วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทฤษฎีองค์การ (Organization Theory)


               แนวความคิดที่เกี่ยวกับองค์การได้ถูกรวบรวม และคิดค้นอย่างมีรูปแบบ จนกลายเป็นทฤษฎีเมื่อประมาณต้นศตวรรษที่ 20  ทฤษฎีเป็นเพียงนามธรรมที่อธิบาย และวิเคราะห์ถึงความจริง และประสบการณ์ต่าง ๆ ของธรรมชาติที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว อย่างมีระบบและมีแบบแผนเชิงวิทยาศาสตร์ว่า ถ้าทำ และหรือ เป็นอย่างนั้น ผลจะออกมาแบบนี้ (If ……then) ซึ่งในลักษณะเช่นนี้ ทฤษฎีก็เปรียบเสมือนการคาดคะเนถึงผลที่เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน จากระยะเวลาต้นศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน สามารถจำแนกแนวความคิดและทฤษฎีองค์การออกเป็น  3 ขั้นตอน คือ (ไชยา ยิ้มวิไล 2528 อ้างจาก Henry L. Tosi)
1. ทฤษฎีสมัยดั้งเดิม (Classical Theory)
2. ทฤษฎีสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory)
3. ทฤษฎีสมัยปัจจุบัน (Modern Theory)
1. ทฤษฎีสมัยดั้งเดิม (Classical Theory)

มาร์กซ์ (Karl Marx 1818-1883)


นักปรัชญาชาวเยอรมัน เป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิดมากที่สุดในสมัยปัจจุบัน ความคิดของเขาพอที่จะสรุปได้ว่า รัฐเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นเลยสำหรับสังคม หรือรัฐเป็นสิ่งที่จะต้องหายไปในที่สุดในกระแสวิวัฒนาการของสังคม มาร์กซ์มีความเห็นว่าสังคมต้องมีรัฐก็เพราะสังคมมนุษย์มีบทบาทพื้นฐานคือการผลิต การผลิตของมนุษย์ทำให้เกิดชนชั้นขึ้น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายผู้สามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และผู้ใช้แรงงานการผลิตแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ตัวอย่างเช่น นายทุนเป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม และกรรมกรเป็นพียงผู้ขายแรงงานในโรงงาน เมื่อนั้นฝ่ายที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตจะกลายเป็นผู้มีอำนาจ และเพียรพยายามที่จะรักษาสถานภาพและอำนาจของตนไว้ จึงได้สร้างอำนาจรัฐขั้นมา รัฐจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นในแง่ที่เป็นเครื่องมือในการกดขี่ของฝ่ายมีอำนาจที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต เพื่อรักษาสถานภาพและทำให้ตนมีผลประโยชน์ตอบแทนสูงที่สุด รัฐจึงจำเป็นในแง่รักษาผลประโยชน์ของชนบางกลุ่มเท่านั้น มิใช่จำเป็นตลอดไปสำหรับสังคมมนุษย์ ทั้งนี้ ถ้าวิธีการผลิตของสังคม ไม่มีใครเป็นฝ่ายยึดกุมการผลิต หรือปัจจัยการผลิตเป็นส่วนกลาง เมื่อนั้นชนชั้นทางสังคมไม่มี หรือกลายเป็นสังคมไร้ชนชั้น และไม่จำเป็นต้องสร้างรัฐขึ้นมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อกดขี่หรือขูดรีดอย่างใดทั้งสิ้น ด้วยเหตุดังกล่าว

มิลล์ (J.S.Mill 1806-1873)


เป็นนักปรัชญาที่สนับสนุนหลักประโยชน์นิยมของเบ็นธัม ท่านไม่ได้เน้นหลักประโยชน์นิยม แต่เน้นความสำคัญทางเสรีภาพและวิถีชีวิตที่อิสระเสรี โดยท่านแบ่งการกระทำของมนุษย์ออกเป็น 2 ชนิด คือ การกระทำที่มีผลกระทบต่อบุคคลอื่น ๆ และการกระทำที่มีผลจำเพาะต่อผู้กระทำคนเดียว เพื่อที่จะให้เป็นไปตามหลักประโยชน์นิยม คือหยุดยั้งการกระทำที่อาจนำไปสู่ผลคือ ความทุกข์ของคนส่วนใหญ่ แต่การกระทำที่มีผลต่อผู้กระทำเพียงคนเดียวนั้นเป็นอิสระ และใครเข้าไปก้าวก่ายไม่ได้ บุคคลมีสิทธิ์ที่จะนำความคิดต่าง ๆ มาอภิปรายตีแผ่ให้รู้ไปเลยว่าความคิดของใครเป็นสัจจะและเสรีภาพดังกล่าวเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้คนแสวงหาสัจจะได้.

เบ็นธัม (Jereny Bemtham 1748-1832)


นักปรัชญาชาวอังกฤษ ผู้ให้กำเนิดหลักจริยธรรมที่เรียกว่าหลักประโยชน์นิยมหรือทฤษฎีประโยชน์นิยม (Utilitarianism) คือความประพฤติที่ถูกต้องชอบธรรม และมีผลให้เกิดความสุขหรือความพึงพอใจทางกายมากที่สุดแก่คนส่วนมากที่สุด (The Greatest Happiness For The Greatest Number) จุดมุ่งหมายของเบ็นธัมก์ คือ ในสังคมนั้นรัฐต้องคำนึงถึงความสุข หรือความพึงพอใจของสังคม โดยมุ่งมีกฏหมายมาเป็นตัวบังคับสำหรับหมู่คณะ เพื่อนำไปสู่ความสุขหรือความพึงพอใจแก่คนส่วนใหญ่ ดังนั้นมนุษย์ต้องเคารพกฏหมาย เพราะนำไปสู่ความสุขของสังคมส่วนใหญ่ งานเขียนทางการเมืองที่สำคัญของเขาคือ Introduction to The Principles of Morals and Legislation

รุสโซ (Jean – Jacqnes Rousseau 1712-1778 )


นักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศส เขาเห็นว่า สังคมร่วมสมัยตอนนั้นมีลักษณะขัดแย้งกับธรรมชาติของมนุษย์เป็นสังคมที่เสแสร้ง อุปโลกน์บิดเบือน และฟุ่มเฟือย แม้แต่วิทยาศาสตร์กับศิลปะก็เป็นสิ่งเสแสร้ง เพราะวิทยาศาสตร์เกิดจากความรู้สึกหยิ่งผยองในตัวเองไม่ใช่เกิดจากความรู้สึกที่แท้จริง และศิลปะก็เกิดจากความรู้สึกฟุ้งเฟ้อมากกว่าความรู้สึกที่แท้จริงเช่นกัน รุสโซจึงหันไปชื่นชมการใช้ชีวิตสมัยดึกดำบรรพ์ เพราะเป็นชีวิตที่อิสระและได้ทำตามความปราถนาของตนและมีคุณธรรมอย่างง่าย ๆ คือไม่สร้างความเจ็บปวดหรือความทุกข์ให้กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ดังนั้นสังคมปัจจุบันในทัศนะของเขา จึงมองเป็นสังคมที่บิดเบือนให้เป็นความรู้สึกแข่งขันและเปรียบเทียบ และความรู้สึกสาใจ ถ้าคู่แข่งขันต้องพ่ายแพ้และประสบความย่อยยับลงไป

จอหน์ ลอค (John Locke 1632-1714)


นักปรัชญาชาวอังกฤษ แสดงทัศนะทางการเมืองของเขาไว้ในหนังสือชื่อ The Treatises On Government ปรัชญาของเขา คือการคัดค้านทฤษฎีเทวสิทธิ์ (Divine Right) ซึ่งอ้างว่า พระเจ้าได้มอบอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศให้กับกษัตริย์ และสนับสนุนความคิดที่ว่ารัฐกำเนิดขึ้นตามทฤษฎีสัญญาประชาชน (Social Contract) และสิ่งที่ลอคนำมาใช้เป็นหลักฐานสนับสนุนทฤษฎีนี้คือสภาพตามธรรมชาติ (State of nature) ของมนุษย์และกฏธรรมชาติ (Natural Law) ซึ่งเป็นสภาพก่อนมีรัฐ ลอคกล่าวถึงสภาพธรรมชาติว่า มนุษย์มีเสรีภาพโดยสมบูรณ์ (Perfect Freedom) หมายความว่าโดยธรรมชาติมนุษย์มีสิทธิการกระทำของตนเองโดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับคำยินยอมหรือเจตนารมณ์ของใครทั้งสิ้น มนุษย์จึงขึ้นอยู่กับกฏธรรมชาติเท่านั้น และได้มีเสรีภาพทางด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับศาสนา ชีวิตส่วนตัว สิทธิในทรัพย์สินที่เขาได้ลงแรงลงไปกับทรัพยากรของโลก นั้นหมายความว่า กฏธรรมชาติซึ่งเป็นกฏของพระเจ้าที่ให้สิทธิ์ไว้ว่า ชีวิตและทรัพย์สินส่วนตัวเป็นทรัพย์สินเอกชนต้องได้รับการเคารพ ใครจะละเมิดสิทธิมิได้ ดังนั้นความเห็นของลอคจึงมีทัศนะตรงที่ว่ามนุษย์มีสิทธิและเสรีภาพ โดยมีรัฐสามารถให้การป้องกันถึงสิทธิเสรีภาพที่มีอยู่ตามธรรมชาติได้ดีกว่าต่างคนต่างใช้อำนาจบังคับตามกฏธรรมชาตินั้นเอง.

โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes 1588-1679)


นักปรัชญาชาวอังกฤษ ท่านมีทัศนะว่า การเคลื่อนที่ (Movement) เป็นมูลบทที่ทุกคนต้องยอมรับว่ามีจริง โดยแบ่งความรู้เป็น 4 แขนง คือ

1.เรขาคณิต วิชาว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทห์ (Bodies)
2.ฟิสิกส์ วิชาว่าด้วยผลกระทบต่อกันของเทห์ที่เคลื่อนที่
3.จริยศาสตร์ วิชาที่ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของระบบประสาท
4.การเมือง วิชาที่ว่าด้วยผลกระทบต่อกันของระบบประสาท

เซนต์ ออกัสติน (St. Augustine ค.ศ. 354-430)


ปัญหาที่ว่า อะไรคือแบบของมนุษย์ที่พระเจ้าทรงกำหนดขึ้น ? ท่านมีความเห็นว่า มนุษย์ต้องเป็นสิ่งที่แสวงหาพระเจ้าหรือรักพระเจ้า เพราะพระเจ้าเป็นผู้ปลูกฝังให้เกิดความรักในพระองค์ ด้วยปัญญาของพระเจ้า และเมื่อมนุษยืรักในพระเจ้าเขาต้องได้ความรักพร้อมทั้งความสุขอย่างแท้จริง เซนต์ ออกัสตินมีความเห็นว่า ในตัวมนุษย์ได้เกิดการต่อสู้ระหว่างความรัก 2 แบบคือ การรักพระเจ้าและการทำตามกฏศีลธรรม กับการรักพระองค์และรักโลกนี้ ดังนั้น ท่านจึงแบ่งมนุษย์ออกเป็น 2 ค่าย คือกลุ่มที่ตัดสินใจรักในพระองค์ กับกลุ่มที่ตัดสินใจปฏิเสธพระเจ้าและรักตัวเองและรักโลกแทน จากสิ่งนี้เองท่านจึงมีทัศนะที่เชื่อมต่อเรื่องสังคมและรัฐ คือให้ทัศนะว่า รัฐ (State) มีความสำคัญน้อยกว่าศาสนจักร (Church) ท่านคิดเช่นนั้นก็เพราะว่า ศาสนจักรเป็นนครแห่งพระเจ้า ความยุติธรรมจะเกิดดฉพาะในรัฐและในสังคมที่เคารพบูชาพระเจ้าเท่านั้น ดังนั้น รัฐเป็นสิ่งไม่จำเป็น และไม่มีความสำคัญเท่าศาสนจักร เหตุผลพราะรัฐที่ไม่นับถือพระเจ้าย่อมไม่มีศีลธรรม ก่อเหตุร้ายต่าง ๆ เสมอ และหาความยุติธรรมในสังคมไม่ได้เลยนั้นเอง

อาริสโตเติ้ล (Aristotle)


เกิดเมื่อ พ.ศ. 159 ที่สตากิรา ในแคว้นเธรซ ท่านเป็นศิษย์ของพลาโต และท่านเป็นนักปรัชญาคนสุดท้ายของกรีกสมัยรุ่งเรือง ท่านเกิดในตระกูลแพทย์จึงมีนิสัยรักการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ต่อมาท่านได้ศึกษาชีววิทยา โดยเฉพาะชีวิตสัตว์ทะเล ท่านได้ตั้งสำนักของตนขึ้นเรียกว่า ลีเซอุม (Lyceum) และต่อมาได้สร้างห้องสมุดเพื่อสะสมหนังสือและอุปกรณ์การสอน ส่วนที่เหมือนกันระหว่างพลาโตและอริสโตเติ้ล คือรัฐและสังคมเป็นธรรมชาติ เมื่อมนุษย์ต้องมีสังคมร่วมกัน การมีรัฐและสังคมที่ดี ย่อมทำให้เกิดความสุขได้ดีที่สุด

พลาโต้ (Plato)


เกิด พ.ศ. 116-196 มีชื่อเดิมว่า อาริสโตเคล็ส (Aristocles) ที่กรุงเอเธนส์ พลาโต้ได้ฟังปรัชญาจากโสคราตีสเมื่อตนได้มีอายุได้ 20 ปีแล้ว จนกระทั่งโสคราตีสถูกประหารชีวิตในปีพ.ศ.144 ต่อมาได้ศึกษาปรัชญาของยูคลิเดส (Euclides) ผู้เป็นลูกศิษย์ของโสคราตีส ซึ่งได้นำปรัชญาของโสคราตีสเข้ากับปรัชญาของปาร์มีนิเดส และยังได้ศึกษาปรัชญาจากสำนักของไพธากอรัส ที่กรุงเอเธนส์นั้น ท่านวางมือจากการเมืองที่ยุ่งเหยิง และเลือกดำเนินชีวิตอย่างนักปรัชญา โดยสร้างคนให้เป็นนักปรัชาและนักปกครองที่ดี พลาโต้ตั้งสำนักแห่งหนึ่งชื่อว่า อะคาเดมี (Academy) ให้การศึกษาแก่เยาวชนกรีก นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของกรีก โดยให้เด็กหนุ่มที่ต้องการศึกษา มุ่งมาสมัครเรียนที่นั้น พลาโต้เห็นว่า “นักปกครองที่ดีต้องมีความรู้ทั้งที่เป็นวิทยาศาสตร์ และปรัชญาการเมือง”

โสคราตีส (Socrates)


เกิดที่กรุงเอเธนส์ พ.ศ. 73-144 บิดาชื่อโซโฟรนิสคุส (Sophromiscus) เป็นช่างแกะสลัก มารดาชื่อเฟนารีท (Phaenarete) ก่อนท่านถูกประหารชีวิตในกรีก ได้รับการบันทึกไว้โดยละเอียดในบทสนทนาของฟลาโดชื่อ (Phaedo) เมื่อมีผู้ถามว่า ทำไมท่านจึงไม่กลัวความตาย ท่านตอบว่า เพราะท่านเชื่อว่า “วิญญาณของคนเราเป็นอมตะ ถ้าท่านตาย วิญญาณของท่านจะกลับสู่สรวงสวรรค์ ยิ่งไปกว่านั้นเหตุเพราะท่านเป็นนักปรัชญา ท่านอธิบายว่า นักปรัชญา คือ ผู้ที่แสวงหาความรู้ที่สมบูรณ์ แต่นักปรัชญาไม่มีวันเข้าถึงความรู้ที่สมบูรณ์ ถ้าหากเขายังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เพราะวิญญาณของเขาถูกคุมขังอยู่ในร่างกายจึงขาดอิสรภาพในอันเข้าถึงสัจธรรม การประสบความตาย คือการได้ปลดปล่อยวิญญาณจากเครื่องพันธนาการ เมื่อนั้นวิญญาณจะเข้าถึงความรู้ที่สมบูรณ์ นักปรัชญาผู้แสวงหาความรู้ที่สมบูรณ์จึงไม่กลัวความตาย”

โปรแทกอรัส (Protagoras)


เกิด พ.ศ.63-133 ที่เมืองอับเดรา (Abdera) ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกับเดมอคริตุสเช่นกัน ปรัชญาของท่านจัดอยู่ในประเภทญาณวิทยา หรือทฤษฎีความรู้ ท่านกล่าวว่า เมื่อมีความเห็นในเรื่องใดแตกแยกออกเป็นหลายอย่าง การตัดสินใครถูกใครผิด ทุกคนมีสิทธิ์ตัดสินเท่าเทียมกัน โปรแทกอรัสกล่าวว่า “คนเป็นเครื่องวัดสรรพสิ่ง” อะไรจริงอะไรเท็จขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละคน ใครว่าอะไรจริงก็จริงสำหรับเขาผู้นั้น คนอื่นไม่อาจคัดค้านได้ เมื่อธาเรสกล่าวว่า น้ำเป็นปฐมธาตุของโลก นั่นก็ถูกตามทัศนะของธาเรส ครั้นเฮราคลีตุสกล่าวว่า ไฟเป็นปฐมธาตุ นั่นก็ถูกตามทัศนะของเฮราคลีตุส การตัดสินว่าอะไรถูกอะไรผิดเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคล ตามทัศนะขิงโปรแทกอรัส ความเห็นของทุกคนถูกทั้งหมด เพราะคนแต่ละคนเป็นมาตรการตัดสินความจริงเสมอกัน ความจริงสำหรับโปรแทกอรัสจึงเป็นอันเดียวกับ“ทัศนะอัตนัย” (Subjective Opinion) หรือความเห็นเฉพาะบุคคล ท่านไม่แยกทัศนะอัตนัยออกจากความจริง “ความจริงแบบปรนัย” (Objective Truth)

เดมอคริตุส (Democritus)


เกิด พ.ศ. 83-173 ที่เมืองอับเดรา (Abdera) ในแคว้นเธรส (Thrace) ท่านเป็นศิษย์ของผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญาปรมาณูนิยม (The School of Atomists) มีชื่อว่า ลิวซิปปุส(Leucippus) ผู้มีชีวิตร่วมสมัยเดียวกันกับเอมเปโดเคลสและอานักซาโกรัส ได้ศึกษาปรัชญาจากสำนักเอเลียเป็นต้นฉบับ ท่านรุ่งเรืองถึงขีดสุดในปี พ.ศ. 103 และได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ของท่านขื่อ เดมอคริตุส ผลงานชิ้นสำคัญขิงเดมอคริตุส ที่ยังเหลือปรากฏอยู่ให้เราได้รู้จัก ผลงานของท่านมีมากที่สุดคนหนึ่งในสมัยโบราณกว่า 60 ชิ้น แต่ได้สูญหายไปเกือบหมดที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันเป็นเพียงเศษนิพนธ์ ผลงานส่วนใหญ่เกี่ยวกับวิชาฟิสิกส์, อภิปรัชญญา, จริยศาสตร์, ประวัติศาสตร์, และคณิตศาสตร์

อานักซาโกรัส (Anaxagoras)


เกิด พ.ศ.43-115 ที่เมืองคลาโซเมแน (Clazomenae)เป็นนักปรัชญาคนสำคัญของนครเอเธนส์ ที่เจริญรุ่งเรืองที่สุด และเป็นยุคทองกล่าวคือ มีนักปฏิมากรเอกอย่างฟีเดียส, เฮโรโดตุสผู้เป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์, ท่านเป็นตระกูลที่มั่งคั่ง ได้สละสมบัติออกเดินทางแสวงหาความรู้ทางปรัชญา และวิทยาศาสตร์ และเปิดสำนักสอนปรัชญาที่กรุงเอเธนส์ ได้สร้างผลงานไว้เป็นหนังสือปรัชญามมีชื่อเรียกว่า” ธรรมชาติ” (On nature) ท่านเชื่อเช่นเดียวกับสำนักเอเลีย ท่านเห็นว่า สิ่งทั้งหลายไม่อาจเกิดมีขึ้นจากความว่างเปล่า ส่วนประกอบของโลกได้ลอยคว้างอยู่ในห้วงอวกาศ โดยผสมปนเปสับสนยุ่งเหยิง จนกระทั้งได้มีพลังอย่างหนึ่งมารวบรวมส่วนประกอบเหล่านั้นเข้าเป็นระเบียบ ดังนั้นโลกจึงเกิดขึ้นอันเป็นผลต่อเนื่องจากการผสมของส่วนประกอบเหล่านั้น และปฐมธาตุของโลกตามคำกล่าวของท่านต้องมีจำนวนมากกว่านี้ และได้อธิบายต่อไปอีกว่า ในข้าวเมล็ดหนึ่งมีธาตุของเส้นผมผสมอยู่ ธาตุนั้นได้แยกตัวไปสร้างเส้นผม ในเมล็ดข้าวนั้นยังมีธาตุอื่น ๆ อีกมากผสมอยู่ เช่นธาตุกระดูกที่แยกไปสร้างกระดูก บางธาตุแยกไปสร้างเนื้อ ในเมล็ดข้าวจึงมีธาตุจำนวนนับไม่ถ้วน แต่ละธาตุก็เป็นความจริงเท่า ๆ กัน เมื่อเปรียบเทียบไปถึงสิ่งทั้งหลายในโลก แต่ละธาตุมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เป็นความจริงสูงสุดเท่า ๆ

เอมเปโดเคลส (Empedocles)

พ.ศ.48-108 เป็นชาวเมืองอะกรีเจนตุม ตั้งอยู่ภาคใต้ของเกาะซิซิลี ท่านเกิดในตระกูลมั่งคั่ง บิดาเป็นนักการเมือง ท่านเป็นนักการเมือง,นักพูด,กวี,แพทย์,นักสอนศาสนา และนักปรัชญา ท่านมีผลงานเป็นบทกวีไว้ 2 เรื่อง เรื่องแรกว่าด้วยจักวาลวิทยา มีชื่อเรื่องว่า” ธรรมชาติ” (On nature) เรื่องที่ 2 เกี่ยวกับคำสอนทางศาสนา ชื่อเรื่องว่า”ชำระมลทิน” (Purification) ท่านได้นำหลักปรัชญาทั้งสองอันสุดโต้งมาผสมผสานกัน สำนักแรกคือปรัชญาของเฮราคลีตุสมีทัศนะว่า โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความคงที่ถาวรไม่มีอยู่จริง สำนักที่สองคือเอเลียมีทัศนะตรงกันข้ามว่า โลกเที่ยงแท้คงที่ ความเปลี่ยนแปลงต่างหากเป็นภาพลวงตาดังนั้น เอมเปโดเคลส ท่านกล่าวว่า โลกนี้ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เพราะปฐมธาตุของโลกเป็นสิ่งคงที่ถาวร ไม่มีการเกิดดับ โลกเกิดจากการผสมผสานกันของปฐมธาตุเหล่านั้น เมื่อปฐมธาตุรวมตัวกันหรือแยกจากกันเราก็บอกว่า โลกกำลังเปลี่ยนแปลง นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวเท่านั้นเอง การเปลี่ยนแปลงเกิดจากการที่ปฐมธาตุโยกย้ายตำแหน่ง แต่ปฐมธาตุเองไม่ได้เปลี่ยนแปลง ดังนั้น เมื่อมองไปที่สรรพสิ่ง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของปฐมธาตุ เราจะพบความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะปฐมธาตุซึ่งเป็นส่วนประกอบได้โยกย้ายตำแหน่ง ถ้ามองไปที่ปฐมธาตุ เราไม่พบความเปลี่ยนแปลง ปฐมธาตุไม่มีเกิด ไม่มีดับ ใครทำลายไม่ได้ เอมเปโดเคลสจึงกล่าวย้ำว่า เมื่อมองไปที่ปฐมธาตุจะพบความเที่ยงแท้คงที่ของโลก เมื่อมองไปที่สิ่งต่าง ๆ อันเป็นส่วนผสมของปฐมธาตุ เราจะพบความเปลี่ยนแปลงของโลก ดังนั้น โลกจึงทั้งเปลี่ยนแปลงและไม่เปลี่ยนแปลงในเวลาเดียวกัน

เซโนแห่งเอเลีย (Zeno of elea)


ปรัชญาสำนักเอเลียคนนี้ เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งมีชื่อเรื่องว่า “ข้อโต้แย้ง” (Disputation) จุดประสงค์ของการเขียนหนังสือเล่มนี้ก็คือ เพื่อป้องกันคำสอนของปาร์มีนิเดสจากการโจมตีของฝ่ายตรงข้าม และทำหน้าที่เป็นเพียงผู้สนับสนุนอาจารย์ของตนเท่านั้น นักปรัชญารุ่นหลังเรียกวิธีโต้ตอบของเซโนว่า “วิภาษาวิธี” (Dialectic) ซึ่งเป็นวิธีอ้างเหตุผลที่นักปรัชญายุคต่อมาอย่างเช่น โสคราตีส พลาโต้ ค้านท์ และเฮเกล นิยมใช้ อาริสโตเติ้ลยกย่องเซโนว่าเป็นบิดาแห่งวิภาษาวิธี นักปรัชญาฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยกับปาร์มีนิเดส เช่นนักปรัชญากลุ่มไพธากอรัสคัดค้านว่า สรรพสิ่งจะเป็นสิ่งเดียวไม่ได้ สรรพสิ่งต้องเป็นสรรพสิ่งกล่าวคือ โลกนี้เต็มไปด้วยความเป็นจริงหลายสิ่งหลายอย่าง ความมากหลายเป็นเรื่องมีอยู่จริง นอกจากนี้นักปรัชญากลู่มเฮราคลีตุสก็คัดค้านสำนักเอเลียบางว่า ความเป็นจริงไม่คงที่ถาวร โลกนี้เป็นเวทีแห่งความเปลี่ยนแปลง ทุกสิ่งในโลกเลื่อนไหลไปเป็นกระแสความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเป็นของจริง ความคงที่ถาวรต่างหากที่เป็นมายา

ปาร์มีนิเดส (Parenides)


ท่านประยุกต์คำสอนของอาจารย์ (เซโนฟาเนส) โดยได้แนวความคิดจากข้อความที่ว่า”สรรพสิ่งในโลกคือพระเจ้า” และ” พระเจ้าไม่เคยเปลี่ยนแปลง” จึงนำมาสร้างหลักปรัชญาที่ว่าด้วยความเที่ยงแท้คงที่ของโลก และท่านได้เขียนหนังสือปรัชญาไว้เป็นบทกวีแบ่งเป็นสองภาค ภาคแรกชื่อ “วิถีแห่งความจริง”(Way of truth) ภาคสองชื่อ “วิถีแห่งความลวง” (Way of seeming)ท่านไม่เห็นด้วยกับการที่เฮราคลีตุสกล่าวว่าสรรพสิ่งในโลกมีอันต้องเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา เช่นไฟแปรรูปเป็นลม จากลมเป็นน้ำ จากน้ำเป็นดิน แต่ท่านมีความเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ท่านยอมรับไม่ได้ ท่านบอกว่า การเปลี่ยนแปลงไม่มีอยู่จริง คิดดูว่าไฟแปรรูปเป็นลมได้โดยวิธีใด ในช่วงที่ไฟจะเปลี่ยนแปลงเป็นลมนั้น มีภาวการณ์อย่างไรเกิดขึ้น เป็นไปได้ไหมว่าไฟดับไปก่อนแล้วลมจึงเกิดขึ้นแทนที่ หรือว่าไฟไม่ได้มอดดับหายไป แต่ทว่าได้เปลี่ยนตัวเองเป็นลมโดยอัตโนมัติ ?

เซโนฟาเนส (Xenophanes)


เกิดก่อน ค.ศ.570-480 เป็นนักปรัชญา โดยท่านชอบแต่งบทกวีนิพนธ์ไว้เป็นมหากาพย์ เพลงโศลก และกลอนเสียดสี ท่านไม่ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับปรัชญาโดยตรง แต่ปรัชญาของท่านมีสอดแทรกในบทกวีที่ท่านนิพนธ์นั่นเอง คำสอนของท่านมุ่งแก้ไขศรัทธาในศาสนาของประชาชน และเห็นว่าประชาชนในสมัยนั้น มีศรัทธาที่ผิดในพระเจ้า ท่านพยายามแสดงศรัทธาที่ถูกต้องแก่ประชาชน โดยมุ่งปฏิรูปศาสนาใหม่ ความเชื่อที่ผิดของชาวกรีกในยุกนั้น เชื่อว่ามวลมนุษย์อยู่ภายใต้เทวลิขิตของพระเจ้า มนุษย์ต้องบูชาบวงสรวงพระองค์ เพื่อให้พระองค์โปรดปรานประทานพร ส่วนผู้ใดบังอาจทำให้พระองค์พิโรธ ผู้นั้นจะถูกลงโทษอย่างสาสม เซโนฟาเนสกล่าวให้ความเห็นว่า เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะเทพเจ้าไม่ควรมีอารมณ์ โลภ โกรธ หลง เหมือนมนุษย์ เทพเจ้าควรบริสุทธิ์ผุดผ่องมากกว่า ตามตำนานกรีกเล่าว่า เทพเจ้ามีการเกิดและจุติจากสวรรค์ บาวองค์ประกอบทุจริต บางองค์ประพฤติผิดในลูกเมียคนอื่น

เฮราคลีตุส (Heraclitus)


เกิดก่อน ค.ศ.535-475 ในเมืองเอเฟซุส (Ephesus) เป็น 1ใน12 นครรัฐที่สังกัดอยู่ในอาณานิคมกรีกกลู่มไอโอเนีย ท่านเป็นเชื้อพระวงค์แห่งนครรัฐเอเฟซุส ท่านสละสิทธิ์ในราชสมบัติ บำเพ็ญตนเป็นนักปรัชญา จนประสบความสำเร็จจนมีชื่อเสียง ท่านประกาศตนว่าได้พบปรีชาญาณหยั่งเห็นปรัชญา (Philosophy Insight) ท่านค้นพบสิ่งแปลกใหม่และดีเด่นเหนือผู้ใดทั้งหมด อย่างเช่น ไพธากอรัส และเซโนฟาเนส

ท่านได้เขียนตำราไว้เล่มหนึ่งชื่อว่า “ธรรมชาติ” (On nature) ต่อมาได้กระจัดกระจายหายไปเหลือไว้แต่เศษนิพนธ์ เป็นคำพูดสั้นๆว่า “การเรียนมากไม่ช่วยให้เข้าใจมาก” หรือ ”ถ้าท่านไม่พยายามคาดคิดในแง่มุมที่คนคิดไม่ถึง ท่านจะไม่มีวันค้นพบความจริง เพราะความจริงพบได้ยากมาก”โดยท่านไม่พยายามอธิบายเหมือนจงใจให้เข้าใจยาก และอ้างว่า ท่านเขียนปรัชญาสำหรับปัญญาชน (Intelligentsia) โดยเฉพาะ หากว่าสามัญชนไม่เข้าใจ ก็ถือว่าเป็นกรรมของผู้นั้น เหตุนี้ เฮราคลีตุส จึงได้ฉายาว่า “ผู้อำพราง” (The obscure)

ฉะนั้นนักปรัชญาสำนักไมเลตุสสนใจเรื่องปฐมธาตุของโลก ไพธษกอรัสศึกษาเรื่องทฤษฎีจำนวนเลข ส่วนเฮราคลีตุสค้นคิดเรื่องความเปลี่ยนแปลง (change) หรืออนิจจตา เฮราคลีตุสจึงเป็นนักปรัชญากรีกคนแรกที่คิดเรื่องนี้ เมื่อเปรียบเทียบแนวคิดของธาเรสบอกว่า ปฐมธาตุคือน้ำได้แปรรูปเป็นไฟหรือดินนั้นเท่ากับว่า ธาเรสยอมรับว่า ความเปลี่ยนแปลงมีอยู่ แต่ขอไปที ท่านไม่ได้เก็บเรื่องนี้ว่าวิเคราะห์อย่างจริงจัง ต่อมาเฮลาคลีตุสเห็นว่า นักปรัชญาไม่ควรมองข้ามความเปลี่ยนแปลง ท่านได้คิดเรื่องนี้และไขความกระจ่าง

เฮราคลีตุสกล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะที่แท้จริง ของสรรพสิ่งทุกสิ่งเป็นอนิจจัง มันเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไปเป็นธรรมดา สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นจะเปลี่ยนสภาพหนึ่งไปสู่สภาพหนึ่ง เหมือนคนที่จะเปลี่ยนสภาพเด็กไปเป็นคนหนุ่มสาว และจากหนุ่มสาวเข้าสู่วัยชรา ไม่มีใครต้านกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ ใครเล่าจะสามารถคงความหนุ่มสาวไว้เป็นศตวรรษ ไม่มีทาง มนุษย์และสรรพสิ่งมีธาตุแท้เหมือนกันคือ ต้องเปลี่ยนแปลง

เฮราคลีตุสยังได้กล่าวอีกว่า”ทุกสิ่งทุกอย่างเลื่อนใใหลไปเป็นกระแส” ดุจดังสายน้ำใหลไปไม่หยุดนิ่ง ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้คงที่แม้นาทีเดียว จุดที่เฮลาคลีตุสต้องการเน้นจากเรื่องนี้ก็คือ ในโลกนี้ไม่มีอะไรคงเดิม แม้แต่คนที่เราพบจำเจอยู่ทุกวันนั่นก็เถอะ เขาไม่ใช่คนหน้าเดิมหรอก เพราะนอกจากกระแสความคิดของเขาจะเปลี่ยนไปทุกขณะแล้ว ใบหน้าของเขาก็ยังเปลี่ยนไปตลอดเวลา จึงกล่าวได้ว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน แม้แต่ปฐมธาตุของโลก เฮลาคีลตุสคิดต่อไปว่า โลกที่ปลี่ยนแปลงตลอดเวลานี้เกิดมาจากอะไร ? และลงความเห็นว่า เนื่องจากสรรพสิ่งในโลกมีความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมชาติ และไม่เห็นด้วยกับความคิดที่เสนอว่า น้ำ,อนันต์,หรืออากาศเป็นปฐมธาตุของโลก เพราะเฮราคลีตุสเห็นว่า ทั้งสามสิ่งเป็นสิ่งที่คงที่ถาวรไม่รู้จักเปลี่ยนแปลง จึงคิดว่าสิ่งใดเป็นปฐมธาตุของโลก สิ่งนั้นต้องมีพลังงานเปลี่ยนแปลงในตัวเอง แต่เนื่องจากไฟมีพลังเปลี่ยนแปลง ดังนั้นไฟจึงเป็นปฐมธาตุของโลก ท่านกล่าวว่า”โลกนี้ซึ่งเป็นโลกเดียวกันสำหรับทุกคน ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดหรือมนุษย์คนใดสร้างขึ้นมา แต่ทว่าโลกนี้ได้เป็น กำลังเป็น และรู้จักเป็นไฟอมตะ (Everliving Fire) เมื่อไฟมีลักษณะแปรปรวนเปลี่ยนได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ไฟเป็นธาตุดั่งเดิมของโลก เพราะไฟแปรรูปเป็นสรรพสิ่ง โดยระยะแรกไฟแปรรูปจากลม จากลมเป็นน้ำ จากน้ำเป็นดิน นี่เป็นการแปรรูปแบบ”ทางลง”(Downnward Path) นอกจากนี้ดินอาจแปรรูปเป็นน้ำ จากน้ำเป็นลม และจากลมเป็นไฟ เป็นการแปรรูปแบบ “ทางขึ้น” (Upward Path) เมื่อไฟแปรรูปเป็นสิ่งอื่นดังนี้ สรรพสิ่งจึงล้วนเป็นไฟ ดินคือไฟ หินคือไฟ วิญญาณคือไฟ และพระผู้เป็นเจ้าก็คือไฟ ทุกสิ่งคือไฟ และไฟคือทุกสิ่ง เหตุนั้น “ ทุกสิ่งกลายเป็นสิ่งเดียว และสิ่งเดียวกลายเป็นทุกสิ่ง” เพราะมีธาตุแท้อย่างเดียวคือมาจากไฟ สรรพสิ่งกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น สิ่งที่เป็นคู่ ชนิดขัดแย้งกัน, เย็นกับร้อน, ดีกับชั่ว, หรือเป็นกับตาย แต่ก็เป็นความขัดแย้งเพื่อการประสาน เป็นการแตกร้าวเพื่อการรวมตัวกันใหม่ เพื่อการดำรงอยู่ ท่านกล่าวว่า “ ความขัดแย้งก่อให้เกิดความสามัคคี การแตกร้าวก่อให้เกิดความกลมกลืนบรรเจิดสุข สรรพสิ่งเกิดมาจากความขัดแย้ง “ และ “สงครามหรือความขัดแย้งเป็นบิดาและราชาแห่งสรรพสิ่ง”

เฮราคลีตุสกล่าวว่า ถ้าเรามองโลกในมุมหนึ่ง เราจะพบแต่สิ่งขัดแย้งกัน แต่ถ้ามองโลกในมุมอื่น เราจะพบความกลมกลืนเป็นอันเดียวกันของสรรพสิ่ง คนธรรมดาจะเห็นความขัดแย้งในสิ่งทั้งหลาย แต่ผู้เข้าถึง “ วจนะ”(Logos) จะพบเอกภาพในสรรพสิ่ง เขาจะเข้าใจแจ้มแจ่งว่า เย็นไม่ต่างจากร้อน สุขไม่ต่างจากทุกข์ เพราะเย็นก็คือร้อนน้อย ร้อนก็คือเย็นน้อย และสุขคือทุกข์น้อย ทุกข์ก็คือสุขน้อย มันเปลี่ยนแปลงสลับกันไปมา เพราะฉะนั้นในแต่ละคู่ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงสลับไปมา เพราะคุณสมบัติทุกอย่างต้องเปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรคงเดิม และท่านเป็นผู้ให้ความหมายของคำว่า”วจนะ” เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบมีแบบแผน เป็นดังจักรวาล(Cosmos) ที่มีกฏเกณท์ สรรพสิ่งในจักรวาลเกิดขึ้นเปลี่ยนแปลงและดับภายใต้”มาตรการที่แน่นอน” (Fixed Measure) มาตรการอันนั้นได้แก่ “กฏแห่งความเปลี่ยนแปลง”(Law of Change) ดังนั้นไฟจำต้องแปรรูปเป็นสรรพสิ่ง เหตุนั้นความเปลี่ยนแปลงในโลก เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความเปลี่ยนแปลงเป็นของจริง ไม่ใช่เหตุบังเอิญ นี่คือหลักปรัชญาของเฮราคลีตุส

สำนักเอเลีย (The Eleatic School) เป็นชื่อนครรัฐหนึ่งของกรีกดินแดนภาคใต้ของคาบสมุทรอิตาลี หลักปรัชญาของสำนักนี้ขัดแย้งตรงกันข้ามกับปรัชญาของสำนักเฮราคลีตุส ในขณะที่เฮราคลีตุสสอนว่า โลกเป็นอนิจจังหรือเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สำนักเอเลียกลับสอนว่า โลกเที่ยงเป็นนิจนิรันดร์ ความเปลี่ยนแปลงใดๆ ในโลกเป็นเพียงภาพลวงตา นักปรัชญาคนสำคัญของสำนักเอเลียประกอบด้วย เซดนฟาเนส ปาร์มีนิเดส และเซโนแห่งเอเลีย

ไพธากอรัส (Pythagoras)


เกิดก่อน ค.ศ.570-497 ที่เกาะซามอส (Samos) เป็นนครรัฐที่สังกัดกลุ่มไอโอเนีย ดังนั้นนครรัฐซามอสกับนครรัฐไมเลตุส จึงอยู่ในเครือเดียวกัน ไพธากอรัสเดินทางไปศึกษาที่ประเทศอียิปต์ ต่อมาได้จัดตั้งสมาคมของตนเองขึ้น เพื่อจุดประสงค์ทางศาสนา จึงไม่นับเป็นสำนักปรัชญาเพราะปฏิบัติเคร่งครัดเยี่ยงนักพรต แต่งกายแบบเดียวกัน ห้ามบริโภคเนื้อสัตว์,ถั่ว เป็นต้น
จุดประสงค์ในการปฏิบัติเช่นนี้ ก็เพื่อความหลุดพ้นจากความเวียนว่ายตายเกิด ผู้มีศรัทธาในตัวไพธากอรัสได้ยกย่องท่านเป็นศาสดาแห่งศาสนาที่สอน”วิธีแห่งการหลุดพ้น”(The Way of Salation) ท่านจะสอนเฉพาะสมาชิกอันเป็นสาวกของตนเองเท่านั้น ไพธากอรัสสอนว่า คนเราตายแล้วเกิด วิญญาณของคนเราไม่ดับสูญ แต่จะเวียนว่ายตายเกิดไปตามผลกรรม ท่านว่าตัวท่านระลึกชาติได้ เคยเกิดเป็นต้นไม้,สัตว์,คน ท่านว่าวิญญาณของคนเราจุติมาจากสวรรค์ของพระผู้เป็นเจ้า เมื่อวิญญาณได้สูญเสียความบริสุทธิ์ผ่องใส ด้วยการควบคุมความต้องการทางการตามแบบที่สมาชิกของสมาคมไพธากอรัสถือปฏิบัติ เมื่อนั้นแหละวิญญาณจึงจะบริสุทธิ์ พอที่จะคืนกลับทิพยสถานของพระผู้เป็นเจ้าและเป็นอันหลุดพ้นจากสังสารวัฏ ไพธากอรัสเรียกผู้ปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นว่า”นักปรัชญา” และได้แบ่งบุคคลออกเป็น 3 ประเภทเหมือนพระพุทธเจ้า เปรียบเทียบบุคคลเป็นดอกบัว 4 เหล่า และไพธากอรัสเป็นคนแรกที่เรียกตัวเองว่า”นักปรัชญา”(Philosopher) และนักปรัชญาในทัศนะของไพธากอรัสก็คือ ”คนที่รักในความฉลาดรอบรู้ ” (Philosophoi) คำว่า ”Philosophoi” ในภาษากรีกได้กลายมาเป็น ”Philosopher”(นักปรัชญา) ในภาษาอังกฤษ ไพธากอรัสเป็นนักคณิตศาสตร์ ท่านเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีบทที่ 47ของเรขาคณิตแบบยูคลิค ปรัชญาของท่านจึงว่าด้วยทฤษฎีจำนวนเลข (Number) เป็นลักษณะสำคัญที่สุดของสรรพสิ่งในโลก เหตุผลมีอยู่ว่า สิ่งของต่างๆล้วนมีคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง คือมีสี,กลิ่น,รส และความอ่อนแข็ง ดังนั้นคุณลักษณะเหล่านั้นก็ไม่ใช่สิ่งถาวร เพราะเราอาจจินตนาการถึงของบางอย่างที่ไม่มีสีและกลิ่น จำนวนต่างหากเป็นลักษณะของสิ่งทั้งหลาย เราไม่อาจจินตนาการถึงของสิ่งหนึ่งหรือสองสิ่งเสมอ คำว่า”หนึ่ง,สอง” แสดงให้เห็นว่า จำนวนเลขติดอยู่ในสรรพสิ่งตลอดเวลา
สรุปแล้ว ไพธากอรัสใช้ทฤษฎีจำนวนเลข มาเป็นเหตุผลในการอ้างถึงสรรพสิ่งในโลก โดยการกำหนดด้วยตัวเลข ให้มีจำนวนนับเท่ากับสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้เกิดแนวความคิดที่มีกฎและระเบียบเป็นแบบแผนของคนยุคต่อมา แต่ไพธากอรัสไม่ได้บอกว่า จำนวนเลขเป็นปฐมธาตุของโลกอย่างที่บางคนเข้าใจ แล้วปฐมธาตุของโลกคืออะไร ? ปฐมธาตุของโลกคือหน่วย (Unit) สิ่งทั้งหลายอันรวมถึงจำนวนเลขเกิดมาจากหน่วย หน่วยนั้นหรือจุดรวมกันทำให้เกิดเส้น เส้นรวมกันทำให้เกิดเนื้อที่ เนื้อที่รวมกันทำให้เกิดปริมาตร ใจความปรัชญาของไพธากอรัสจึงมีอยู่ว่า ปรมาณูเป็นปฐมธาตุของโลก เมื่อปรมาณูรวมตัวกันในลักษณะที่เลียนแบบจำนวนเลข สรรพสิ่งในโลกจึงเกิดขึ้น ดังนั้นไพธากอรัสจึงเป็นปรัชญาอันดับแนวหน้าของนักปรัชญากรีกโบราณ.

อานักซิเมเนส (Anaximenes)


เป็นศิษย์ของ อานักซิเมนเดอร์ ท่านสนใจปัญหาเรื่องปฐมธาตุเหมือนกัน ท่านบอกว่า น้ำและอนันต์ล้วนไม่ใช่ปฐมธาตุของโลก อากาศต่างหากเป็นปฐมธาตุของโลก เพราะอากาศแผ่ขยายออกไปไม่มีที่สิ้นสุดและมีพลังขับเคลื่อนในตัวเอง อากาศจึงเคลื่อนไหวตลอดเวลา ดังนั้นสรรพสิ่งจึงเกิดขึ้น ท่านอธิบายว่า เวลาอากาศเคลื่อนตัวออกห่างจากกันและกัน อากาศเกิดการขยายตัว (Rerefaction) ปริมาณของอากาศจะเจือจางลง หากเจือจางถึงขีดอากาศจะกลายเป็นไฟ และลูกไฟที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าก็กลายเป็นดวงดาว ในทำนองกลับกัน ถ้าอากาศเคลื่อนเข้ารวมตัวกัน หรือมีอาการอัดตัว (Condensation) ความเข้มข้นของอากาศมีมาก อุณหภูมิในอากาศจะลดลง อากาศจะมีความเย็นมากขึ้นแล้วจับตัวเป็นก้อนเมฆ ถ้าอัดตัวควบแน่นยิ่งขึ้น อากาศจะกลายเป็นน้ำเป็นดินเป็นหินได้ทีเดียว ดังนั้นไม่ว่าของแข็งของเหลวและก๊าซ ล้วนมีต้นกำเนิดมาจากอากาศทั้งสิ้น เหตุนี้อากาศจึงเป็นปฐมธาตุของโลก

สรุปข้อเปรียบเทียบ

เมื่อทำการศึกษาแล้วเห็นได้ว่า ปรัชญาของอานักซิมานเดอร์มีเหตุผลดีกว่าของธาเรส แต่มีปัญหาว่า “อนันต์” คืออะไร ถ้าเทียบอนุภาคหรือส่วนที่เล็กที่สุดของวัตถุและสสาร คือปรมาณูหรืออะตอม (Atom) ซึ่งเล็กสุดจนแบ่งออกไม่ได้ ดังนั้นในทัศนของนักวิทยาศาสตร์ ปฐมธาตุของโลกจึงหน้าจะได้แก่ปรมาณูนั่นเอง อันมีส่วนประกอบย่อยสามส่วน คือโปรตรอนหรือประจุไฟฟ้าบวก อิเลคตรอนคือประจุไฟฟ้าลบ และนิวตรอนหรือประจุไฟฟ้าเป็นกลาง ดังนั้นปรมาณูจึงไม่ใช่วัตถุที่เล็กที่สุด แต่ปรมาณูเป็นพลังงานหรือประจุไฟฟ้า และอนุภาคที่เล็กที่สุดของสสารวัสดุจึงเป็น”พลังงาน”(energy) ชนิดนี้นั่นเอง พลังงานนี้ไม่มีรูปร่างและไม่ปรากกแก่สายตาของคนทั่วไป มันเป็นธาตุเดิมของสรรพสิ่ง พลังงานเป็นปฐมธาตุของโลก และพลังงานนี้ก็คงเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งที่อานักซิมานเดอร์ เรียกว่า”อนันต์”

ดังนั้นคำถามที่ว่า”อนันต์” คืออะไร จึงเปรียบเทียบได้ว่า “อนันต์” คือพลังงานตามแนวความคิดของนักวิทยาศาสตร์ต่อมาใน ค.ศ.ที่ 19 และ20 ในเรื่องของประจุไฟฟ้าและพลังงาน

ส่วนปรัชญาของอานักซิเมเนส อธิบายว่า อากาศกลายเป็นสรรพสิ่งได้อย่างไร เพราะท่านอ้างการขยายตัวและการอัดตัวของอากาศ ว่าเป็นตัวการให้เกิดสรรพสิ่ง ซึ่งตรงนี้ธาเรสอธิบายไม่ชัดว่า ไฉนน้ำจึงแปรรูปเป็นสรรพสิ่ง และอานักซิมานเดอร์ก็ไม่ขยายความว่า อนันต์กลายเป็นสรรพสิ่งได้อย่างไร ส่วนอานักซิเมเนส แม้จะอธิบายไว้ค่อนข้างชัดเจนว่า อากาศเปรี่ยนสภาพเป็นสรรพสิ่ง ด้วยกระบวนการขยายตัวและอัดตัว ถึงกระนั้นการที่ท่านบอกว่า อากาศเป็นปฐมธาตุ ฏ็เท่ากับถอยหลังไปเรียนแบบธาเรส ผู้เสนอว่าปฐมธาตุมีรูปแบบเป็นน้ำ ต่างกันตรงที่ว่า ปฐมธาตุของอานักซิเมเนสมีรูปแบบเป็นอากาศ ดังนั้นอานักซิมานเดอร์ไปได้ไกลกว่า เพราะท่านเสนอว่า ปฐมธาตุมีรูปแบบเป็นปฐมธาตุไม่มีรูปแบบอยู่ก่อน แต่เป็นสารไร้รูปที่เรียกว่า”อนันต์”หรือ”พลังงาน”

การศึกษาปรัชญาจากสำนักไมเลตุสช่วยให้เราค้นพบว่า นักปรัชญากรีกโบราณเริ่มปรัชญาด้วยความสงสัยเกี่ยวกับโลกภายนอก หรือธรรมชาติรอบตัว ดังนั้นปฐมธาตุที่นักปรัชญาคิด จึงเป็นข้อสมมติฐานทางวิทยาศาสตร์ จึงกล่าวได้ว่า ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีแนวความคิดมาจากนักปรัชญายุคโบราณนั่นเอง.

อานักซิมานเดอร์ (Anaximander)


ท่านศึกษาวิชาดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์และจักรวาลวิทยา เกิดก่อนปี ค.ศ. 611 และถึงแก่กรรมในปีก่อน ค.ศ.547 ท่านเขียนหนังสือปรัชญาเรื่อง “ธรรมชาติ” (On nature) หนังสือเล่มนี้เป็นปรัชญาเล่มแรกของโลก ท่านศึกษาปรัชญามาจาก ธาเลส ท่านไม่เชื่อว่าน้ำเป็นปฐมธาตุ เพราะน้ำมีรูปแบบตายตัว มีคุณลักษณะเป็นของเหลว และมีความเย็นเป็นธรรมชาติ ดังนั้นปฐมธาตุของโลกควรจะมีความเป็นกลาง คือในตัวมันเองยังไม่เป็นอะไร ยังไม่เป็นดิน น้ำ ลม หรือไฟ ปฐมธาตุจึงเป็นสารไร้รูป (Fomless material) ที่ไม่มีรูปลักษณะเหมือนสิ่งของใดๆ ที่คนเรารู้จักมันเ)นสิ่งที่มองไม่เห็นด็วยตาเปล่า แต่มันเป็นสิ่งที่อยู่เป็นนิรันดร และแผ่ซ่านไปไม่มีที่สิ้นสุด

ดังนั้นจึงใให้ชื่อปฐมธาตุของท่านเองว่า “อนันต์“ (Infinite) คือเนื่องจากอนันต์นี้ยังไม่มีลักษณะที่แน่นอนตายตัวว่าเป็นอะไร มันจึงมีศักยภาพที่จะกลายเป็นอะไรก็ได้ และสรรพสิ่งในโลกล้วนมีแหล่งกำเนิดมาจากอนันต์

ธาเลส (Thales)


ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของปรัชญาตะวันตก เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ก่อน ค.ส. 585 ป็นผู้ทำนายการเกิดสุริยคราส เป็น1ใน7ของบัณฑิตกรีก ทุกท่านต่างก็มีคติพจน์ (คำนิยาม)ประจำตนและคำนิยามของธาเรสก็คือ “น้ำนี้ดีที่สุด” (Water is best) โดยตั้งคำถามที่ว่า อะไรคือปฐมธาตุของโลก ? ธาเลสมองสรรพสิ่งรอบ ๆ ตัว เห็นคน ต้นไม้ ภูเขา และอื่น ๆ เขาคิดว่าสิ่งต่างๆเหล่านั้นเกิดมาจากอะไร ? แน่หละ คงไม่ใช่ฝีมือเนรมิตของเทพเจ้า โลกที่เราอาศัยอยู่คงเกิดจากการรวมตัวของผงธุลีที่เล็กที่สุด ธรรมชาติเองเป็นผู้จัดสรรนำเอาผงธุลีที่ลอยคว้างอยู่ในห้วงอวกาศมาปั้นเป็นโลก เมื่อโลกแตกสลายสรรพสิ่งก็จะกลับคืนสู่ผงธุลีดังเดิม ผงธุลีนั้นจึงเป็น“วัตถุดิบ” สำหรับสร้างโลก มันมีอยู่ก่อนสิ่งอื่นทั้งหมด “มันเป็นธาตุดังเดิม” หรือปฐมธาตุ (First Element) ของโลก ซึ่งจะต้องเป็นสิ่งที่มีอนุภาคเล็กที่สุดจนแบ่งย่อยอออกไปอีกไม่ได้แล้ว ธาเลสถามตัวเองว่า แล้วอะไรคือปฐมธาตุของโลก ? ผงธุลีที่ว่านั้นมีสภาพเป็นอะไร ? และเขาคิดว่า น้ำคือละอองธุลี หรือธาตุเดิมแท้ของโลก เพราะโลกและสรรพสิ่งเกิดมาจากน้ำ ๆเป็นปฐมธาตุทรงประสิทธิ์ภาพในการแปรรูป (Tranformation) เป็นสิ่งอื่นๆ น้ำจับตัวเป็นของแข็งก็ได้ ละลายเป็นของเหลวก็ได้ และระเหยกลายเป็นไอก็ได้ ธาเรสบอกว่า เมื่อน้ำระเหยขึ้นฟ้า ความเย็นของน้ำจะค่อยๆแปรสภาพเป็นความร้อน น้ำแปรรูปเป็นไฟ แต่เมื่อน้ำตกลงมาในรูปสายฝน แสดงว่าน้ำกำลังแปรรูปเป็นดิน เหตุนี้น้ำจึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็นธาตุเดิมของโลก

คำนิยามของปรัชญา


ปรัชญา แปลว่า ความรอบรู้ เป็นศัพท์บัญญัติ เรียกว่า Philosophy เมื่อสืบย้อนไปดูแล้วปรากฏว่าphilosophy มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า Philo + Sophia แปลว่า ความรักในความรอบรู้( Love of Wisdom ) ว่ากันตามอักษร ปรัชญาและ Philosophy มีความหมายไม่ตรงกันแท้ แต่ก็ใช้เรียกกันได้ เพราะคำทั้งสองแสดงนัยว่า วิชานี้เกี่ยวกับความรู้ กล่าวคือการแสวงหาความรู้ก็ดี จัดเป็นปรัชญาหรือPhilosophy ทั้งนั้น ปรัชญาเป็นความรู้เกี่ยวกับอะไร คำตอบมีอยู่ว่า ปรัชญาพยายามเรียนรู้ทุกสิ่ง โลกยังมีแง่มุมลึกลับอีกเท่าใด นักปรัชญาที่มักใหญ่ใฝ่สูงก้จะเรียนรู้อีกเท่านั้น เท่าที่ผ่านมานักปรัชญาเป็นผู้ค้นพบวิทยาการสาขาใหม่แห่งโลก การค้นคว้าของนักปรัชญาไม่เคยถึงจุดจบ นักปรัชญาจึงเป็นผู้บุกเบิกทางปัญญา (Pioneer)

แนวความคิดของนักปรัชญายุคโบราณ


โดยแท้ที่จริงแล้ว เราไม่อาจบ่งชัดลงไปได้อย่างแน่นอนว่า ปรัชญาตริตรองในปัญหาใดกันแน่ เราสาามารถบอกได้ชัดเจนว่า ตัวเลขเป็นเนื้อหาของวิชาเรขาคณิต ปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นเนื้อหาของวิชาวิทยาศาสตร์ แต่แท้จริงเราไมม่อาจกำหนดได้ว่าอะไรเป็นเนื้อหาของวิชาปรัชญา ทั้งนี้เพราะปรัชญาหมายถึง การรัก การสงสัย การมองเห็นปัญหาที่ยังเป็นปัญหา และการพยายามหาคำตอบที่เป็นไปได้สำหรับปัญหานั้น ๆ และปรัชญาก็เริ่มตั้งแต่สมัยมนุษย์ดึกดำบรรพ์จวบจนทุกวันนี้ ดังนั้นสิ่งที่เป็นปัญหาหรือสิ่งที่มนุษย์สงสัย จึงมมีอยู่มากมายจนไม่อาจให้ข้อจำกัดลงไปได้ ขอบเขตของวิชาปรัชญาจึงมีอยู่กว้างขวางมาก และก็มีวิวัฒนาการเป็นยุคสมัยต่าง ๆ พอที่จะแบ่งออกได้ดัง เช่น
  • ปรัชญาดึกดำบรรพ์ ตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์ในโลกครั้งแรก ไม่มีการบันทึกเป็นหลักฐาน
  • ปรัชญายุคโบราณ หมายถึง ปรัชญาของชนชาติโบราณนับตั้งแต่เริ่มต้นมีหลักฐานและทำการบันทึกไว้
  • ปรัชญายุคกลาง หมายถึง ปรัชญาของมนุษย์ ซึ่งอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 529-ปี ค.ศ. 1500
  • ปรัชญายุคใหม่ หมายถึง ปรัชญาของมนุษย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1500 เป็นต้นจนมาถึงสมัยปัจจุบัน

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

អាដុលហ្វ៍ ហ៊ីត្លែរ

អ្នកដឹកនាំរបបផ្ដាច់ការហ្វាស៊ីសនៅប្រទេស អាល្លឺម៉ង និងជាអ្នកវាតទីកាន់កាប់ ទ្វីបអឺរ៉ុប ដីគោកក្នុងសង្គ្រាមលោកលើកទី ២ ។

ហ្សូសេហ្វ ស្តាលីន

Joseph Stalin
ទទួលតំណែងពីឡេនីនក្នុងនាមជាអ្នកដឹកនាំសហភាពសូវៀត និងបានលើកតម្តើងប្រជាជាតិមួយឱ្យប្រកួតប្រជែងជាមួយសហរដ្ឋអាមេរិក ក្នុងការដឹកនាំពិភពលោក ។

បេនីតូ មូសូលីនី

Benito Mussolini
ជាអ្នករៀបចំចាត់តាំងបង្កើតរបបផ្ដាច់ការហ្វាស៊ីសនៅអ៊ីតាលី
និងជាសម្ព័ន្ធជិតស្និទ្ធជាមួយ អាដុលហ្វ៍ ហ៊ីត្លែរ នៅអាល្លឺម៉ង់
        

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รัฐหรือประเทศ ประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญดังนี้

๑. มีดินแดน (land)
๒. มีประชากร (Population)
๓. มีรัฐบาล (Government)
๔. มีอำนาจอธิปไตย (Sovereignty)

หน้าที่การจัดการ

1. Planning (การวางแผน)
2. Organizing (การจัดองค์การ)
3. Commanding (การสั่งการ)
4. Coordinating (การประสานงาน)
5. Controlling (การควบคุม)

กระบวนการจัดการ

1. Planning (วางแผน)
2. Organizing (จัดองค์การ)
3. leading (การเป็นผู้นำ)
4. Evaluation (ประเมินผล)

หน้าที่นักบริหาร

๑. ประสานงานภายในองค์การ
๒. รักษาสมาธิองค์การ
๓. กำหนดเป้าหมาย
๔. ใช้ศิลปให้คนทำงาน
๕. ทำงานด้วยรับผิดชอบ

กระบวนการบริหาร

1. Planning
2. Organizing
3. Staffing
4. Directing
5. Coordinating
6. Reporting
7. Budgeting