วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โสคราตีส (Socrates)


เกิดที่กรุงเอเธนส์ พ.ศ. 73-144 บิดาชื่อโซโฟรนิสคุส (Sophromiscus) เป็นช่างแกะสลัก มารดาชื่อเฟนารีท (Phaenarete) ก่อนท่านถูกประหารชีวิตในกรีก ได้รับการบันทึกไว้โดยละเอียดในบทสนทนาของฟลาโดชื่อ (Phaedo) เมื่อมีผู้ถามว่า ทำไมท่านจึงไม่กลัวความตาย ท่านตอบว่า เพราะท่านเชื่อว่า “วิญญาณของคนเราเป็นอมตะ ถ้าท่านตาย วิญญาณของท่านจะกลับสู่สรวงสวรรค์ ยิ่งไปกว่านั้นเหตุเพราะท่านเป็นนักปรัชญา ท่านอธิบายว่า นักปรัชญา คือ ผู้ที่แสวงหาความรู้ที่สมบูรณ์ แต่นักปรัชญาไม่มีวันเข้าถึงความรู้ที่สมบูรณ์ ถ้าหากเขายังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เพราะวิญญาณของเขาถูกคุมขังอยู่ในร่างกายจึงขาดอิสรภาพในอันเข้าถึงสัจธรรม การประสบความตาย คือการได้ปลดปล่อยวิญญาณจากเครื่องพันธนาการ เมื่อนั้นวิญญาณจะเข้าถึงความรู้ที่สมบูรณ์ นักปรัชญาผู้แสวงหาความรู้ที่สมบูรณ์จึงไม่กลัวความตาย”


การประหารชีวิตโสคราตีส เป็นตราบาปอันหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของประชาธิปไตยชนชาติกรีก เพราะบางครั้งประชาธิปไตยก็เป็นเผด็จการโดยเสียงข้างมาก ศาลเอเธนส์สั่งประหารท่านด้วยใจอคติว่า ท่านคือโซฟิสต์ที่พวกตนเคียดแค้น ชาวเอเธนส์ฝ่ายอนุรัษ์นิยมเชื่อว่าท่านได้ทำลายกฏหมายประเพณี และวัฒนธรรมของชาวเอเธนส์ ในกรณีจากเรื่องนี้ได้ถูกสร้างเป็นบทละครหัสนาฏกรรมเรื่อง ”เมฆ” (The Clouds) ของอะริสโตฟาเนส ซึ่งได้ถูกเผยแพร่ในเอเธนส์ สมัยที่โสคราตีสยังมีชีวิตอยู่ นี่เป็นความเข้าใจผิดเพราะความเขลาของชาวเอเธนส์ แท้จริงแล้วโซคราตีสเป็นคนละพวกกับโซฟิสต์ ปรัชญาของโสคราตีสเกิดขึ้นมาก็เพื่อหักล้างคำสอนของพวกโซฟิสต์โดยตรง

โสคราตีส ได้ปฏิเสธปรัชญาธรรมชาติ เพราะความรู้เรื่องปฐมธาตุของโลก หรือจักรวาลมีประโยชน์น้อยมาก ความรู้เรื่องนี้ไม่ช่วยให้มนุษย์ดำเนินชีวิตได้ถูกต้องมากขึ้น ความรู้ที่นักปรัชญาแสวงหาควรเป็นความรู้เกี่ยวกับมนุษย์และหน้าที่ของมนุษย์ เพราะมนุษย์สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้น ดังนั้นจุดมุ่งหมายของท่านอยู่ที่การปฏิบัติมากกว่าจะสร้างทฤษฎีทางอภิปรัชญา ท่านต่อต้านพวกโซฟิสต์เช่น โปรแทกอรัสสอนว่า ไม่มีมาตรการใใด ๆ เป็นเครื่องตัดสินความจริงและความดี อะไรที่ว่าจริงว่าดีเป็นเพียงทัศนะส่วนตัวของปัจเจกบุคคล โปรแทกอรัสปฏิเสธความจริงแบบปรนัย หรือความเป็นจริงสากลที่ทุกคนยอมรับ ซึ่งคำสอนนี้โสคราตีสแย้งว่า แม้ว่าความรู้เกี่ยวกับสิ่งทั้งหลายของแต่ละคนจะขัดแย้งกันในบางครั้ง แต่นั่นไม่หมายความว่า จะไม่มีความจริงแบบปรนัยที่ทุกคนยอมรับร่วมกัน ความเป็นจริงสากลมีอยู่ แต่โซฟิสต์ค้นไม่พบ เพราะโซฟิสต์ยอมรับเพียง สัญชาน (Perception) ว่าเป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้ แต่สัญชานให้ความรู้อย่างจำกัด โซฟิสต์จึงไม่อาจเข้าถึงความรู้แท้ได้โดยอาศัยสัญชาน โสคราตีสมีทัศนะว่า เหตุผล (Reason) เป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้ ที่ช่วยให้คนเราค้นพบความจริงแบบปรนัยหรือมโนภาพ (Concept) ของสิ่งทั้งหลาย

สัญชานและจินตภาพ (Perception and Image) 
สัญชาน ได้แก่ การกำหนดรู้ที่เกิดจากการกระทบระหว่างอายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง กับอายตนะภายนอกคือ รูป เสียง กลิ่น รส และกายสัมผัส ดังนั้น สัญชานจึงเป็นความรู้ระดับผัสสะ ให้เราสามารถระบุชัดลงไปปว่า เรากำลังเห็นสิ่งนั้น หรือกำลังลิ้มรสดังกล่าวอยู่

จินตภาพ คือ ภาพของสิ่งเฉพาะที่ปรากฏในใจ ยกตัวอย่าง เราเห็นรูปร่างสิ่งของบางอย่างชัดเจนมาก ภาพของสิ่งของปรากฏแก่สายตาของเราเป็นสัญชาน ทีนี้เราลองหลับตาลง ภาพสิ่งของยังคงติดตาเราอยู่ แม้หลับตาแล้วก็ยังนึกวาดภาพถึงสิ่งของและลักษณะนั้นได้ ภาพสิ่งของที่เรา “นึกเห็น” ขึ้นมานี้คือ จินตภาพ

ดังนั้น ทั้งสัญชานและจินตภาพ จึงเป็นความรู้เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะเท่านั้น

เหตุผลและมโนภาพ (Reason and Concept) 
ความรู้ประเภทนี้ไม่เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะที่เป็นรูปธรรม ความรู้ชนิดนั้นคือ ความรู้เกี่ยวกับสิ่งสากล ให้สังเกตคำพูดสองประโยคดังต่อไปนี้ “โสคราตีสเป็นสัตว์ที่ต้องตาย“ และ “มนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องตาย” ผู้พูดประโยคแรกกำลังนึกถึงสิ่งเฉพาะ คือคน ๆ หนึ่งที่ชื่อโสคราตีส ในขณะที่พูดเขามีจินตภาพถึงปัจเจกบุคคล แต่ผู้พูดประโยคหลังไม่ได้กำลังนึกถึงปัจเจกบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง คำว่า “มนุษย์” ในประโยคนี้หมายถึง ประเภทของคนโดยทั่วไป นั่นคือ ผู้พูดกำลังนึกถึง”มนุษย์สากล” ที่รวมเอาลักษณะแก่นของคนทุกชาติทุกเผ่าพันธ์ เร่เรียกความนึกถึงสิ่งสากลทำนองนี้ว่า มโนภาพ (Consept) โศคราตีสถือว่า เหตุผลเป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้ ในปรัชญาของโสคราตีส เหตุผลช่วยให้คนพบมโนภาพ ความรู้ทุกอย่างเป็นความรู้ที่ได้จากมโนภาพ คำอธิบายในตอนต้นว่า มโนภาพคือความรู้จักสิ่งสากล ดังนั้นความรู้ขั้นมโนภาพจึงเป็นความรู้เกี่ยวกับสิ่งสากลที่ทุกคนยอมรับ เพราะทุกคนมีเหตุผล สิ่งสากลนั้นเป็นความจริงมาตรฐานที่ทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงได้ทุกคน ความรู้จึงไม่ใช่ทัศนะอัตนัย ท่านกล่าวว่า ความรู้คือการค้นพบความจริงแบบปรนัย หรือการเข้าถึงมโนภาพของสิ่งต่าง ๆ ดังนั้นเรามาลองคิดดูว่า “ ทำอย่างไรเราจึงจะค้นพบมโนภาพของสิ่งต่าง ๆ ได้ การค้นพบมโนภาพของสิ่งใดก็โดยอาศัยการสร้างความจำกัดความ (Definition) ของสิ่งนั้น เช่น เรานำเอาลักษณะของสุนัขทุกประเภทที่เหมือนกันเข้ามาไว้ในความจำกัดความ โดยไม่คิดถึงลักษณะที่แตกต่างประเภทต่างๆของสุนัข คำจำกัดความว่า”สุนัข”จะครอบคลุมประเภทของสุนัขทั้งหมด จึงกล่าวได้ว่า มโนภาพกับคำจำกัดความเป็นสิ่งเดียวกัน แต่มีข้อแตกต่างกันอยู่อย่างหนึ่ง คือมโนภาพเป็นความรู้จักสิ่งสากลที่ยังอยู่ในใจ แต่คำจำกัดความเป็นการบรรยายลักษณะของสิ่งสากลนั้นออกมาเป็นคำพูด โสคราตีสมักตั้งปัญหาถามคนทั่วไปว่า คุณธรรมคืออะไร ?ความยุติธรรมคืออะไร ? แล้วท่านจะเริ่มสนทนาแบบถาม-ตอบ เพื่อหาคำจำกัดความ ท่านกระตุ้นคนอื่นให้คิดอย่างมีระบบและเฉียบแหลม เพื่อให้เกิดมโนภาพและคำจำกัดความของสิ่งเหล่านั้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ท่านเรียกงานของท่านว่า “การผดุงครรภ์ทางปัญญา”(Intellectual Midwifery) เทคนิคการ “ผดุงครรภ์” ของท่านมีชื่อเรียกว่า “วิธีของโสคราตีส”(Socratic Method) วิธีนี้คือ ศิลปการสนทนาที่ท่านใช้ในการสนทนาให้ดำเนินไปสู่คำตอบของปัญหาที่กำลังอภิปรายกัน วิธีนี้มีชื่อเรียกโดยทั่ไปว่า”วิภาษวิธี”(Dialectic) ซึ่งประกอบด้วยลักษณะ 5 ประการ คือ

1) สงสัย (Sceptical)
2) สนทนา (Conversational)
3) หาคำจำกัดความ (Definitional)
4) อุปนัย (Inductive)
5) นิรนัย (Deductive)

โสคราตีสกล่าวว่า “ความรู้ คือ คุณธรรม” (Knowledge of Virtue) นั่นคือ คนที่รู้จักความดีย่อมทำความดี เป็นไปไม่ได้ที่คนรู้ว่าความดีคืออะไรแล้วยังฝืนทำความชั่ว ส่วนที่คนทำความชั่วก็เพราะขาดความรู้ ถ้าคนเราได้รับการแนะนำที่ถูกต้องแล้วเขาาจะไม่ทำผิดเลย เหตุนั้น โสคราตีสจึงกล่าวว่า “ไม่มีใครทำผิดโดยจงใจ” เราจะเห็นว่าปรัชญาของโสคราตีสขัดแย้งอย่างตรงกันข้ามกับคำสอนของกลุ่มโซฟิสต์ ดังนั้นทฤษฎีความรู้ของโสคราตีส ซึ่งเป็นไปโดยหลักจริยศาสตร์และกล่าวว่า “ ความรู้คือคุณธรรม” นี่เป็นจุดอ่อน ท่านเชื่อว่า คนที่รู้จักความถูกต้องจะไม่กระทำผิด อาริสโตเติ้ล วิจารณ์โสคราตีสว่า คนเราใช่จะทำผิดเพราะความไม่รู้จักความถูกต้องเสมอไป บางคนทำผิดเพราะเขาไม่ยับยั้งใจตัวเอง อีกอย่างโสคราตีสเฉพาะตัวของท่านแล้ว เป็นคนที่มีเหตุผลสูงสามารถควบคุมอารมณ์ได้ทุกสถานการณ์ อะไรที่ทท่านเห็นว่าถูกต้องท่านจะทำโดยไม่ลังเล ขนาดยอมให้เขาประหารชีวิต แต่ไมม่ยอมทิ้งหลักการของตน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาโดยส่วนรวมแล้ว ปรัชญาของโสคราตีสได้ส่งผลกระทบอย่างแรงต่อคำสอนของพวกโซฟิสต์ ต่อมาพลาโต้ได้กรัหน่ำซ้ำ จนคำสอนของโซฟิสต์ถึงสภาวะสลายตัวในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น