วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ปรัชญาการเมืองสมัยปัจจุบันและสมัยใหม่

ปรัชญาการเมืองสมัยปัจจุบันและสมัยใหม่

๑.การเกิดขึ้นของปรัชญาการเมืองสมัยใหม่
ความเข้าใจในเรื่อง  โชคชะตา  เคยมีมาในบรรดานักปรัชญาการเมืองชาวคริสต์  เช่น  ออกัสติน  ที่เสนอไว้ใน  City  of  God  ซึ่งกล่าวถึงมนุษย์ในฐานะประชากรของนครแห่งสวรรค์และนครแห่งโลก  ซึ่งเป็นพลังของความดีและความชั่วที่ต่อสู้กันในใจมนุษย์ 

องค์อธิปัตย์กับสังคมการเมือง

องค์อธิปัตย์กับสังคมการเมือง

๑.ภูมิหลังและสิ่งแวดล้อมของ โธมัส  ฮอบส์
โธมัส  ฮอบส์  (Thomas   Hobbes)  เป็นนักปรัชญาและนักอักษรศาสตร์  ชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากหนังสือ ชื่อ  Leviathan  ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับปรัชญาทางการเมืองและการปกครอง  ฮอบส์ เกิดที่เมืองมาลเมสเบอรี่  (Malmesbury)  ในแคว้นกลูสเตอร์แชร์  (Gloucestershiare)    เมื่อมารดาของเขาได้ยินข่าวเกี่ยวกับ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาการเมือง

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาการเมือง

๑.ความหมายของปรัชญาการเมือง
ปรัชญาการเมือง  เป็นสาขาหรือแขนงหนึ่งของปรัชญา (Philosophy)  ปรัชญาตามความหมายดั้งเดิม  หมายถึง  ความรักในปัญญา (love  of  wisdom) หรือ  การแสวงหาปัญญา  (quest  for  wisdom)  แต่ผู้ที่แสวงหาปัญญาหรือปรัชญาเมธี (philosopher)  แสวงหาปัญญาในเรื่องที่เกี่ยวด้วยอะไร  หลักฐานที่ปรากฏแสดงว่าปรัชญาเมธีคนแรก ๆ ได้แก่  ผู้ที่พูดถึง “ธรรมชาติ”  เพราะฉะนั้น  ธรรมชาติจึงเป็นสาระสำคัญของปรัชญา  แต่ “ธรรมชาติ”

ลัทธิเสรีนิยมประชาธิปไตย

ลัทธิเสรีนิยมประชาธิปไตย

๑.ชีวิตและผลงานของ จอห์น  ล็อค
จอห์น  ล็อค  (John   Locke)   เกิดวันที่  ๒๙  สิงหาคม  ค.ศ.๑๖๓๒  บิดาเป็นนักกฎหมาย  และเป็นหนึ่งในพวกพิวริตัน  เคยเป็นนายทหารอยู่ในกองทัพของรัฐสภาที่ต่อสู้กับพระเจ้าชาร์ลที่ ๑  เมื่อ ล็อค อายุได้  ๑๕  ปี  เข้าเรียนที่ โรงเรียนเวสท์มินส์เตอร์  (Westminster)  ซึ่งโดยธรรมเนียมแล้วนิยมกษัตริย์ตลอดมา  ปี ค.ศ.๑๖๕๒  เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด  (Oxford)  ซึ่งมีธรรมเนียมที่นิยมกษัตริย์เช่นกัน  จึงกล่าวได้ว่า  ล็อค ได้รับการศึกษาในบรรยากาศที่จัดพื้นฐานการอบรมทางครอบครัว  และการได้รับการศึกษาเช่นนี้ 

ความคิดทางการเมืองไทย

ความคิดทางการเมืองไทย
15.1 ความคิดทางการเมืองแบบธรรมราชา
            1. ความหมายของคำว่า *ธรรมราชา
                   ธรรมราชา หมายถึง ผู้นำที่ใช้ธรรมะในการปกครองประชาชน โดยผู้นำดังกล่าวทรงไว้ซึ่งความรู้ในธรรมะของพุทธศาสนาเป็นอย่างดีหรือกษัตริย์ที่ใช้ธรรมะในการปกครองประชาชน
                   ความคิดทางการเมืองแบบธรรมราชาของพระมหาธรรมราชาลิไท มีลักษณะสำคัญ กล่าวคือ การเน้นให้เห็นถึงลักษณะของพระมหากษัตริย์ที่เป็นธรรมราชานั้น จะต้องยึดมั่นในทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร และพระราชจรรยานุวัตรตามหลักพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังต้องมีหลักปฏิบัติในการกครอง รวมทั้งประเพณีการปกครองและความยุติธรรมทางการเมืองสำหรับธรรมราชาควบคู่ไปด้วย พระมหากษัตริย์ที่เป็นธรรมราชาจะต้องเป็นผู้นำประชาชนให้ก้าวพ้นวัฏฏสังสารของโลกนี้ ให้ได้ความคิดทางการเมืองแบบธรรมราชาของพระมหาธรรมราชาลิไทนับเป็นการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้กับพระองค์ในอีกทางหนึ่ง

ปรัชญาศาสนากับสังคมปัจจุบัน

ปรัชญาศาสนากับสังคมปัจจุบัน
14.1 ปรัชญาศาสนาพุทธกับสังคมปัจจุบัน
            14.1.1 ความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับวิถีชีวิต สังคมพุทธศาสนา
            1. ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับสังคม
          พุทธศาสนามีความเกี่ยวพันกับวิถีชาวพุทธในฐานะที่เป็นสถาบันหนึ่งของสังคมที่มีความสำคัญ ให้ความหมายและเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ เป็นที่มาและถ่ายทอดวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติไทยกล่าวโดยสรุป พุทธศาสนาเป็นเสมือนรากเหง้าแห่งความเป็นชาติและเอกลักษณ์ดั้งเดิมของชาติไทยทั้งทางด้านสังคมวัฒนธรรมและการเมือง การพิจารณาความสำคัญ บทบาท และอิทธิพลที่พุทธศานามีต่อวิถีชีวิตประชาชนชาวพุทธนั้นจะต้องคำนึงถึงส่วนประกอบอื่นๆ ซึ่งรวมกันเป็นพุทธศาสนาด้วย องค์ประกอบที่เป็นพุทธศาสนานั้นได้แก่ พระพุทธเจ้า พระพุทธธรรมคำสั่งสอน พระภิกษุสงฆ์ วัด และอุบาสกอุบาสิกา ดังนั้นการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับสังคมไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาเชิงปรัชญา เชิงเศรษฐกิจ การเมือง ความเกี่ยวพันของแต่ละองค์ประกอบมีความสำคัญ ความสำคัญของแต่ละส่วนประกอบอาจจะยิ่งหย่อนกันไปก็ต่อเมื่อประเด็นปัญหาที่นำมาพิจารณานั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องใดเป็นการเฉพาะกล่าวโดยสรุป

ปรัชญาผู้ปกครองในคัมภีร์อรรถศาสตร์ของเกาฏิลยะ

ปรัชญาผู้ปกครองในคัมภีร์อรรถศาสตร์ของเกาฏิลยะ
13.1 ปรัชญาผู้ปกครองในคัมภีร์อรรถศาสตร์ของ *เกาฏิลยะ
            1. บทวิพากษ์เบื้องต้นเกี่ยวกับอรรถศาสตร์ของเกาฏิลยะ
         ในการศึกษาเกี่ยวกับอรรถศาสตร์ผู้ศึกษาต้องประสบปัญหาที่สำคัญอันนำมาสู่ข้อจำกัดสองประการ
            ประการแรก ความรู้เกี่ยวกับตัวผู้เขียน คือ เกาฏิลยะ ว่ามีตัวตนจริงหรือไม่
          ประการที่สอง ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับอรรถศาสตร์ว่าเป็นผลงานที่เกิดขึ้นจริงในสมัยกันแน่ แต่ความสำคัญที่เป็นที่น่าสนใจของอรรถศาสตร์ที่ควรค่าแก่การศึกษามีหลายประการตั้งแต่วิธีการนำเสนอที่ผู้เขียนมิได้มีการนำเสนอความคิดของตนออกมาในทันทีทันใด แต่กล่าวถึงคำสอนอื่นก่อน และมีการยกการกระทำของกษัตริย์ในการเป็นมาตรฐานในการประเมินคำสอนผู้อื่นอยู่เสมอ เป็นต้น ในด้านเนื้อหา อรรถศาสตร์มีความยาวถึง 15 เล่มแบ่งออกเป็น 180 ตอนละ150 บท เช่น เล่มหนึ่งว่าด้วยเรื่องของกษัตริย์ เล่มที่สองว่าด้วยเรื่องของการบริหารบ้านเมืองเล่มที่สามถึงเล่มที่สี่ว่าด้วยเรื่องของกฎหมายเป็นต้น

ระเบียบทางสังคมในปรัชญาตะวันออก

ระเบียบทางสังคมในปรัชญาตะวันออก
12.1 จะเบียบทางสังคมใน *คัมภีร์ภควัทคีตา
        1. ความเชื่อเรื่องพระเจ้ากับการแบ่งวรรณะทางสังคม
          ความเชื่อที่ว่าระบบวรรณะ มีที่มาจากพระกายแห่งพระพรหมเป็นเหตุผลรองรับการจัดระเบียบทางสังคมโดยการแบ่งคนในสังคมออกเป็นวรรณะทั้งสี่อันได้แก่ 1.พราหมณ์ 2.กษัตริย์ 3.ไวศย (แพศย์) 4.ศูทร ทั้งนี้ โดยกำหนดให้คนในแต่ละวรรณะปฎิบัติตามหน้าที่ที่ถูกกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ในคัมภีร์ควัทคีตามีการเชื่อมโยงระบบวรรณะกับความจริงสูงสุดแห่งพระพรหม โดยถือว่าคนในแต่ละวรรณเป็นส่วนต่างๆของพระกายของพระเจ้า
            2. แนวความคิดเรื่องกษัตริย์นักรบ
          ในคัมภีร์ภควัทคีตามีข้อแสดงซึ่งชี้ให้เห็นว่าการทำตามหน้าที่ นักรบ ของคนในวรรณะกษัตริย์ ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด เหตุว่า กษัตริย์ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นผู้ปกป้องระบบวรรณะและระเบียบของสังคม และมีหน้าที่ทำให้บุคคลในแต่ละวรรณะปฎิบัติตามหน้าที่ของตน ประเด็นสำคัญคือความเป็นไปได้ของกษัตริย์ที่จะทำให้บุคคลในแต่ละวรรณะปฎิบัติตามหน้าที่ของตนนั้นขึ้นอยู่กับการปฎิบัติตามหน้าที่ของกษัตริย์ด้วย แนวความคิดเกี่ยวกับกษัตริย์นักรบนี้ได้ปรากฏมานานแล้วในประวัติศาสตร์ความคิดของอินเดียในวรรณกรรม

ปรัชญาประวัติศาสตร์กับปรัชญาการเมือง

ปรัชญาประวัติศาสตร์กับปรัชญาการเมือง
10.1  พื้นฐานแนวความคิดของเฮเกล
            10.1.1  ประเพณียูเดว-ตริสเตียน
          เฮเกลเกิดที่เมืองสตุตการ์ท  เยอรมนี ค.ศ. 1770 เข้าศึกษาปรัชญาและเทวศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย   ทือบิงเกน  ค.ศ. 1788  เพื่อเตรียมบวชเป็นอนุศาสนาจารย์ (ผู้สอนศาสนา) ในนิกายลูเธอรัน  มีความสนใจปรัชญากรีกมากกว่าเทวศาสตร์  พร้อมกับเบื่อหน่ายในศาสนาคริสต์เพราะทำให้อารยธรรมตะวันตกเสื่อมทรามลง
          หลังจากได้ลาออกจากสถาบันการศึกษาได้ไปเป็นครูสอนพิเศษที่เบอร์น สวิตเซอร์แลนด์ 3 ปี  ระหว่างนั้นได้เขียนหนังสือ  เรื่องชีวิตพระเยซู  จึงเกิดแรงบันดาลใจต้องการศึกษาปรัชญาของคานท์
          เฮเกลมีปัญหาอย่างมากในการตีความคัมภีร์ไบเบิล  ทำให้คัมภีร์ส่วนนี้เป็นเรื่องศีลธรรมมากกว่าศาสนา  เฮเกลพยายามเปรียบเทียบปรัชญาของกรีกและศาสนาคริสต์อยู่ตลอดเวลา เฮเกลวิพากษ์วิจารณ์ศาสนจักรอย่างรุนแรงว่า  ไม่ยอมรับว่ามนุษย์ประกอบด้วยสมรรถะมากมาย โดยเฉพาะเหตุผล  ศาสนจักรยึดเอาประเพณีเป็นเกณฑ์การปฏิบัติ  ไม่พยายามหาเหตุผลของประเพณี  และไม่ใช้เหตุผลอธิบายหลักธรรม  เฮเกลไม่เห็นด้วยกับการแยกเหตุผลกับศรัทธา

สังคมการเมืองกับปัญหาความเปลี่ยนแปลง

สังคมการเมืองกับปัญหาความเปลี่ยนแปลง
9.1 ภูมิหลังและความคิดของ*เบอร์ก
             1. การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส
           การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศสใน ค.ศ.1789 มาจากความล้มเหลวของการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจอย่างเต็มที่และใช้อำนาจอย่างกว้างขวาง และสถาบันรัฐสภาที่ประกอบด้วยชนชั้นสูงรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มตน ทำให้ชนชั้นกลางและชาวนาต่างแสวงหาทางออกด้วยการลุกฮือจลาจลนำมาสู่การโค่นล้มการปกครองเพื่อสร้างระบบการเมืองใหม่ที่ให้เสรีภาพกับประชาชน และพระมหากษัตริย์กลายเป็นนักโทษมวลชนเหตุการณ์ครั้งนี้นับเป็นส่วนสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความคิดของเบอร์กในเวลาต่อมา
          2. แนวความคิดทางการเมืองของนักปฏิวัติในฝรั่งเศส
          ทฤษฎีที่เป็นแรงผลักดันการปฏิวัติในฝรั่งเศสก็คือทฤษฎีสิทธิตามธรรมชาติ ซึงแถลงว่ามนุษย์อยู่ในฐานะเป็นมนุษย์ มีสิทธิบางอย่างอยู่แล้ว สิทธินี้มีอะไรบ้าง สามารถเข้าใจได้ด้วยเหตุผล รัฐบาลที่ชอบธรรมต้องเคารพสิทธิเหล่านี้
          3. ชีวิตและผลงานของเบอร์ก
          เบอร์กเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของอังกฤษมีทัศนะ

เสรีภาพกับสัญญาประชาคม

เสรีภาพกับสัญญาประชาคม
8.1  ภูมิหลังสิ่งแวดล้อมและความคิดมูลฐานของฌอง  ฌาค  รุสโซ
            เจนีวากับชีวิตในวัยเยาว์ของรุสโซ
          รุสโซ เกิดที่ เจนีวา  ค.ศ. 1721  ต้นตระกูลเป็นชาวฝรั่งเศส  เริ่มด้วยดิดีเอร์  รุสโซ  พื้นเพเป็นชาวปารีสมีอาชีพขายหนังสือ  ได้อพยพมาอยู่เจนีวา  ค.ศ. 1540  ต่อมาได้ยึดอาชีพเป็นช่างทำนาฬิกาได้สะสมเงินจำนวนมาก  ทวดของรุสโซคือ  เดวิด  ทิ้งสมบัติให้ลูกหลานต้องแบ่งกันถึง 10 คน บิดาของรุสโซคือ  อิสสัน  ไม่ค่อยลงรอยกับผู้ปกครองเจนีวาและชาวเมือง  ซึ่งเคร่งครัดในศีลธรรม ต้องเนรเทศตนเองออกจากเมืองถึงสองครั้งผลาญมรดกเกือบหมดสิ้น
          รุสโซ  กำพร้าแม่  พ่อไปอยู่ที่อื่นจึงอยู่ภายใต้การเลี้ยงดูของป้าและน้าๆ เป็นผู้ให้การศึกษาแก่รุสโซในเริ่มแรก  เมื่ออายุ  16  ปี  รุสโซได้หนีออกจากเจนีวามาอยู่ที่ซามัว  มาอยู่กับมาดาม เดอ วารังส์  เมืองอันเนอซี่
            รุสโซกับชีวิตที่เร่ร่อนพเนจร
          ที่ตูแรง  รุสโซภายใต้การดูและของบาทหลวงไม่นาน  ต้องเร่ร่อนตามถนนในตูแรง  มาเป็นคนรับใช้  ชีวิตในช่วงนี้รุสโซมีชีวิตที่มืดมนถึงกับลักขโมยของถูกเหยียดหยามต่างๆ นานา หลังจากใช้ชีวิตในตูแรง  2  ปีก็กลับมาหามาดาม  เดอ วารังส์อีก 

กำเนิดลัทธิเสรีนิยมประชาธิปไตยสมัยใหม่

กำเนิดลัทธิเสรีนิยมประชาธิปไตยสมัยใหม่
7.1  ภูมิหลังความคิดของล็อค
            7.1.1  สภาพสังคมในอังกฤษในศตวรรษที่  17
            ถ้าจะวัดทฤษฎีการเมืองโดยพิจารณาจากอิทธิพลที่ทฤษฎีนั้นมีต่อความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์  ต้องนับว่าทฤษฎีการเมืองของจอห์นล็อค  มีความสำคัญอย่างมาก  เพราะนอกจากมีอิทธิพลต่อทฤษฎีการเมืองของอังกฤษแล้ว  ยังมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการปฏิวัติในอเมริกาและการปฏิวัติในฝรั่งเศส  เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริง  ทฤษฎีการเมืองที่สำคัญมี  2  ทฤษฎี
            1. ทฤษฎีเสรีนิยมประชาธิปไตย
            2. ทฤษฎีสังคมนิยมมาร์กซิสม์
          สภาพสังคมในอังกฤษในศตวรรษที่  17 นับว่าสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ เพราะมีการปฏิวัติเกิดขึ้นถึง 2 ครั้ง คือ
            1. ค.ศ. 1648  การปฏิวัติของพวกพิวริตัน
            2. ค.ศ. 1688  การปฏิวัติอันเรืองเกียรติ
          เหตุการณ์ปฏิวัติเกิดจากกรณีพิพาททางศาสนา  หลังจากคริสตจักรของอังกฤษแยกตัวออกจากการปกครองของพระสันตะปาปาที่กรุงโรม  คริสต์จักรของอังกฤษพยายามที่จะ

องค์อธิปัตย์กับสังคมการเมือง

องค์อธิปัตย์กับสังคมการเมือง
6.1 ภูมิหลังและสิ่งแวดล้อมของ*โธมัส ฮอบส์  
            1.  สงครามกลางเมืองในอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง
          สาเหตุสงครามกลางเมืองซึ่งเริ่มในฤดูร้อนปี ค.ศ. 1642 มีสาเหตุหลายประการ ประเด็นโดยตรงที่จุดชนวนสงครามได้แก่ จุดยืนที่แตกต่างกันในขั้นพื้นฐานระหว่างกษัตริย์และกลุ่มนิยมกษัตริย์ (cavaliers) กับกลุ่มรัฐสภาซึ่งไม่อาจจะปรองดองกันได้ รัฐสภาได้ยื่นคำขาด 19 ประการต่อกษัตริย์ แต่ได้รับคำปฏิเสธจึงทำให้เกิดสงครามขึ้น การปฏิวัติของอังกฤษในปี ค.ศ.1642–1644 นั้นเป็นการต่อสู่เพื่ออำนาจอธิปไตยในหมู่เกาะอังกฤษซึ่งดึงสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์เข้ามาร่วมด้วยผลลัพธ์ของสงครามครั้งแรก ปรากฏว่าฝ่ายรัฐสภาเป็นฝ่ายชนะสงครามกลางเมืองครั้งที่ 2 ของอังกฤษเริ่มโดยมีพวกสก๊อตแลนด์และพวกนิยมกษัตริย์ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างไม่ชอบการปกครองโดยทหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกทหารประกอบไปด้วยพวกหัวอิสระในทางศาสนาทั้ง 2 ฝ่ายมีจุดยืนไม่เหมือนกันในทางศาสนา พวกนิยมกษัตริย์จึงยอมรับการช่วยเหลือจากพวกสก๊อตเพราะมองเห็นว่าจำเป็นเท่านั้นเองสงครามกลางเมืองครั้งที่สองจบลง โดยชัยชนะของโอลิเวอร์ คลอมเวลล์ ชัยชนะครั้งใหม่นี้ฝ่ายทหารไม่ยอมโอนอ่อนต่อกษัตริย์อีกต่อไป

ปรัชญาการเมืองสมัยใหม่

ปรัชญาการเมืองสมัยใหม่
            5.1.1  ปรัชญาการเมืองคลาสสิก
          ปรัชญา คือความพยามยามที่จะทดแทนความเห็นด้วยความรู้หรือความจริงอันเกี่ยวกับธรรมชาตินั่นเอง  เนื่องจากธรรมชาติ  หมายถึง  สรรพสิ่งต่าง ๆ ในสากลโลก  ปรัชญาเมธีสมัยแรก ๆ เริ่มจากสิ่งที่อยู่นอกตัวตนของมนุษย์เอง  งานของธาลิส  อแน็กซิแมนเดอร์  อแน็กซิเมเนส  เฮราคลิตัส  พาร์เมนิเดส  ความพยามที่จะเสนอทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของโลก  ไพธากอรัส  ศึกษาคณิตศาสตร์  ดนตรีและเอกภพ  เดม็อกคริตัส  ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องวัตถุที่มีอะตอมเป็นรากฐานอย่างเบ็ดเสร็จและเป็นระบบ   5 ศตวรรษก่อนคริสต์กาล  พวกโสฟิสต์  เป็นพวกสอนวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะวาทศิลป์  โดยมักได้รับเงินจากลูกศิษย์ของตนได้เริ่มสนใจสิ่งที่อยู่นอกตัวมนุษย์มาสู่คำถามที่เกี่ยวกับตัวมนุษย์มากขึ้น  แต่คำถามหรือคำสอนสอดคล้องกับขนบธรรมเนียมสมัยนั้นมุ่งสอนแต่ทักษะที่เอื้อต่ออาชีพและทักษะที่เชื่อว่าสำคัญยิ่งคือการใช้วาทศิลป์
          พวกโสฟิสต์มุ่งเน้นเป็นเทคนิคมากกว่าการศึกษาศิลปะศาสตร์โดยทั่วไป 
          โสเกรติส  เริ่มตั้งคำถามที่โยงเอาปัญหาของมนุษย์เข้ามาเป็นหลักคำถามประเภท  อะไรคือความดี ฯ จึงเป็นผู้วางรากฐานทางศีลธรรมนำมาผูกโยงกับสังคมการเมือง 

ปรัชญาคริสต์กับสังคมการเมืองยุคกลาง

ปรัชญาคริสต์กับสังคมการเมืองยุคกลาง
4.1  คำสอนของพระเยซูและเซนต์ปอลกับมหาอาณาจักรโรมัน
­            4.1.1  สภาพของอาณาจักรโรมันสมัยพระเยซู
          ทางด้านภูมิศาสตร์ จักรพรรดิเคซาร์  เอากุสกุส  ขึ้นเถลิงอำนาจครองมหาอาณาจักรโรมันก่อน  ค.ศ. 27  มหาอาณาจักรโรมันมีพื้นที่ปกครองทะเลดิเตอร์เรเนียน  รวมประเทศปาเลสไตน์อันเป็นบ้านเกิดพระเยซูด้วย
          ด้านการเมือง โรมันปกครองมหาอาณาจักรโดยแบ่งเป็นแว่นแคว้น  หลายแคว้นรวมกันเป็นภาค  มีข้าหลวงคุมกำลังทหารดูแลทางด้านความมั่นคง  การปกครองท้องถิ่นแต่ละแคว้นรับผิดชอบโดยตรงต่อสภา ยกเว้นแคว้นที่ถือว่าเป็นทรัพย์สินส่วนจักรพรรดิ  เช่น  อียิปต์ ส่วนเรื่องภายในจัดการกันเองตามประเพณีนิยมประจำถิ่น
            ทางด้านสังคม  พลเมืองโรมันแบ่งออกเป็น  3  ประเภท 
          1. พลเมืองโรมัน ถือว่าเป็นเจ้าของอาณาจักรร่วมกับมหาจักรพรรดิ  มีสิทธิพิเศษหลายอย่าง
          2. เสรีชน  มีสิทธิเสรีภาพในการทำมาหากิน  มีหน้าที่เสียภาษี
          3. ทาส ไม่ถือว่าเป็นพลเมืองไม่มีสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายโรมัน 

ความสูงสุดแห่งศาสตร์การเมือง

ความสูงสุดแห่งศาสตร์การเมือง
            จากโสเกรติส  เพลโต  วิวัฒนาการปรัชญาทางการเมืองของกรีกถึงขั้นสุดยอดที่อริสโตเติล  ถือเอาบุคคลทั้ง  3  เป็นดังไตรภาคีอนุภาพทางปรัชญา  ดังคำพังเพยที่ว่า
            โสเกรติสเป็นศาสดาของผู้สอน
            เพลโตเป็นศาสดาของผู้คิด
            อริสโตเติลเป็นศาสดาของผู้เรียน
3.1  ชีวประวัติและสาระสำคัญจากผลงานของของอริสโตเติล
          อริสโตเติล เกิดเมื่อ  พ.ศ. 159  ที่เมืองสตากิสุส  แคว้นมาร์ชิโดเนีย  บิดาเป็นแพทย์หลวงประจำพระราชสำนักพระเจ้าอมินตัส
          อายุ  17  ปี ได้ศึกษาต่อที่กรุงเอเธนส์  เป็นศิษย์ของเพลโต  ณ  อคาเดมี  เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกตะวันตก 
          ครั้นเพลโตเสียชีวิต  เมื่อ  พ.ศ. 197  อริสโตเติลจากอคาเดมีไป  เข้าใจว่าคงเสียใจที่ไม่ได้รับเลือกเป็นอธิการบดีสืบต่อจากผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย
          พ.ศ. 200  เขาได้รับเชิญให้กลับบ้านเกิด  เพื่อถวายพระอักษรราชโอรสหนุ่มของพระเจ้าฟิลิป  ต่อมาคือพระเจ้าอเล็กซานเดอร์  เขาเป็นอาจารย์เพียง  2  ปี 
          พ.ศ. 207  เขาพาครอบครัวกลับกรุงเอเธนส์
          อริสโตเติลสามารถตั้งมหาวิยาลัยขึ้นมาใหม่เพื่อแข่งกับอคาเดมี 

ความสูงสุดแห่งศาสตร์การเมือง

ความสูงสุดแห่งศาสตร์การเมือง
            จากโสเกรติส  เพลโต  วิวัฒนาการปรัชญาทางการเมืองของกรีกถึงขั้นสุดยอดที่อริสโตเติล  ถือเอาบุคคลทั้ง  3  เป็นดังไตรภาคีอนุภาพทางปรัชญา  ดังคำพังเพยที่ว่า
            โสเกรติสเป็นศาสดาของผู้สอน
            เพลโตเป็นศาสดาของผู้คิด
            อริสโตเติลเป็นศาสดาของผู้เรียน
3.1  ชีวประวัติและสาระสำคัญจากผลงานของของอริสโตเติล
          อริสโตเติล เกิดเมื่อ  พ.ศ. 159  ที่เมืองสตากิสุส  แคว้นมาร์ชิโดเนีย  บิดาเป็นแพทย์หลวงประจำพระราชสำนักพระเจ้าอมินตัส

ความคิดพื้นฐานของปรัชญาการเมืองในกรีกโบราณ

ความคิดพื้นฐานของปรัชญาการเมืองในกรีกโบราณ
2.1.1  ความคิดพื้นฐานของปรัชญาการเมืองในกรีกโบราณ (ความยุติธรรม)
            1.  ชาวกรีกให้เหตุผลแสวงหาสิ่งสากล 
          ความคิดทางปรัชญาการเมืองตะวันตกเริ่มขึ้นในกรีกโบราณ ปรัชญาการเมืองด้วยเหตุผลกรีก อธิบายว่า  ไม่ใช่อาศัยความเชื่อในสิ่งที่พ้นขอบเขตของเหตุผล เช่น พระเจ้า เทพเจ้า แม้ชาวกรีกจะเชื่อว่าเทวดาเทพเจ้ามีอำนาจเหนือมนุษย์  แต่ชาวกรีกไม่ยอมปล่อยชีวิตให้ดำเนินไปตามยถากรรม
          การอธิบายปรัชญาด้วยเหตุผล  กรีกไม่ได้หยุดอยู่ที่ประสาทสัมผัสคือ  ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  สัมผัส  แต่ได้อธิบายถึงสภาวะสากลหรือนามธรรม  เช่น  ความยุติธรรมคืออะไร  ?
          ในระบอบการปกครองปราชญ์กรีกจะไม่ถามว่ารัฐใดปกครองดีที่สุด  แต่จะถามว่าการปกครองที่ดีเป็นอย่างไร 
            2.  แนวความคิดเรื่องพลเมือง 
          ชาวกรีกจะเชื่อฟังตัวบทกฎหมายมากกว่าตัวบุคคล 

แนวความคิดทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาปรัชญาการเมือง

1.1  แนวความคิดทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาปรัชญาการเมือง
            1.1.1  ความหมายของปรัชญาการเมือง
          ปรัชญาตามความหมายดั้งเดิม หมายถึง  ความรักในปัญญา (love  of  wisdom) การแสวงหาปัญญา”  (political  philosophy)  
          ผู้แสวงหาปัญญาหรือปรัชญาเมธีคนแรกๆ ได้แก่ ผู้ที่พูดถึงธรรมชาติ  ธรรมชาติ จึงเป็นสาระสำคัญของปรัชญา  ธรรมชาติ  หมายถึง  คุณลักษณะที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง  มี  หรือ  เป็น  หรือ  กระทำ  นี่คือความหมายเดิมของธรรมชาติ  ในสมัยที่วิทยาศาสตร์ยังไม่ได้แยกออกจากปรัชญา
          ธรรมชาติเป็นสิ่งที่ต้องถูกค้นพบ การค้นพบธรรมชาติหมายถึงการแยกแยะปรากฏการณ์ทั้งหลายออกเป็นปรากฏการณ์ที่เป็นธรรมชาติและปรากฏการณ์ที่ไม่ใช่ธรรมชาติ ปรัชญาเมธีคือผู้แสวงหาและแยกปรากฏการณ์ดังกล่าวออกจากกัน
          ปรัชญา  คือ ความพยายามที่จะทดแทนความเห็นด้วยความรู้หรือความจริงอันเกี่ยวกับธรรมชาติ ชีวิตของมนุษย์ก่อนที่จะเกิดปรัชญา  คือชีวิตที่มีรากฐานอยู่บนขนบธรรมเนียม  ประเพณี 

แนวคิดทางการเมืองสมัยโบราณ

แนวคิดทางการเมืองสมัยโบราณ

๑.ชาวกรีกใช้เหตุผลแสวงหาสิ่งสากล
ความคิดทางปรัชญาการเมืองแบบตะวันตก  เริ่มขึ้นในกรีกสมัยโบราณ  กรีกอธิบายปรัชญาการเมืองด้วยหลักเหตุผล  มิใช่อาศัยความเชื่อในสิ่งที่พ้นขอบเขตเหตุผล  เช่น  พระเจ้าหรือเทพเจ้า  ทั้ง ๆ ที่ชาวกรีกโดยทั่วไปก็เป็นพวกนับถือเทพเจ้าหลายองค์อยู่  อย่างที่เรียกเป็นศัพท์วิชาการว่า  พหุเทวนิยม  (polytheism)  แม้ว่าชาวกรีก  จะเชื่อว่า  เทวดามีอำนาจมากกว่ามนุษย์  และชีวิตมนุษย์ต้องเป็นไปตามที่ชะตากำหนด  แต่ชาวกรีกก็ไม่ย่อมปล่อยให้ชีวิตดำเนินไปตามยถากรรม  พวกเขานิยมการต่อสู้  การคิดตัดสินด้วยเหตุผล  ยกย่องความคิดอิสระ  ลักษณะเช่นนี้  แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดในละครโศกนาฏกรรม  (tragedy)  กรีกโบราณ  ซึ่งแสดงถึงการต่อสู้ของบุคคลที่สูงส่งกับชะตาชีวิตของตนและอำนาจของเทพเจ้า  แสดงให้เห็นว่า 

องค์กรนิติบัญญัติ

องค์กรนิติบัญญัติ
ตอนที่ 5.1  :  แนวความคิดเกี่ยวกับองค์กรนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย
เรื่องที่ 5.1.1  :  การแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ในการใช้อำนาจอธิปไตย
1.    ในอดีตมีการถกเถียงเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 แนวความคิด คือ
                (1)  กลุ่มแนวความคิดลัทธิเทพาธิปไตยถือว่า อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจศักดิ์สิทธิ์จากสวรรค์
                (2)  กลุ่มแนวความคิดลัทธิประชาธิปไตยถือว่า ราษฎรเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดนี้
2.    มองเตสกิเออ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ได้ศึกษาถึงการปกครองของประเทศอังกฤษและได้อธิบายไว้ว่า ในรัฐๆ หนึ่งย่อมมีอำนาจอยู่ 3 ประเภท คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
3.    หลักการแบ่งแยกอำนาจของมองเตสกิเออ ถูกนำไปใช้เป็นหลักในการร่างรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกเมื่อได้ประกาศแยกเป็นเอกราชจากอังกฤษ  ต่อมารัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสฉบับแรกก็ได้ใช้หลักการแบ่งแยกอำนาจของมองเตสกิเออด้วยเช่นกัน
4.    เมื่อมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยแล้ว ก็ต้องมีองค์กรผู้ใช้อำนาจแต่ละอำนาจ ดังนี้

ระบอบการปกครอง

ระบอบการปกครอง
ตอนที่ 4.1  :  ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
เรื่องที่ 4.1.1  :  วิวัฒนาการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
1.    การปกครองแบบประชาธิปไตยสมัยเริ่มแรกนั้น เกิดในนครรัฐเอเธนส์ของกรีกโบราณ เมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกาล เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยตรง กล่าวคือ ประชาชนชาวเอเธนส์ทั้งหมดเป็นผู้ใช้อำนาจในการปกครองโดยตรง ด้วยการประชุมร่วมกัน
2.    หลังจากที่ประชาธิปไตยโดยตรงได้ล่มสลายไปจากนครเอเธนส์  การปกครองแบบประชาธิปไตยหยุดชะงักไปนับพันปี จึงได้เริ่มก่อรูปขึ้นในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอังกฤษ
3.    วิวัฒนาการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศอังกฤษ สืบเนื่องมาจาก
                (1)  สภาพสังคมผู้ปกครองในอังกฤษเวลานั้น เป็นสังคมศักดินา บรรดาขุนนางเจ้าที่ดินมีหน้าที่รับใช้กษัตริย์ และเป็นผู้มีอภิสิทธิ์ในทางการเมือง
                (2)  ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 อังกฤษส่งแกะเป็นสินค้าออกประมาณปีละ 8 ล้านตัว ด้วยเหตุนี้

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ตอนที่ 3.1  :  ประวัติของรัฐธรรมนูญ
เรื่องที่ 3.1.1  :  ความหมายของรัฐธรรมนูญ
1.    บุคคลที่เสนอให้ใช้คำว่ารัฐธรรมนูญคือ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ซึ่งทรงมีความเห็นว่า ธรรมนูญเป็นคำสามัญ ฟังไม่เหมาะกับที่จะเป็นกฎหมายสำคัญของประเทศ
2.    คำว่ารัฐในทางวิชาการ ถือว่าต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
                (1)  ดินแดน                                                         (3)  อำนาจอธิปไตย
                (2)  ประชาชน                                                    (4)  รัฐบาล
3.    สังคมทั้งหลายต้องมีรัฐธรรมนูญ เพียงแต่อาจไม่เรียกว่ารัฐธรรมนูญเท่านั้น แม้ในประเทศไทยเมื่อแรกเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยังไม่รู้จักคำว่ารัฐธรรมนูญด้วยซ้ำไป คงเรียกเพียงว่าพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ฉบับชั่วคราว พ..2475”
4.    รัฐธรรมนูญ เป็นชื่อเฉพาะของกฎหมายประเภทหนึ่ง มีฐานะ

ปรัชญารากฐานในกฎหมายมหาชน

ปรัชญารากฐานในกฎหมายมหาชน
ตอนที่ 2.1  :  นักปรัชญาสำคัญบางคนที่มีอิทธิพลต่อกฎหมายมหาชน
เรื่องที่ 2.1.1  :  บทบาทของนักปรัชญาในการพัฒนากฎหมายมหาชน
1.    กฎหมายมหาชนพัฒนาไปตามความคิดของนักปรัชญากฎหมาย หรือการเมืองในแต่ละสมัยมากกว่าอย่างอื่น ปรัชญาของใครมีผู้เห็นด้วยเป็นอันมากก็มีอิทธิพลมาก มีผู้รับเอาไปใช้เป็นรากฐานในการยกร่างรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายการคลัง และกฎหมายมหาชนอื่นๆ
2.    ปรัชญากฎหมายและการเมืองแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายใหญ่ๆ คือ
                (1)  ฝ่ายนิยมกฎหมายธรรมชาติ เชื่อว่า
                                - ต้องจำกัดอำนาจรัฐอันไม่เป็นธรรม ต่อต้านการกดขี่ข่มเหงจากฝ่ายปกครอง
                                - คำสั่งคำบัญชาของผู้ปกครองอยู่ภายใต้กฎหมายธรรมชาติอันเป็นสากล
                                - ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม มีสิทธิร้องทุกข์หรือฟ้องร้องได้
                                - รัฐเกิดจากสัญญาประชาคม อำนาจอธิปไตยถ้าไม่มาจากพระเจ้าก็มาจากประชาชน
                                - รัฐต้องเป็นนิติรัฐ การปกครองต้องใช้หลักนิติธรรม
                (2)  ฝ่ายยึดถือกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง เชื่อว่า
                                - รัฐมีอำนาจสูงสุดในการจัดการปกครองบ้านเมือง
                                - อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์หรือรัฐบาล

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายมหาชน

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายมหาชน
ตอนที่ 1.1  :  กำเนิดแนวความคิดและพัฒนาการของกฎหมายมหาชน
เรื่องที่ 1.1.1  :  กำเนิดแนวความคิดกฎหมายมหาชน
1.    นักปรัชญากฎหมายเชื่อว่า กฎหมายนั้นไม่ได้ทำหน้าที่หรือมีบทบาทในสังคมเหมือนกันเสมอไป กฎหมายบางประเภทกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือระหว่างรัฐกับบุคคล หรือระหว่างรัฐกับรัฐ ดังนั้นสาระของกฎหมายและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้กฎหมายก็พลอยแตกต่างกันออกไปด้วย
2.    ฟริทซ์ ชูลซ์ (Fritz Schulz) ศาสตรจารย์ทางกฎหมายโรมันชาวเยอรมัน ได้อธิบายไว้ว่า ความคิดในการแบ่งสาขาของกฎหมายนั้น เริ่มขึ้นในสมัยโรมันซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ
                (1)  ยุคอารยธรรมโรมันโบราณ                                       (3)  ยุคคลาสสิค
                (2)  ยุคอารยธรรมกรีกในโรม                                          (4)  ยุคขุนนางนักปกครอง
3.    ยุคอารยธรรมโรมันโบราณ (500 ปีก่อน ค.. – 300 ปีก่อน ค..)  ยุคนี้มีความเข้าใจกันว่า
                (1)  กฎหมายโรมันแบ่งออกเป็น 3 สาขา คือ
                                - กฎหมายเอกชน (Jus Privatum) คือกฎหมายทั้งหลาย

แนวคิดทางการเมืองสมัยกลาง


แนวคิดทางการเมืองสมัยกลาง

๑.การเปลี่ยนแปลงในสังคมการเมืองโรมัน
กฎหมายโรมันให้เสรีภาพอย่างเต็มที่ในเรื่องความคิด  ความเชื่อถือ  และการปฏิบัติตามความเชื่อถือของแต่ละบุคคล  และแต่ละกลุ่มชน  โดยมีเงื่อนไขแต่เพียงว่า  จะต้องรับรู้อำนาจสูงสุดของจักรพรรดิ  และไม่ก่อกวนความสงบสุขของมหาอาณาจักร  พระเยซูถูกลงโทษประหารชีวิตด้วยข้อกล่าวหา  ตั้งตัวเป็นกษัตริย์แข่งอำนาจกับจักรพรรดิ  แต่ทว่าข้อกล่าวหานี้มาจากกลุ่มชาวยิวที่ต้องการกำจัดพระเยซู  ข้าหลวงโรมันอนุโลมตามอย่าง