วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อานักซิเมเนส (Anaximenes)


เป็นศิษย์ของ อานักซิเมนเดอร์ ท่านสนใจปัญหาเรื่องปฐมธาตุเหมือนกัน ท่านบอกว่า น้ำและอนันต์ล้วนไม่ใช่ปฐมธาตุของโลก อากาศต่างหากเป็นปฐมธาตุของโลก เพราะอากาศแผ่ขยายออกไปไม่มีที่สิ้นสุดและมีพลังขับเคลื่อนในตัวเอง อากาศจึงเคลื่อนไหวตลอดเวลา ดังนั้นสรรพสิ่งจึงเกิดขึ้น ท่านอธิบายว่า เวลาอากาศเคลื่อนตัวออกห่างจากกันและกัน อากาศเกิดการขยายตัว (Rerefaction) ปริมาณของอากาศจะเจือจางลง หากเจือจางถึงขีดอากาศจะกลายเป็นไฟ และลูกไฟที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าก็กลายเป็นดวงดาว ในทำนองกลับกัน ถ้าอากาศเคลื่อนเข้ารวมตัวกัน หรือมีอาการอัดตัว (Condensation) ความเข้มข้นของอากาศมีมาก อุณหภูมิในอากาศจะลดลง อากาศจะมีความเย็นมากขึ้นแล้วจับตัวเป็นก้อนเมฆ ถ้าอัดตัวควบแน่นยิ่งขึ้น อากาศจะกลายเป็นน้ำเป็นดินเป็นหินได้ทีเดียว ดังนั้นไม่ว่าของแข็งของเหลวและก๊าซ ล้วนมีต้นกำเนิดมาจากอากาศทั้งสิ้น เหตุนี้อากาศจึงเป็นปฐมธาตุของโลก

สรุปข้อเปรียบเทียบ

เมื่อทำการศึกษาแล้วเห็นได้ว่า ปรัชญาของอานักซิมานเดอร์มีเหตุผลดีกว่าของธาเรส แต่มีปัญหาว่า “อนันต์” คืออะไร ถ้าเทียบอนุภาคหรือส่วนที่เล็กที่สุดของวัตถุและสสาร คือปรมาณูหรืออะตอม (Atom) ซึ่งเล็กสุดจนแบ่งออกไม่ได้ ดังนั้นในทัศนของนักวิทยาศาสตร์ ปฐมธาตุของโลกจึงหน้าจะได้แก่ปรมาณูนั่นเอง อันมีส่วนประกอบย่อยสามส่วน คือโปรตรอนหรือประจุไฟฟ้าบวก อิเลคตรอนคือประจุไฟฟ้าลบ และนิวตรอนหรือประจุไฟฟ้าเป็นกลาง ดังนั้นปรมาณูจึงไม่ใช่วัตถุที่เล็กที่สุด แต่ปรมาณูเป็นพลังงานหรือประจุไฟฟ้า และอนุภาคที่เล็กที่สุดของสสารวัสดุจึงเป็น”พลังงาน”(energy) ชนิดนี้นั่นเอง พลังงานนี้ไม่มีรูปร่างและไม่ปรากกแก่สายตาของคนทั่วไป มันเป็นธาตุเดิมของสรรพสิ่ง พลังงานเป็นปฐมธาตุของโลก และพลังงานนี้ก็คงเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งที่อานักซิมานเดอร์ เรียกว่า”อนันต์”

ดังนั้นคำถามที่ว่า”อนันต์” คืออะไร จึงเปรียบเทียบได้ว่า “อนันต์” คือพลังงานตามแนวความคิดของนักวิทยาศาสตร์ต่อมาใน ค.ศ.ที่ 19 และ20 ในเรื่องของประจุไฟฟ้าและพลังงาน

ส่วนปรัชญาของอานักซิเมเนส อธิบายว่า อากาศกลายเป็นสรรพสิ่งได้อย่างไร เพราะท่านอ้างการขยายตัวและการอัดตัวของอากาศ ว่าเป็นตัวการให้เกิดสรรพสิ่ง ซึ่งตรงนี้ธาเรสอธิบายไม่ชัดว่า ไฉนน้ำจึงแปรรูปเป็นสรรพสิ่ง และอานักซิมานเดอร์ก็ไม่ขยายความว่า อนันต์กลายเป็นสรรพสิ่งได้อย่างไร ส่วนอานักซิเมเนส แม้จะอธิบายไว้ค่อนข้างชัดเจนว่า อากาศเปรี่ยนสภาพเป็นสรรพสิ่ง ด้วยกระบวนการขยายตัวและอัดตัว ถึงกระนั้นการที่ท่านบอกว่า อากาศเป็นปฐมธาตุ ฏ็เท่ากับถอยหลังไปเรียนแบบธาเรส ผู้เสนอว่าปฐมธาตุมีรูปแบบเป็นน้ำ ต่างกันตรงที่ว่า ปฐมธาตุของอานักซิเมเนสมีรูปแบบเป็นอากาศ ดังนั้นอานักซิมานเดอร์ไปได้ไกลกว่า เพราะท่านเสนอว่า ปฐมธาตุมีรูปแบบเป็นปฐมธาตุไม่มีรูปแบบอยู่ก่อน แต่เป็นสารไร้รูปที่เรียกว่า”อนันต์”หรือ”พลังงาน”

การศึกษาปรัชญาจากสำนักไมเลตุสช่วยให้เราค้นพบว่า นักปรัชญากรีกโบราณเริ่มปรัชญาด้วยความสงสัยเกี่ยวกับโลกภายนอก หรือธรรมชาติรอบตัว ดังนั้นปฐมธาตุที่นักปรัชญาคิด จึงเป็นข้อสมมติฐานทางวิทยาศาสตร์ จึงกล่าวได้ว่า ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีแนวความคิดมาจากนักปรัชญายุคโบราณนั่นเอง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น