วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คำนิยามของปรัชญา


ปรัชญา แปลว่า ความรอบรู้ เป็นศัพท์บัญญัติ เรียกว่า Philosophy เมื่อสืบย้อนไปดูแล้วปรากฏว่าphilosophy มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า Philo + Sophia แปลว่า ความรักในความรอบรู้( Love of Wisdom ) ว่ากันตามอักษร ปรัชญาและ Philosophy มีความหมายไม่ตรงกันแท้ แต่ก็ใช้เรียกกันได้ เพราะคำทั้งสองแสดงนัยว่า วิชานี้เกี่ยวกับความรู้ กล่าวคือการแสวงหาความรู้ก็ดี จัดเป็นปรัชญาหรือPhilosophy ทั้งนั้น ปรัชญาเป็นความรู้เกี่ยวกับอะไร คำตอบมีอยู่ว่า ปรัชญาพยายามเรียนรู้ทุกสิ่ง โลกยังมีแง่มุมลึกลับอีกเท่าใด นักปรัชญาที่มักใหญ่ใฝ่สูงก้จะเรียนรู้อีกเท่านั้น เท่าที่ผ่านมานักปรัชญาเป็นผู้ค้นพบวิทยาการสาขาใหม่แห่งโลก การค้นคว้าของนักปรัชญาไม่เคยถึงจุดจบ นักปรัชญาจึงเป็นผู้บุกเบิกทางปัญญา (Pioneer)


เมื่อประมาณห้าร้อยปีมาแล้ว นักปรัชญากรีกชื่อ ไพธากอรัส (Pythagoras) เป็นผู้ใช้คำนี้เป็นคำแรก ชาวกรีกยุคนั้นเรียกนักปราชญ์ราชบัณฑิตว่า Sophoi (ผู้รอบรู้) ไพธากอรัสได้คิดผสมคำขึ้นว่า philosophoi แปลว่า ผู้รักความรู้ (Love of Wisdom)เหตุนั้นนักปรัชญาในสมัยโบราณ จึงเป็นจุดกำเนิดแนวของปรัชญาทั้งหลาย และเกิดเป็นวิชาการแขนงต่างๆ จึงเกิดเป็นกลุ่มทฤษฎีขึ้นมากมาย และมีนักปราชญ์ชาวกรีกท่านหนึ่งชื่อว่า อาริสโตเติ้ล (Aristotle) เกิดก่อน ค.ศ. 384-322 ได้แบ่งปรัชญาออกเป็นสองภาค คือ
  • ปรัชญาภาคที่หนึ่ง (First Philosophy) ศึกษาเกี่ยวกับ อภิปรัชญา
  • ปรัชญาภาคที่สอง (Second Philosophy) ศึกษาเกี่ยวกับฟิสิกส์ ชีววิทยา จิตวิทยา ดาราศาสตร์ เทววิทยา และคณิตศาสตร์
ต่อมามีการพัฒนาปรัชญาจนแยกเป็นวิชาอิสระ เรื่องที่เหลือนั้นเป็นเนื้อหาแท้ๆ ของวิชาสมัยปัจจุบันปรัชญาที่ศึกษาเรียกว่าปรัชญาบริสุทธิ์ (Pure Philosophy) แบ่งเป็น 3 สาขาคืออภิปรัชญา(Metaphysics) ญาณวิทยา (Epistemotogy) และตรรกศาสตร์ (Logic) หากวิชาการเหล่านั้นหาคำตอบไม่ได้ นักปรัชญาจะช่วยตอบ โดยปรัชญาที่ทำหน้าที่อย่างนี้มีชื่อว่า ปรัชญาประยุกต์ (Applied Philosophy) เพราะนักปรัชญานำความรู้เชิงปรัชญาบริสุทธิ์ไปศึกษาผลสรุปของวิทยาการสาขาต่างๆ จนเป็นวิทยาการทางการศึกษาแนวใหม่ ๆ เช่น

ปรัชญาการศึกษา (Philosophy)
ปรัชญาประวัติศาสตร์ (Philosophy of History)
ปรัชญากฏหมาย (Philosophy of Law)
ปรัชญาคณิตศาสตร์ (Philosophy of Mathematics)
ปรัชญาภาษา (Philosophy of Language)
ปรัชญาศาสนา (Philosophy of Religion)
ปรัชญาจริยา (Ethical Philosophy)
ปรัชญาจิต (Philosophy of Mind)
ปรัชญาชีวิต (Philosophy of Life)
ปรัชญาศิลป (Philosophy of Art)
ปรัชญาสังคม (Social Philosophy) ฯ

ดังนั้นจึงเกิดนักปรัชญาขึ้นตามแนวความคิดของแต่ละท่าน นักปรัชญาตะวันตกไม่ได้กำหนดว่าตัวเองกำลังคิดปรัชญาบริสุทธิ์หรือปรัชญาประยุกต์ เพื่อสะดวกในการทำความเข้าใจ จึงขอแสดงความคิดของนักปรัชญาในยุกกรีกโบราณ และยุกอื่นฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น