วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เสรีภาพกับสัญญาประชาคม

เสรีภาพกับสัญญาประชาคม
8.1  ภูมิหลังสิ่งแวดล้อมและความคิดมูลฐานของฌอง  ฌาค  รุสโซ
            เจนีวากับชีวิตในวัยเยาว์ของรุสโซ
          รุสโซ เกิดที่ เจนีวา  ค.ศ. 1721  ต้นตระกูลเป็นชาวฝรั่งเศส  เริ่มด้วยดิดีเอร์  รุสโซ  พื้นเพเป็นชาวปารีสมีอาชีพขายหนังสือ  ได้อพยพมาอยู่เจนีวา  ค.ศ. 1540  ต่อมาได้ยึดอาชีพเป็นช่างทำนาฬิกาได้สะสมเงินจำนวนมาก  ทวดของรุสโซคือ  เดวิด  ทิ้งสมบัติให้ลูกหลานต้องแบ่งกันถึง 10 คน บิดาของรุสโซคือ  อิสสัน  ไม่ค่อยลงรอยกับผู้ปกครองเจนีวาและชาวเมือง  ซึ่งเคร่งครัดในศีลธรรม ต้องเนรเทศตนเองออกจากเมืองถึงสองครั้งผลาญมรดกเกือบหมดสิ้น
          รุสโซ  กำพร้าแม่  พ่อไปอยู่ที่อื่นจึงอยู่ภายใต้การเลี้ยงดูของป้าและน้าๆ เป็นผู้ให้การศึกษาแก่รุสโซในเริ่มแรก  เมื่ออายุ  16  ปี  รุสโซได้หนีออกจากเจนีวามาอยู่ที่ซามัว  มาอยู่กับมาดาม เดอ วารังส์  เมืองอันเนอซี่
            รุสโซกับชีวิตที่เร่ร่อนพเนจร
          ที่ตูแรง  รุสโซภายใต้การดูและของบาทหลวงไม่นาน  ต้องเร่ร่อนตามถนนในตูแรง  มาเป็นคนรับใช้  ชีวิตในช่วงนี้รุสโซมีชีวิตที่มืดมนถึงกับลักขโมยของถูกเหยียดหยามต่างๆ นานา หลังจากใช้ชีวิตในตูแรง  2  ปีก็กลับมาหามาดาม  เดอ วารังส์อีก 
และใช้ชีวิตอยู่กับมาดาม เดอ วารังส์ ถึง 9 ปี ตลอดระยะเวลา 9 ปี ความคิดของรุสโซได้พัฒนาไปมากเพราะเจ้าของบ้านก็เป็นปัญญาชนคนหนึ่ง  บรรดาแขกมาที่ที่บ้านก็ล้วนเป็นปัญญาชนทั้งนั้น
          ความเฉลียวฉลาดของรุสโซเข้าลักษณะผู้ที่เรียนรู้ด้วยตัวเอง คือ สามารถเรียนรู้สิ่งที่คนทั้งหลายเห็นว่ายากได้อย่างรวดเร็ว  แต่เข้าใจลำบากในสิ่งที่คนอื่นเห็นว่าง่าย
          ในที่สุดรุสโซไปอยู่ที่เมืองลีออง ประเทศฝรั่งเศส  มีอาชีพสอนหนังสือ  เริ่มจากเสนอโน้ตดนตรีแบบใหม่ต่อบัณฑิตยสถาน  หลังจากนั้นได้เข้ารับตำแหน่งเลขานุการทูตกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสประจำสาธารณรัฐเวนิส ค.ศ.1745  ได้ขัดแย้งกับทูตได้เดินทางกลับปารีส ภายหลังได้ทำงานกับนายธนาคารผู้หนึ่งในตำแหน่งการบัญชี
            ผลงานเริ่มสร้างชื่อเสียงให้กับรุสโซ
          ค.ศ.1749  รุสโซได้อ่านพบประกาศในหนังสือพิมพ์  Le Mercure de France ว่าบัณฑิตยสภาเมือง ดิจองจัดความเรียงในหัวข้อ ความเจริญก้าวหน้าของศิลปะและศาสตร์ต่าง ๆ ทำให้มนุษย์ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้นจริงหรือไม่ รุสซได้ส่งเข้าประกวดและได้รางวัลที่ 1 รุสโซกลายเป็นคนมีชื่อเสียงในทันที
          ค.ศ. 1753  สี่ปีต่อมา  บัณฑิตยสถานเมืองจิดอง  จัดประกวดความเรียงเรื่อง ความเรียงเรื่อง  ต้นกำเนิดแห่งความไม่เสมอภาคระหว่างมนุษย์  รุสโซได้ลงแข่งขั้นอีก  เนื้อหาสาระในความเรียงเรื่องนี้เป็นผลงานชิ้นสำคัญของรุสโซ  ซึ่งมีอิทธิพลในโลกในศตวรรษต่อๆ มา  ในปีต่อมา รุสโซได้เขียนเรื่อง  เศรษฐกิจการเมือง  ให้แก่  หนังสือชุดเอ็นไซโคลปีเดีย
            บั้นปลายของรุสโซ
          ผลงานเรื่อง Emile  ก่อให้เกิดการโต้แย้งอย่างรุนแรงจากองค์การศาสนาและรัฐ  เข้าต้องหนีไปอยู่ชั่วคราวในเมืองเนอชาแตลภายใต้การคุ้มครองของเฟรเดริคที่  2  ค.ศ. 1767  รุสโซกลับเข้าประเทศฝรั่งเศสอยู่ที่ปารีส  งานเขียนที่สำคัญ ๆ มี  คำสารภาพ  ข้อเสนอแนะทางปฏิบัติเกี่ยวกับระบอบการปกครองสำหรับเกาะคอร์ซิกา  กับโปรแลนด์  เดือนพฤษภาคม  ค.ศ. 1778  รุสโซได้ใช้ชีวิตที่เมืองเออร์มโนวิลล์  ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่  2  กรกฎาคม  ค.ศ. 1778
            8.1.2  ความคิดมูลฐานของฌอง  ฌาค  รุสโซ
            1. ความเจริญก้าวหน้าของศิลปะและศาสตร์ต่างๆ ทำให้มนุษย์ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้นจริงหรือไม่
          ในหัวข้อนี้บรรดาผู้เสนอต่าง ๆ มีความเห็นเป็นเชิงบวก  คือสามารถทำให้มนุษย์ในศตวรรษที่ 18  เจริญขึ้นและมีความสุขมากขึ้น แต่รุสโซกลับมีความคิดตรงกันข้ามโดยชี้ให้เห็นว่า อารยธรรมได้ทำให้มนุษย์เสื่อม  มนุษย์ที่ดีที่สุดและมีความสุขมากที่สุดได้แก่มนุษย์ที่อยู่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด
          ในความเรียงเรื่องนี้เป็นความคิดมูลฐานของรุสโซต่อมากลายเป็นพื้นฐานผลงานเขียน  นั่นคือ  มนุษย์เกิดมาดี แต่สังคมทำให้มนุษย์ดุร้าย
          2. ความเรียงเรื่อง  ต้นกำเนิดแห่งความไม่เสมอภาคระหว่างมนุษย์
            ผลงานนี้ รุสโซได้เริ่มจากการจำแนกความไม่เสมอภาคระหว่างมนุษย์ออกเป็น  2 รูปแบบ  คือ
          1) ความไม่เสมอภาคตามธรรมชาติ  อันเกิดจากความแตกต่างของพละกำลังทางร่างกาย  ความฉลาด  ความขยันขันแข็ง
          2) ความมาเสมอภาคจากความแตกต่างทางสภาวะต่าง ๆ ทางสังคม
          ความไม่เสมอภาค  2  รูปแบบไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน รุสโซเชื่อว่าการผ่านจากสภาวะหนึ่งไปสู่สภาวะหนึ่งมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป  ในช่วงนี้แหละอุปนิสัยใจคอมนุษย์เริ่มแปรผันไปในทางที่เลวลง
          การรวมตัวกันเป็นสังคม  รุสโซเห็นว่า  ในระยะแรกเกิดจากความจำเป็น มนุษย์คนแรกที่กั้นรั้วและประกาศว่า  นี่เป็นของฉัน และมีมนุษย์ที่โง่พอที่จะเชื่อ เข้าผู้นั้นนั่นแหละที่เป็นผู้ก่อตั้งสังคมขึ้นมา  ระบบกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนตัวนี้เอง  ที่ก่อให้เกิดการสะสมความมั่งคั่ง  โดยเจ้าของที่ดินซึ่งมีผลผลิตบริโภคจำนวนมาก  สามารถซื้อแรงงานของผู้ไม่มีอะไรเลยอย่างง่ายดาย ในระยะต้นๆ ยังไม่มีพลังอำนาจรัฐมาปกป้องคุ้มครองผู้มั่งคั่ง  ก็คิดอย่างแนบเนียนที่สุด นั่นคือใช้พลังงานศัตรู (พลังงานศัตรูหมายถึง ผู้ไม่มีอะไรเลย  ผู้ขายแรงงาน) มาปกป้องพวกตนโดยจัดตั้งรัฐขึ้นภายใต้กฎหมาย  ซึ่งผิวเผินแล้วให้หลักประกันต่อชีวิตและทรัพย์สินทุกคน  แต่ความเป็นจริงผู้ที่ได้ประโยชน์คือผู้มั่งคั่ง 
          รุสโซสรุปว่า นี่คือต้นกำเนิดของสังคมและกฎหมายซึ่งสร้างพันธนาการใหม่ๆ ให้กับผู้อ่อนแอและพลังใหม่ๆ แก่ผู้แข็งแรง เป็นการทำลายเสรีภาพธรรมชาติไม่มีวันกลับคืนมา และสร้างระเบียบข้อบังคับว่าด้วยทรัพย์สินและความไม่เสมอภาคชั่วนิรันดร์ รัฐคือผู้ปกป้องชนชั้นนายทุน
8.2  สัญญาประชาคมและผลสะท้อนของประชาคม
            8.2.1  แนวความคิดเกี่ยวกับสัญญาประชาคมและสภาวธรรมชาติของรุสโซ  ฮอบส์  ล็อค
          สัญญาประชาคม  พิมพ์จำหน่าย  ค.ศ. 1762  เป็นงานเขียนที่สร้างชื่อเสียงให้กับรุสโซมากที่สุด  รุสโซคือบุรุษผู้ซึ่งไขว่คว้าหาเอกภพ  ความต้องการที่จะมีรัฐไม่ใช่เป็นความต้องการที่ขัดต่อธรรมชาติมนุษย์  เจตจำนงทั่วไปหรือเจตจำนงส่วนรวมนั้นอันที่จริงแล้วก็คือสิ่งที่เป็นธรรมชาติ
            แนวความคิด  สัญญาประชาคม
          ฮอบส์  สัญญาประชาคม  เป็นสัญญาที่กระทำขึ้นระหว่างบุคคลแต่ละบุคคลมอบสิทธิธรรมชาติให้กับบุคลที่สาม  บุคคลที่สามจึงไม่มีพันธะผูกพันใดๆ
          ล็อค สัญญาประชาคมเกิดจากความยินยอมของทุกคนที่จัดตั้งสังคมขึ้นมา เพื่อเป็นหลักประกันในการดำรงชีวิต  พิทักษ์ความปลอดภัยโดยรัฐ   
          รุสโซ  สัญญาประชาคมเป็นสัญญาที่แต่ละคนเข้าร่วมกับคนทั้งหมด  เป็นสัญญาที่กระทำกับประชาคม  มีความเป็นเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
            แนวความคิด  สภาวะธรรมชาติ
          ฮอบส์  สภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะที่อันตราย  เป็นสภาวะที่ต้องหลุดหนีออกโดยเร็วที่สุด 
          ล็อค  สภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะที่ไม่จำเป็นว่าดีหรือเลวเสมอไป  มนุษย์จะเปลี่ยนจากสภาวธรรมชาติมาสู่สังคมที่ดีหรือเลวก็ได้
          รุสโซ  สภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะที่ผาสุก  เป็นสภาวธรรมชาติจริงๆ  
          ดังนั้น  สภาวะธรรมชาติของรุสโซเป็นสภาวธรรมชาติจริง ๆ ที่มนุษย์เร่ร่อนพเนจรไม่มีภาษา  ไม่มีความสัมพันธ์อันสม่ำเสมอ  เป็นสภาวะที่ขาดดุลทั้งเหตุผลและศีลธรรม  มนุษย์ในสภาวธรรมชาติเป็นมนุษย์ที่แข็งแกร่ง  ว่องไว  ปราดเปรียว  มนุษย์มีความสุขเพราะไม่ต้องการอะไรมาก
            เพื่อความสุขที่สมบูรณ์ขึ้น หรือไม่ก็เพื่อความทุกข์ ที่มนุษย์มีความสามารถอยู่ 2 ประการ
          1.เสรีภาพที่ยอมต่อต้านกับความสามารถที่ปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น มนุษย์ต้องการความสุขแห่งครอบครัว  ต้องการได้สิ่งที่จำเป็นของชีวิตเข้าอย่างรวดเร็วและสบายขึ้นฯ
          2. มนุษย์ที่มีความสุขยิ่งกว่าช่วงแรก  พัฒนาการช่วงนี้ทำให้มนุษย์มีความสุขมากที่สุดและมั่นคงถาวรมากที่สุด เป็นช่วงที่มนุษย์อยู่กึ่งกลางระหว่างความรู้สึกไม่ยินดียินร้ายแห่งสภาวะแรกกับความตื่นเต้นกับความเป็นอยู่ของตนเอง
          มนุษย์หลุดพ้นออกจากสภาวะนี้ด้วยความโชคร้ายโดยบังเอิญ นั่นคือ การรู้จักค้นคิดประดิษฐ์การใช้โลหะและเกษตรกรรม  ทั้งสองสาเหตุก่อให้เกิดการเอาที่ดินเป็นทรัพย์สินส่วนตัวก่อให้เกิดความไม่เสมอภาค  ความมั่งคั่งความทุกข์ยาก  เกิดการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน  รวมถึงตัณหาอารมณ์และความไม่สงบต่าง ๆ  จากชะตากรรมนี้ไม่อาจกลับคืนสู่สภาวะเดิมได้  รุสโซ สังคมเป็นผลิตผลของวิวัฒนาการที่เลวร้าย
            8.2.2  รุสโซ  กับแนวความคิดใหม่เกี่ยวกับเสรีภาพและความเสมอภาค
          รุสโซต้องการเสรีภาพ  แต่เป็นเสรีภาพแบบฉบับของคนโบราณ คือ เสรีภาพอันมาจากการมีส่วนร่วมในอำนาจ  ในขณะที่เสรีภาพของคนสมัยใหม่เป็นเสรีภาพแห่งการประพฤติปฏิบัติตนของกลุ่มบุคคล 
          จุดนี้เองเป็นจุดทางแยกของเสรีนิยมมีทาง  2  แพ่งเปิดเอาไว้ในการขจัดระบอบอำนาจเด็ดขาดของกษัตริย์  ได้แก่
          1. การแบ่งกระจายอำนาจออกไปไม่ให้รวมอยู่ที่องค์กรเดียว ได้แก่ ทฤษฎีการถ่วงดุลระหว่างพลังอำนาจต่าง ๆ ของมองกิเออ  นำไปสู่การทำลายล้างการรวบอำนาจระบอบอำนาจเด็ดขาด
          2. การเอาอำนาจกษัตริย์มาให้กับประชาคม  ในทฤษฎีของรุสโซ  เป็นเรื่องของการโอนอำนาจส่วนตัวกษัตริย์มาให้กับประชาชน
          เสรีภาพของล็อค  ผูกเสรีภาพกับกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินเข้าด้วยกัน
          เสรีภาพของรุสโซ  ผูกเสรีภาพกับความเสมอภาค
            8.2.3  ทรรศนะของรุสโซเกี่ยวกับองค์อธิปัตย์และเจตจำนงทั่วไป
            องค์อธิปัตย์
            มนุษย์เกิดมาอิสระ  และทุกหนทุกแห่งมนุษย์ตกอยู่ในพันธนาการ....การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้อย่างไร  อะไรทำหน้าที่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มีความชอบธรรม  ฉันคิดว่าสามารถตอบปัญหานี้ได้...
          ข้อความข้างต้นโด่งดังมาก  เป็นข้อความเปิดฉาก  สัญญาประชาคม  พันธะสังคมไม่มีพื้นฐานจากการบังคับ  สิทธิที่แข็งแรงที่สุดไม่มี 
          สัญญานี้  เราแต่ละคนมอบตัวเราเองและพลังอำนาจทั้งหมดของเราให้อยู่ใต้เจตจำนงทั่วไปร่วมกัน
          เจตจำนงขององค์อธิปัตย์ ก็คือตัวอธิปัตย์เอง รุสโซเห็นว่า สมาชิกแต่ละคนขององค์คณะกรรมการการเมืองเข้าไปร่วมกิจกรรมขององค์คณะการเมืองเมื่อปฏิบัติการเรียกว่า องค์อธิปัตย์  และเมื่อไปปฏิบัติการเรียกว่า รัฐ  เป็นผู้อยู่ใต้ปกครองเมื่อเขาเคารพกฎหมายที่องค์คณะกรรมการการเมืองหรือองค์อธิปัตย์ซึ่งเขาเป็นสมาชิกอยู่นั้นให้ความเห็นชอบ  สมาชิกในองค์คระกรรมการการเมืองมีอยู่  2  ฐานะ  คือ
             1. เป็นราษฎรหรือผู้ปกครอง
             2. ผู้อยู่ใต้ปกครอง
            เจตจำนงทั่วไป
          เจตจำนงทั่วไปไม่ใช่เจตจำนงของบุคคล  แต่เป็นเจตจำนงของประชาคมหรือรัฐ 
          องค์อธิปัตย์ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดเจตจำนงทั่วไป  คือ  องค์คณะปวงชนซึ่งประกอบขึ้นด้วยบุคคลต่าง ๆ เจตจำนงทั่วไปมี  2  ประการ  คือ
            1. เจตจำนงทั่วไปของเสียงข้างมาก
            2. เจตจำนงของฝ่ายข้างน้อย
          เจตจำนงทั่วไปของรุสโซ  คือ  ประโยชน์ร่วมกัน 
            8.2.4  ทรรศนะของรุสโซกับอำนาจอธิปไตย  กฎหมาย  รัฐบาล  และศาสนา
            คุณลักษณะของอำนาจอธิปไตย
          ทฤษฎีของรุสโซ  คุณลักษณะของอำนาจอธิปไตยคือ  คุณลักษณะที่มาจากกำเนิดของสัญญาประชาคมและนิยามขององค์อธิปัตย์  องค์อธิปัตย์ที่จัดตั้งขึ้นโดยสัญญาประชาคมก็คือองค์คณะประชาชน  ซึ่งกำหนดเจตจำนงทั่วไปขึ้นโดยทางกฎหมาย
            คุณลักษณะของอำนาจอธิปไตย คือ คุณลักษณะเจตจำนงทั่วไป  กล่าวคือ 
          1. อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจที่ไม่อาจมอบหรือโอนให้กันได้
          2. อำนาจอธิปไตยไม่อาจจะแบ่งแยกได้
          3. อำนาจอธิปไตยไม่อาจจะผิดพลาดได้ 
          4. อำนาจอธิปัตย์เป็นอำนาจเด็ดขาด
            กฎหมาย
          ทรรศนะของรุสโซ  กฎหมาย  คือ  การแสดงออกของเจตจำนงทั่วไป  กฎหมายมีค่าสูงส่งเทียบด้วยศาสนา  ความยุติธรรมและเสรีภาพมีอยู่ได้ก็ด้วยกฎหมายซึ่งเป็นสถาบันที่สูงส่งที่สุดของมนุษย์  กฎหมายจะเข้าไปเกี่ยวพันแต่กับเรื่องที่เป็นการทั่วไปเช่นเดียวกับเจตจำนงที่ตรากฎหมายนั้นออกมาเฉพาะกรณีและพิทักษ์ผลประโยชน์ส่วนรวมเท่านั้น  รุสโซเน้นประเด็นนี้มาก  กล่าวโดยสรุปคือ  หน้าที่ใดก็ตามที่เกี่ยวพันกับเรื่องของส่วนบุคคล  นั่นไม่ใช่หน้าที่ของอำนาจนิติบัญญัติ
            ในปัญหาความยุติธรรม  รุสโซเห็นว่า  กฎหมายไม่อาจจะยุติธรรมได้ 
            รัฐบาลและรูปรัฐบาล
          รัฐบาลคือ  รัฐมนตรีขององค์อธิปัตย์  ประชาชนไม่ได้ตั้งรัฐบาลขึ้นโดยสัญญา แต่งตั้งขึ้นโดยกฎหมาย
          ระบอบการปกครองที่ยุติธรรม  ของรุสโซมีระบอบเดียวคือระบอบที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
          รุสโซ  ยอมรับว่า  รัฐบาลเป็นองค์กรที่ใช้กฎหมายมีหลายรูปแบบ
          รัฐบาลรูปแบบหนึ่ง  คือ  รัฐบาลประชาธิปไตย  รัฐบาลที่องค์คณะประชาชนเป็นทั้งผู้ออกกฎหมายและออกมาตราย่อยเพื่อใช้กฎหมาย  อำนาจบริหารถูกรวบเข้ากับอำนาจนิติบัญญัติ  รัฐบาลแบบนี้ไม่ใช่รัฐบาลที่ดีได้เพราะว่า  เป็นผู้ออกกฎหมายเองและใช้กฎหมายเอง
          รัฐบาลอีกรูปแบบหนึ่ง คือ  รัฐบาลอภิชนาธิปไตย  ซึ่งเป็นรัฐบาลของคนกลุ่มน้อย  รุสโซชอบรัฐบาลแบบนี้ที่สุดเพราะ
          1. รัฐบาลอภิชนาธิปไตยได้แยกฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติออกอย่างเด่นชัด
          2. ระบอบอภิชนาธิปไตยมีการคัดเลือกเฟ้นบุคคลโดยสมาชิกคณะรัฐบาลเป็นคนกลุ่มน้อย
          3. กิจการสาธารณะต่างๆ ได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบและดำเนินการอย่างดีและมีระบบที่ดีรวดเร็วขึ้น
          รัฐบาลอีกรูปแบบหนึ่ง คือ รัฐบาลกษัตริย์  เป็นรูปแบบการบริหารอยู่ที่คน ๆ เดียว
            ศาสนาของราษฎร
          รุสโซ  เห็นว่า  ศาสนาเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพี่สุดในการสร้างเอกภาพทางสังคม  มีความคิดเหมือนกับฮอบส์
            8.2.5  จุดมุ่งหมายและผลสะท้อนของสัญญาประชาคม
            จุดมุ่งหมายของสัญญาประชาคม
          ความฝันทางการเมืองของรุสโซ  เป็นปัจเจกนิยม  ในตอนต้น  แต่ลงเอยด้วยความคิดฝันรัฐนิยม  ที่เปี่ยมไปด้วยความรักชาติและความเสมอภาค  ซึ่งแสดงออกมาในรูปแบบการต่อต้านการลุแก่อำนาจและอำนาจพลาการ  สิ่งที่รุสโซใฝ่หาคือ เหตุผล ความยุติธรรม ศีลธรรม คุณธรรม 
          ในระบบของรุสโซ  อำนาจที่มีอยู่ในรัฐมีเพียงอำนาจเดียวเท่านั้นคือ อำนาจนิติบัญญัติ  ซึ่งครอบคลุมอำนาจทั้งหมด  รุสโซกล่าวว่า  พลังอำนาจรัฐเท่านั้นที่จะช่วยทำให้เสรีภาพของสมาชิกของรัฐเป็นผลขึ้นมาได้  ดังนั้น  รัฐแทนที่จะขัดแย้งกับบุคคล กลับเป็นหลักประกันเสรีภาพและความเสมอภาคของราษฎร
            ผลสะท้อนสัญญาประชาคม
          ค.ศ. 1789  การปฏิวัติในฝรั่งเศส  ได้รับอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมจากความคิดมูลฐานสำคัญ ๆ แห่ง  สัญญาประชาคม  ซึ่งได้เข้าไปแทรกซึมอยู่ในความรู้สึกของมหาชนผู้มีการศึกษาแพร่ขยายออกไป
          ความคิดมูลฐานที่สำคัญ  ได้แก่  ความคิดเกี่ยวกับเอกภาพของรัฐเกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนรวมที่จะต้องได้รับการเคารพ  เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของประชาชน  เกี่ยวกับกฎหมายซึ่งเป็นการแสดงออกของเจตจำนงทั่วไป  เกี่ยวกับการขจัดออกไปซึ่ง  สังคมย่อย  อันได้แก่กลุ่มคณะต่าง ๆ สมาคมพรรคการเมือง  เกี่ยวกับความไม่วางใจฝ่ายบริหารเกี่ยวกับระบอบเผด็จการเพื่อความปลอดภัยสาธารณะและเกี่ยวกับการศาสนาของราษฎร
          ความคิดของรุสโซมีอิทธิพลต่อผู้ร่างรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส  ค.ศ. 1789  มาก  โดยเฉพาะหลัง  ค.ศ. 1792  ความคิดนี้ครอบงำกลุ่มการเมืองที่สำคัญ ๆ ของฝรั่งเศสได้แก่กลุ่ม  มองตานญ์  และโรเบสปีแอร์  รัฐธรรมนูญ  ค.ศ.1793  ของฝรั่งเศสก็คือผลผลิตโดยตรงของความคิดรุสโซ
            สรุปผลสะท้อน  สัญญาประชาคม  เป็นความคิดมูลฐานที่สำคัญ  ได้แก่
          1. ความคิดเรื่องเอกภาพของรัฐ
          2. ความคิดเรื่องการเคารพในผลประโยชน์ส่วนรวม
          3. อำนาจอธิปไตยของประชาชน
          4. การใช้กฏหมายเป็นเครื่องมือในการแสดงออกซึ่งเจตจำนงส่วนรวม

          5. การขจัดกลุ่มสังคมย่อย  หรือกลุ่มบุคคล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น