่งต้องมีความสมบูรณ์
เพียบพร้อมในด้านระบบการศึกษา ระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม และระบบการเมือง สังคมอุตมรัฐ
เป็นสังคมที่มีระบบการปกครองแบบราชาธิปไตย
เวลานั้นเปลโตไม่เห็นด้วยกับแบบประชาธิปไตย
-
รัฐบุรุษ (Stateman) เป็นวรรณกรรมที่เปลโตเขียนขึ้นภายหลังยอมรับว่า
สังคมแบบอุตมรัฐเป็นสิ่งที่
เป็นไปได้ยาก และเริ่มยอมรับการจัดระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยคนหมู่มาก
- กฎหมาย
(Laws) เป็นวรรณกรรมที่เสนอแนวคิดใหม่ก่อนถึงแก่กรรม โดยยอมรับว่า สังคมแบบที่
กล่าวถึงในวรรณกรรมเรื่องรัฐบุรุษก็เป็นไปได้ยากเช่นกัน อาจมีสังคมใหม่ซึ่งมีกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญ
4. อริสโตเติล
(Aristotle) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวเมืองสตากิรา
เป็นลูกศิษย์ของเปลโตในสำนักอาคาเดมี อายุน้อยกว่าประมาณ 43 ปี
- เป็นผู้ก่อตั้ง
“สำนักลีเซียม” (Lyceum) เป็นสำนักใหญ่ในกรุงเอเธนส์
- เจ้าของวรรณกรรมสำคัญ
“การเมือง” และ “จริยธรรม”
- การเมือง
(Politics)ได้ชื่อว่าเป็นคัมภีร์ทางรัฐศาสตร์ และอริสโตเติลได้ชื่อว่าเป็น
“บิดาแห่งรัฐศาสตร์”
เพราะได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับความหมายของรัฐ กำเนิดของรัฐ รูปของรัฐ และความสิ้นสุดของรัฐไว้
อย่างละเอียดลออ
- จริยธรรม
(Ethics) เป็นวรรณกรรมที่อธิบายเกี่ยวกับความยุติธรรมและคุณธรรมที่ละเอียดพิศดารที่สุด
- อริสโตเติล ได้เคยแสดงทรรศนะเกี่ยวกับ
“หลักนิติธรรม” (The Rule of Law) ไว้ แม้อังกฤษและสหรัฐ
อเมริกา ก็ยอมรับในหลักนิติธรรมนี้
ส่วนในเยอรมันนั้น ทฤษฎีเรื่องนิติรัฐก็ได้รับอิทธิพลจากทรรศนะ
นี้ของอริสโตเติลอย่างมาก
เรื่องที่ 2.1.3 : นักปรัชญาสมัยโรมัน
1. สมัยที่โรมรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่กรีกนั้น
มีนักปรัชญากฎหมายและการเมืองเกิดขึ้นมากมาย แต่ที่นับว่าสำคัญและมีบาบาทอย่างยิ่งมี
2 ท่าน คือ ชิเซโร และนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป
2. ชิเซโร (Cicero ) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นนักกฎหมาย นักการเมือง
และรัฐบุรุษคนสำคัญของโรม
- เจ้าของวรรณกรรม
“สาธารณรัฐ” (Republic) และ “กฎหมาย” (Laws) ซึ่งเขียนในรูปของบทสนทนา
ตามแบบของเปลโต แต่มีผู้วิจารณ์ว่าฝีมือด้อยกว่า
- เป็นผู้ที่ยอมรับและอธิบายถึงสิทธิธรรมชาติได้อย่างชัดเจนที่สุด
ซึ่งนำไปเป็นข้อต่อรองกับผู้ปกครอง
จนก้าวไปสู่สิทธิของพลเมือง
3. นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป
(Saint Augustine of Hippo) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นนักบุญชาวแอฟริกัน
ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสังฆราชแห่งเมืองฮิปโป
- The City of God เป็นวรรณกรรมที่เรียบเรียงขึ้นจากแนวคิดของนักบุญเปาโล และเปลโต วรรณกรรม
นี้แบ่งสังคมออกเป็น 4 ส่วน คือ บ้าน เมือง โลก และจักรวาล และเน้นความสำคัญของความยุติธรรม
- ทฤษฎีของนักบุญออกัสติน
มีส่วนวางรากฐานให้แก่ปรัชญาของนักบุญอไควนัสในเวลาต่อมา
เรื่องที่ 2.1.4 : นักปรัชญาสมัยกลาง
1. ปรัชญาเมธีที่มีอิทธิพลทางกฎหมายมหาชนที่สุดในสมัยกลาง
มี 2 ท่าน คือ จอห์นแห่งซอสเบอรี่ และนักบุญโธมัส อไควนัส
2. จอห์นแห่งซอสเบอรี่
(John of Salisbury) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นปรัชญาเมธีชาวอังกฤษ
- เจ้าของวรรณกรรม
“โปลิเครติคุส” (Policraticus) เป็นวรรณกรรมที่เน้นความสำคัญของกฎหมาย
- เป็นผู้ที่ชี้ให้เห็นข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่าง
“ทรราชย์” และ “ราชา”
โดยกล่าวว่า ราชานั้นต้องเคารพ
กฎหมายและต้องปกครองประชาชนด้วยบัญชาแห่งกฎหมาย
โดยถือว่าตนเป็นผู้รับใช้ประชาชน
ในขณะที่ทรราชย์คือ ผู้นำที่ไม่ดำรงตนอยู่ในธรรม
ประชาชนไม่จำต้องยอมตนอยู่ใต้อำนาจ
3. นักบุญโธมัส อไควนัส
(Saint Thomas Aquinas) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวอิตาลี ในบั้นปลายแห่งชีวิตได้อุทิศตนให้กับคริสต์ศาสนา
- เป็นผู้ที่ได้อธิบายถึงแนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายธรรมชาติอย่างละเอียดชัดเจน
และแนวคิดของปรัชญา
เมธีผู้นี้ ภายหลังมีผู้นำไปจัดลำดับชั้นกฎหมาย
- นักบุญอไควนัส แบ่งประเภทของกฎต่างๆ
ออกเป็น 4 ประเภทตามลำดับ คือ
* กฎนิรันดร เป็นกฎสูงสุด ถือได้ว่าเป็นแผนการสร้างโลกของพระผู้เป็นเจ้า
* กฎธรรมชาติ เป็นกฎสูงสุดรองลงมา และว่าด้วยเหตุผล คุณธรรม ความยุติธรรม
ซึ่งเป็นกฎแห่งความประพฤติที่สอดคล้องกับกฎนิรันดร
*
กฎศักดิ์สิทธิ์ เป็นกฎรองลงมา
และว่าด้วยหลักประพฤติปฏิบัติทางศาสนา
* กฎหมายของมนุษย์ เป็นกฎต่ำสุด และกำหนดหลักประพฤติปฏิบัติของมนุษย์ในทางโลก
เรื่องที่ 2.1.5 : นักปรัชญาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
1. สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
(Renaissance) มีนักปรัชญากฎหมายที่สมควรกล่าวถึง 2 ท่าน คือ ฌอง โบแดง และ โธมัส ฮอบส์
2. ฌอง โบแดง (Jean
Bodin) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส
- เป็นผู้มีอิทธิพลอย่างมากในทางปรัชญาการเมือง
โดยเฉพาะการเผยแพร่ความคิดว่า อำนาจอธิปไตย
เป็นของกษัตริย์
- “ตำรา
6 เล่ม ว่าด้วยรัฐ” (Six Books Concerning the State) และ “วิธีทำความเข้าใจกับประวัติศาสตร”์
(Method for the Easy comprehension of
History) เป็นวรรณกรรมชิ้นสำคัญของนักปรัชญาผู้นี้
- ตำรา 6 เล่ม ว่าด้วยรัฐ ได้อธิบายทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตยไว้อย่างละเอียดชัดเจน
3. โธมัส ฮอบส์ (Thomas
Hobbes) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นนักปรัชญาชาวอังกฤษ
และเป็นผู้คิดทฤษฎีการเมืองขึ้นใหม่ โดยนำเอาศาสตร์ทางด้านธรรมศึกษา
ปรัชญา และคณิตศาสตร์ มาผสมผสานกันเข้า
- เจ้าของวรรณกรรม
“ส่วนประกอบของกฎหมายทางธรรมชาติและทางการเมือง” ซึ่งวรรณกรรมชิ้นนี้
สร้างความไม่พอใจให้แก่สมาชิกรัฐสภาอังกฤษอย่างมาก
จนต้องหลบหนีไปอยู่ฝรั่งเศส
- เจ้าของหนังสือ
“รัฏฐาธิปัตย์” (Leviathan) ซึ่งถือว่าเป็นวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของฮอบส์
และยัง
ถือว่าเป็นตำราปรัชญาการเมืองรัฐศาสตร์เล่มแรกของโลก
ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ
- ปรัชญาแนวคิดที่สำคัญของฮอบส์
มีดังนี้
* ไม่เชื่อวิธีหาเหตุผลและวิธีศึกษาแบบอุปนัย
ต้องใช้วิธีคณิตศาสตร์หรือเรขาคณิตเป็นสำคัญ
* เชื่อในความเสมอภาคระหว่างบุคคล
* ปฏิเสธทฤษฎีเทวสิทธิ์ แต่เชื่อในทฤษฎีสัญญาประชาคม
* กฎหมายเป็นสิ่งสำคัญในรัฐ แต่รัฏฐาธิปัตย์ควรอยู่เหนือกฎหมาย
* ปรัชญากฎหมายธรรมชาติเป็นเรื่องเพ้อฝัน
* การนับถือศาสนา เป็นความเกรงกลัวในอำนาจที่มองไม่เห็น
* มนุษย์มีสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองจากรัฏฐาธิปัตย์ การที่ราษฎรยอมรับอำนาจของรัฏฐาธิปัตย์
นั้น เป็นเรื่องของสัญญาประชาคม
เรื่องที่ 2.1.6 : นักปรัชญาหลังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
1. กฎหมายมหาชนรุ่งเรืองมากในสมัยคริสต์ศตวรรษที่
18 – 20 ซึ่งมีการผสมผสานความคิดระหว่างปรัชญากฎหมายธรรมชาติกับปรัชญากฎหมายฝ่ายบ้านเมือง
และมีการจัดทำกฎหมายมหาชนขึ้น เช่น รัฐธรรมนูญ นักปรัชญาในยุคสมัยนี้มีหลายท่าน และส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป
2. เจมส์ แฮริงตัน (James
Harrington) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวอังกฤษ
ซึ่งมีความเห็นว่า อำนาจของรัฐบาลมาจากทรัพย์สิน
- เจ้าของวรรณกรรม
“The Commonwealth of Oceanna”
- สนับสนุนการเลือกตั้งเสรี
การมีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร และเสรีภาพในการนับถือศาสนา
- ปรัชญาของแฮริงตันมีอิทธิพลอย่างมากในสหรัฐอเมริกา
จนกล่าวกันว่า การที่สหรัฐอเมริกามีรัฐ
ธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร และจัดระบบการปกครองในรูปที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ เพราะอิทธิพลจาก
วรรณกรรมของแฮริงตันนั่นเอง
3. จอห์น ล้อค (John
Locke) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวอังกฤษ ศึกษาทางด้านปรัชญาและรัฐศาสตร์
-
เจ้าของวรรณกรรม “สองเล่มว่าด้วยการปกครอง”
(Two Treatises of Government)
- ล้อคมีความเห็นว่า
มนุษย์ทุกรูปทุกนามมีสิทธิอยู่ในตัวนับแต่เกิดมา
4. เอ็ดมันด์ เบอร์ค (Edmund
Burke) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวไอร์แลนด์
- เจ้าของวรรณกรรมสำคัญ
“สดุดีสังคมธรรมชาติ” (A Vindiication of Natural
Society) “ย่อประวัติ
ศาสตร์อังกฤษ”
(Abridgrment of the History of England) และ “บทเรียนว่าด้วยกฎหมายในระบบ
สันตะปาปา”
(Tracts on the Popery Laws)
- เบอร์ค เน้นเรื่องการนำสิทธิตามธรรมชาติมาปรับเข้ากับการเมืองการปกครอง
อันเป็นหลักสำคัญ
อย่างหนึ่งในทางกฎหมายปกครอง
5. เจเรมี แบนเธม (Jeremy
Bentham) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวอังกฤษ
- เจ้าของวรรณกรรม
“ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักศีลธรรมและงานนิติบัญญัติ”
(Introdution to
the Principles of Morals and Legislation) ซึ่งทำให้แบนเธมกลายเป็นปรัชญาเมธีทางกฎหมาย
มหาชนที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่ง
6. อัลเบิร์ต เวนน์ ไดซี่ย์ (Albert Venn
Dicey) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวอังกฤษ เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ
- เจ้าของวรรณกรรม
“ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญ”
(Introdution to
the Study of the Law of the Constitution) ซึ่งถือว่าเป็นตำรากฎหมายรัฐธรรมนูญที่สำคัญที่สุด
เล่มหนึ่งของอังกฤษ
- วรรณกรรมเล่มนี้ ได้อธิบายถึงปรัชญากฎหมาย
3 ประการ คือ
* ปรัชญาว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายลายลักษณ์อักษร
กับกฎหมายจารีตประเพณี
* ปรัชญาว่าด้วยอำนาจสูงสุดของรัฐสภา
* ปรัชญาว่าด้วยหลักนิติธรรม
- มีผู้วิจารณ์ว่า เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญทำให้กฎหมายปกครองของอังกฤษพัฒนาไปได้ช้ามาก
7. มองเตสกิเออ
(Montesquieu) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นนักปรัชญาเมธีชาวฝรั่งเศส
- เจ้าของวรรณกรรมเสียดสีประชดประชันสังคมฝรั่งเศส “จดหมายจากเปอร์เซีย” (Letters Persanes)
- เจ้าของวรรณกรรม
“เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย” (Esprit des lois) ที่ถูกกล่าวหาว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อ
คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก เป็นวรรณกรรมที่กล่าวถึงการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ออกเป็น
3
ประการ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจปฏิบัติการซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายมหาชน
และอำนาจปฏิบัติการ
ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายแพ่ง
8. ฌอง ฌาคส์ รุสโซ (Jean Jacques
Rousseau) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นนักปรัชญาชาวสวิส
พออายุ 16 ปี จึงย้ายไปพำนักในฝรั่งเศส
-เจ้าของวรรณกรรมอันลือลั่นชื่อ
“สัญญาประชาคม” (Social Contract) เป็นวรรณกรรมที่กล่าวถึง
* รัฐเกิดขึ้นจากคนหลายคนมาอยู่รวมกัน
และสละประโยชน์ส่วนน้อยเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่
* รัฐควรเป็นใหญ่ทั้งในด้านเศรษฐกิจ
สังคม และการเมือง
* อำนาจอธิปไตยควรเป็นของชาติ หรือเป็นของประชาชน
- วรรณกรรมของรุสโซเรื่องนี้
มีอิทธิพลมากต่อการปฏิวัติในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1776
- เกอเต้ นักประพันธ์ชาวเยอรมันกล่าวว่า โลกใหม่เริ่มต้นเมื่อรุสโซเขียนวรรณกรรมอมตะเล่มนี้
9. โธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas
Jefferson) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวเวอร์จิเนีย
และเป็นประธานาธิบดีคนที่ 3 ของสหรัฐอเมริกา
- สมัยประกาศเอกราชเมื่อปี
ค.ศ.1776 เจฟเฟอร์สัน ได้เป็นผู้ร่วมร่าง
“คำประกาศอิสรภาพ” ด้วยผู้หนึ่ง
-
คำประกาศอิสรภาพนี้ได้กล่าวอ้างถึงสิทธิตามธรรมชาติหลายประการ เช่น สิทธิในเสรีภาพ
สิทธิใน
ความเสมอภาค สิทธิที่จะก่อการปฏิวัติ
และสิทธิที่จะสถาปนาประเทศเอกราช
10. จอห์น มาร์แชล (John
Marshall) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นประธานศาลฎีกาคนสำคัญในช่วงต้นของการสร้างประเทศสหรัฐอเมริกา
- คำพิพากษาของท่านผู้นี้ได้กลายเป็นบรรทัดฐานของการพิจารณาตัดสินคดีในเวลาต่อมา
- คำพิพากษาที่สำคัญที่สุด
คือ คำพิพากษาในคดี Marbury V. Madison ซึ่งมาร์แชลวินิจฉัยว่า
* รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
* กฎหมายธรรมดาจะขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้
* ถ้ากฎหมายธรรมดาขัดกับรัฐธรรมนูญ
กฎหมายธรรมดาย่อมไร้ผลบังคับ
* เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติว่าใครเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยว่า
กฎหมายขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
ศาลย่อมเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัย
* คำวินิจฉัยของศาลถึงที่สุด
11. คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวยิว เกิดในเยอรมันตะวันตก
สำเร็จปริญญาเอกทางปรัชญาและประวัติศาสตร์
- ได้พบกับฟรีดริค เองเกิลส์
ทั้งสองได้ร่วมกันเขียนบทความทางการเมืองและเศรษฐศาสตร์หลายเรื่อง
จนถูกขับออกจากประเทศฝรั่งเศส
- ทั้งสองได้ร่วมกันเขียนวรรณกรรมเล่มหนึ่งชื่อ
“คำประกาศป่าวร้องของคอมมิวนิสต์” (Communist
Manifesto) ซึ่งเป็นคัมภีร์ของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเวลาต่อมา
- ปรัชญาของมาร์กซ์
มีอิทธิพลต่อกฎหมายมหาชนในประเทศสังคมนิยมเป็นอันมาก
12. ฮันส์ เคลเส้น (Huns
Kelsen) มีประวัติและผลงานน่าสนใจดังนี้
- เป็นชาวเชโกสโลวาเกีย
ซึ่งเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญออสเตรีย ฉบับ ค.ศ.1920
- วรรณกรรมของท่านผู้นี้
มีผู้แปลและถ่ายทอดเป็นภาษาต่างๆ เกือบทั่วโลก
ตอนที่ 2.2 : ปรัชญาว่าด้วยรัฐ
เรื่องที่ 2.2.1 : วิวัฒนาการแนวความคิดเรื่องกำเนิดของรัฐ
1. ปรัชญาที่ว่าด้วยสถาบันการเมือง
การปกครอง ของมนุษย์มีมาตั้งแต่สมัยกรีก ในเวลานั้น เอเธนส์เป็นศูนย์กลางอารยธรรมทางการเมือง
และเป็นตัวอย่างนครรัฐที่จัดรูปแบบทางการเมืองไว้อย่างมีระเบียบที่สุด ซึ่งรูปแบบนี้มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อรูปแบบการปกครองของรัฐต่างๆ
ในปัจจุบันนี้
2. โสกราติส เปลโต และอริสโตเติล เป็นนักปรัชญาการเมืองคนสำคัญในสมัยกรีก
โดย
- โสกราติส กล่าวถึงทางด้านคุณธรรมและศีลธรรมจรรยา
- เปลโต กล่าวถึงการจัดรูปแบบของรัฐในทางอุดมคติ
- อริสโตเติล กล่าวถึงรัฐที่จัดรูปแบบทางการเมืองอย่างเป็นระเบียบ
3. อริสโตเติลได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ
“วงจรทางการเมือง” ไว้อย่างน่าฟังดังนี้
- เริ่มต้นตั้งรัฐขึ้นโดยผู้นำเพียงคนเดียวที่แข็งแรง
กล้าหาญ มีคุณธรรม ปกครองแบบราชาธิปไตย
- เมื่อผู้นำเข้มแข็งมากจนเกินไป
เริ่มแสดงความโหดร้าย จนขาดคุณธรรม การปกครองจึงเปลี่ยนไปเป็น
แบบทรราชย์
- ต่อเมื่อมีบุคคลทนการกดขี่ข่มเหงไม่ไหว
จนมีคณะบุคคลลุกฮือขึ้นยึดอำนาจ ตั้งตนเป็นใหญ่
การปกครองจึงเปลี่ยนไปเป็นแบบอภิชนาธิปไตย
- นานๆ เข้าคณะบุคคลเกิดการแก่งแย่งอำนาจ
หรือหลงระเริงมัวเมาในอำนาจ จนเป็นการปกครองใน
แบบคณาธิปไตย
- เมื่อผู้คนไม่อาจทนทานต่อการปกครองนี้ได้
เกิดเป็นคณะบุคคลที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ไปเป็นแบบประชาธิปไตย
- เมื่อประชาธิปไตยเสื่อมลง
มีการแสดงพลังประท้วงจนสังคมวุ่นวาย ในที่สุดจะมีคนตั้งตนขึ้นมาปราบ
ยุคเข็ญ แล้วการปกครองก็กลับไปสู่แบบราชาธิปไตย
4. ความคิดเรื่องกำเนิดรัฐ ตามทฤษฎีเทวสิทธิ์
เชื่อว่า พระเจ้าเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ทางการปกครองทั้งหมดให้มนุษย์ ซึ่งก่อให้เกิดผลสำคัญ
4 ประการ คือ
(1) รัฐเกิดจากพระประสงค์ของพระเจ้า
(2) มนุษย์มิได้เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างรัฐ
แต่เป็นเพียงองค์ประกอบของรัฐ
(3) ผู้ปกครองรัฐได้อำนาจปกครองมาจากพระเจ้า
ผู้ใดฝ่าฝืนอำนาจรัฐ ผู้นั้นฝ่าฝืนโองการพระเจ้า
(4) ประชาชนในรัฐจะต้องเชื่อฟังอำนาจรัฐโดยเคร่งครัด
5. ความคิดเรื่องกำเนิดรัฐ ตามทฤษฎีสัญญาประชาคม
ซึ่งเป็นผลมาจากความคิดของโธมัส ฮอบส์ จอห์น ล้อค และรุสโซ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
(1) รัฐเกิดจากมนุษย์ หรือมนุษย์เป็นผู้สร้างรัฐ
(2) ในการสร้างรัฐ มนุษย์มารวมเข้าด้วยกันโดยมีเจตนาแน่นอน
เสมือนทำสัญญาร่วมกันว่าจะผูกพัน
กัน เผชิญทุกข์เผชิญสุขร่วมกัน
(3) การผูกพันกันดังกล่าวถือเป็นการทำสัญญาประชาคม
รัฐจะต้องรับผิดชอบต่อประชาชน
(4) รัฐบาลจะต้องกระทำตามเจตนารมณ์ของประชาชนเหนือสิ่งอื่นใด
จะละเมิดมิได้
6. ความคิดเรื่องการกำเนิดรัฐ ตามทฤษฎีวิวัฒนาการ
เป็นทฤษฎีสำคัญและเป็นจริงมากกว่าทฤษฎีอื่น ซึ่งได้รับอิทธิพลจากความคิดของอริสโตเติล
มีสาระสำคัญดังนี้
(1) รัฐเกิดขึ้นจากวิวัฒนาการในทางการเมืองของมนุษย์
(2) เมื่อเริ่มต้นมนุษย์รวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ
มีความผูกพันทางสายโลหิต มีความสัมพันธ์ทางเครือ
ญาติ ดังที่เรียกว่า วงศาคณาญาติ
(3) ต่อมากลุ่มคนขยายตัวรวมเอากลุ่มชนซึ่งอยู่ในสถานที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกันเข้าด้วยกัน
มีหัวหน้า
ร่วมกัน มีศาสนาหรือลัทธิความเชื่อถืออันเดียวกัน
มีขนบธรรมเนียมประเพณีเดียวกัน เรียกว่าเป็น
สังคมร่วมเผ่าพันธุ์
(4) ต่อมาสังคมเผ่าพันธุ์ขยายตัวขึ้นจนกลายเป็นนครใหญ่
และในที่สุดหลายรัฐหรือนครก็รวมตัวกัน
เป็นจักรวรรดิ
เรื่องที่ 2.2.2 : องค์ประกอบของรัฐ
1. รัฐ (State) เป็นชุมชนทางการเมืองของประชาชน ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 ประการ
คือ
(1) ประชากร (Population) (3) อำนาจอธิปไตย
(Sovereignty)
(2) ดินแดน (Territory) (4) รัฐบาล (Government)
2. ชาติ
(Nation) หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางวัฒนธรรม
มีความผูกพันในทางสายโลหิต เผ่าพันธุ์ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ตลอดจนมีประสบการณ์ร่วมกันในทางประวัติศาสตร์
หรือมีวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองร่วมกัน
3. รัฐเป็นนิติบุคคลหรือไม่นั้น ขึ้นกับ
(1) ในแง่กฎหมายเอกชน ขึ้นอยู่กับกฎหมายเอกชนของแต่ละรัฐ
(2) ในแง่กฎหมายระหว่าประเทศ ขึ้นอยู่กับกฎหมายมหาชนของแต่ละรัฐเช่นกัน
(3) สำหรับประเทศไทยนั้น ไม่ได้เป็นนิติบุคคลไม่ว่าจะพิจารณาในแง่กฎหมายเอกชนหรือมหาชน
เรื่องที่ 2.2.3 : นิติรัฐ
1. นิติรัฐ หมายถึงรัฐที่นับถือหรือยกย่องกฎหมายเป็นใหญ่
2. รากฐานของปรัชญาว่าด้วยนิติรัฐมีมาตั้งแต่สมัยกรีก
เมื่ออริสโตเติลได้กล่าวถึงรัฐที่ดีกว่า จะต้องมีผู้นำที่ดี และผู้นำที่ดีจะต้องเคารพกฎหมาย
3. ประเทศใดประเทศหนึ่งจะเป็น
“นิติรัฐ” นั้น จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ประเทศนั้นกฎหมายจะต้องอยู่เหนือสิ่งใดหมด
(2) ขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ของรัฐ ย่อมกำหนดไว้แน่นอน
(3) ผู้พิพากษาจะต้องมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี
4. แนวความคิดเรื่องนิติรัฐ ก่อให้เกิดหลักนิติธรรม
(The Rule of Law) ซึ่งไดซีย์ นักกฎหมายรัฐธรรมนูญชาวอังกฤษ ได้สรุปหลักนิติธรรมไว้
3 ประการ ดังนี้
(1) บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญา ต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด
(2) บุคคลทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันและศาลเดียวกัน
(3) ศาลเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดี
ตอนที่ 2.3 : ปรัชญาว่าด้วยอำนาจอธิปไตย
เรื่องที่ 2.3.1 : ความหมายและเจ้าของอำนาจอธิปไตย
1. คำว่า “Power” คือ สิทธิหรือความสามารถที่จะทำการหรืองดเว้นทำการใดได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
2. คำว่า “Authority” คือ อำนาจที่ได้รับมอบหมาย
3. อำนาจเป็นสิ่งสำคัญในทางการเมือง
ในทางรัฐศาสตร์นั้นกล่าวกันว่า “การเมืองเป็นการต่อสู้เพื่ออำนาจ”
4. คำว่า “อำนาจอธิปไตย”
เป็นคำที่เพิ่งเรียกกันในสมัยศตวรรษที่ 16 นี้เอง แต่เดิมเคยเรียกกันว่า อำนาจสูงสุด
5. วิวัฒนาการของการอ้างความเป็นเจ้าของอำนาจ
มีหลายทฤษฎี เช่น
(1) ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจสูงสุดของพระผู้เป็นเจ้า
(2) ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจสูงสุดของพระสันตะปาปา
(3) ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจสูงสุดของกษัตริย์
(4) ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ
(5) ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
6. บุคคลแรกที่ใช้คำว่า “อำนาจอธิปไตย” ในความหมายทางการเมืองดังที่เข้าใจในปัจจุบันคือ
นักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศสชื่อ ฌอง โบแดง ซึ่งในวรรณกรรม 6 เล่ม ว่าด้วยรัฐ ได้อธิบายไว้พอสรุปได้ดังนี้
- อำนาจอธิปไตย คืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
- อำนาจอธิปไตยเป็นของรัฐ
มิใช่ของราษฎร
- ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยควรเป็นพระมหากษัตริย์
ซึ่งทางเป็นรัฏฐาธิปัตย์
- รัฏฐาธิปัตย์ คือผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน
สามารถออกคำสั่งให้ราษฎรปฏิบัติตามได้ แต่ตนไม่อยู่ใต้
คำสั่งของผู้ใด
7. บุคคลต่อมาผู้สนับสนุนทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของรัฐ
คือ โธมัส ฮอบส์
8. รัฐธรรมนูญของประเทศที่ยอมรับทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ
คือ รัฐธรรมนูญฝรั่งเศส รัฐธรรมนูญเบลเยี่ยม รัฐธรรมนูญไวมาร์ของเยอรมัน รัฐธรรมนูญเชโกสโลวาเกีย
ฯลฯ
เรื่องที่ 2.3.2 : ลักษณะของอำนาจอธิปไตย
1. อำนาจอธิปไตย มีลักษณะสำคัญดังนี้
- ความเด็ดขาด -
ความถาวร
- ความครอบคลุมทั่วไป - ความไม่อาจถูกแบ่งแยกได้
2. อำนาจอธิปไตยเป็นองค์ประกอบประการหนึ่งของรัฐ
ถ้าไม่มีอยู่ในสังคม สังคมนั้นก็ไม่เรียกว่า “รัฐ”
3. อำนาจอธิปไตยนั้น ไม่อาจถูกแบ่งแยกกันออกเป็นหลายเจ้าของได้
ถ้าแบ่งกันเป็นเจ้าของ รัฐเดิมก็สูญสลายหรือต้องแยกออกเป็นสองรัฐ เช่น เกาหลี แบ่งออกเป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้
เรื่องที่ 2.3.3 : การแบ่งแยกอำนาจ
1. การแบ่งแยกอำนาจนี้น่าจะมีมาแต่สมัยกรีกแล้ว
ดังที่อริสโตเติลเองได้จำแนกอำนาจหน้าที่ของรัฐออกเป็นองค์การปกครองต่างๆ กัน เช่น
(1) สภาประชาชน (3) คณะมนตรีผู้บริหารรัฐ
(2) ศาลประชาชน
2. ปรัชญาเมธีที่สำคัญที่สุดที่พูดถึงการแยกอำนาจ
คือ มองเตสกิเออ (Montesquieu) ได้ใช้เวลาศึกษาการเมืองอยู่ที่อังกฤษนานถึงปีครึ่ง
จนเกิดแรงบันดาลใจให้เรียบเรียงวรรณกรรมสำคัญเล่มหนึ่ง คือ “เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย” (Esprit des lois) โดยได้อธิบายว่าในรัฐจะมีอำนาจอยู่
3 อย่าง คือ
(1) อำนาจนิติบัญญัติ
(2) อำนาจปฎิบัติการ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายมหาชน
(สมัยนี้เรียกว่า อำนาจบริหาร)
(3) อำนาจปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายแพ่ง
(สมัยนี้เรียกว่า อำนาจตุลาการ)
3. ในการแบ่งแยกอำนาจนั้น มองเตสกิเออได้ให้หลักเกณฑ์ไว้เพียงว่า
(1) หัวใจของการแบ่งแยกอำนาจอยู่ที่ว่า
อย่าให้มีการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ที่องค์กรเดียว
(2) การแบ่งแยกอำนาจคือ
การแบ่งแยกองค์กรแยกย้ายกันทำหน้าที่ เพื่อเป็นหลักประกันคุ้มครองราษฎร
(3) จะแบ่งแยกอำนาจออกเป็นกี่องค์กร
อยู่ที่สภาพแห่งกิจการ
4. รัฐบาลไทย ไม่เคยยอมรับหลักการแบ่งแยกอำนาจที่เคร่งครัดหรือเด็ดขาด
โดยมีหลักฐานปรากฏดังนี้
- รัฐธรรมนูญยอมให้รัฐสภามีอำนาจควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล
- รัฐธรรมนูญยอมให้คณะรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติได้
และออกกฎหมายบางประเภทได้
เรื่องที่ 2.3.4 : รูปแบบของการใช้อำนาจอธิปไตย
1. การใช้อำนาจอธิปไตย มีหลายรูปแบบ
ดังนี้
(1) กรณีองค์กรเดียวเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย
(2) กรณีฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารใช้อำนาจโดยองค์กรเดียวกัน
(3) กรณีฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการใช้อำนาจโดยองค์กรเดียวกัน
(4) กรณีแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆ
ออกจากกันอย่างเกือบเด็ดขาด
(5) กรณีแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆ
ออกจากกัน แต่ให้เกี่ยวข้องกันได้มากขึ้น
2. กรณีการแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆ
ออกจากกันเกือบเด็ดขาดนั้น รูปแบบนี้ใช้กับประเทศในระบบประธานาธิบดี
3. กรณีการแบ่งแยกอำนาจประเภทแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆ
ออกจากกัน แต่ให้เกี่ยวข้องกัน รูปแบบนี้อยู่ใช้อยู่ในประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภา เช่น
อังกฤษ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ไทย
4. “เป็นที่รู้กันอยู่ชั่วนิรันดรแล้วว่า
คนเราทุกคนที่มีอำนาจชอบใช้อำนาจเกินกว่าที่ควร จนกว่าจะประสบอุปสรรคใดขวางจึงจะหยุดยั้ง
อย่าว่าแต่อะไรเลย แม้แต่คุณธรรมยังต้องมีขอบเขต” เป็นคำกล่าวของนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ
“มองเตสกิเออ”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น