วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความคิดทางการเมืองไทย

ความคิดทางการเมืองไทย
15.1 ความคิดทางการเมืองแบบธรรมราชา
            1. ความหมายของคำว่า *ธรรมราชา
                   ธรรมราชา หมายถึง ผู้นำที่ใช้ธรรมะในการปกครองประชาชน โดยผู้นำดังกล่าวทรงไว้ซึ่งความรู้ในธรรมะของพุทธศาสนาเป็นอย่างดีหรือกษัตริย์ที่ใช้ธรรมะในการปกครองประชาชน
                   ความคิดทางการเมืองแบบธรรมราชาของพระมหาธรรมราชาลิไท มีลักษณะสำคัญ กล่าวคือ การเน้นให้เห็นถึงลักษณะของพระมหากษัตริย์ที่เป็นธรรมราชานั้น จะต้องยึดมั่นในทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร และพระราชจรรยานุวัตรตามหลักพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังต้องมีหลักปฏิบัติในการกครอง รวมทั้งประเพณีการปกครองและความยุติธรรมทางการเมืองสำหรับธรรมราชาควบคู่ไปด้วย พระมหากษัตริย์ที่เป็นธรรมราชาจะต้องเป็นผู้นำประชาชนให้ก้าวพ้นวัฏฏสังสารของโลกนี้ ให้ได้ความคิดทางการเมืองแบบธรรมราชาของพระมหาธรรมราชาลิไทนับเป็นการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้กับพระองค์ในอีกทางหนึ่ง

          3. การสืบทอดและพัฒนาการความคิดทางการเมืองแบบธรรมราชาในยุคหลัง
          ภายหลังสิ้นรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทแล้ว ได้มีการสืบทอดแนวความคิดทางการเมืองแบบธรรมราชามาโดยตลอดจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ แต่มีข้อน่าสังเกตก็คือ ความคิดแบบธรรมราชาจะเป็นเอกลักษณ์สำคัญของความคิดทางการเมืองแบบสุโขทัยก็ได้ แต่ในสมัยอยุธยาได้มีการนำแนวความคิดทางการเมืองแบบเทวราชามาใช้ จึงทำให้ความคิดทางการเมืองแบบธรรมราชาด้อยความสำคัญลงไปเมื่อเปรียบเทียบกับสมัยสุโขทัย แต่ภายหลังได้มีการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ความคิดทางการเมืองแบบธรรมราชาได้รับการเน้นหนักให้มีความสำคัญขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเป็นต้นไป ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ คติธรรมราชาได้เน้นให้เห็นถึงความเป็นพระโพธิสัตว์หรือควาเมป็นพุทธราชาของพระมหากษัตริย์ชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเพื่อเสริมสร้างสิทธิธรรมและความชอบธรรมทางการเมืองให้กับพระราชวงศืจักรีก็เป็นได้
          4. ความสำเร็จและความล้มเหลวของความคิดทางการเมืองแบบธรรมราชา
          ความคิดแบบธรรมราชามีมาต่อเนื่องนับตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ เพราะนับเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงและช่วยปกป้องพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ในบางกรณี แต่ไม่เสมอไปเพราะคติธรรมราชาเป็นเพียงปัจจัยส่วนหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างพระราชอำนาจและความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์เท่านั้นการเสริมสร้างความมั่นคงดังกล่าวอาจต้องอาศัยความเข้มแข็งในการทำสงครามรบพุ่งกับศัตรูความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนความเหมาะสมของพระชนมายุของพระมหากษัตริย์อีกด้วย ถ้าอาศัยความเป็นธรรมราชาเพียงอย่างเดียวถ้าอาณาจักรใกล้เคียงไม่ยึดมั่นในธรรมเช่นเดียวกันแล้ว อาจยกกองทัพมารุกรานพระมหากษัตริย์ก็อาจสิ้นพระราชอำนาจได้แต่ถ้ากล่าวในแง่ของความสัมพันธ์กับประชาชน  ย่อมบังเกิดผลสำเร็จได้มากพอสมควร
­15.2 ความคิดทางการเมืองแบบเทวราชา
            1. ความหมายของคำว่า *เทวราชา และความเป็นมาของลัทธิเทวราชา
                   เทวราชา หมายถึง กษัตริย์ที่เป็นพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นความคิดทางการเมืองแบบเทวราชาจึงเป็นความคิดทางการเมืองที่เชื่อว่าพระมหากษัตริย์จะต้องทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้า เป็นผู้มีพระราชอำนาจสูงสุด มีความศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ พระผู้เป็นเจ้าดังกล่าว ได้แก่ พระศิวะหรือพระวิษณุก็ได้ตามคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์
         ความคิดทางการเมืองแบบเทวราชาของไทย แต่เดิมมีรากเหง้าอยู่ในอินเดีย ต่อมาเมื่ออินเดียติดต่อกับเอเชียอาคเนย์ความคิดทางการเมืองแบบเทวราชาก็แพร่ขยายเข้ามาในชวา และอาณาจักรโบราณต่าง ๆ ในแหลมอินโดจีน ไทยอาจรับมาจากเขมรโดยตรงก็ได้ หรืออาจจะรับจากวัฒนธรรมของพื้นบ้านเดิมในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรงก็ได้
          2. สาเหตุที่ทำให้ไทยรับเอาความคิดทางการเมืองแบบเทวราชามาใช้ในราชสำนักอยุธยา
         การที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่หนึ่ง หรือ พระเจ้าอู่ทองแห่งราชอาณาจักรอยุธยาทรงรับเอาความคิดทางการเมืองแบบเทวราชามาใช้อาจสืบเนื่องมาจากเหตุผลสามประการ ประการแรกเจตนารมณ์ทางการเมืองของพระเจ้าอู่ทองในการประกาศตนเป็นอิสระ  ไม่ยอมรับอำนาจและอิทธิพลสุโขทัยซึ่งมีการปกครองแบบธรรมราชาเป็นเอกลักษณ์สำคัญ ประการที่สองการได้รับอิทธิพลจาก  ศาสนาพราหมณ์ซึ่งมีอยู่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเขมรมาก่อนและประการที่สามอาจได้รับอิทธิพลจากราชสำนักเขมรโดยตรงก็อาจเป็นได้
          ความคิดทางการเมืองแบบเทวราชาของไทยตั้งอยู่บนรากฐานของความเชื่อที่ว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าตามหลักศาสนาพราหมณ์ ดังนั้นจึงต้องมีกฎเกณฑ์และข้อปฏิบัติต่อพระมหากษัตริย์เป็นกรณีพิเศษแตกต่างไปจากคนธรรมดาสามัญทั่วไป ทั้งนี้เพื่อแสดงถึงพระราชอำนาจอันสูงสุดและศักดิ์สิทธิ์ที่ผุ้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ขององค์พระมหากษัตริย์แต่อย่างไรก็ตาม  เทวราชาของไทยก็มิได้เป็นพระผู้เป็นเจ้าที่เคร่งครัดเหมือนกับเทวราชาของเขมรแต่ขณะเดียวกันก็มิได้เป็นคนธรรมดาสามัญ  แบบพ่อขุนของสุโขทัย ทั้งนี้เพราะคนไทยยึดถือครอบครัวเป็นหลักในการดำรงชีวิตการที่คนไทยถือครอบครัวเป็นใหญ่จึงทำให้  คนไทยเห็นพระมหากษัตริย์เสมือนหนึ่งเป็นผู้นำครอบครัวอยู่นั่นเองถึงแม้จะมีฐานะประดุจดังเทพเจ้าก็ตาม นอกจากนี้อาจเป็นเพราะพระมหากษัตริย์ทรงนับถือพระรัตนตรัยเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป ความรู้สึกร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจึงเกิดขึ้น
          4. ความสำเร็จและความล้มเหลวของแนวความคิดแบบเทวราชา
           ความคิดทางการเมืองแบบเทวราชาที่ถูกนำมาใช้ในอุดมการณ์ทางการเมืองของผู้นำไทย นับตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์นั้น มิได้ประสบผลสำเร็จในการเสริมสร้างความมั่นคงและการรักษาพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เสมอไปทั้งนี้  เพราะเหตุว่าในทางทฤษฎีถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติจะต้องมีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่าทรงมีพราชอำนาจจริง ๆ มีความศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้จริง ๆเช่นทรงมีฝีมือในการรบพุ่งการทำสงครามที่เข้มแข็งทรงมี  ความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดินจนบังเกิดผลดีต่ออาณาประชาราษฎร์และแผ่นดินตลอดจนมีพระชนมายุในวัยอันสมควร  จนเป็นที่ภักดีและเกรงกลัวพระบารมีของผู้คนโดยทั่วไปความเป็นเทวราชา จึงจะประสบผลสำเร็จแต่ถ้าปราศจากปัจจัยเหล่านี้มาสนับสนุน ความคิดแบบเทวราชาอาจล้มเหลวได้
         การที่ความคิดทางการเมืองแบบเทวราชาสามารถผสมผสานกับความคิดทางการเมืองแบบธรรมราชาได้โดยมิได้เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน อาจสืบเนื่องมาจาก                                                                  ประการแรก คนไทยนับถือศาสนาพุทธโดยมีศาสนาพราหมณ์เจือปนอยู่ด้วย                             ประการที่สอง แนวคิดทั้งสองล้วนแล้วแต่มีกุศโลบายที่จะเสริมสร้างพระราชอำนาจ ความชอบธรรม และสิทธิธรรมทางการเมืองของพระมหากษัตริย์จึงสามารถให้การเกื้อกูลกันได้
15.3 ความคิดทางการเมืองแบบจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์   
          การจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ หมายถึง การกำหนดขอบเขตของพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้ทรงปฏิบัติภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยที่พระมหากษัตริย์จะต้องทรงเคารพกฎเกณฑ์ดังกล่าวโดยมิพึงลีกเลี่ยงความคิดทางการเมืองแบบจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์มีลักษณะมุ่งจำกัดขอบเขตของพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในฐานะของประมุขของรัฐด้วยการสืบสันตติวงศ์ให้มีน้อยลงทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายที่ตราขึ้นมาใช้บังคับ โดยพระองค์จะใช้พระราชอำนาจทางด้านบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการโดยผ่านทางคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และผู้พิพากษาตามลำดับโดยที่อำนาจอธิปไตยที่แท้จริงจะตกเป็นของปวงชน
          2. สาเหตุที่ก่อให้เกิดความคิดทางการเมืองแบบจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
         ความคิดทางการเมืองแบบจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เริ่มอุบัติขึ้นในสังคมไทยสืบเนื่องมาจาก ประการแรก อิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกที่มุ่งขยายอำนาจมาทางเอเชีย ทำให้เกิดความคิดที่จะปฏิรูปเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ทันสมัยขึ้น เพื่อรับมือกับลัทธิจักรวรรดินิยม ประการที่สอง ความก้าวหน้าทางด้านสติปัญญาในสังคมไทยอันเกิดจากการศึกษาตามแบบอย่างตะวันตก ทำให้เห็นถึงความเจริญของประเทศที่มีระบบการเมืองการปกครองแตกต่างจากของไทยเราจึงคิดที่จะ  เปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองการปกครองเป็นอย่างเขาบ้างเพื่อความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองของไทยต่อไป
          3. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ต่อแนวคิดทางการเมืองสมัยใหม่
         พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความเห็นว่าบ้านเมืองจะต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัย ทรงเห็นด้วยกับการมีรัฐธรรมนูญ แต่ต้องภายหลงรัชสมัยของพระองค์ไปแล้ว พระองค์ทรงไม่เห็นด้วยกับการมีรัฐธรรมนูญรัฐสภาและพรรคการเมืองในขณะนั้น เพราะประชากรยังไม่พร้อมแต่พระองค์มิได้ทรงปฏิเสธในหลักการที่จะลดพระราชอำนาจสิทธิ์ขาด  ของพระมหากษัตริย์ให้น้อยลงหรือแม้กระทั่งการที่จะทรงยอมสละพระราชอำนาจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์พระองค์เพียงแต่  ทรงทักท้วงในแง่ที่ว่าขณะนั้นสภาพการณ์ยังไม่พร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงในลักษณะดังกล่าวสิ่งที่เป็นไปได้ในรัชสมัยของพระองค์  คือการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินก่อนสิ่งใดทั้งหมด
          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงมีแนวพระราชดำริทางการเมืองในลักษณะเดียวกับพระราชบิดา กล่าวคือทรงไม่เห็นด้วย กับการมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศในขณะนั้นทรงเห็นว่าการมีรัฐสภานั้นประชาชนจะต้องพร้อมที่จะเลือกผู้แทนของตนเข้าไปนั่งในสภาได้ ถ้ายังไม่พร้อมก็ไม่ควรจะมีเพราะจะเกิดผลเสีย มากกว่าเพราะอาจนำไปสู่ความสั่นคลอนของสถานภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์ได้
          พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นด้วยกับการมีรัฐธรรมนูญ เป็นหลักในการปกครองประเทศถึงกับทรงเตรียมการพิจารณารัฐธรรมนูญที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ของประเทศไทยในขณะนั้น แต่มิได้ทันที่จะทรงระราชทานรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้กับปวงชนชาวไทย ก็ถูกคณะราษฎรกระทำการยึดอำนาจการปกครองเสียก่อน
          4. แนวความคิดทางการเมืองของกลุ่ม *เจ้านายและข้าราชการ ร.ศ. 103
          กลุ่มเจ้านายและข้าราชการ ร.ศ. 103” มีความเห็นว่า บ้านเมืองของไทยในขณะนั้นสมควรจะมีการปกครองโดยพระมหากษัตริย์เป็นประมุขต่อไป แต่พระราชอำนาจในการบริหารบ้านเมืองของพระองค์ควรจะอยู่ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยที่ในระยะแรกๆ ไม่จำเป็นต้องมีรัฐสภาก็ได้ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในการวินิจฉัยและทรงมีพระบรมราชโองการในเรื่องใดๆ ก็ได้โดยมอบหมายให้ขุนนางผู้ใหญ่รับไปปฏิบัติ โดยที่พระองค์มิได้ต้องทรงราชการนั้นๆ ทุกอย่างด้วยพระองค์เอง
          5. แนวความคิดทางการเมืองของคณะผู้ก่อการ ร.ศ. 130
          แนวความคิดทางการเมืองของ *คณะผู้ก่อการ ร.ศ. 103มีลักษณะที่ยินยอมให้พระมหากษัตริย์ยังคงดำรงตำแหน่งพระประมุขของประเทศ แต่ทรงใช้พระราชอำนาจภายในขอบเขตที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
         6. ความคิดทางการเมืองของ *คณะราษฎรผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
          “คณะราษฎรผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 มีความคิดทางการเมืองในลักษณะที่เป็นการจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ โดยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์เป็นประมึขภายใต้รัฐธรรมนูญ รวมทั้งเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งเอกราชของชาติความปลอดภัยภายในประเทศ ความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ ความเสมอภาคและเสรีภาพ ตลอดจนการศึกษาของประชาชนให้ดีที่สุด
          7. ความคิดทางการเมืองของ*เทียนวรรณ
          “เทียนวรรณมีความคิดทางการเมืองในลักษณะที่เห็นด้วยกับกรมีสภาผู้แทนราษฎร การมีรัฐสภาซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการบริหารประเทศ โดยที่รัฐสภาจะสามารถแก้ไขปัญหาของราษฎร ป้องกันการฉ้อราษฎร์บังหลวง และกระตุ้นให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตเพื่อประชาชน การมีรัฐสภาจะแสดงออกถึงการมีสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแต่อย่างไรก็ตาม เทียนวรรณมิได้กล่าวถึง การมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศแต่ประการใด
            8. ความคิดทางการเมืองของ *ก.ศ.ร. กุหลาบ
          ความคิดทางการเมืองของ ก.ศ.ร. กุหลาบมีลักษณะสำคัญตรงที่เขาได้เน้นนถึงองค์ประกอบที่จะทำให้บ้านเมืองเป็นเอกราชอยู่ได้ซึ่งประกอบด้วยพระพุทธเจ้า พระราชาณาจักร เสนามาตย์ราชบริพาร และไพร่พลทั้งหลาย ทั้ง 4 ประการนี้จะต้อง เกื้อกูลซึ่งกันและกัน หลักแห่งความยุติธรรม ร่วมกันปรึกษาหารือกันและมีความรับผิดชอบต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาและการจะประสบ ผลสำเร็จในคำสั่งของตนได้จำเป็นจะต้องรอบรู้คำสั่งของตน รอบรู้วิธีการที่จะทำตามคำสั่งให้สำเร็จและรอบรู้ในตัวบุคคลที่จะรับคำสั่งไปปฏิบัติ
          9. ความสำเร็จและความล้มเหลวของแนวคิดทางการเมืองแบบจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
         การที่ความคิดทางการเมืองแบบจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นความจริงทางด้านปฏิบัติขึ้นมาได้ในปี พ.ศ. 2475 นั้น นอกจากประชาชนส่วนหนึ่งให้การสนับสนุนแล้ว ยังสืบเนื่องมาจากควมคิดเห็นดังกล่าวได้สอดคล้องกับแนวพระราชดำริของรัชกาลที่ 7 ที่ทรงมีอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว
15.4 ความคิดทางการเมืองแบบชาตินิยม
            1. ความหมายของคำว่า *ชาตินิยม
                   ชาตินิยม หมายถึง สภาพความรู้สึกนึกคิดอันได้แก่ ความจงรักภักดีที่มีต่อความเป็นเลิศของรัฐชาติของตน หรือต่อสภาพที่เป็นจริงของรัฐชาติของตน ความจงรักภักดีอันนี้อยู่เหนือความจงรักภักดีทั้งปวง และสิ่งที่แยกไม่ได้คือความภูมิใจในเชื้อชาติของตน ความเชื่อในความดีเลิศที่แฝงอยู่ภายใน และความเชื่อในเรื่องภาระหน้าที่ของตน
            2.  แนวพระราชดำริทางการเมืองแบบชาตินิยมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
          การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีแนวพระราชดำริทางการเมืองแบบชาตินิยมเป็นผลสืบเนื่องมาจากสถานการณ์โลกในขณะนั้นกำลังก้าวเข้าสู่ภาวะสงครามซึ่งอาจมีผลกระทบกระเทือนต่อคนไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมขณะเดียวกันไทยก็ต้องตกอยู่ในภาวะความเสียเปรียบมหาอำนาจตะวันตกทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และการศาล มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ประกอบกับขณะนั้นชนชั้นกลางก็กำลังมีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบรัฐธรรมนูญที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจก็ตกอยู่ในมือของคนจีนในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่
         แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) มีลักษณะสำคัญอยู่ที่การเน้นความจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนาและ  พระมหากษัตริย์เป็นสำคัญ
            3. ความคิดทางการเมืองแบบชาตินิยมของ*จอมพล ป. พิบูลสงคราม  
          ความคิดทางการเมืองแบบจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เน้นถึงความรับผิดชอบของประชาชนในชาติร่วมกันกับรัฐฐาลต่อเอกราชชของชาติ สิทธิอันพึงมีของชาติ และการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นพื้นฐานสำคัญ เน้นถึงความสำคัญทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับความมั่นคงของชาติ โดยพยายามให้คนไทยขยันประกอบอาชีพและใช้ของที่ผลิตขึ้นโดยคนไทยการที่จะสร้างชาติให้เป็นมหาอำนาจได้ จะต้องสร้างพลเมืองให้เป็นพลเมืองดีเสียก่อน ต้องการให้ประชาชนปฏิบัติตามนโยบายสร้างชาติของรัฐบาลโดยเคร่งครัด
            4. ความคิดทางการเมืองแบบชาตินิยมของ*หลวงวิจิตรวาทการ
          ความคิดทางการเมืองแบบชาตินิยมของหลวงวิจิตรวาทการ มีลักษณะของการเนความสำคัญของการสร้างความยิ่งใหญ่ของชาติด้วยการขยายอาณาเขต สร้างความเป็นเอกภาพให้กับประชาชนชาติไทยทั้งมวล เกียรติศักดิ์และศักดิ์ศรีของชาติที่ยิ่งใหญ่จะบังเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคนร่วมชาติหรือร่วมเผ่าพันธุ์มิได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของชาติอื่น การปลูกฝังความรู้สึกในเรื่องชาตินิยมให้กับคนไทยจะทำให้ชาติไทยดำรงอยู่ได้
            5. การผสมผสานแนวความคิดเรื่องชาตินิยมกับเผด็จการทหารของ*จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
          ความคิดทางการเมืองแบบชาตินิยมผสมเผด็จการการทหารของจอมพลสฤษดิ์ มีลักษณะสำคัญที่เน้นความสำคัญของชาติศาสนา และ พระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้รวบรวมเอาความสำคัญของชาติ และพระมหากษัตริย์เป็นทางเดียวกันจะแยกจากกันมิได้ การจะสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ได้จะต้องอาศัยกลไกของระบบเผด็จการทหารเป็นสำคัญ
          แนวคิดในการจัดระเบียบทางการเมืองของจอมพลสฤษดิ์ ประกอบด้วยหลัก 3 ประการ คือ
         (1) การเมืองจะต้องอาศัยหลักการของไทย จะต้องละทิ้งอุดมการณ์ของต่างประเทศและจะต้องฟื้นฟูอุดมการณ์แบบไทย ๆ   ให้เป็นอุดมการณ์หลัก
         (2) ประเทศชาติจะเป็นระเบียบไม่ได้ ถ้ายังมีระบบพรรคการเมืองที่แบ่งแยกตามแนวตั้ง ควรจะให้รัฐหรือรัฐบาลเป็นตัวแทน เจตนารมณ์ของประชาชนและกำหนดแนวทางของชาติ โดยรัฐมีอำนาจสูงสุด
          (3) การปกครองควรใช้ระบบบิดาปกครองบุตร
15.5 ความคิดทางการเมืองแบบสังคมนิยม
1. ความหมายของคำว่า *สังคมนิยม
                   สังคมนิยม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่มีนโยบายมุ่งสนับสนุนและปรารถนาจะให้ชุมชนสังคม หรือส่วนรวมถือกรรมสิทธิ์หรือควบคุมการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยในการผลิต เช่น ทุน ทรัพยากร ที่ดิน วิทยาการ ทั้งนี้เพื่อมุ่งกระจายประโยชน์เหล่านี้เพื่อประชาชนทั้งมวล
            2. ความคิดแบบสังคมนิยมของ*นายปรีดี พนมยงค์
          ความคิดทางการเมืองแบบสังคมนิยมของนายปรีดี พนมยงค์ ที่แสดงออกในเค้าโครงเศรษฐกิจ มีลักษณะของการมุ่งเน้นการดำเนินงานให้รัฐเข้าควบคุมปัจจัยการผลิตและการผลิตทั้งหมดโดยยึดหลักการประนีประนอม และตอบแทนผลประโยชน์ให้กับเจ้าของปัจจัยการผลิตและผู้ผลิตเดิม ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ต้องดำเนินงานให้ผลประโยชน์ที่ได้จากการผลิตได้กระจายไปสู่ประชาชนโดยทั่วถึงกันด้วย
                      3. ความคิดแบบสังคมนิยมของ*จิตร ภูมิศักดิ์
                   จิตร ภูมิศักดิ์ มีความเห็นในทางการเมืองในลักษณะที่เป็นปักษ์ต่อจักรวรรดินิยมเผด็จการทหาร ศักดินานิยม และทุนนิยม เขามีความเชื่อมั่นในทฤษฎีการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะต่อการกขี่ที่ไหดรับจากชนชั้นสูงของพวกกรรมกรและชาวไร่ชาวนาผู้ยากไร้ เขาเชื่อในทฤษฎีที่ว่าด้วยวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ตามแนวทางของมาร์กซิสต์ เพื่อความบรรลุถึงสังคมนิยมที่แท้จริง
            ธรรมราชา หมายถึง ผู้นำที่ใช้ธรรมะในการปกครองประชาชน โดยผู้นำดังกล่าวทรงไว้ซึ่งความรู้ในธรรมะของพุทธศาสนาเป็นอย่างดี หรือ กษัตริย์ที่ใช้ธรรมะในการปกครองประชาชน
            *ความคิดทางการเมืองแบบธรรมราชาของพระมหาธรรมราชาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย  มีลักษณะสำคัญ กล่าวคือการเน้นให้เห็นถึงลักษณะของพระมหากษัตริย์ที่เป็นธรรมราชานั้น จะต้องยึดมั่นในทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร และพระราชจรรยานุวัตร  ตามหลักพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังต้องมีหลักปฏิบัติในการกครอง รวมทั้งประเพรีการปกครองและความยุติธรรมทางการเมือง  สำหรับธรรมราชาควบคู่ไปด้วย พระมหากษัตริย์ที่เป็นธรรมราชาจะต้องเป็นผู้นำประชาชนให้ก้าวพ้นวัฏฏสังสารของโลกนี้ให้ได้ ความคิดทางการเมืองแบบธรรมราชาของพระมหาธรรมราชาลิไทนับเป็นการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้กับพระองค์  ในอีกทางหนึ่ง
            *เทวราชา หมายถึง กษัตริย์ที่เป็นพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นความคิดทางการเมืองแบบเทวราชาจึงเป็นความคิดทางการเมืองที่เชื่อว่าพระมหากษัตริย์จะต้องทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้า เป็นผุ้มีพระราชอำนาจสูงสุด มีความศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดจะละเมิดมิได้พระผู้เป็นเจ้าดังกล่าวได้แก่ พระศิวะหรือพระวิษณุก็ได้ตามคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ ความคิดทางการเมืองแบบเทวราชาของไทยแต่เดิมมีรากเหง้าอยู่ในอินเดีย ต่อมาเมื่ออินเดียติดต่อกับเอเชียอาคเนย์ ความคิดทางการเมืองแบบเทวราชาก็แพร่ขยายเข้ามาในชวาและอาณาจักรโบราณต่าง ๆ ในแหลมอินโดจีน ไทยอาจรับมาจากเขมรโดยตรงก็ได้หรืออาจจะรับจากวัฒนธรรมของพื้นบ้านเดิมในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรงก็ได้
            *ลักษณะเทวราชาแบบไทย การที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่หนึ่ง หรือ พระเจ้าอู่ทองแห่งราชอาณาจักรอยุธยาทรงรับเอาความคิดทางการเมืองแบบเทวราชามาใช้อาจสืบเนื่องมาจากเหตุผลสามประการ ประการแรก เจตนารมณ์ทางการเมืองของพระเจ้าอู่ทองในการประกาศตนเป็นอิสระ ไม่ยอมรับอำนาจและอิทธิพลสุโขทัยซึ่งมีการปกครองแบบธรรมราชาเป็นเอกลักษณ์สำคัญ ประการที่สอง การได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ซึ่งมีอยู่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเขมรมาก่อน และประการที่สาม อาจได้รับอิทธิพลจากราชสำนักเขมรโดยตรงก็อาจเป็นได้  ความคิดทางการเมืองแบบเทวราชาของไทยตั้งอยู่บนรากฐานของความเชื่อที่ว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าตามหลักศาสนาพราหมณ์ ดังนั้นจึงต้องมีกฎเกณฑ์และข้อปฏิบัติต่อพระมหากษัตริย์เป็นกรณีพิเศษแตกต่างไปจากคนธรรมดาสามัญทั่วไป ทั้งนี้เพื่อแสดงถึงพระราชอำนาจอันสูงสุดและศักดิ์สิทธิ์ที่ผุ้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ขององค์พระมหากษัตริย์ แต่อย่างไรก็ตามเทวราชาของไทยก็มิได้เป็นพระผู้เป็นเจ้าที่เคร่งครัดเหมือนกับเทวราชาของเขมร แต่ขณะเดียวกันก็มิได้เป็นคนธรรมดาสามัญแบบพ่อขุนของสุโขทัย ทั้งนี้เพราะคนไทยยึดถือครอบครัวเป็นหลักในการดำรงชีวิต การที่คนไทยถือครอบครัวเป็นใหญ่จึงทำให้คนไทยเห็นพระมหากษัตริย์เสมือนหนึ่งเป็นผู้นำครอบครัวอยู่นั่นเอง ถึงแม้จะมีฐานะประดุจดังเทพเจ้าก็ตามนอกจากนี้อาจเป็นเพราะพระมหากษัตริย์ทรงนับถือพระรัตนตรัยเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป ความรู้สึกร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจึงเกิดขึ้น
            *การผสมผสานแนวคิดแบบธรรมราชาและแนวคิดแบบเทวราชาเข้าด้วยกัน การที่ความคิดทางการเมืองแบบเทวราชาสามารถผสมผสานกับความคิดทางการเมืองแบบธรรมราชาได้โดยมิได้เป็นปฏิปักษ์ ต่อกัน อาจสืบเนื่องมาจาก ประการแรก คนไทยนับถือศาสนาพุทธโดยมีศาสนาพราหมณ์เจือปนอยู่ด้วย ประการที่สอง แนวคิดทั้งสองล้วนแล้วแต่มีกุศโลบายที่จะเสริมสร้างพระราชอำนาจความชอบธรรม และสิทธิธรรมทางการเมืองของพระมหากษัตริย์จึงสามารถให้การเกื้อกูลกันได้
            *การจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ หมายถึง การกำหนดขอบเขตของพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้ทรงปฏิบัติภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยที่พระมหากษัตริย์จะต้องทรงเคารพกฎเกณฑ์ดังกล่าวโดยมิพึงหลีกเลี่ยง          ความคิดทางการเมืองแบบจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์มีลักษณะมุ่งจำกัดขอบเขตของพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในฐานะของประมุขของรัฐด้วยการสืบสันตติวงศ์ให้มีน้อยลงทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายที่ตราขึ้นมาใช้บังคับ โดยพระองค์จะใช้พระราชอำนาจทางด้านบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการโดยผ่านทางคณะรัฐมนตรีรัฐสภาและผู้พิพากษาตามลำดับโดยที่อำนาจอธิปไตยที่แท้จริงจะตกเป็นของปวงชน
            *เจ้านายและข้าราชการ ร.ศ. 103 คือ กลุ่มบุคคลที่ประกอบด้วยเจ้านาย 4 พระองค์ ประกอบด้วย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภ พฤฒิธาดา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฏ์ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ และข้าราชการ จำนวน 7 ท่าน ประกอบด้วย พระยาดำรงค์ราชพลขันธ์ หลวงเดชนายเวร หลวงวิเลศสาลีบุศย์ เพ็ญกุล ขุนปฏิภาณพิจิตร นายเปลี่ยน และนายเรือตรีสอาด ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศด้วยกันทั้งสิ้น เสนอแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการแผ่นดิน ใน พ.ศ. 2427 ต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
            *คณะผู้ก่อการ ร.ศ. 130 คือ กลุ่มบุคคลที่ปรารถนาจะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบรัฐธรรมนูญ ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่แผนการล้มเหลวและถูกจับกุมได้ทั้งหมดใน พ.ศ. 2454 ที่ประกอบด้วยบุคคลสำคัญ อาทิ ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ ร.ต.จรูญ ษตะเมษ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) เป็นต้น
            *คณะราษฎร เป็นการรวมกันของบุคคลที่มีความคิดเห็นทางการเมืองสอดคล้องกันในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นที่มาของการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย ใน พ.ศ. 2475 ประกอบด้วยบุคคลสำคัญทั้งทหารและพลเรือนที่ผ่านการศึกษาจากต่างประเทศอาทิ ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี ร.ท. แปลก ขีตตะสังคะ ร.ต. ทัศนัย มิตรภักดี ดร. ตั้ว ลพานุกรม นายปรีดี พนมยงค์ เป็นต้น
            *เทียนวรรณ (พ.ศ. 2385-2485) เป็นปัญญาชนที่มีความคิดก้าวหน้า ที่มีบทบาทสำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยบวชเรียนและเดินทางไปต่างประเทศหลายครั้ง เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการนำเสนอแนวคิดทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมสมัยใหม่ เช่น การให้ความสำคัญกับการก่อตั้งสถาบันรัฐสภา เป็นต้น และเป็นบุคคลแรกที่มีการนำเสนอให้มีการจัดตั้งสำนักงานทนายความและเคยออกหนังสือหลายฉบับ
            *ก.ศ.ร. กุหลาบ (พ.ศ.2377-2456) เป็นปัญญาชนร่วมสมัยกับเทียนวรรณเคยบวชเรียนและใช้เวลาว่างในการเรียนภาษาทั้งอังกฤษ ละติน และฝรั่งเศส และศึกษาวิชากฎหมายและการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นผู้มีความรู้อย่างกว้างขวางทั้งประวัติศาสตร์ ศาสนา และพงศาวดาร เป็นต้น และนำความรู้ทางด้านพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการอธิบายทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน
            *ชาตินิยม หมายถึง สภาพความรู้สึกนึกคิดอันได้แก่ ความจงรักภักดีที่มีต่อความเป็นเลิศของรัฐชาติของตน หรือต่อสภาพที่เป็นจริงของรัฐชาติของตนความจงรักภักดีอันนี้อยู่เหนือความจงรักภักดีทั้งปวงและสิ่งที่แยกไม่ได้คือความภูมิใจในเชื้อชาติของตน ความเชื่อในความดีเลิศที่แฝงอยู่ภายในและความเชื่อในเรื่องภาระหน้าที่ของตน
            *จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นชาวจังหวัดนนทบุรี ผ่านการศึกษาทางด้านการทหารในเหล่าทหารปืนใหญ่ เป็นสมาชิกของคณะราษฎร และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองสมัย ใน พ.ศ. 2881-2487 และ 2491-2500 มีแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองแบบชาตินิยมและฟาสซิสต์ เป็นส่วนสำคัญ
            *หลวงวิจิตรวาทการ (พ.ศ.2411-2505) เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญที่มีแนวคิดแบบชาตินิยม ที่เน้นความยิ่งใหญ่ของเผ่าไทย ประเทศไทย เป็นต้น และมีอิทธิพลทางความคิดต่อนายกรัฐมนตรีสองท่าน คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
            *จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นชาวกรุงเทพฯ ที่มีมารดาเป็นชาวมุกดาหารดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยใน พ.ศ. 2501-2506 มีแนวคิดที่เป็นการผสมผสานระหว่างแนวคิดชาตินิยมกับเผด็จการทหาร เน้นความจงรักภักดีต่อชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ และเน้นการปกครองแบบไทย เช่น การปกครองแบบพ่อขุนเหมือนในสมัยสุโขทัย เป็นต้น
            *สังคมนิยม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่มีนโยบายมุ่งสนับสนุนและปรารถนาจะให้ชุมชนสังคม หรือส่วนรวมถือกรรมสิทธิ์หรือควบคุมการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยในการผลิต เช่น ทุน ทรัพยากร ที่ดิน วิทยาการทั้งนี้เพื่อมุ่งกระจายประโยชน์เหล่านี้เพื่อประชาชนทั้งมวล

            *ปรีดี พนมยงค์ (พ.ศ. 2443-2526) เป็นชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำเร็จการศึกษาทางด้านกฎหมายในระดับปริญญาเอกจากประเทศฝรั่งเศส เป็นสมาชิกคณะราษฎร เป็นผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เคยเป็นนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2489 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. 2475 เคยเสนอแนวคิดเรื่องเค้าโครงการศรษฐกิจที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับแนวคิดของประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์                                                                               *จิตร ภูมิศักดิ์ หรือ สมสมัย ศรีศูทรพรรณ เป็นปัญญาชนที่มีแนวคิดแบบสังคมนิยม และนำเสนอแนวคิดโดยผ่านงานวรรณกรรม ที่มีชื่อเสียง คือ โฉมหน้าศักดินาไทย แลเคยถูกจับกุมในสมัยจอมพลสฤษดิ์     ธนะรัชต์ และภายหลังถูกปล่อยออกจากและเข้าป่าจนเสียชีวิตภายหลังการถูกลอบสังหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น