วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การปฏิวัติทางการเมืองในยุโรปและอเมริกา


การปฏิวัติทางการเมืองในยุโรปและอเมริกา

ประชาธิปไตยในอังกฤษ

คำสำคัญ
            1. แมกนาคาร์ตา   2. การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์  3. Reform  Bill 
คำถามชวนคิด
เพราะเหตุใดการปฏิวัติในอังกฤษจึงเป็นการปฎิวัติโดยไม่เสียเลือดเนื้อ

การปฏิวัติในอังกฤษ

            อังกฤษเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นแม่บทของประชาธิปไตย ลักษณะการปกครองของอังกฤษ ถือได้ว่าเป็นแบบสถาบันกษัตริย์โดยรัฐธรรมนูญ (Constitutional monarchy) และประชาธิปไตยโดยรัฐสภา การพัฒนาการเมืองของอังกฤษมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายสมัยกลาง กล่าวคือ ใน ค.. 1215 ขุนนางบีบบังคับให้พระเจ้าจอห์นที่ 5 ยอมรับใน  กฏบัตรแมกนาคาร์ตา (Magna Carta) ซึ่งจำกัดพระราชอำนาจของกษัตริย์อังกฤษ อย่างไรก็ตามกษัตริย์อังกฤษหลายพระองค์พยายามที่จะหลีกเลี่ยงและละเมิดกฏบัตรดังกล่าว
             หลังจากสงครามกลางเมือง (Civil War) ค.ศ.1642-1649   กษัตริย์อังกฤษพระเจ้าชาร์ลสที่ 1 ถูกสำเร็จโทษ อังกฤษปกครองระบอบสาธารณรัฐชั่วระยะเวลาหนึ่ง(ค.ศ. 1649-1659)โดย โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ มีการปราบผู้ที่ไม่เห็นด้วย  ถือว่าเป็นยุคแห่งความหวาดกลัว  เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม  เกิดการสู้รบนองเลือดจนมีการประกาศยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของอังกฤษยุบสภาโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ เสียชีวิตลงรัฐสภาได้ฟื้นฟูระบบกษัตริย์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งโดยเชิญกษัตริย์ในราชวงศ์สจ๊วตมาปกครอง 
            การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างถาวรเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1688 เนื่องจากพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ไม่ยอมรับอำนาจรัฐสภา  รัฐสภาร่วมมือกับประชาชนต่อต้านจนพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ต้องสละราชสมบัติและมีการสถาปนาพระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 1 แห่งฮอนแลด์( เมื่อมาปกครองที่อังกฤษเปลี่ยนเป็นพระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 3 ) ร่วมกับพระนางแมรีที่ 2 การปฏิวัติในครั้งนี้ได้มีการประกาศ พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิ(Bill of Rights ค.ศ. 1689) ที่ย้ำถึงสิทธิและเสรีภาพที่ชาวอังกฤษควรมีได้รับเท่าเทียมกันและอำนาจของรัฐสภามีเหนือสถาบันกษัตริย์ ซึ่งท้ายที่สุดได้เกิดการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์(Bloodless  Revolution หรือ Glorious Revolution) โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ ถือว่าเป็นการสิ้นสุดระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
            อังกฤษได้พัฒนามาสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์เมื่อมีการประกาศใช้พระราช
บัญญัติปฏิรูป (Reform  Bill  ) ใน ค.. 1832 และ ค.. 1867 ซึ่งขยายสิทธิการเลือกตั้งให้กับสามัญชน    และการเพิ่มอำนาจและบทบาททางการเมืองของสภาสามัญให้มากขึ้น
สรุป   อังกฤษได้วางรากฐานการปกครองไว้ 3 ประการ คือ
            1. การมีรัฐบาลโดยได้รับความยินยอมพร้อมใจ
            2. การมีตัวแทนของประชาชน
            3. การมีกฎเกณฑ์ของกฎหมายโดยรัฐธรรมนูญ
            รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของอังกฤษ เป็นรัฐธรรมนูญที่มิได้มีการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการฉบับเดียวที่แน่นอน   ดังเช่นในประเทศอื่นๆ  บางส่วนเป็นกฎหมายที่ออกตามสถานการณ์ เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ หรือเป็นกฎที่มาจากการปฏิบัติที่เป็นประเพณีสืบกันมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น