วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes 1588-1679)


นักปรัชญาชาวอังกฤษ ท่านมีทัศนะว่า การเคลื่อนที่ (Movement) เป็นมูลบทที่ทุกคนต้องยอมรับว่ามีจริง โดยแบ่งความรู้เป็น 4 แขนง คือ

1.เรขาคณิต วิชาว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทห์ (Bodies)
2.ฟิสิกส์ วิชาว่าด้วยผลกระทบต่อกันของเทห์ที่เคลื่อนที่
3.จริยศาสตร์ วิชาที่ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของระบบประสาท
4.การเมือง วิชาที่ว่าด้วยผลกระทบต่อกันของระบบประสาท

ท่านได้ดึงทฤษฎีเหล่านี้เชื่อมไปที่ความมีศีลธรรมและคุณธรรมที่รัฐและรัฐควรมีต่อกัน และให้ความเห็นว่า โดยสภาพธรรมชาติ มนุษย์เป็นคนเห็นแก่ตัวยึดมั่นในตัวตน (Self-Assertion) และการรักษาตัวเอง (Self-Preservation) ทั้ง 2 อย่างนี้มนุษย์เรียกว่าสิทธิตามธรรมชาติ (A Natural Right) นั่นหมายความว่า มนุษย์เปรียบเหมือนอินทรีย์อื่น ๆ คือเคลื่อนไหวเพื่อตัวตนของตน และรักษาตัวเอง เพราะมันเป็นกฏของการเคลื่อนที่ของอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยเหตุดังกล่าว สภาพแรกของอินทรีย์รวมทั้งมนุษย์ที่ต้องเผชิญ คือการปะทะกันระหว่างอินทรีย์ การขัดแย้งกันของอินทรีย์ และสงครามระหว่างอินทรีย์ ทั้งนี้เพราะต่างฝ่ายต่างยึดมั่นในตัวตนของตนและต่างฝ่ายต่างรักษาตนเอง จากทัศนะข้างตน จึงเป็นการจำเป็นของรัฐที่ต้องมีขึ้นทั้ง ๆ ที่โดยสภาพธรรมชาติมนุษย์มิได้อยู่ในรัฐหรือรัฐเกิดขึ้นเพราะความจำเป็น ทำให้สภาพธรรมชาติเกิดความขัดแย้งกัน ปะทะกันและสงครามระหว่างกัน โดยไม่มีรัฐหรืออำนาจกลางใดที่คอยควบคุมดูแล ทัศนะเกี่ยวกับสังคมและรัฐของฮอบส์จึงแตกต่างจากทัศนะของอริสโตเติ้ล กล่าวคืออริสโตเติ้ลมีทัศนะว่า โดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์สังคม เพราะสังคมช่วยให้มนุษย์มีชีวิตที่ดี คือทีคุณธรรมทางศีลธรรมทางปัญญา แต่ฮอบต์กับมีทัศนะว่า โดยธรรมชาติมนุษย์ไม่ใช่สัตว์สังคม แต่เป็นสัตว์ที่เห็นแก่ตัว เพราะต่างมีสิทธิที่จะยึดมั่นตัวตนของตนและรักษาตัวตนของตนไว้ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องตกลงจัดตั้งสังคมและรัฐขึ้น และมอบอำนาจการปกครองสูงสุดให้แก่รัฐ เมื่ออยู่ภายใต้การปกครองของรัฏฐาธิปัตย์แล้วจะขัดขืนหรือต่อต้านอำนาจนั้น ๆ ไม่ได้ กฏหมายที่ออกโดยรัฐจึงยุติธรรมทั้งสิ้น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น