เกิดเมื่อ พ.ศ. 159 ที่สตากิรา ในแคว้นเธรซ ท่านเป็นศิษย์ของพลาโต และท่านเป็นนักปรัชญาคนสุดท้ายของกรีกสมัยรุ่งเรือง ท่านเกิดในตระกูลแพทย์จึงมีนิสัยรักการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ต่อมาท่านได้ศึกษาชีววิทยา โดยเฉพาะชีวิตสัตว์ทะเล ท่านได้ตั้งสำนักของตนขึ้นเรียกว่า ลีเซอุม (Lyceum) และต่อมาได้สร้างห้องสมุดเพื่อสะสมหนังสือและอุปกรณ์การสอน ส่วนที่เหมือนกันระหว่างพลาโตและอริสโตเติ้ล คือรัฐและสังคมเป็นธรรมชาติ เมื่อมนุษย์ต้องมีสังคมร่วมกัน การมีรัฐและสังคมที่ดี ย่อมทำให้เกิดความสุขได้ดีที่สุด
ทัศนะนี้จึงเป็นทัศนะในเรื่องโลกแห่งประสบการณ์ของท่านนั้นเอง อีกทัศนะหนึ่งเรื่องโลกแห่งแม่แบบ ท่านเชื่อความเป็นจริงของแม่แบบ เพราะความงามเป็นแม่แบบของวัตถุงามทั้งหลาย ท่านไม่เชื่อพลาโตที่ว่า แม่แบบคือแบบของความงามอยู่แยกต่างหากจากวัตถุ ตามความคิดของอริสโตเติ้ลนั้น วัตถุงามคือวัตถุที่มีแบบของความงามอยู่ในตัวของวัตถุนั้น ไม่ใช่วัตถุนั้นเลียนแบบ แบบของความงามในโลกอื่นซึ่งอยู่แยกต่างหากออกไปจากวัตถุ และจากทัศนะนี้จึงนำไปสู่ทัศนะที่ว่า สรรพสิ่งต้องมีแบบหนึ่งแบบใดเป็นแบบประจำตัวหรือเป็นแบบเฉพาะตัว เช่น วัตถุงามต้องมีความงามเป็นแบบและสรรพสิ่งต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่แบบเฉพาะของตนในที่สุด เขาเชื่อว่าแบบของมนุษย์คือจิต จิตของมนุษย์มีลักษณะที่แตกต่างจากสัตว์ทั้งหลายคือคิดหาเหตุผลหรือมีเหตุผล ดังนั้นการมีเหตุผลจึงเป็นแบบที่มนุษย์ต้องพยายามบรรลุถึงในที่สุด เพื่อนำไปสู่แบบเฉพาะของตนนั้นเอง ซึ่งวิถีชีวิตที่แสดงถึงความสำเร็จของมนุษย์ในแง่ของการบำรุงเลี้ยงจิตแห่งเหตุผลมี 2 รูปแบบ คือ
- ชีวิตที่มีเหตุผล หมายถึงชีวิตที่สามารถประพฤติทางสายกลาง (The mean) ไม่มากไม่น้อยอย่างเหมาะสม
- ชีวิตที่ตริตรองถึงสัจจะ ไม่ใช่เพียงใช้เหตุผลเท่านั้น แต่หมายถึงการใช้ชีวิตในลักษณะที่ตริตรองถึงสัจจะที่เหนือกว่าการแสวงหาความเหมาะสมเท่านั้น อริสโตเติ้ล มีความเห็นว่า “ความสุขที่แท้จริงของมนุษย์อยู่ที่การแสวงหาสัจจะ ผู้มีชีวิตเพื่อการแสวงหาสัจจะ เรียกว่ามีคุณธรรมทางปัญญา (Intellectual Virtues)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น