พ.ศ.48-108 เป็นชาวเมืองอะกรีเจนตุม ตั้งอยู่ภาคใต้ของเกาะซิซิลี ท่านเกิดในตระกูลมั่งคั่ง บิดาเป็นนักการเมือง ท่านเป็นนักการเมือง,นักพูด,กวี,แพทย์,นักสอนศาสนา และนักปรัชญา ท่านมีผลงานเป็นบทกวีไว้ 2 เรื่อง เรื่องแรกว่าด้วยจักวาลวิทยา มีชื่อเรื่องว่า” ธรรมชาติ” (On nature) เรื่องที่ 2 เกี่ยวกับคำสอนทางศาสนา ชื่อเรื่องว่า”ชำระมลทิน” (Purification) ท่านได้นำหลักปรัชญาทั้งสองอันสุดโต้งมาผสมผสานกัน สำนักแรกคือปรัชญาของเฮราคลีตุสมีทัศนะว่า โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความคงที่ถาวรไม่มีอยู่จริง สำนักที่สองคือเอเลียมีทัศนะตรงกันข้ามว่า โลกเที่ยงแท้คงที่ ความเปลี่ยนแปลงต่างหากเป็นภาพลวงตาดังนั้น เอมเปโดเคลส ท่านกล่าวว่า โลกนี้ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เพราะปฐมธาตุของโลกเป็นสิ่งคงที่ถาวร ไม่มีการเกิดดับ โลกเกิดจากการผสมผสานกันของปฐมธาตุเหล่านั้น เมื่อปฐมธาตุรวมตัวกันหรือแยกจากกันเราก็บอกว่า โลกกำลังเปลี่ยนแปลง นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวเท่านั้นเอง การเปลี่ยนแปลงเกิดจากการที่ปฐมธาตุโยกย้ายตำแหน่ง แต่ปฐมธาตุเองไม่ได้เปลี่ยนแปลง ดังนั้น เมื่อมองไปที่สรรพสิ่ง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของปฐมธาตุ เราจะพบความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะปฐมธาตุซึ่งเป็นส่วนประกอบได้โยกย้ายตำแหน่ง ถ้ามองไปที่ปฐมธาตุ เราไม่พบความเปลี่ยนแปลง ปฐมธาตุไม่มีเกิด ไม่มีดับ ใครทำลายไม่ได้ เอมเปโดเคลสจึงกล่าวย้ำว่า เมื่อมองไปที่ปฐมธาตุจะพบความเที่ยงแท้คงที่ของโลก เมื่อมองไปที่สิ่งต่าง ๆ อันเป็นส่วนผสมของปฐมธาตุ เราจะพบความเปลี่ยนแปลงของโลก ดังนั้น โลกจึงทั้งเปลี่ยนแปลงและไม่เปลี่ยนแปลงในเวลาเดียวกัน
ปฐมธาตุของโลกคืออะไร ? ธาเรสตอบว่า ปฐมธาตุได้แก่ น้ำ อานักซิเมเนสตอบว่า ปฐมธาตุ ได้แก่ อากาศ เฮราคลีตุสตอบว่า ไฟ และเซโนฟาเนสตอบว่า ดิน คำตอบเหล่านี้เตลิดไปคนละทาง และขัดแย้งกันตลอดเวลา เหตุนั้นเอเปโดเคลสจึงเสนอว่า ปฐมธาตุมีอยู่ 4 อย่างด้วยกัน คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และมีสาเหตุใดที่ทำให้ธาตุรวมตัวกันและแยกตัวจากกัน ท่านตอบว่า มีพลังธรรมชาติสองชนิด พลังแรกทำหน้าที่รวมธาตุสี่เข้าด้วยกันมีชื่อว่า ความรัก (Love) พลังที่สองทำหน้าที่แยกธาตุทั้งสี่ออกจากกันมีช่อเรียกว่า ความเกลียด (Hate) พลังเหล่านี้ไม่ใช่กระแสจิตของพระเจ้า แต่เป็นพลังธรรมชาติ พลังทั้งสองนี้เป็นผู้เป็นผู้สร้างและทำลายโลก บทสรุป ปรัชญาของเอมเปโดเคลส ได้รวมความคิดเรื่องปฐมธาตุ ว่าประกอบด้วยปฐมธาตุทั้งสี่คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ดังนั้นท่านจึงเป็นนักพหุนิยม (Pluralist) เพราะท่านยอมรับว่าความจริงสูงสุดมีหลายอย่าง ซึ่งพ้องกับแนวคำสอนในพระพุทธศาสนาเรื่องมหาภูตรูปหรือธาตุสี่คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ แต่ต่อมาก็มีนักปรัชญารุ่นหลังกล่าวว่า ปฐมธาตุหน้าจะมีมากกว่านี้ นักปรัชญาที่ว่านี้คือ อานักซาโกรัส
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น