ความสูงสุดแห่งศาสตร์การเมือง
จากโสเกรติส เพลโต
วิวัฒนาการปรัชญาทางการเมืองของกรีกถึงขั้นสุดยอดที่อริสโตเติล ถือเอาบุคคลทั้ง 3
เป็นดังไตรภาคีอนุภาพทางปรัชญา
ดังคำพังเพยที่ว่า
โสเกรติสเป็นศาสดาของผู้สอน
เพลโตเป็นศาสดาของผู้คิด
อริสโตเติลเป็นศาสดาของผู้เรียน
3.1
ชีวประวัติและสาระสำคัญจากผลงานของของอริสโตเติล
อริสโตเติล เกิดเมื่อ พ.ศ. 159
ที่เมืองสตากิสุส แคว้นมาร์ชิโดเนีย บิดาเป็นแพทย์หลวงประจำพระราชสำนักพระเจ้าอมินตัส
อายุ 17 ปี
ได้ศึกษาต่อที่กรุงเอเธนส์ เป็นศิษย์ของเพลโต ณ อคาเดมี เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกตะวันตก
ครั้นเพลโตเสียชีวิต เมื่อ
พ.ศ. 197
อริสโตเติลจากอคาเดมีไป
เข้าใจว่าคงเสียใจที่ไม่ได้รับเลือกเป็นอธิการบดีสืบต่อจากผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย
พ.ศ. 200 เขาได้รับเชิญให้กลับบ้านเกิด เพื่อถวายพระอักษรราชโอรสหนุ่มของพระเจ้าฟิลิป ต่อมาคือพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ เขาเป็นอาจารย์เพียง 2 ปี
พ.ศ. 207 เขาพาครอบครัวกลับกรุงเอเธนส์
อริสโตเติลสามารถตั้งมหาวิยาลัยขึ้นมาใหม่เพื่อแข่งกับอคาเดมี
ตั้งชื่อตามตำบลว่า ลีเซียม
พ.ศ. 220 พระเจ้าอเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนม์ลง
เปิดทางให้พวกที่ต่อต้านมาร์ซิโดเนียในเอเธนส์ลุกฮือขึ้นมามากมาย
อริสโตเติลเห็นว่าไม่สามารถอยู่ในเมืองนี้ได้จึงโยกย้ายไปอยู่เมืองยูโบเอีย
อยู่ได้เพียงปีเดียวก็ถึงแก่กรรมรวมอายุได้ 62
ปี
ที่ลีเซียม
อริสโตเติลมีอาจารย์หลายคนช่วยบรรยายวิชาการต่าง ๆ เช่น ธีโอฟรัสตรัส นักชีววิทยา
โดยเน้นการปฏิบัติแบบประยุกต์ใช้
เป็นการเข้าหาหรือแสวงหาสัจจะ
ถือว่าเป็นเรื่องในทางปรัชญาและในทางวิทยาศาสตร์ อันตั้งอยู่บายรากฐานทฤษฎี และการสังเกตหรือเก็บข้อมูล ผนวกด้วยการพิจารณาตรึกตรองอย่างถ่องแท้ วิทยาการสู่ขานี้รวมวิชา เช่น
เทววิทยา อภิปรัชญา ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์ ชีววิทยา พฤกษศาสตร์
อุตุนิยมวิทยา
3.1.2 สาระสำคัญจากผลงานของอริสโตเติล
ผลงานที่สำคัญของอริสโตเติล คือ การเสนอรูปแบการปกครองที่ดีที่สุดสำหรับนครรัฐกรีกในสมัยนั้น ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาความอยุติธรรมในการแบ่งสรรอำนาจในการปกครองได้ อริสโตเติลให้
ความสำคัญอย่างยิ่งกับรัฐธรรมนูญและจิรยธรรมของมนุษย์ในรัฐ
อริสโตเติ้ลเขียนเรื่อง
Politics
เมื่อ 2,300 ปีเศษ
ได้มีวิชารัฐศาสตร์เกิดขึ้นไม่ใช่น้อย
เพราะ
1.
ประเภทที่เสนอแนะทางออกเพื่อแก้ไขสภาพหรือสถานการณ์ทางการเมืองที่เป็นอยู่ เพื่อไปสู่ระบบรูปแบบของรัฐในอุดมคติ
2.
ประเภทที่รวบรวมข้อมูลทางการเมือง
พิจารณาบทบัญญัติทางรัฐธรรมนูญและวิธีวิเคราะห์การปกครองของประเทศนั้น ๆ
อริสโตเติลยอมรับว่า อุตมรัฐ
เป็นรัฐในอุดมคติมากเกินไปกว่าจะเกิดขึ้นจริงได้ ต่อมาจึงเขียนเรื่องนิติรัฐ
เพื่อลดหย่อนชนชั้นการปกครองให้เป็นนักอุดมคติน้อยลง โดยให้มีกฎหมายเป็นใหญ่ควบคุมชั้นปกครองอีกทีหนึ่ง
ปรัชญาเมธีร่วมสมัยอริสโตเติลเป็นคนแรกที่ใช้วิธีวิเคราะห์ ทั้งนี้เพราะอริสโตเติลเป็นนักวิทยาศาสตร์
ทิวซีคิดิส เป็นผู้ที่อคติน้อยที่สุดมักวางตัวเป็นกลางอย่างน่ายกย่อง ดังนั้นเขามักชี้แจงให้เห็นข้อแตกต่างระหว่าง
1.
สิ่งที่ดีที่สุดในอุดมคติ
2. สิ่งซึ่งดีที่สุดในสถานการณ์นั้นๆ
3.
สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชุมชนนั้นๆ
จุดเด่นอีกประการหนึ่งของอริสโตเติล เขาสามารถโยงรัฐศาสตร์มายังเศรษฐศาสตร์ได้ โดยในปัจจุบันจุดเชื่อโยงระหว่างเศรษฐกิจกับการเมืองซับซ้อนมาก
Politics เล่มแรกพรรณนาถึงการแสวงหาและใช้จ่ายทรัพย์เป็นประการสำคัญรวมถึงการใช้ที่ดินและผลผลิต
แรงงาน การเงิน การแลกเปลี่ยนเงินตราและสินค้า
ตลอดพาณิชยการ
ไม่มีนักปรัชญาคนใดที่ให้ความสำคัญกับทรัพยศาสตร์มากถึงขนาดนี้ จนมาถึงสมัย อดัม สมิท แห่งอังกฤษ
งานด้านสำคัญทางการเมือง คือต้องมี
1.
สินค้าให้พอเพียงในด้านอุปโภคบริโภค
2.
เงินตราไว้ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าอย่างยุติธรรม
3. แรงงาน ผู้ใช้แรงงานต้องได้รับการตอบแทน (1) เครื่องอุปโภคบริโภค (2) เงินตราหรือทั้งสองอย่าง
อริสโตเติ้ลมีอคติอย่างแรง 2
ประการ (อคติ แปลว่า ความลำเอียง)
1.
เขามีทัศนคติโดยนัยลบเกี่ยวกับพาณิชยกรรมและเงินตรา
2.
เขาแทบไม่ยอมรับอำนาจของกรรมกร
ซึ่งเขาถือว่ากรรมกร (1)
สมบัติของนาย (2)
กรรมกรต้องพึ่งนายงานเจ้าของผลผลิต
อริโตเติลถือว่าเมืองหรือนครรัฐ
Polis นั้นดีโดยธรรมชาติ
มนุษย์สร้างเมืองตามธรรมชาติของมนุษย์
อะไรเป็นไปตามธรรมชาติ
ย่อมเป็นของดี แม้ผลิผลิตส่วนเกินขึ้นมา
แล้วนำเอาไปแลกเปลี่ยนกันเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ การตีราคาเป็นเงินตราในการแลกเปลี่ยนเครื่องเครื่องอุปโภคบริโภคทำเลยขอบเขตแห่งธรรมชาติของมนุษย์ ยิ่งการกู้ยืมเงิน อริสโตเติลเห็นว่าเป็นความเลวร้ายที่เดียว
อริสโตเติล ถือว่า
ของจริงคือแผ่นดิน
การเป็นเจ้าของแผ่นดินเป็นไปตามธรรมชาติ
อริโตเติลเป็นคนแรกที่ศึกษาสถาบันการเมืองของรัฐต่าง
ๆ โดยนำมาเปรียบเทียบกัน
อันนับว่าเขาเป็นผู้นำสมัยมากสำหรับรัฐศาสตร์
นครรัฐของกรีกต่างกับปัจจุบัน มีเอกลักษณ์พิเศษที่
1.
มุ่งความพอดีคือต้องไม่ใหญ่โตเกินไป
2.
มุ่งความเป็นเอกภาพและความรวมตัวกันอย่างเป็นหนึ่งเดียว
นครรัฐ ประกอบด้วยสมาชิก คือ ราษฎรหรือพลเมือง
ซึ่งลงทะเบียนไว้ตามเกณฑ์รัฐธรรมนูญ ต้องมีภาระหน้าที่การบริหารในการเป็นทหาร ตุลาการ
ประกอบพิธีทางศาสนา การกีฬา ฯ
อริสโตเติลถือว่า รัฐเป็นสิ่งสูงสุดสำหรับสังคม ความสำคัญการรวมตัวกันอันดับแรกคือ ครอบครัววงศ์ตระกูล ถัดมาเป็นหมู่บ้าน แล้วรวมตัวกันเป็นรัฐซึ่งเขาให้ความสนใจเป็นพิเศษ
นัยแห่งความคิดของอริโตเติล ผู้ที่ตั้งองค์การ สโมสร
สมาคม ตลอดสถาบันต่าง ๆ
ภายในรัฐต้องมีทัศนคติดังผู้ตั้งรัฐ
หรือผู้ร่างรัฐธรรมนูญขึ้น
คือต้องสร้างกรอบหรือรูปแบบให้สมาชิกในชุมชนนั้น ๆ
ได้ร่วมกันปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย
รัฐธรรมนูญหรือข้อบังคับ
ปรัชญาเมธีกรีกโบราณถือว่าต้องมี
2 ส่วนผสมกัน
1.
อนุญาตให้คนจำนวนน้อยบริหารงาน
จะเรียกว่าคณะกรรมการหรือคณะรัฐมนตรี
เพื่อความสะดวกรวดเร็ว
2.
ให้สมาชิกทั้งมวลตรวจสอบงานของผู้บริหารตามวิถีประชาธิปไตย
อริสโตเติล มุ่งจริยธรรมเป็นประการสำคัญ ทั้งนี้
เพื่อวางรากฐานความประพฤติปฏิบัติและข้อวัตรทางศีลธรรมจรรยา
อริสโตเติล กล่าวว่าปรัชญาการเมืองการกระทำของแต่ละปัจเจกชนสำคัญพอ
ๆ กับการกระทำของกลุ่มชน
จริยธรรมจึงเป็นส่วนหนึ่งของการเมือง
เป้าหมายของปรัชญาการเมืองคือ การสร้างมาตรฐานสำหรับการประพฤติปฏิบัติในสังคม ดังนั้นเข้าจึงเริ่มเขียนเรื่อง Ethics เข้ากล่าวว่า
การพรรณนาด้วยวิทยาการแขนงนี้จะเป็นการสมควร
ถ้าปรากฏความออกมาเด่นชัดดังเนื้อหายอมให้เห็นเด่นออกมาได้
ข้อความดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าปรัชญาการเมืองอริสโตเติล มุ่งที่จริยธรรม เป็นประการสำคัญ
3.2
ทรรศนะของอริสโตเติลเกี่ยวกับการเมือง
3.2.1 ความเป็นมาของรัฐ
อริสโตเติลเริ่มเรื่อง
Politics ความเป็นมาของรัฐ ว่าเป็นวิวัฒนาการทางธรรมชาติของมนุษย์ เริ่มจากปัจเจกบุคคล แล้วขยายเป็นครอบครัว ขยายเป็นหมู่บ้านจนถึงเมืองกลายเป็นนครรัฐ
สำหรับอริสโตเติล มนุษย์ไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ ความจำเป็นบังคับให้มนุษย์มีคู่ครอง นายมีบ่าวหรือทาสกรรมกรเพื่อช่วยเหลืองาน
หมู่บ้าน มนุษย์ต้องการสิ่งอื่น ๆ
นอกเหนือจากผลิตได้ในครอบครัว
และต้องการมีความสัมพันธ์ทางจริยธรรมกว้างขวางออกไป ครอบครัวต่าง ๆ
ต้องมีสัมพันธ์กันนับว่าเป็นวิวัฒนาการทางธรรมชาติจึงเกิดหมู่บ้าน
นครรัฐ
ความจำเป็นต้องมีนครรัฐเพราะหมู่บ้านไม่สามารถอำนายความต้องการทางรูปธรรมและจริยธรรมได้อย่างเต็มที่
รัฐคืออัตตาที่ยิ่งใหญ่ (อัตตา
แปลว่า ตัวตน) อริสโตเติล
นครรัฐคืออัตตาหรืออาตมันที่ยิ่งใหญ่ขึ้น
กล่าวสรุปสภาพธรรมชาติของรัฐ
1.
การเกิดขึ้นของสัญชาตญาณของมนุษย์
ซึ่งต่อสู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดเป็นชั้น ๆ พัฒนาจากบุคคล ครอบครัว
หมู่บ้าน และนครรัฐในที่สุด
2. ธรรมชาติย่อมเป็นไปอย่างดีที่สุด สิ่งที่ดีที่สุดย่อมเป็นผลผลิตของธรรมชาติ
มนุษย์พึ่งตัวเองได้อย่างเต็มที่เมื่ออาศัยอยู่หรือบทบาทในนครรัฐย่อมถือว่า นั่นคือสิ่งสูงสุดหรือดีที่สุดแล้ว
3.
ธรรมชาติย่อมไม่ทำอะไรโดยปราศจากเหตุผล
ธรรมชาติสร้างให้มนุษย์รู้จักรับผิดชอบ
ภาษากับการปกครองรัฐ
มนุษย์ใช้ภาษาเพื่อประโยชน์ทางความดีหรือภาษาจึงเป็นเสียงแห่งเหตุผล
ภาษาเป็นตัวเชื่อมที่สำคัญของนครรัฐ อันต้องอธิบายวิธีการปกครอง ตลอดถึงผลร้ายของการกระทำต่าง ๆ
มนุษย์ขาดรัฐไม่ได้
หากมนุษย์ขาดรัฐแล้วมนุษย์จะไม่มีวัตถุสิ่งของเท่าที่ต้องการ
มนุษย์จะขาดความมั่นคงทางจริยธรรม คือไม่มีศาล ระบบบริหาร ขบวนการยุติธรรม มนุษย์จะกลายเป็นสัตว์ป่าเอาเปรียบซึ่งกันและกัน
ความเป็นมาของประวัติศาสตร์
เมื่ออริสโตเติลเขียน
Politics
นั้น
นครรัฐกรีกเริ่มรวนเร
รัฐบาลโกงกิน ทรราชย์เกิดขึ้น ทหารใช้อำนาจผิด ๆ ประชาชนถูกเอารัดเอาเปรียบ ผลประโยชน์ส่วนรวมแทบปลาสนาการไป
ด้วยเหตุนี้อริสโตเติลจึงเก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์มาเล่าให้ฟัง โดยไม่ได้ลำดับความเป็นมาตามหลักตรรกศาสตร์
3.2.2
คุณลักษณะทางองคายพของรัฐ
จากความเจริญของมนุษย์
จนมาสิ้นสุดสมบูรณ์เมื่อมนุษย์รู้จักอยู่ในนครรัฐ ด้วยเหตุผลทาง
ตรรกวิทยา
ที่อริสโตเติลให้แนวความคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะทางองคายพของรัฐ ซึ่งหมายถึงรัฐเป็นเครื่องมือในการับใช้ ในสิ่งซึ่งเข้าถึงที่สุด เช่น
ทรัพย์สินเป็นองคายพหรือเครื่องมือรับใช้ชีวิตที่มีจริยธรรม
ทาสกรรมกรถือว่าเป็นส่วนหนึ่งแห่งทรัพย์สมบัติของคหบดี ทุกองคายพมีขนาดจำกัด เท่าที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น เรือ มีขนาดเพียงพอที่ใช้เป็นเครื่องมือเดินเรือฯ ต้องมีขนาดที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์สร้างสรรค์มันขึ้นมา รัฐก็เช่นเดียวกัน คือต้องมีขนาดจำกัด
แม้รัฐจัดเป็นประเภทองคายพ คือ จำกัดขนาด แต่รัฐไม่ได้เป็นองคายพ เพราะรัฐเป็นตัวรวมองคายพต่างๆ
เข้าด้วยกัน เพื่อ 1.
แต่ละองคายพทำหน้าที่ที่เป็นเครื่องมือแต่ละอย่าง โดยได้เข้ามาเป็นหนึ่งเดียว 2. แต่ละองคายพต้องขึ้นกับองคายพอื่น
ในทรรศนะของอริสโตเติล องคายพหมายถึงปัจเจกบุคคลทุกคนภายในรัฐซึ่งต่างก็มีความบกพร่องและความแตกต่างกัน
แต่เมื่อมารวมกันเป็นรัฐแล้วก็สามารถสร้างความสมบูรณ์ในตัวเองได้
เพราะมนุษย์จะมีชีวิตที่ดีได้ต่อเมื่อได้ร่วมในการรับใช้รัฐ ถ้าหากปราศจากการรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว องคายพนั้นๆ จะไม่สมบูรณ์
รัฐที่เอื้อเฟื้อองคายพต่าง
ๆ เข้ามาประสานกันโดยไม่ปราศจากความสอดคล้องแล้ว มนุษย์ย่อมพัฒนาได้เต็มที่ การดำรงชีวิตแต่ละบุคคลเป็นไปได้โดยพึ่งพาอาศัยรัฐ
อริสโตเติลเปรียบมนุษย์ในรัฐ ว่าเป็นองคายพของรัฐเช่นอวัยวะต่างๆ
ของร่างกาย
รัฐมีความสำคัญมาก่อนบุคคล
มนุษย์ที่ปราศจากการทำงานให้รัฐก็ดุจแขนที่ไม่รับใช้ร่างกาย มนุษย์ที่สมบูรณ์คือมนุษย์ที่มีส่วนร่วมในการรับใช้รัฐ มนุษย์จึงต้องเป็นราษฎรหรือพลเมือง คือสัตว์การเมือง
องคายพต่างๆ อริสโตเติลเน้นที่ความเหมาะสม ถ้าแขนขาใหญ่เกินไปก็ไม่ได้ส่วน รัฐประชาธิปไตยมากเกินไป กลายเป็นการล่วงสิทธิของบุคคลอื่น
อริสโตเติลยังแบ่งหน่วยองคายพออกเป็น 2
ประเภทเช่นเดียวกับร่างกาย
1.
ประเภทที่สนองความต้องการของรัฐโดยตรง
ได้แก่ ด้านทหาร ด้านศาล
การปกครอง
พิธีกรรมเพื่อความศักดิ์สิทธิ์
2.
ประเภทเกื้อกูลให้บุคคลประเภทแรกดำรงชีพอยู่ได้ ได้แก่
กสิกร กรรมกร พาณิชยนิกร
ศิลปกร
3.2.3 สถานะบั้นปลายของรัฐ
ผลปั้นปลายของรัฐคือ เป็นไปเพื่อชีวิตที่ดี แต่ในทางกว้าง ก็เพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ด้วย อริสโตเติลย้ำว่าชีวิตที่ดีคือชีวิตที่มีความสุข โดยจำแนกความสุขเป็น 3
ประการ คือ
1.
ความสุขภายนอก คือ มีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคง
2.
สุขทางร่างกาย
คือมีความแข็งแกร่งทางทหาร
3. สุขภายใน คือคุณธรรมในการปกครอง โดยที่สุขภายในสำคัญที่สุด
กล่าวคือมนุษย์จะมีความสุขที่สุดเมื่อเขามีคุณธรรมหรือปัญญาหยั่งรู้ทางจริยธรรม
ความสุขภายในจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีความสุขภายนอก ความสุขทางร่างกายเป็นองค์ประกอบ อริสโตเติลการแสวงหาความสุข 3
ประการมีได้
ชนชั้นผู้ปกครองต้องมีทรัพย์ศฤงคาร
แต่การหาทรัพย์ย่อมใช้ทาสกรรมกรเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อให้บังเกิดทรัพย์
อริสโตเติล
ความสุขของมนุษย์ขึ้นอยู่กับวิถีความสามารถทำคุณความดีได้โดยคุณความดีที่ดีที่สุดคือการรับใช้รัฐ เพื่อความสุขของรัฐ ดังเหตุผลดังนี้
1.
เพราะรัฐก็ดุจปัจเจกชน
ย่อมต้องแสดงคุณธรรมดังมนุษย์
ความสามารถในการควบคุมตัวเองและความยุติธรรม
2.
มนุษย์แต่ละบุคคลจะบังเกิดความสุขได้ตามอัตราส่วนความดีที่เขาได้กระทำ รัฐที่มีความสุขคือรัฐที่แสดงออกทางคุณธรรมตามอัตราส่วนนั่นเอง รัฐมีคุณธรรมมากเท่าไร ย่อมมีความสุขมากเท่านั้น
3.3
องค์ประกอบและจุดมุ่งหมายของรัฐตามทรรศนะของอริสโตเติล
3.3.1 รัฐในฐานะที่เป็นส่วนรวม
วิธีตรรกวิทยาตามนัยของอริโตเติล อธิบายถึงผลปั้นปลายของรัฐ (telos
= end ผล-สุดท้าย-ปลาย)
วิธีวิเคราะห์นั้น เริ่มจาก Politics แยกรัฐออกเป็นหน่วยย่อยออกไป พอมาถึงเล่ม 3
จึงนิยามคำว่ารัฐ
โดยแบ่งองค์ประกอบที่แท้คือราษฎรหรือพลเมือง
ราษฎร
สาระสำคัญได้แก่ ราษฎรทุกคนมีส่วนร่วมกัน
ราษฎรคือผู้ที่อยู่ในรัฐนั้นผู้ที่มีส่วนร่วมในการตัดสินความผิดถูกชั่วดีของคนในรัฐ (ตุลาการ)
มีอำนาจในการปกครองรัฐ (บริหาร)
อริสโตเติล
ราษฎรมีส่วนร่วมโดยตรงกับอำนาจอธิปไตยของรัฐ
โดยไม่ได้มอบอำนาจให้ใครอื่นไปเป็นผู้แทนราษฎร หรือตุลาการ
ในสมัยนั้นระบอบประชาธิปไตยมีการเลือกบุคคลจำนวนน้อยเข้าไปบริหารรัฐแล้ว คณะรัฐมนตรีไม่ได้มีอำนาจเต็มที่ หากเป็นผู้รับใช้กฎหมาย ราษฎรทั้งมวลคอยควบคุมดูแลการบริหารงานตลอดเวลา
แม้ราษฎรจะควบคุมศาล การปกครองของรัฐโดยตรง รัฐสภาเอเธนส์
(ไม่ใช่สภาผู้แทนราษฎร) ประชุมกันทุกสัปดาห์ การตัดสินอรรถคดี การบริหาร
อยู่ในวงจำกัดคนจำนวนน้อย
ซึ่งราษฎรส่วนใหญ่คัดเลือกไปเป็นตัวแทนทำหน้าที่แทนของตน
อริสโตเติล จำเพาะการปกครองที่ชนชั้นสูงหรืออภิชน อภิชนคือราษฎรต้องมีภูมิลำเนาในรัฐนั้น
การรวมส่วนร่วมเข้าด้วยกัน
รัฐเป็นการรวมกันขึ้นของส่วนต่างๆ
คือเป็นการรวมตัวของราษฎรเข้ามามีส่วนร่วมการดำรงตำแหน่งหน้าที่ทางการบริหาร ตุลาการ
การรวมตัวของรัฐที่สำคัญคือ
รัฐธรรมนูญ เพราะกำหนดบทบาทของราษฎร ว่าจะสัมพันธ์กันอย่างไร ปกครองกันอย่างไร ใครมีอำนาจสูงสุด
ถ้ารัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตย
ก็ย่อมตราให้ราษฎรส่วนใหญ่ได้ร่วมปกครองรัฐ ถ้าเป็นไปในระบอบคณาธิปไตย ก็ย่อมตราให้คนส่วนน้อยปกครองรัฐ
ผลบั้นปลาย คือประเด็นสำคัญที่สุดของรัฐธรรมนูญ
ถ้าหวังผลปั้นปลายอันใดจากรัฐว่าต้องการให้ชุมชนมีวิถีชีวิตอย่างไร ย่อมวางมาตรการการปกครองให้ดำเนินไปตามทางนั้น
สำหรับกรีก รัฐธรรมนูญไม่ได้มุ่งที่อำนาจประชาธิปไตยเท่านั้น หากยังบ่งถึงวิถีชีวิตของราษฎรโดยตรง ตลอดศีลธรรมจรรยาและวัฒนธรรมประเพณี
ข้อความในรัฐธรรมนูญเป็นตัวกำหนดคุณลักษณะของรัฐ ตลอดกิจการต่าง ๆ
ที่รัฐต้องประกอบเพื่อราษฎร
เพราะรัฐเป็นส่วนรวมของราษฎร
ประเภทของรัฐ
รัฐใดมีเป้าหมายบั้นปลายเพื่อให้เกิดชุมชนอันประกอบด้วยคุณธรรม
ถือว่ารัฐนั้นปกติ ถ้าไม่เป็นไปตามนั้นถือว่าผิดปกติ รัฐธรรมนูญก็เช่นเดียวกัน
ถ้าไม่สามารถวางมาตรการให้เกิดรัฐปกติหรือตามธรรมชาติได้ ต้องถือว่ารัฐธรรมนูญนั้นผิดปกติหรือเลวร้าย
รัฐธรรมนูญนอกจากแบ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีหรือปกติ และรัฐธรรมนูญเลวร้ายหรือผิดปกติแล้วยังแบ่งย่อยออกเป็น
1. ประเภทปกติ
กำหนดให้มีรัฐบาลตามระบอบการปกครองต่าง ดังนี้
1) ราชาธิปไตย 2) อภิชนาธิปไตย 3)
ราษฎราธิปไตย
2. ประเภทผิดปกติ
เป็นรัฐบาลที่เห็นแก่ตัว
แบ่งระดับการปกครองอันเลวร้ายออกเป็น
3 ประเภท
1) ทรราชาธิปไตย มุ่งประโยชน์ของพระราชาเพียงหนึ่งเดียว
2) คณาธิปไตย
มุ่งประโยชน์ของชนชั้นเศรษฐีมีทรัพย์เป็นเกณฑ์จนกลายเป็นธนาธิปไตย
3)
ประชาธิปไตยแบบกรรมาชีพ
มุ่งคนจนเป็นใหญ่
โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์คนส่วนน้อย
อริสโตเติล ถือว่า
ทางฝ่ายดีหรือปกติ ราชาธิปไตยเป็นเลิศ ทางฝ่ายเลวหรือผิดปกติ ทรราชาธิปไตย เลวที่สุด ดังสุภาษิตลาตินที่ว่า “เมื่อคนสูงสุดเลวร้ายเสียแล้ว ย่อมเลวร้ายถึงที่สุด” ประชาธิปไตยแบบกรรมาชีพ เลวร้ายน้อยที่สุด เพราะทำเลวเพื่อคนหมู่มาก
สรุปรัฐแบบอุดมคติจากดี ไปหาเลว
ได้ดังนี้
1. รัฐที่มีรัฐธรรมนูญตามปกติ
เพื่อมุ่งหวังผลบั้นปลายอย่างถูกต้องรัฐบาลย่อมปราศจากความเห็นแก่ตัว
1.1 ราชาธิปไตย
- มุ่งคุณธรรมสูงสุด เป็นประการสำคัญ
-
พระราชาเป็นเผด็จการโดยธรรมแต่ผู้เดียว
1.2 อภิชนาธิปไตย
-
มุ่งวัฒนธรรมและคุณธรรมชั้นสูง เป็นสำคัญ
-
ชนชั้นปกครองคือผู้มีวัฒนธรรมสูงและมีคุณธรรม
1.3 ราษฎราธิปไตย
หรือรัฐปาลาธิปไตย
-
มุ่งระเบียบวินับอย่างทหารและคุณธรรมกึ่งดิบกึ่งดี
-
ชนชั้นปกครองมาจากชนชั้นกลาง
2.
รัฐที่มีรัฐธรรมนูญผิดปกติ ย่อมมุ่งหวังบั้นปลายผิดเป้าหมาย
รัฐบาลจึงมีความเห็นแก่ตัวเป็นที่ตั้ง
2.1 ประชาธิปไตย (แบบกรรมาชีพ)
-
มุ่งการเกิดโดยเสรี เป็นที่ตั้ง
-
ชนชั้นปกครองคือมหาชนที่เป็นคนจน
2.2
คณาธิปไตย (ธนาธิปไตย)
-
มุ่งทรัพย์เป็นที่ตั้ง
-
ชนชั้นปกครองคือพวกเศรษฐี
2.3
ทรราชาธิปไตย
-
มุ่งหวังอำนาจข่มเหงและการหลอกลวงราษฎร
เป็นที่ตั้ง
- คนๆ เดียวเผด็จการโดยปราศจากคุณธรรมใดๆ
3.3.2 รัฐตามความเป็นจริงและการปรับปรุงให้รัฐดีขึ้น
อริสโตเติลมีความเห็นว่า
1. ศิลปะแห่งการปกครองรัฐ
ก็ดุจศาสตร์อื่นๆ เราต้องรูว่าการฝึกปรืออย่างไรจึงถือว่าดีที่สุด ในทางการปกครองเราต้องรู้ว่ารัฐที่ดีที่สุดตามสภาพความเป็นจริง ควรเป็นอย่างไร
2.
เราต้องพิจารณาสภาพรัฐตามที่เป็นอยู่
ดูว่าเหตุปัจจัยอันใด ทำให้รัฐมีสภาพเช่นนั้น จะปรับให้รัฐนั้นๆ ดีที่สุดอย่างไร
3.
เราต้องถามตัวเองว่ามีแบบอย่างได้ไหม
รัฐที่ดีที่สุดในสภาพทั่วๆ ไป
โดยปรับแบบอย่างให้เข้ากันได้กับสภาพอันแตกต่างตามสภาพความเป็นจริงหลากหลาย
4.
เราต้องค้นพบวิธีจะสร้างและธำรงรักษาไว้
ซึ่งรัฐที่กล่าวแล้วในข้อ 3
อริสโตเติลไม่ได้มุ่งรัฐอุดมคติดังเพลโต หากมุ่งรัฐที่ดีที่สุด เท่าที่เป็นไปได้ตามสภาพความจริง
วิธีการของอริสโตเติล คือ เราต้องหารัฐตามสภาพความเป็นจริง มาพิจารณาสิ่งแวดล้อมต่างๆ
ให้เข้าใจ แล้วตรารัฐธรรมนูญเพื่อกำหนดให้ดำเนินไปได้อย่างสอดคล้อง
จุดเริ่มต้นของอริสโตเติล คือรวบรวมรัฐธรรมนูญของรัฐต่างๆ
มาศึกษาและหาวิธีทำให้ดีขึ้นหรือธำรงรักษาไว้
อริสโตเติลทำการแปลกใหม่กว่านักปรัชญาการเมืองอื่นๆ
คือไม่ได้ตั้งทฤษฎีในทางอุดมคติขึ้นมาเท่านั้น หากยังเก็บข้อมูลรัฐธรรมนูญจากรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ
ที่ใช้ในรัฐทั้งหลายเป็นประการสำคัญ แล้วสรุปความเป็นมาของรัฐว่า
1. ราชาธิปไตยเกิดก่อน เพราะรัฐเล็กๆ
จะหาคนดีวิเศษที่สามารถมากย่อมไม่ได้ ผู้คนยังไม่เจริญผู้หนึ่งผู้ใดเด่นขึ้นมาย่อมชวนให้คนทั้งหลายตามได้ง่าย
2.
ในเวลาต่อมา คนมีความสามารถมากขึ้น ย่อมไม่ปล่อยให้คนๆ
เดียวทำเช่นนั้นอีกต่อไป
คณะกลุ่มคนช่วยกันปกครอง
โดยจำเป็นต้องมีรัฐธรรมนูญตราขึ้นเป็นข้อตกลงกัน ในบรรดาคนพวกนี้เกิดการปกครองระบอบอภิชนาธิปไตย
3.
ชนชั้นผู้ปกครองเริ่มเห็นแก่ตัว
หาประโยชน์ใส่ตัวเองจากตำแหน่งหน้าที่การงานในรัฐ
ทรัพย์จึงเป็นมาตรฐานในการไต่เต้าทางการเมืองจึงเกิดการปกครองระบอบธนาธิปไตย
4.
ตามด้วยทรราชาธิปไตย ซึ่งคนๆ เดียวสามารถเอาชนะคนอื่นๆ ได้ทั้งหมด ด้วยวิธีข่มเหงอย่างร้ายแรง
5. ปฏิกิริยาในข้อ
3 – 4 ย่อมนำไปสู่ประชาธิปไตยแบบกรรมาชีพ
อริสโตเติลออกดูแคลนการปกครองแบบประชาธิปไตย เพราะรัฐธรรมนูญมักโยงไปยังอำนาจทหาร เมื่อราชาธิปไตยสิ้นอำนาจลง พวกอภิชนมักใช้กำลังทหารม้าเป็นเกณฑ์ เพราะพวกนั้นมีทรัพย์ แต่ถ้าราษฎรยึดอำนาจมาได้ย่อมใช้ทหารราบเพราะอาศัยคนหมู่มาก
ประชาธิปไตยและคณาธิปไตยแบบกรีก
ประชาธิปไตยแบบต่างๆ
ขึ้นอยู่กับเหตุ 2 ประการ
1.
คุณลักษณะพิเศษของราษฎรในรัฐนั้น ๆ
2.
สถาบันที่กำหนดขึ้นเพื่อรับใช้ระบอบการปกครอง
อริสโตเติลกล่าวถึงการปกครองแบบต่างๆ
ของคณาธิปไตย สรุปได้ 2
รูปแบบ
1.
ทรัพย์สมบัติ เป็นตัวตัดสิน คือ ธนาธิปไตย
แบบนี้พอยึดหยุ่นได้พ่อค้าผู้ร่ำรวยมักฉวยโอกาสเข้ามารับใช้ในการบริหาร
2.
วงศ์ตระกูลของชนชั้นผู้ปกครองเป็นตัวตัดสิน
คือ
วงศาธิปไตยหรือขัตติยาธิปไตย
แบบนี้มีกรอบที่ตายตัวมักตั้งตนอยู่เหนือกฎหมาย
ธนาธิปไตยเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยได้ไม่ยาก
หากสถานะทางสังคมเปลี่ยนไปคนถือเงินตราน้อยลง คนจนร่ำรวยขึ้น กลุ่มคนรวยที่ปกครองอยู่ก่อนจนลง และไร้ความสามารถ
คนจนที่ไม่รวยนักแต่มีความสามารถมากขึ้นสามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองได้
คณาธิปไตยแบบวงศาธิปไตยหรือขัตติยาธิปไตย
จะดำรงอยู่ต่อเนื่องเมื่อชนชั้นผู้ปกครองสามารถผนึกกำลังเป็นหนึ่งเดียวกันเปลี่ยนแปลงได้ยาก
รัฐธรรมนูญแบบผสม
การแก้ไขปัญหาความเลวร้ายของรัฐ
อริสโตเติลมุ่งไปที่ ชั้นชั้นกลางเป็นผู้ปกครอง ชนชั้นกลางมีทรัพย์ไม่มาก ชนชั้นกลางมีมากพอควรและเป็นที่ยอมรับทั้งสองฝ่ายทั้งคนรวยและคนจน ชนชั้นกลางใกล้ชิดทั้งคนรวยและคนจน
เพราะรู้จักทั้งสองชนชั้นและมุ่งความยุติธรรมยิ่งกว่าผลประโยชน์ของชนชั้นใด
คนรวยชอบปกครองโดยกดขี่คนอื่นอย่างไม่รู้ตัว เพราะเคยมาเช่นนี้แต่ภายครอบครัวแล้ว ในขณะที่คนจนชอบเชื่อฟังนาย ถ้าสองชนชั้นมีอำนาจการปกครองน่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก ชนชั้นกลางเท่านั้นที่เข้าใจปัญหาความเสมอภาพ ภราดรภาพ
และความยุติธรรม
สามประเด็นนี้คือสดมภ์หลักที่ให้รัฐดำรงอยู่ในฐานะเป็นการรวมตัวทางการเมืองของบุคคลต่าง
ๆ
สรุปตามความเห็นของอริสโตเติล ชนชั้นกลางเหมาะที่สุดที่จะปกครองรัฐดังที่เป็นอยู่ตามความจริง
แต่ถ้าปรับปรุงไม่ถูกส่วนก็เอียงไปทางใดทางหนึ่ง
ผลสรุปนี้อริโตเติลได้รับอิทธิจากเพลโตในเรื่อง นิติรัฐ
อุตมรัฐเป็นไปไม่ได้ตามความเป็นจริง
จึงต้องใช้วิธีผสมผสานราชาธิปไตยกับระบอบประชาธิปไตยเข้าด้วยกัน
เพื่อรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดตามสภาพความเป็นจริง
อริสโตเติลผิดจากเพลโตที่ไม่ได้คิดทฤษฎีเท่านั้น อริสโตเติลใช้รูปแบบการปกครองแบบของคาร์เทช สปาตาร์
และแนวคิดของเพลโตประกอบกัน เป็นการประสานประโยชน์ที่อริสโตเติลมุ่งคือ
1.
การแบ่งสรรความยุติธรรมอย่างเหมาะสม ฯ
2.
เมื่อมุ่งความยุติธรรมสำหรับชนชั้นโดยให้ชนชั้นกลางเป็นผู้ปกครองดำรงตำแหน่งทางการเมือง
3.
รัฐธรรมนูญย่อมรวมชนชั้นต่างๆ
เข้าด้วยกันเพราะตรารัฐธรรมนูญขึ้นเพื่อมุ่งประโยชน์ของทุกชนชั้น
รัฐธรรมนูญแบบผสมนี้ ทำให้การแบ่งประเภทของรัฐแปรเปลี่ยนไปด้วย เพราะเป็นการผสมผสานระหว่างคณาธิปไตยกับระบอบประชาธิปไตย
รัฐธรรมนูญแบ่งออก 3
ระดับ หรือ 3 ชั้น
1.
ชั้นหรือชนิดที่เกิดจากสภาพความเป็นจริง
มักเป็นไปอย่างผิดปกติ
2.
เมื่อวางแผนปรับปรุงรัฐธรรมนูญการปกครองอย่างรอบคอบ โดยใช้รัฐธรรมนูญ
3. ชั้นหรืออุดมคติ คือ
ทิ้งสภาพความเป็นจริงที่เลวร้ายหมดได้หมด
หมดสภาพความผิดปกติ
3.3.3
ทฤษฎีเกี่ยวกับรัฐกับการแยกตัวออกจากรัฐและการแก้ไขความชั่วร้าย
อริสโตเติลไม่ได้เสนอการปฏิรูปรัฐโดยใช้รัฐธรรมนูญแบบผสม จากสภาพความเป็นจริงผิดธรรมชาติ เพื่อเข้าหาสภาพปกติทางธรรมชาติ ยังเสนอแนะว่า
ถ้ารัฐปกครองโดยขาดความยุติธรรมขั้นพื้นฐาน
ผู้ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบย่อมมีสิทธิ์ปฏิเสธระบอบการปกครองของรัฐนั้น
การแยกตนออกจากรัฐ มี
3 ขั้นตอน
1.
เกิดความไม่เสมอภาคขึ้น
2.
แล้วกลายเป็นความยุติธรรมในระบอบการปกครอง
โดย
3. หวังได้ว่าถ้ายึดอำนาจรัฐ หรือแยกตนออกจากอำนาจไม่ชอบธรรมนั้น
อริสโตเติล
หลักการแยกตนออกจากรัฐหรือการยึดอำนาจรัฐนั้นมี 2
ประการ
1. เพื่อลงโทษผู้ปกครองที่ทำผิดขั้นพื้นฐาน
โดยมุ่งประโยชน์ตนและพวกพ้องมากกว่าส่วนรวม
แล้วต้อง
2.
ตรารัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ให้ชอบธรรม
วิธีแก้ความอยุติธรรม อันเป็นเหตุสำคัญคนทนไม่ได้ 4
ประการ
1.
ให้รัฐธรรมนูญได้รับการยอมรับจากมวลสมาชิกในรัฐอย่างน้อยคนส่วนมากต้องเห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญการปกครองรัฐ
2.
เมื่อคนส่วนใหญ่ยอมรับระบอบการปกครองแล้ว
การปกครองก็ต้องเป็นไปอย่างไม่รุนแรง
3. ตำแหน่งทางการเมือง ควรได้รับการปกป้อง
อย่าให้มีการแสวงหาผลประโยชน์เพื่อส่วนตัวขึ้นมาได้
4.
ราษฎรทุกคนควรได้รับการฝึกหัดอบรมให้เข้าใจรัฐธรรมนูญ เขาจะเชื่อฟังรัฐธรรมนูญเป็นชีวิตจิตใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น