เกิด พ.ศ. 116-196 มีชื่อเดิมว่า อาริสโตเคล็ส (Aristocles) ที่กรุงเอเธนส์ พลาโต้ได้ฟังปรัชญาจากโสคราตีสเมื่อตนได้มีอายุได้ 20 ปีแล้ว จนกระทั่งโสคราตีสถูกประหารชีวิตในปีพ.ศ.144 ต่อมาได้ศึกษาปรัชญาของยูคลิเดส (Euclides) ผู้เป็นลูกศิษย์ของโสคราตีส ซึ่งได้นำปรัชญาของโสคราตีสเข้ากับปรัชญาของปาร์มีนิเดส และยังได้ศึกษาปรัชญาจากสำนักของไพธากอรัส ที่กรุงเอเธนส์นั้น ท่านวางมือจากการเมืองที่ยุ่งเหยิง และเลือกดำเนินชีวิตอย่างนักปรัชญา โดยสร้างคนให้เป็นนักปรัชาและนักปกครองที่ดี พลาโต้ตั้งสำนักแห่งหนึ่งชื่อว่า อะคาเดมี (Academy) ให้การศึกษาแก่เยาวชนกรีก นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของกรีก โดยให้เด็กหนุ่มที่ต้องการศึกษา มุ่งมาสมัครเรียนที่นั้น พลาโต้เห็นว่า “นักปกครองที่ดีต้องมีความรู้ทั้งที่เป็นวิทยาศาสตร์ และปรัชญาการเมือง”
วิชาหลักที่คงอยู่ที่ใช้ทำการสอน ได้แก่ คณิตศาสตร์และปรัชญาการเมือง พลาโต้มีศิษย์คนสำคัญชื่อว่า อารีสโตเติ้ล เป็นผู้ที่เข้าศึกษาที่อะคาเดมี ในเวลาต่อมาเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงมาก พลาโต้ได้เขียนบทสนทนาเรื่อง “กฎหมาย” (Laws) มีความยาวถึง 12 เล่ม งานนิพนธ์ของพลาโต้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ บทสนทนาระยะแรก,ระยะที่สอง,ระยะที่สาม ซึ่งจะมีตัวละครแสดงบทสนทนาต่างๆ โดยสมมติให้ตัวละครเป็นตัวของท่าน และบุคคลอื่น ๆ เป็นต้น คำสอนที่ถือว่าเป็นหัวใจปรัชญาของพลาโต้ คือทฤษฎีมโนคติหรือแบบคำสอนอื่น ๆ เช่น ทฤษฎีความรู้ จริยศาสตร์ ศิลป และการเมือง ล้วนมีรากฐานมาจากทฤษฎีมโนคติ ดังนั้น เราจะพบว่า ปรัชญาแต่ละประเด็นของพลาโต้ เกาะกลุ่มกันเป็นระบบโดยมีทฤษฎีมโนคติเป็นแกนกลาง พลาโต้เป็นคนแรกที่สอนปรัชญาอย่างเป็นระบบ ท่านเห็นว่าความรู้ระดับผัสสะ หรือสัญชาน ไม่ใช่ “ความรู้” การรับรู้ในระดับสัญชานเป็นเพียง “ทัศนะ” การปฏิเสธสัญชานว่าเป็นบ่อเกิดความรู้นี้มีเหตุผลสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ
1) สัญชานของแต่ละคนให้ความรู้เป็นตรงกัน
2) สัญชานไม่ช่วยให้เราค้นพบความจริงแท้
โดยนัยนี้ ในทัศนะของพลาโต้ ความรู้ที่แท้จริงไม่ได้มาจากผัสสะหรือสัญชาน แต่ความรู้ที่แท้จริงได้มาจากเหตุผล ข้อแตกต่างระหว่างอาจารย์กับศิษย์อยู่ตรงที่ว่า สำหรับโสคราตีส ความรู้หมายถึงการค้นพบมโนภาพ (Concept) แต่สำหรับพลาโต้ ความรู้หมายถึงการค้นพบมโนคติ (Idea) ในความคิดของพลาโต้นั้น ท่านได้แบ่งลักษณะความคิดออกเป็น 4 อันดับ คือ จินตนาการเป็นขั้นต่ำสุด ที่สูงขึ้นมาตามลำดับคือความเชื่อ และการคำนวณ ส่วนขั้นสูงสุดคือพุทธิปัญญา การจัดอันดับมีเหตุผลดังนี้ คือ
1.จินตนาการ (Imagining) ให้ความหมายที่ว่า ขณะที่ตาสัมผัสกับภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งการรับรู้ได้เกิดขึ้น ประสาทตาารายงานภาพที่เห็นไปที่จิต ภาพของสิ่งนั้นที่จิตรับรู้ในขณะนั้นเป็นจินตภาพ (Image) การรับรู้จินตภาพเรียกว่า “จินตนาการ” เป็นการรับรู้ขั้นต่ำสุด เพราะภาพที่จิตคิดเห็นเป็น “ภาพเหมือน” หรือ”เงา” หากใครไปยึดมั่นในภาพเหมืนหรือจินตภาพ เขาก็กำลังนี้จากความจริงนั่นเอง
2.ความเชื่อ (Belief) ความหมายที่ว่า เมื่อเราคิดถึงใครสักคน เราสร้างจินตนาการคิดถึงรูปร่างหน้าตากิริยาท่าทางของเขา แต่เขาคนนั้นที่เราเห็นในจินตภาพย่อมสู้ที่เราเห็นและได้พบปะตัวจริงไม่ได้ การได้พบตัวจริง ถือว่าเป็นความรู้ระดับสัญชาน ท่านเรียกความรู้ระดับนี้ว่าความเชื่อ จะเห็นว่าสัญชานให้ความรู้ที่ขัดแย้งตัวเอง เช่น น้ำทะเลปรากฏแก่สายตาเราเป็นสีน้ำเงิน แต่พอเราเอาภาชนะตักน้ำขึ้นมาเราเห็นเป็นน้ำใสเป็นต้น ดังน้น ใครเห็นอะไรเป็นจริงจึงเป็นเพียงความเชื่อ คือยอมรับว่าจริงไปพลาง ๆ ก่อน
3. การคำนวณ (Reasoning) การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เป็นก้าวจากโลกแห่งผัสสะสู่โลกแห่งเหตุผล ในโลกแห่งผัสสะ เรารับรู้สิ่งเฉพาะ แต่ในโลกแห่งเหตุผล เราค้นพบสิ่งสากล นักคณิตศาสตร์อาศัยสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งเฉพาะเพื่อเป็นทางผ่านเข้าสู่สิ่งสากล เช่น นักคณิตศาสตร์ลากเส้นตรงในหน้ากระดาษ เพื่อประกอบการคำนวณ เส้นตรงนั้นอาจจะคดเคี้ยวบ้าง แต่ไม่ทำให้การคำนวณผิดพลาด เพราะอะไร ? เพราะเส้นตรงนั้นเป็นเพียงสัญลักษณ์หรือตัวแทนของเส้นที่ตรงที่สุด ในการคำนวณนักคณิตศาสตรืไม่ได้กำลังพูดถึงสิ่งเฉพาะคือเส้นตรง ที่ปรากฏในหน้ากระดาษนั้น แต่เขาพูดถึงสิ่งที่เป็นสากลอยู่ เขาแยกสัญลักษณ์หรือสิ่งที่เห็นด้วยตาออกจากมโนคติ หรือสิ่งที่เห็นด้วยเหตุผลบริสุทธิ์ ดังนั้น พลาโต้จึงจัดความรู้ของนักคณิตศาสตร์ไว้ในขั้น”ความรู้” เพราะเขาค้นพบมโนคติบางหน่วย แต่นักคณิตศาสตร์ยังอาศัยสัญลักษณ์และยังตั้งสมมติฐาน (Hypothesis) โดยยอมรับว่าสมมติฐานเป็นสิ่งที่เห็นจริงแล้ว ความรู้ของนักคณิตศาสตร์ จึงอยู่ในวงจำกัดของสัญลัษณ์และสมมติฐาน
4.พุทธิปัญญา (Intelligence) หมายถึง สภาพจิดใจที่รับรู้มโนคติโดยตรง ในขั้นนี้ จิตเป็นอิสระจากสิ่งที่รับรู้ด้วยประสาทสัมผัส จิตเข้าถึงมโนคติได้โดยไม่ต้องผ่านสัญลักษณ์ และจิตไม่จำเป็นต้องใช้สมมติฐานในการค้นหาความจริง เมื่อไม่มีสมมติฐาน ข้อจำกัดของความรู้จึงไม่มี เหตุนี้จิตจึงค้นพบเอกภาพของมโนคติทั้งหลาย นั่นคือ จิตพบว่ามโนคติทั้งหมดอยู่ภายใต้มโนคติควาามดีและรวบรวมมโนคติทั้งหมดไว้ได้ก็ด้วยพลังของจิต พลาโต้เรียกพลังชนิดนี้ว่า “วิภาษวิธี”(Dialectic) ดังนั้น พุทธิปัญญา จึงเป็นความรู้ที่แท้จริง เพราะเข้าถึงความจริงสูงสุด คือมโนคติ เราย้อนหลังไปยุคแรก ๆ นักปรัชญายุคเริ่มต้นได้สอนว่า แก่นแท้ของสรรพสิ่งเป็นสสารในรูปใดรูปหนึ่ง แต่พลาโต้เสนอใหม่ว่า แก่นแท้ของสรรพสิ่งไม่ใช่สสาร แต่เป็นมโนคติที่ไม่กินที่ ไม่มีรูปร่าง คำสอนของพลาโต้ยังได้หักล้างปรัชญาของโซฟิสสต์ผู้สอนว่า ความรู้แท้จริงอันเป็นมาตรฐานสากลไม่มี เพราะว่าสิ่งที่เรารับรู้เป็นสสารที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในที่นี้ พลาโต้แย้งว่า ความรู้ที่แท้สมบูรณ์มีอยู่ เพราะสิ่งที่เรารับรู้ไม่ใช่สสารวัตถุ แต่เป็นมโนคติที่เป็นอมตะและไม่เปลี่ยนแปลง ทัศนะมโนคติของพลาโต กล่าวว่า มโนภาพเป็นอันเดียวกับสิ่งสากล และมโนคติ คือ มโนภาพที่มีอยู่จริงภายนอกความคิดคือ ”สิ่งสากลที่มีอยู่จริงภายนอกความคิด “หรือ”สิ่งสากลที่มีอยู่จริงแบบปรนัย” พลาโตยืนยันว่า สิ่งสากลมีอยู่จริง จึงไม่ใช่สิ่งที่เราคิดขึ้นเอง มันไม่ใช่ผลผลิตของความคิด สิ่งสากลมีอยู่ก่อนหน้าที่เราคิด และแม้เราจะเลิกคิดถึง สิ่งสากลก็ยังคงมีอยู่ตลอดไปเป็นนิจนิรันดร “พลาโตเรียกสิ่งสากลอันเป็นความจริงอมตะนั้นว่ามโนคติหรือแบบ ดังนั้นลักษณะของมโนคติสรุปโดยทั่วไป คือ
- มโนคติ หมายถึง สิ่งสากล
- มโนคติ มีจำนวนมาก แต่ความหมายของมโนคติมีข้อจำกัด กล่าวคือ สิ่งเฉพาะชนิดหนึ่งมีมโนคติเพียงหนึ่งเดียว
- มโนคติ เป็นสิ่งที่เรารู้ได้ด้วยเหตุผล
- มโนคติเป็นความจริงปรนัย
- มโนคติเป็นสิ่งไม่กินที่
- มโนคติไม่ขึ้นกับเวลา
วิญญาณแห่งเหตุผล (Rational Soul ) เป็นวิญญาณที่จุติจากโลกแห่งมโนคติมาประจำอยู่ในกายเนื้อ พระเจ้าทรงสร้างวิญญาณเหล่านี้ให้เป็นอมตะ
วิญญาณไร้เหตุผล (Irrational Soul) เป็นวิญญาณที่ประจำอยู่กับร่างกายเกิดและดับพร้อมกับร่างกายจึงไม่เป็นอมตะ เทวดาเป็นผู้สร้างร่างกาย และวิญญาณส่วนนี้ของมนุษย์ ยิ่งไปกว่านี้ วิญญาณส่วนที่ 2 นี้ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น 2 ส่วนคือ
- วิญญาณฝ่ายสูง เรียกว่า วิญญาณแห่งเจตนารมณ์ (Spirited Soul)
- วิญญาณฝ่ายต่ำ เรียกว่า วิญญาณแห่งความต้องการ (Appetitive Soul)
หากเชื่อตามที่โซฟิสต์กล่าวว่า ความดีคือความพึงพอใจของแต่ละคน ความดีในตัวเองจะไม่มีอยู่ เมื่อไม่มีมาตรการชี้ขาด การจะกำหนดลงไปว่าอะไรดีอะไรชั่วก็เป็นไปไม่ได้ ถ้าถือว่า ความดีคือสิ่งที่แต่ละคนชอบ พลาโตกล่าวว่า ความรู้สึกของคนเราที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ ย่อมผิดแผกกันไป ซึ่งพลอยทำให้คนเราตัดสินความดีไม่ตรงกัน ท่านเห็นว่า ทฤษฎีทางศีลธรรมของคน มีรากฐานอยู่บนคุณลักษณะอันเป็นสากลของมนุษย์ทุกคน คุณลักษณะอันนั้นคือเหตุผล ดังนั้นเหตุผลคือ ความรู้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการทำความดี และท่านได้แบ่งแยกคุณธรรม หรือการทำความดีออกเป็น 2 ระดับ คือ คุณธรรมทางสังคม กับคุณธรรมทางปรัชญา การที่คนเราทำตามค่านิยมที่สังคมยอมรับ และให้การยกย่อง โดยไม่รู้เหตุผลว่าทำไมจึงเป็นความดี ในลักษณะนี้ท่านเรียกการทำความดีลักษณะนี้ว่า คุณธรรมทางสังคม และอีกประการหนึ่ง การทำความดีที่ประกอบด้วยเหตุผล มีความรู้ว่าการกระทำนั้นไปสู่จุดหมายสูงสุดอันใด การทำความดีด้วยเหตุผลนั้น พลาโตเรียกว่า คุณธรรมทางปรัชญา ดังนั้นในทัศนะของพลาโตว่า สิ่งที่เป็นความดีสูงสุด ได้แก่ มโนคติแห่งความดี (Idea of The Good) และท่านยังกล่าวถึง วิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุจุดหมายสูงสุดของชีวิต ท่านเรียกว่า คุณธรรม การปลดเปลื่องหรือความหลุดพ้นจากความชั่วจะมีไมีได้ ถ้าปราศจากการได้มาซึ่งคุณธรรมชั้นสูงและปัญญา คุณธรรมที่สำคัญนี้ ได้แก่ พุทธิปัญญา
ในทัศนะของพลาโตกล่าวว่า คนดี คือ ผู้มีคุณธรรม คนดีเป็นคนมีปัญญา (Wisdom) ความกล้าหาญ (Courage) การรู้จักประมาณ (Temperance) ความยุติธรรม (Justice) นี่คือเกณฑ์ตัดสินว่าใครดีใครชั่ว คนจะดีหรือจะเลวไม่ใช่ดังที่โซฟิสต์กล่าวว่า คนจะดีหรือเลวเราดูกันที่คุณธรรม ข้อสังเกต เราจะเห็นข้อขัดแย้งปรัชญาของพลาโตเหมือนกัน คือ โลกแห่งมโนคติเท่านั้นที่ทีความจริงแท้ ส่วนโลกแห่งผัสสะไม่มีความเป็นจริงในตัวเอง สิ่งเฉพาะต่าง ๆ ที่เรามองเห็นในโลกแห่งผัสสะก็ไม่ใช่ของจริง ซ้ำยังอำพรางความจริงเกี่ยวกับมโนคติ ดังนั้น โลกแห่งผัสสะจึงเป็นดินแดนแห่งความชั่วร้าย คุณธรรมแท้จริงของมนุษย์ คือการปลดเปลื่องวิญญาณจากโลกแห่งผัสสะเพื่อกับสู่โลกแห่งมโนคติ เราควรโบยบินจากโลกนี้ไปให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าถือตามัยนนี้ ปรัชญาหรือความรู้จักมโนคติ จะเป็นความดีสูงสุดเพียงประการเดียว และหลักการอีกนัยหนึ่งที่พลาโตกล่าว คือ สิ่งเฉพาะที่เราพบเห็นด้วยประสาทสัมผัสเป็นสิ่งจำลองมโนคติ โลกแห่งผัสสะเป็นดินแดนที่มโนคติ “เปิดเผย” ตัวเอง ดังนั้น การพบเห็นสิ่งเแฑาะจะช่วยเตือนให้วิญญาณนึกถึงมโนคติขึ้นมาได้ เพราะหลักการที่พลาโตได้สอนนี้ท่านเสนอว่าเป็น”ทางสายกลาง” อันทำให้ชีวิตกลมกลืนกัน ในเรื่องทางการเมืองนั้น พลาโตได้เสนอทฤษฎีการเมืองเพื่อเป็นการตอบปัญหาเหล่านั้น คือ รัฐที่ดีควรยึดระบอบการปกครองใด ? อำนาจสิทธิ์ขาดควรอยู่ที่ใคร ? อะไรคือคุณธรรมของนักปกครอง ? ประชาชนควรมีสิทธิ์เสรีภาพมากเพียงใด ? ท่านกล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม การอยู่ร่วมกันเป็นสังคม เหตุนั้น รัฐจึงเป็นสถาบันที่จำเป็นต้องมี รัฐต้องประกอบด้วยบุคคลที่มีวิญญาณ 3 ส่วน 3 ระดับ คือ
- นักปกครองได้แก่ผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นพิเศษ เพื่อเป็นผู้นำของรัฐ
- พิทักษชน คือ ผู้ทำหน้าที่ทหารตำรวจและข้าราชการพลเรือน
- ราษฎร คือ ชนชั้นที่ถูกปกครอง
- ศิลปะต้องเลียนแบบได้เหมือนของจริงต้นฉบับ
- ศิลปะต้องส่งเสริมศีลธรรม คือเป็นเครื่องมือสั่งสอนให้ประชาชนรู้จักความดี
- ศิลปะจะต้องก่อให้เกิดความพึงพอใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น