วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ระเบียบทางสังคมในปรัชญาตะวันออก

ระเบียบทางสังคมในปรัชญาตะวันออก
12.1 จะเบียบทางสังคมใน *คัมภีร์ภควัทคีตา
        1. ความเชื่อเรื่องพระเจ้ากับการแบ่งวรรณะทางสังคม
          ความเชื่อที่ว่าระบบวรรณะ มีที่มาจากพระกายแห่งพระพรหมเป็นเหตุผลรองรับการจัดระเบียบทางสังคมโดยการแบ่งคนในสังคมออกเป็นวรรณะทั้งสี่อันได้แก่ 1.พราหมณ์ 2.กษัตริย์ 3.ไวศย (แพศย์) 4.ศูทร ทั้งนี้ โดยกำหนดให้คนในแต่ละวรรณะปฎิบัติตามหน้าที่ที่ถูกกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ในคัมภีร์ควัทคีตามีการเชื่อมโยงระบบวรรณะกับความจริงสูงสุดแห่งพระพรหม โดยถือว่าคนในแต่ละวรรณเป็นส่วนต่างๆของพระกายของพระเจ้า
            2. แนวความคิดเรื่องกษัตริย์นักรบ
          ในคัมภีร์ภควัทคีตามีข้อแสดงซึ่งชี้ให้เห็นว่าการทำตามหน้าที่ นักรบ ของคนในวรรณะกษัตริย์ ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด เหตุว่า กษัตริย์ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นผู้ปกป้องระบบวรรณะและระเบียบของสังคม และมีหน้าที่ทำให้บุคคลในแต่ละวรรณะปฎิบัติตามหน้าที่ของตน ประเด็นสำคัญคือความเป็นไปได้ของกษัตริย์ที่จะทำให้บุคคลในแต่ละวรรณะปฎิบัติตามหน้าที่ของตนนั้นขึ้นอยู่กับการปฎิบัติตามหน้าที่ของกษัตริย์ด้วย แนวความคิดเกี่ยวกับกษัตริย์นักรบนี้ได้ปรากฏมานานแล้วในประวัติศาสตร์ความคิดของอินเดียในวรรณกรรม
ยุคพระเวทก็ได้มีการกล่าวถึง ที่มาของความเป็นกษัตริย์ไว้โดยมีเรื่องเล่าว่าตั้งแต่โบราณกาลมาได้เกิดสงครามระหว่าง เหล่าเทวดาและปีศาจ โดยที่พวก ปีศาจมีชัยเหนือพวกเทวดาอยู่เสมอพวกเทวดาจึงได้ประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว ที่ประชุมได้ตกลงกันว่าสาเหตุของความพ่ายแพ้อยู่ที่การขาดผู้นำที่เป็นกษัตริย์จึงได้ตกลงกันแต่งตั้ง โสมะ (soma) เป็นกษัตริย์ ต่อมาเมื่อมีสงครามกับพวกปีศาจปรากฏว่าพวกเทวดาชนะพวกปีศาจ เป็นที่น่าสังเกตว่าในสมัยอินเดียโบราณมีความเชื่อว่าการเป็นกษัตริย์นั้นเกิดจากความจำเป็นทางทหารและกษัตริย์ต้องเป็นผู้นำกองทัพ ซึ่งมีอำนาจอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปกล่าวโดยสรุปคือ  ความเป็นกษัตริย์นั้นแยกไม่ออกจากความเป็นนักรบ
            3. ความขัดแย้งทางมนุษยธรรมกับการทำตามหน้าที่
          พระกฤษณะแนะนำให้พระอรชุนออกรบ แม้เมื่อการสงครามนั้นหมายถึงการฆ่าญาติพี่น้องของตนเอง ทั้งนี้โดยให้เหตุผลว่า ที่จริงแล้ว พระอรชุน ไม่ได้ฆ่าใคร และด้วยข้ออธิบายทางปรัชญา และการนิยาม การกระทำ  ในฐานะที่เป็น  นิษกามกรรม
            4.  ปัญหาทางจริยธรรมในคัมภีร์ภควัทคีตา
          ปรัชญาสังคมในคัมภีร์ภควัทคีตานี้เสนอให้ ปัจเจกบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งกษัตริย์ทำตามหน้าที่อย่างเคร่งครัดถึงแม้เมื่อการทำหน้าที่นั้นหมายถึงการฆ่าญาติพี่น้องของตนเอง ทั้งนี้เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดในสังคมมนุษย์คือการรักษาไว้ซึ่งระเบียบวรรณะทางสังคมดังกล่าว หากข้อสรุปดังกล่าวคือแกนหลักแห่งประเด็นทางจริยธรรมของคัมภีร์นี้คำถามที่น่าจะเกิดขึ้นคือระเบียบทางสังคมตามระบบวรรณะนั้นเอง มีคุณค่าเชิงจริยธรรมหรือไม่เพียงใดการแบ่งงานแบ่งหน้าที่กันทำโดยถือกำหนดเป็นหลักนั้นเป็นการนำเสนอมาตรวัดทางจริยธรรมที่ควรแล้วแห่งคุณค่าทางจริยธรรมหรือ
            1. จากสวรรค์สู่มนุษย์
          *ขงจื้อ เป็นนักคิดที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งของประวัติศาสตร์ปรัชญาจีน เป็นผู้เสนอให้พิจารณาปัญหาของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก โดยมิได้ให้ความสำคัญแก่ปัญหาเรื่องพระเจ้าเหนือธรรมชาติ หรือโลกแห่งจิตวิญญาณต่าง ๆ แนวคิดพื้นฐานของขงจื้อ  เริ่มจากการปฎิเสธอำนาจเด็ดขาดของสวรรค์และการไม่ยอมรับว่าภูตผีวิญญาณต่าง ๆ มีอำนาจอันทรงพลังสิทธิ์ขาดในการควบคุมชะตากรรมของมนุษย์ ขงจื้อเสนอให้มนุษย์พัฒนาตนเองตามกรอบแห่งจริยธรรมซึ่งขงจื้อพยายามกำหนดบทบาทให้อย่างชัดเจนสำหรับมนุษย์ในแต่ละหน้าที่ โดยมีความเชื่อมั่นว่า มนุษย์จะสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดโดยตนเองได้ขงจื้อกล่าวไว้อย่างแจ่มชัดว่า มนุษย์สามารถทำให้มรรควิธี (tao) นั้นยิ่งใหญ่แต่มรรควิธีไม่สามารถทำให้มนุษย์ยิ่งใหญ่ขงจื้อให้ความสำคัญแก่มนุษย์มาก จนอาจกล่าวได้ว่าในทรรศนะของขงจื้อมนุษย์คือคำตอบสำหรับมนุษย์เอง มนุษย์ไม่อาจพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้ช่วยแก้ปัญหาของตนเองได้ แต่มนุษย์ต้องแก้ปัญหาของตนเองโดยการพัฒนาจริยธรรมให้สูงส่ง
          ใน รวมบทสนทนาขงจื้อ (the Analects) ขงจื้อเสนอให้มีการแบ่งความสัมพันธ์ของคนในสังคม ออกเป็น 5 รูปแบบคือ  
            1. ระหว่างผู้ปกครอง  -  ผู้ถูกปกครอง                                                                         
            2. บิดา   บุตร                                                                                                           
            3. พี่   น้อง                                                                                                                
            4. สามี ภรรยา                                                                                                          
            5. เพื่อน - เพื่อน                                                                                              
          หรือที่เรียกกันว่า ความสัมพันธ์ทั้งห้า เป็นแม่แบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และเป็นแม่แบบหลักของการจัดระเบียบทางสังคมภายในระบบความสัมพันธ์นี้ขงจื้อกำหนด  บทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย อย่างค่อนข้างชัดเจนว่าควรปฎิบัติต่อกันอย่างไรสำหรับขงจื้อนั้นระเบียบทางสังคมหรือระบบความ  สัมพันธ์ทั้ง 5 นี้ คือตาข่ายครอบคลุมภาวะการดำรงอยู่ของมนุษย์ทั้งหมดซึ่งหมายความด้วยว่าความหมายของมนุษย์ถูกกำหนด  โดยและผูกพันอยู่กับวิธีสัมพันธ์ในแต่ละความสัมพันธ์นั่นเอง
            3. ภาษากับระเบียบทางสังคม
                   ขงจื้อให้ความสำคัญต่อภาษา ในการมีส่วนช่วยค้ำจุนจรรโลงระเบียบทางสังคมให้ดำเนินต่อไปได้ ในเชิงปฏิบัติขงจื้อเสนอให้เอาใจใส่ต่อการ ขัดเกลาแก้ไขภาษา (หรือชื่อ) ให้ถูกต้อง ขงจื้อให้ความสำคัญแก่ภาษามิใช่ในฐานะเครื่องมือสื่อสารระหว่างมนุษย์เท่านั้น แต่ดูเหมือนว่า สำหรับขงจื้อนั้นภาษามีส่วนสัมพันธ์ใกล้ชิดกับระเบียบทางสังคม สำหรับขงจื้อนั้นภาษาเป็นตัวกำหนดการกระทำของมนุษย์ การใช้ภาษาของชุมชนเป็นการรับกฎเกณฑ์ทางสังคมของชุมชนนั้นมาปฎิบัติจนกลายเป็นจิตสำนึกส่วนบุคคลไปได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือภาษาเป็นโครงสร้างที่กำหนดภาวะการดำรงอยู่ของมนุษย์ในสังคม ในลักษณะเดียวกันที่ระบบความสัมพันธ์ทั้งห้าคือเครือข่าย ซึ่งกำหนดภาวะการดำรงอยู่ของชุมชนจีน
          ขงจื้อ เน้นความชอบธรรม โดยการมีจริยธรรมของผู้ปกครองและเชื่อในพลังดังกล่าวในรักษาระเบียบของสังคมขงจื้อเชื่อว่า มนุษย์ส่วนใหญ่เป็นผู้ตามซึ่งมักโอนอ่อนตามผู้นำ ดังนั้นผู้นำที่ไร้จริยธรรมอาจมีโทษมหันต์แก่สังคมได้ความพยายามของขงจื้อที่จะแก้ไขสังคม มีจุดสำคัญอยู่ที่การสร้างระบบอันจะทำให้ระเบียบทางสังคมดำเนินไปได้นับว่ามีลักษณะสากลอยู่ขงจื้อแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า มนุษย์นั้นมิอาจแยกออกจากการฝึกตน จริยธรรมนั้นไม่อาจแยกจากการเมืองผู้นำไม่อาจแยกจากผู้ตามภาษาไม่อาจแยกจากความจริงทางสังคม และแสวงหาคำตอบทางสังคมการเมือง มิอาจแยกจากการแสวงหาความชอบธรรมได้
          1. ธรรมชาติกับการสร้างระเบียบทางสังคม
                   ปรัชญาเต๋าถือว่าธรรมชาติไม่ได้มีการตัดสินคุณค่าทางจริยะ ดังนั้นการสร้างระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานการแยกแยะเชิงจริยะจึงมิอาจเป็นคำตอบที่ถาวรได้ หากแต่มนุษย์ต้องเข้าใจกฎแห่งเต๋าหรือธรรมชาติเสียก่อน       *เหลาจื้อ นักคิดคนสำคัญของปรัชญาเต๋าเป็นผู้ที่สนใจปัญหาสังคมบ้านเมืองเช่นเดียวกับขงจื้อ แต่ข้อเสนอของเหลาจื้อนั้นตั้งอยู่บนความเห็นที่ว่าระเบียบสังคมมนุษย์จะดำรงอยู่และดำเนินไปได้ด้วยดี ก็ต่อเมื่อผู้ปกครองเข้าใจวิถีแห่งเต๋าหรือสภาพธรรมชาติโดยไม่นิยมแบ่งกลุ่มคนในสังคมออกเป็นส่วนต่าง ๆ  ที่ขัดกับสภาพธรรมชาติ เหลาจื้อไม่เห็นด้วยกับการสร้างระบบจริยวัฒนธรรมโดยมุ่งจะกำหนดบุคคลในสังคมให้ปฎิบัติตามตำแหน่งหน้าที่ของตน ซึ่งเป็นคำตอบสำหรับระเบียบทางสังคมตามแนวทรรศนะของขงจื้อเหลาจื้อ เสนอให้ดำเนินตามกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ คือ การกระทำโดยไม่กระทำ (หวูเว่ย wu-wei non-action) เหลาจื้อเชื่อว่ากฎเกณฑ์ดังกล่าวครอบคลุมวิถีดำเนินแห่งสากลจักรวาล มนุษย์และสังคมมนุษย์ย่อมเป็นส่วนหนึ่งแห่งระบบธรรมชาติอันยิ่งใหญ่นั้น การที่มนุษย์ ฝืน ธรรมชาติโดยการสร้างระบบจริยธรรม  หรือระเบียบแห่งสังคม อันไม่เป็นไปตามธรรมชาติ มีแต่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่มนุษย์เองอาจกล่าวได้ว่าเหลาจื้อ เสนอให้มนุษย์แสวงหา ระเบียบ ในธรรมชาติเพื่อถือเป็นหลักในการดำเนินสังคมมนุษย์แทนที่การสร้างระบบวัฒนธรรมอันมิได้มีรากฐานอยู่บนกฎเกณฑ์แห่ง หวูเว่ย ซึ่งเหลาจื้อถือว่ามีอยู่ในธรรมชาติ
            2. การกระทำโดยไม่กระทำ
                   โฮล์มส์ เวลซ์ ได้ให้ข้ออธิบายที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องหวู เว่ย หรือ การกระทำโดยไม่กระทำหรือ การกระทำที่ไม่กระทำ ว่า การกระทำทุกอันย่อมก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อการกระทำนั้น การท้าทายทุกอันย่อมก่อให้เกิดการตอบโต้มนุษย์และสังคมมนุษย์มีแนวโน้มที่จะตอบโต้การท้าทายต่างๆ สูงมาก ดังนั้นไม่ว่าผู้ปกครองหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็ตาม เมื่อถูกกระทำในลักษณะหนึ่งมักจะตอบสนองไปในทิศทางตรงข้ามหรือถ้าผู้ปกครองหรือประชาชนนั่นเอง - พยายาม กระทำ สิ่งหนึ่งต่อบุคคลอื่นผลที่เกิดขึ้น  มักจะเป็นไปในทางตรงข้ามกับที่คาดหมายไว้ในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีการปกครองของผู้ปกครอง เหลาจื้อตั้งข้อสังเกตว่าข้อห้ามยิ่งมากประชาราษฎร์ยิ่งอดอยากยากจน อาวุธในราชสำนักยิ่งแหลมคม ประเทศยิ่งวุ่นวายสับสน วิทยาการในหมู่ช่างยิ่งสูงส่ง ผลผลิตยิ่งเลวร้าย กฎหมายและระเบียบยิ่งมีมาก โจรผู้ร้ายยิ่งชุกชุมในสมัยที่ราชวงศ์โจวพบกับความเสื่อม เจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ พากันรบพุ่งแย่งชิงอำนาจกัน ผู้ที่เดือดร้อนเสียหายที่สุดก็คือพวกชาวบ้าน ประชาราษฎร์ทั่วไปนั่นเอง ดูเหมือนว่าเหลาจื้อพิจารณาสถานการณ์ดังกล่าวแล้วเห็นว่ารากฐานแห่งปัญหานั้นอยู่ที่ การกระทำ ของผู้นำรัฐ การออกกฎหมายยิ่งมาก ประชาชนยิ่งมีความแต่ความเดือดร้อนการพัฒนาวิทยาการและสร้างอาวุธให้มีประสิทธิภาพสูงส่ง ก็ยิ่งมีแต่จะเสริมสร้างความวุ่นวายสับสนหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การนำ โดย การกระทำ ของผู้นำนั้นเอง เป็นที่มาแห่งปัญหาทั้งมวลตามทรรศนะของเหลาจื้อ การไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับประชาชนดูจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า การนำโดยการกระทำ ของผู้ปกครองตามลักษณะที่เป็นอยู่หากผู้นำไม่ กระทำแต่สนับสนุนประชาชน ดังน้ำซึ่งส่งเสริมค้ำจุนสรรพสิ่งปัญหาความสับสนวุ่นวายในสังคมอาจลดน้อยถอยลงไปได้ โดยสรุปแล้ว ความเข้าใจ เกี่ยวกับการ ทำ โดยไม่กระทำนั้นเริ่มต้นจากข้อสังเกตและบทสรุปเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องเต๋า ด้วยทรรศนะที่ว่า เต๋านั้นค้ำจุนสรรพสิ่งโดยไม่เข้า ครอบครอง *การกระทำโดยไม่กระทำ มีความหมายสำคัญที่สุด เมื่อใช้เป็นหลักพิจารณาเกี่ยวกับปัญหาของผู้ปกครองโดยที่เหลาจื้อเสนอให้ผู้ปกครอง หยุด การกระทำต่างๆอันเป็นสาเหตุที่มาแห่งความสับสนวุ่นวายในความพยายามที่จะสร้างระบบวัฒนธรรมเพื่อระเบียบทางสังคม การไม่กระทำ ของผู้ปกครองนี้ไม่เพียงแต่หมายถึงการไม่ออกกฎหมายพร่ำเพรื่อ หรือการขูดรีดประชาชนเท่านั้นหากแต่รวมไปถึงการไม่สนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้ มีความต้องการมาก
          3. รัฐในอุดมคติ
          ในรัฐเล็กที่มีพลเมืองน้อย   แม้เมื่อมียุทโธปกรณ์ก็ไม่มีโอกาสจะใช้  (ผู้ปกครอง)  ควรทำให้ประชาราษฎร์เห็นว่าการตาย (ในรัฐของตน)  เป็นสิ่งสำคัญ   จึงทำให้ประชาราษฎร์ไม่อยากย้ายถิ่นไปไกล แม้เมื่อมีเรือและรถม้าศึกก็ไม่มีโอกาสจะใช้    แม้เมื่อมีเสื้อเกราะและอาวุธ    ก็ไม่มีเหตุผลจะโอ้อวดใช้      (ผู้ปกครอง) ควรให้ประชาราษฎร์กลับไปใช้การจดจำเรื่องราว    ด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือ   ให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆ นั้นโอชะ    เสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงาม   บ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบาย   ประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชม
          *รัฐในอุดมคิตคือ รัฐที่มีพลเมืองน้อย  ในยุคสมัยของเหลาจื้อเป็นยุคแห่งการสู้รบแย่งชิงดินแดนและอำนาจระหว่างนครรัฐ เหลาจื้อเสนอให้ผู้ปกครอง หยุด” “ต้องการ ดินแดนและหยุดศึกสงครามดังกล่าวเสีย เหตุว่ารัฐในอุดมคติมิใช่รัฐอันใหญ่โต หากแต่เป็นรัฐเล็กที่มีพลเมืองน้อยภายในรัฐดังกล่าวนี้มียุทโธปกรณ์ เรือ รถม้าศึก เกราะ และอาวุธ แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่มีโอกาสใช้เหลาจื้อ เสนอว่าให้มีสิ่งเหล่านี้อยู่ในรัฐเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการป้องกันตนเองได้เพื่อให้เป็นที่กลัวเกรงแก่รัฐเพื่อนบ้านในกรณีที่รัฐเพื่อนบ้านอาจมีจุดประสงค์อันไม่พึงปราถนา แต่แน่นอนที่สุดการไม่ต้องใช้สิ่งเหล่านี้ ย่อมเป็นสภาพซึ่งน่าพึงปรารถนากว่า เหลาจื้อมิได้จำกัดเฉพาะสิ่งของจำพวกอาวุธยุทโธปกรณ์เท่านั้นหากแต่รวมไปถึงการใช้การผูกเงื่อนในการบันทึกเรื่องราวแทน  การใช้หนังสือการมีเสื้อผ้าที่อยู่อาศัยและวิถีชีวิตอันธรรมดาสามัญ เหลาจื้อเห็นว่าภายใต้เงื่อนไขปัจจัยอันเรียบง่ายดังกล่าวนี้  ระเบียบทางสังคมจะดำรงอยู่และดำเนินไปได้โดยตัวของมันเองภายในสังคมเล็กที่มีพลเมืองน้อยนี้รัฐจะทำหน้าที่เหมือนรัฐ จะทำหน้าที่เหมือนเรือนต้นไม้ซึ่งเปรียบได้กับการทำหน้าที่เป็นบรรยากาศและ เครื่องช่วยสนับสนุนให้ต้นไม้เจริญเติบโตตามคุณภาพและคุณลักษณะและแบบอย่างต่างๆ กันของต้นไม้ รัฐบาลไม่น่าจะทำหน้าที่เป็น เครือข่ายซึ่งกำหนดและนิยามภาวะการดำรงอยู่ของมนุษย์ในสังคม ระเบียบทางสังคมไม่อาจเกิดขึ้นจากการกำหนดบังคับใช้จากเบื้องบนหากแต่จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้นำรัฐนั้น  ปกครองโดยไม่ปกครอง
          4. บทสรุปทั่วไป
          การศึกษาปัญหาระเบียบทางสังคมในปรัชญาตะวันออกทั้งของอินเดียและจีน ล้วนเป็นเครื่องชี้แนะให้ความกระจ่างแก่ลักษณะสังคมไทยได้ในแง่มุมที่น่าสนใจยิ่ง นอกจากนี้การศึกษาค้นคว้าดังกล่าวยังตอกย้ำให้เห็นว่าการเข้าใจสังคม ปัจจุบัน ไม่ว่า สังคมใดก็ตามสิ่งหนึ่งซึ่งขาดเสียมิได้คือความเข้าใจเกี่ยวกับวิธี การจัดระเบียบในสังคมเก่าซึ่งได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลานานว่ามีลักษณะอย่างไร เหตุว่ามรดกทางวัฒนธรรมดังกล่าวอาจยังฝังรากลึกในจิตใจความเข้าใจของคนในสังคมซึ่งอาจเป็นเครื่อง ขัดขวางการพัฒนาทางการเมืองและสังคมได้
            *คัมภีร์ภควัทคีตา คัมภีร์ภควัทคีตาของอินเดียเสนอให้มีการจัดระเบียบทางสังคมโดยแบ่งคนในสังคมออกเป็นวรรณะทั้งสี่อันได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ ไวศย ศูทร ทั้งนี้โดยกำหนดให้คนในแต่วรรณะปฏิบัติตามหน้าที่ที่ถูกกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ในคัมภีร์ภควัทคีตา มีการเชื่อมโยงระบบวรรณะกับความจริงสูงสุดแห่งพระพรหมโดยถือว่าคนในแต่ละวรรณะ เป็นส่วนต่างๆ ของพระกายของพระเจ้า
            *นิษกามกรรม คือ การทำตามหน้าที่ตามระบบวรรณะ เป็นการ สละในการทำงาน มิใช่ การไม่ทำอะไรเลยการทำตามหน้าที่เป็นการกระทำที่มิได้เกิดจากเหตุจูงใจส่วนตน แต่มาจากความต้องการที่จะเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า ซึ่งปรากฎในรูปพระกฤษณะ
          *ขงจื้อ เป็นนักคิดที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งของประวัติศาสตร์ปรัชญาจีน เป็นผู้เสนอให้พิจารณาปัญหาของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก โดยมิได้ให้ความสำคัญแก่ปัญหาเรื่องพระเจ้าเหนือธรรมชาติ หรือโลกแห่งจิตวิญญาณต่างๆ
            *ความสัมพันธ์ทั้งห้า ขงจื้อเสนอให้มีการแบ่งความสัมพันธ์ของคนในสังคม ออกเป็น 5 รูปแบบคือ ระหว่างผู้ปกครอง-ผู้ถูกปกครอง บิดา บุตร พี่ น้อง สามี ภรรยา เพื่อน-เพื่อน เป็นแม่แบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และเป็นแม่แบบหลักของการจัดระเบียบทางสังคม
            *การแก้ไขภาษาให้ถูกต้อง ในฐานะเป็นตัวกำหนด ตำแหน่งหน้าที่และนิยามบทบาทของคนในแต่ละความสัมพันธ์ ย่อมเป็นเครื่องกำหนดและแก้ไขปัญหาระเบียบทางสังคมด้วย นอกจากนี้การเลือกใช้คำสำหรับผู้ปกครอง ย่อมเป็นเครื่องวัดหรือตำหนิติเตียนผู้ปกครองอันไร้ความชอบธรรมได้
            *พลังจริยธรรมของผู้ปกครอง ขงจื้อ เน้นความชอบธรรม โดยการมีจริยธรรมของผู้ปกครองและเชื่อในพลังดังกล่าวในการรักษาระเบียบของสังคม ขงจื้อเชื่อว่า มนุษย์ส่วนใหญ่เป็นผู้ตามซึ่งมักโอนอ่อนตามผู้นำ ดังนั้นผู้นำที่ไร้จริยธรรมอาจมีโทษมหันต์แก่สังคมได้
            *เหลาจื้อ นักคิดคนสำคัญของปรัชญาเต๋า เป็นผู้ที่สนใจปัญหาสังคมบ้านเมืองเช่นเดียวกับขงจื้อ แต่ข้อเสนอของเหลาจื้อนั้นตั้งอยู่บนความเห็นที่ว่า ระเบียบสังคมมนุษย์จะดำรงอยู่และดำเนินไปได้ด้วยดีก็ต่อเมื่อผู้ปกครองเข้าใจวิถีแห่งเต๋าหรือสภาพธรรมชาติ โดยไม่นิยมแบ่งกลุ่มคนในสังคมออกเป็นส่วนต่างๆที่ขัดกับสภาพธรรมชาติ
            *การกระทำโดยไม่กระทำ เหลาจื้อเสนอให้ผู้ปกครองหยุดการกระทำต่างๆอันเป็นสาเหตุที่มาแห่งความสับสนวุ่นวายในความพยายามที่จะสร้างระบบวัฒนธรรมเพื่อระเบียบทางสังคมการไม่กระทำของผู้ปกครองนี้ไม่เพียงแต่หมายถึงการไม่ออกกฎหมายพร่ำเพรื่อ หรือการขูดรีดประชาชนเท่านั้น หากแต่รวมไปถึงการไม่สนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้ มีความต้องการมาก

            *รัฐในอุดมคติคือ "รัฐที่มีพลเมืองน้อย" ในยุคสมัยของเหลาจื้อเป็นยุคแห่งการสู้รบแย่งชิงดินแดนและอำนาจระหว่างนครรัฐ เหลาจื้อ เสนอให้ผู้ปกครอง หยุด” “ต้องการดินแดนและหยุดศึกสงครามดังกล่าวเสีย เหตุว่ารัฐในอุดมคติมิใช่รัฐอันใหญ่โตหากแต่เป็นรัฐเล็กที่มีพลเมืองน้อยภายในรัฐดังกล่าวนี้มียุทโธปกรณ์ เรือ รถม้าศึก เกราะ และอาวุธ แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่มีโอกาสใช้ เหลาจื้อ เสนอว่าให้มีสิ่งเหล่านี้อยู่ในรัฐเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการป้องกันตนเองได้เพื่อให้เป็นที่กลัวเกรงแก่รัฐเพื่อนบ้านในกรณีที่รัฐเพื่อนบ้านอาจมีจุดประสงค์อันไม่พึงปราถนา แต่แน่นอนที่สุดการไม่ต้องใช้สิ่งเหล่านี้ ย่อมเป็นสภาพซึ่งน่าพึงปรารถนากว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น