วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เฮราคลีตุส (Heraclitus)


เกิดก่อน ค.ศ.535-475 ในเมืองเอเฟซุส (Ephesus) เป็น 1ใน12 นครรัฐที่สังกัดอยู่ในอาณานิคมกรีกกลู่มไอโอเนีย ท่านเป็นเชื้อพระวงค์แห่งนครรัฐเอเฟซุส ท่านสละสิทธิ์ในราชสมบัติ บำเพ็ญตนเป็นนักปรัชญา จนประสบความสำเร็จจนมีชื่อเสียง ท่านประกาศตนว่าได้พบปรีชาญาณหยั่งเห็นปรัชญา (Philosophy Insight) ท่านค้นพบสิ่งแปลกใหม่และดีเด่นเหนือผู้ใดทั้งหมด อย่างเช่น ไพธากอรัส และเซโนฟาเนส

ท่านได้เขียนตำราไว้เล่มหนึ่งชื่อว่า “ธรรมชาติ” (On nature) ต่อมาได้กระจัดกระจายหายไปเหลือไว้แต่เศษนิพนธ์ เป็นคำพูดสั้นๆว่า “การเรียนมากไม่ช่วยให้เข้าใจมาก” หรือ ”ถ้าท่านไม่พยายามคาดคิดในแง่มุมที่คนคิดไม่ถึง ท่านจะไม่มีวันค้นพบความจริง เพราะความจริงพบได้ยากมาก”โดยท่านไม่พยายามอธิบายเหมือนจงใจให้เข้าใจยาก และอ้างว่า ท่านเขียนปรัชญาสำหรับปัญญาชน (Intelligentsia) โดยเฉพาะ หากว่าสามัญชนไม่เข้าใจ ก็ถือว่าเป็นกรรมของผู้นั้น เหตุนี้ เฮราคลีตุส จึงได้ฉายาว่า “ผู้อำพราง” (The obscure)

ฉะนั้นนักปรัชญาสำนักไมเลตุสสนใจเรื่องปฐมธาตุของโลก ไพธษกอรัสศึกษาเรื่องทฤษฎีจำนวนเลข ส่วนเฮราคลีตุสค้นคิดเรื่องความเปลี่ยนแปลง (change) หรืออนิจจตา เฮราคลีตุสจึงเป็นนักปรัชญากรีกคนแรกที่คิดเรื่องนี้ เมื่อเปรียบเทียบแนวคิดของธาเรสบอกว่า ปฐมธาตุคือน้ำได้แปรรูปเป็นไฟหรือดินนั้นเท่ากับว่า ธาเรสยอมรับว่า ความเปลี่ยนแปลงมีอยู่ แต่ขอไปที ท่านไม่ได้เก็บเรื่องนี้ว่าวิเคราะห์อย่างจริงจัง ต่อมาเฮลาคลีตุสเห็นว่า นักปรัชญาไม่ควรมองข้ามความเปลี่ยนแปลง ท่านได้คิดเรื่องนี้และไขความกระจ่าง

เฮราคลีตุสกล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะที่แท้จริง ของสรรพสิ่งทุกสิ่งเป็นอนิจจัง มันเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไปเป็นธรรมดา สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นจะเปลี่ยนสภาพหนึ่งไปสู่สภาพหนึ่ง เหมือนคนที่จะเปลี่ยนสภาพเด็กไปเป็นคนหนุ่มสาว และจากหนุ่มสาวเข้าสู่วัยชรา ไม่มีใครต้านกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ ใครเล่าจะสามารถคงความหนุ่มสาวไว้เป็นศตวรรษ ไม่มีทาง มนุษย์และสรรพสิ่งมีธาตุแท้เหมือนกันคือ ต้องเปลี่ยนแปลง

เฮราคลีตุสยังได้กล่าวอีกว่า”ทุกสิ่งทุกอย่างเลื่อนใใหลไปเป็นกระแส” ดุจดังสายน้ำใหลไปไม่หยุดนิ่ง ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้คงที่แม้นาทีเดียว จุดที่เฮลาคลีตุสต้องการเน้นจากเรื่องนี้ก็คือ ในโลกนี้ไม่มีอะไรคงเดิม แม้แต่คนที่เราพบจำเจอยู่ทุกวันนั่นก็เถอะ เขาไม่ใช่คนหน้าเดิมหรอก เพราะนอกจากกระแสความคิดของเขาจะเปลี่ยนไปทุกขณะแล้ว ใบหน้าของเขาก็ยังเปลี่ยนไปตลอดเวลา จึงกล่าวได้ว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน แม้แต่ปฐมธาตุของโลก เฮลาคีลตุสคิดต่อไปว่า โลกที่ปลี่ยนแปลงตลอดเวลานี้เกิดมาจากอะไร ? และลงความเห็นว่า เนื่องจากสรรพสิ่งในโลกมีความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมชาติ และไม่เห็นด้วยกับความคิดที่เสนอว่า น้ำ,อนันต์,หรืออากาศเป็นปฐมธาตุของโลก เพราะเฮราคลีตุสเห็นว่า ทั้งสามสิ่งเป็นสิ่งที่คงที่ถาวรไม่รู้จักเปลี่ยนแปลง จึงคิดว่าสิ่งใดเป็นปฐมธาตุของโลก สิ่งนั้นต้องมีพลังงานเปลี่ยนแปลงในตัวเอง แต่เนื่องจากไฟมีพลังเปลี่ยนแปลง ดังนั้นไฟจึงเป็นปฐมธาตุของโลก ท่านกล่าวว่า”โลกนี้ซึ่งเป็นโลกเดียวกันสำหรับทุกคน ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดหรือมนุษย์คนใดสร้างขึ้นมา แต่ทว่าโลกนี้ได้เป็น กำลังเป็น และรู้จักเป็นไฟอมตะ (Everliving Fire) เมื่อไฟมีลักษณะแปรปรวนเปลี่ยนได้หลายอย่าง เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ไฟเป็นธาตุดั่งเดิมของโลก เพราะไฟแปรรูปเป็นสรรพสิ่ง โดยระยะแรกไฟแปรรูปจากลม จากลมเป็นน้ำ จากน้ำเป็นดิน นี่เป็นการแปรรูปแบบ”ทางลง”(Downnward Path) นอกจากนี้ดินอาจแปรรูปเป็นน้ำ จากน้ำเป็นลม และจากลมเป็นไฟ เป็นการแปรรูปแบบ “ทางขึ้น” (Upward Path) เมื่อไฟแปรรูปเป็นสิ่งอื่นดังนี้ สรรพสิ่งจึงล้วนเป็นไฟ ดินคือไฟ หินคือไฟ วิญญาณคือไฟ และพระผู้เป็นเจ้าก็คือไฟ ทุกสิ่งคือไฟ และไฟคือทุกสิ่ง เหตุนั้น “ ทุกสิ่งกลายเป็นสิ่งเดียว และสิ่งเดียวกลายเป็นทุกสิ่ง” เพราะมีธาตุแท้อย่างเดียวคือมาจากไฟ สรรพสิ่งกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น สิ่งที่เป็นคู่ ชนิดขัดแย้งกัน, เย็นกับร้อน, ดีกับชั่ว, หรือเป็นกับตาย แต่ก็เป็นความขัดแย้งเพื่อการประสาน เป็นการแตกร้าวเพื่อการรวมตัวกันใหม่ เพื่อการดำรงอยู่ ท่านกล่าวว่า “ ความขัดแย้งก่อให้เกิดความสามัคคี การแตกร้าวก่อให้เกิดความกลมกลืนบรรเจิดสุข สรรพสิ่งเกิดมาจากความขัดแย้ง “ และ “สงครามหรือความขัดแย้งเป็นบิดาและราชาแห่งสรรพสิ่ง”

เฮราคลีตุสกล่าวว่า ถ้าเรามองโลกในมุมหนึ่ง เราจะพบแต่สิ่งขัดแย้งกัน แต่ถ้ามองโลกในมุมอื่น เราจะพบความกลมกลืนเป็นอันเดียวกันของสรรพสิ่ง คนธรรมดาจะเห็นความขัดแย้งในสิ่งทั้งหลาย แต่ผู้เข้าถึง “ วจนะ”(Logos) จะพบเอกภาพในสรรพสิ่ง เขาจะเข้าใจแจ้มแจ่งว่า เย็นไม่ต่างจากร้อน สุขไม่ต่างจากทุกข์ เพราะเย็นก็คือร้อนน้อย ร้อนก็คือเย็นน้อย และสุขคือทุกข์น้อย ทุกข์ก็คือสุขน้อย มันเปลี่ยนแปลงสลับกันไปมา เพราะฉะนั้นในแต่ละคู่ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงสลับไปมา เพราะคุณสมบัติทุกอย่างต้องเปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรคงเดิม และท่านเป็นผู้ให้ความหมายของคำว่า”วจนะ” เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบมีแบบแผน เป็นดังจักรวาล(Cosmos) ที่มีกฏเกณท์ สรรพสิ่งในจักรวาลเกิดขึ้นเปลี่ยนแปลงและดับภายใต้”มาตรการที่แน่นอน” (Fixed Measure) มาตรการอันนั้นได้แก่ “กฏแห่งความเปลี่ยนแปลง”(Law of Change) ดังนั้นไฟจำต้องแปรรูปเป็นสรรพสิ่ง เหตุนั้นความเปลี่ยนแปลงในโลก เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความเปลี่ยนแปลงเป็นของจริง ไม่ใช่เหตุบังเอิญ นี่คือหลักปรัชญาของเฮราคลีตุส

สำนักเอเลีย (The Eleatic School) เป็นชื่อนครรัฐหนึ่งของกรีกดินแดนภาคใต้ของคาบสมุทรอิตาลี หลักปรัชญาของสำนักนี้ขัดแย้งตรงกันข้ามกับปรัชญาของสำนักเฮราคลีตุส ในขณะที่เฮราคลีตุสสอนว่า โลกเป็นอนิจจังหรือเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สำนักเอเลียกลับสอนว่า โลกเที่ยงเป็นนิจนิรันดร์ ความเปลี่ยนแปลงใดๆ ในโลกเป็นเพียงภาพลวงตา นักปรัชญาคนสำคัญของสำนักเอเลียประกอบด้วย เซดนฟาเนส ปาร์มีนิเดส และเซโนแห่งเอเลีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น